โรงเรียนข้างถนน : ความเหลื่อมล้ำทางสังคมปัญหาที่รอการแก้ไข


หลักธรรมาภิบาล ที่ นักวิชาการ ใช้และเรียกร้องให้มี ให้เป็นจากภาครัฐเอง นั้น เป็นเรื่องที่ดีหากทำได้ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ รวมทั้งการแสดงออกที่เป็นแบบอย่างเองของนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องดังกล่าว แต่ในสภาพความเป็นจริง เมื่อนักวิชาการ เผชิญหน้ากับ คนด้อยโอกาส เอง หลายคน กลับ แสดงท่าทีตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคม หนักยิ่งกว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงด้วยซ้ำไป
 

แม้ว่าบ้านเมืองจะมีใครเป็นผู้นำก็ตาม จะผ่านคณะรัฐมนตรีมากี่คระ ผ่านรัฐบาลมากี่ยุคกี่สมัย สิ่งที่ยังดำรงอยู่ไม่เคยสูญสลายไปจากสังคมไทยได้เลย ก็คือ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่ไม่สามารถแก้ไขหรือบรรเทาปัญหานี้ได้ก็สืบเนื่องมาจาก ระบบสังคมไทยที่ไม่อาจละทิ้งศักดินาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน

การที่สังคมไทยยังแบ่งออกเป็นชนชั้นปกครอง ชนชั้นสูง ชนชั้นกลาง ชั้นชั้นล่าง โดยพฤตินัย และมีการยอมรับกันอย่างไม่เคอะเขิน นั่น ก็เท่ากับว่า เราเองกำลังยอมรับความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างสนิทใจ ในขณะที่ในภาพกว้างเรากำลังประกาศความเท่าเทียมให้แก่สังคมโลกรับทราบ รัฐเองกำลังรณรงค์การกระจายโอกาศและยกระดับความเท่าเทียมในด้านการบริการของรัฐสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ต้องเท่าเทียมบนมาตรฐานเดียวกัน นอกเหนือไปจากนั้น ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้นั้นเอง

คนกลุ่มหนึ่งที่ได้ชื่อว่าอยู่ชายขอบของการได้รับบริการจากรัฐสวัสดิการจากภาครัฐ เห็นจะหนีไม่พ้น คนไร้บ้าน คนไร้รัฐ  ที่แม้นโยบายจะมีชัดเจนว่าต้องได้รับบริการดังกล่าวโดยเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ หากแต่ในระดับปฏิบัติการแล้ว ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ท่าที และวิธีการที่ปฏิบัติต่อ คนกลุ่มดังกล่าวยังเป็นไปด้วยการแสดงความเป็นเจ้ายศเจ้าอย่า งทำตัวเสมือนผู้ให้บริการ หรือตัวเจ้าหน้าที เป็นผู้มีบุญคุณแก่ ผู้รับบริการ หรือคนด้อยโอกาสเหล่านั้น ก็เท่ากับยิ่งเป็นการตอกย้ำความเหลื่อมล้ำให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

หลักธรรมาภิบาล ที่ นักวิชาการ ใช้และเรียกร้องให้มี ให้เป็นจากภาครัฐเอง นั้น เป็นเรื่องที่ดีหากทำได้ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ รวมทั้งการแสดงออกที่เป็นแบบอย่างเองของนักวิชาการที่แสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องดังกล่าว แต่ในสภาพความเป็นจริง เมื่อนักวิชาการ เผชิญหน้ากับ คนด้อยโอกาส เอง หลายคน กลับ แสดงท่าทีตอกย้ำความเหลื่อมล้ำทางสังคม หนักยิ่งกว่า เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโดยตรงด้วยซ้ำไป

แนวทางของการแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม ที่จะเกิดขึ้นได้ในสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมนั้น ความจำเป็นอย่างยิ่งในเบื้องต้น เห็นจะหนีไม่พ้น การแสดงออกด้วยท่าทีที่เป็นมิตร และ ความอ่อนน้อมถ่อมตนในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ การ นำนโยบายมาปฏิบัติ อย่างจริงจัง และ เปิดใจกว้าง ไม่ใช่สักแต่ทำตามหน้าที่ไปวัน ๆ เท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 52321เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 12:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 03:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท