วิจัยโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1


ชื่อเรื่อง  วิจัยโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด 
                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

ผู้วิจัย       นายมานะ  สบายใจ

บทคัดย่อ

เด็กที่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในระดับประถมศึกษาอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นวัยที่ต้องการหาเอกลักษณ์ของตนเอง  อยากรู้อยากเห็น  ต้องการอิสระจากครอบครัว  และการยอมรับจากเพื่อน  จึงต้องดูแลช่วยเหลือ  เพราะเป็นวัยที่ต้องการให้ความเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษ  การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  จำแนกตามสถานภาพ  ประสบการณ์ในการทำงานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นข้าราชการครูโรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1  จำนวน  7  คน  ได้มาโดยไม่มีการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของข้าราชการครูแบบมาตราส่วนประมาณค่าประกอบด้วย  คำถาม  53 ข้อ  โดยแบ่งออกเป็น  5  ด้าน  ได้แก่  ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  ด้านการคัดกรองนักเรียน  ด้านการส่งเสริมนักเรียน  ด้านการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน  และด้านการส่งต่อนักเรียน  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  .20  ถึง  .87  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ  .89  วิเคราะห์ความแปรปรวนสามทาง  ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏ  ดังนี้

1. สถานภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ของโรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  โดยภาพรวม  ข้าราชการครูมีการปฏิบัติงานดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 79.52เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล คิดเป็นร้อยละ 85.71 ไม่ปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 14.29 ด้านการคัดกรองนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 80.95 ไม่ปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 19.05 และด้านการส่งต่อ คิดเป็นร้อยละ 80.95 ไม่ปฏิบัติ คิดเป็นร้อยละ 19.05

2. ปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โรงเรียนบ้านทุ่งเคล็ดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1  โดยรวม  อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็น  รายด้าน  อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน  เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  คือ  ด้านการส่งเสริมนักเรียน  ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล  ด้านการคัดกรองนักเรียน  ด้านการป้องกันและช่วยเหลือนักเรียน  และด้านการส่งต่อนักเรียน

3. ข้าราชการครูที่มีสถานภาพในการทำงานและประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีปัญหาการดำเนินงานของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน  โดยรวมและเป็นรายด้าน  5  ด้าน  พบว่า  จากการเปรียบเทียบการจำแนกตามสถานภาพในการทำงานและประสบการณ์ในการทำงาน  โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ค่าเฉลี่ยจากการจำแนกตามตามประสบการณ์ในการทำงานมากกว่าค่าเฉลี่ยจากการจำแนกตามสถานภาพในการทำงานจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้วิจัยได้องค์ความรู้  คือ  ครูมีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นอย่างมาก  เพราะครูคือผู้ที่ได้ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิดรองจากผู้ปกครอง  ครู  ได้ศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลทำให้รู้ปัญหาของนักเรียนและสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนได้ทันท่วงที  โดยเฉพาะข้าราชการครูที่มีประสบการณ์การดูแลช่วยเหลือนักเรียนมานานจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการช่วยเหลือนักเรียนได้เป็นอย่างดี


หมายเลขบันทึก: 522886เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2013 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2013 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท