ภาษาผู้ไทวันละคำ ...........อิ้๊ว


  วันนี้ภาษาผู้ไทขอเสนอชื่อเครื่องมือแยกปุยฝ้ายออกจากเมล็ดฝ้าย    เครื่องมือนี้คือ   อิ้ว หรือออกเสียงตามสำเนียงผู้ไทว่า อิ้ ๊ว ซึ่งจะมีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำว่าพบ

อิ้วทำจากไม้ดังรูป  ซึ่งจะมีเสาสองเสาตั้งอย์่บนไม้ท่อนหนึ่งที่ตรงกลางมีไม้อีกท่อนสอดต่อไว้ทำให้เสาอิ้วตั้งได้

ตัวอิ้วประกอบด้วยไม้ที่กลึงให้กลมเรียบสองท่ิอนที่ด้านซ้ายขุดเป็นเฟืองให้สอดรับกัน

ข้างขวาท่อนล่างจะทำแขนยื่นออกมาสำหรับสอดมืออิ้ว 


ไม้ทั้งสองท่อนจะนำมาสอดเข้ากับเสาที่เจาะช่องเอาไว้แล้ว  จัดไม้กลมให้ชิดกันแล้วสอดไม้รองอีกสองท่อน แล้วสอดลิ่ม ตอกให้แน่น

ด้านบนของท่อนไม้จะนำเชือกฝ้ายมาคาดขึงไว้กันฝ้ายหมุนขึ้นข้างบน


ก่อนใช้งานต้องสอดผ้าดังรูปเพื่อรองรับฝ้ายเข้าตะกร้า  

อิ้วนี้นอกจากใช้อิ้วฝ้ายแล้ว ยังใช้อิ้วนุ่นได้อีกด้วย

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาผู้ไท#อิ้ ๊ว
หมายเลขบันทึก: 522079เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เป็นงานเดียวที่แม่อนุญาตให้ช่วยสมัยเด็กๆ เพราะง่ายที่สุดในบรรดางานทอผ้า สะดวกมากค่ะ

  • ขอขอบคุณที่นำมาให้รู้จักครับ

คุณยายมาเรียนด้วยคนนะคะ


ชอบตรงที่เป็นเฟือง สวนดีค่ะ

-สวัีสดีครับ

-บ้านผมทางเหนือเรียก"อิดฝ้าย"ครับ

-ช่วงงานกฐินที่วัดศรีสุพรรณเชียงใหม่มีให้เห็นแบบเป็น ๆ ด้วยครับ


ขอบคุณทุกกำลังใจค่ะ

คุณtuknaraK   เมื่อก่อนเคยได้ทำคะแต่ทุกวันนี้ไม่ค่อยจะมีดอกฝ้ายแล้วค่ะ

คุณสามสัก  ยินดีค่ะ

คุณ มนัสดา  ยินดีค่ะพี่คุณยาย

คุณใบบุญ   ขอบคุณค่ะ

คุณพชรน้ำหนึ่ง ขอบคุณค่ะที่เห็นในรูปไม่ใช่อิ๊ดฝ้ายใช่ไหมคะรูปที่หนึ่งเรารียกว่าหลอดฝ้ายค่ะ รูปที่สองเรียกการเปฝ้าย(เป่ผ้ ๊าย)รูปที่สามเราเรียกว่ากวักฝ้าย(กั๋กผ้ ๊าย) รูปที่สี่เป็นต่อนฝ้ายกับฝ้ายที่อยู่ในเป๋(ต้อนผ้ ๊าย,ผ้๊ายเนอะเป๋)



ที่บ้านไม่มีแล้ว หาดูยากมาก เสียดายไม่มีคนทอผ้าแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท