เสพติดสื่อออนไลน์


"Internet used disorder" ถูกจัดเข้าไปในหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดปกติทางจิตหรือ DSM-V (Diagnostic and Statistical Manual for Mental Disorders)  ซึ่งจัดทำโดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา(American Psychiatric Association-APA) ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญต่อการใช้อินเตอร์เน็ตมากๆเลยค่ะ

ในช่วงเดือนที่ผ่านมาตัวเองได้จัดทำโปรแกรมการให้คำปรึกษาพฤติกรรมเสพติดสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น และนำไปลองใช้บางส่วนกับนิสิต  ก่อนที่จะนำโปรแกรมไปใช้ได้ทำการคัดกรองนิสิตก่อนเข้ากลุ่มโดยใช้ Internet Addiction Test ของ Dr.Kimberly Young มีจำนวนข้อคำถาม  20 ข้อ ซึ่งไม่ยุ่งยากต่อการใช้ ข้อคำถามที่แปลแล้ว เช่น

  • บ่อยแค่ไหนที่คุณพบว่าใช้อินเทอร์เน็ตนานกว่าที่คุณตั้งใจไว้
  • บ่อยแค่ไหนที่คุณละเลยงานบ้านเพื่อใช้เวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต
  • บ่อยแค่ไหนที่คนที่เกี่ยวข้องในชีวิตของคุณบ่นคุณเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ต
  • บ่อยแค่ไหนที่คุณต้องหาเหตุผลอื่นหรือปกปิด เมื่อใครต่อใครถามถึงการใช้อินเทอร์เน็ตของคุณ
  • บ่อยแค่ไหนที่คุณเลือกที่จะใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากกว่าออกไปทำกิจกรรมกับผู้อื่น

นิสิตในห้องที่สอนจำนวนไม่น้อยที่ได้แปลผลคะแนนแล้วพบว่ามีเกิดปัญหาเป็นบางครั้งหรือบ่อยครั้งเพราะการใช้อินเทอร์เน็ต เมื่อลองพูดคุยกับนิสิตบางคนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่รู้ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น เช่น นอนดึกเมื่อนอนดึกก็ทำให้ตื่นสายขี้เกียจไปเรียน  พอไปเรียนก็เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือทำให้ไม่มีสมาธิ ไม่ได้ฟังสิ่งที่ครูสอนเลยทำให้ฟังเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง พอกลับมาอยู่หอพักช่วงเย็นก็เริ่มเปิดอินเตอร์เน็ตทิ้งไว้เลยทั้งที่เล่นหรือไม่เล่นก็ตาม ส่วนใหญ่ก็เล่นยาวจนดึกดื่นเพลินหน่อยก็ถึงเช้า มีนิสิตคนหนึ่งเล่าให้ฟังว่ามีเพื่อนของเขามีชุดชั้นใน 30 ตัว ติดอินเตอร์เน็ตขนาดที่ว่าไม่มีเวลาซัก พอรู้ตัวอีกทีไม่มีชั้นในใส่จึงได้เวลาซักผ้า แต่อย่างไรก็ตามก็เห็นว่าการใช้อินเตอร์เน็ตของเขานั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก

สิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนกับนิสิตอีกประเด็น คือเราจะรู้จักใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไรให้เกิดประโยชน์ ประมาณว่าเราจะควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างไรไม่ใช่อินเตอร์เน็ตควบคุมเรา สรุปประเด็นได้ว่า...

  • แบ่งเวลาการในใช้อินเตอร์เน็ต เวลาไหนควรเล่นไม่ควรเล่น
  • ลดการใช้อินเตอร์เน็ตในการเล่นเกม หรือ facebook แต่เพิ่มเป็นการค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลมากขึ้น
  • ทำกิจกรรมอื่น ๆ  เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ไปท่องเที่ยว
  • ควบคุมเวลาในการเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา เช่นช่วงแรกๆก็ตั้งเวลานาฬิกาในการเข้านอนด้วย แล้วฝึกการนอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
  • งดการเล่นอินเตอร์เน็ตก่อนนอน โดยเฉพาะการ line หรือ facebook เพราะทำให้นอนไม่หลับ
  • ตั้งเป้าหมายในชีวิต แล้วเตือนตนเองอยู่เสมอว่ามีอะไรที่เราต้องทำอีกมาก และพยายามทำในกิจกรรมเหล่านั้น
  • ถ้านั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆก็ทำให้ปวดเมื่อย ให้ผ่อนคลายสายตา ลุกไปทำอย่างอื่นหรือทำกายบริหารบ้าง

  บางทีสิ่งที่ได้พูดคุยกันอาจไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหากไม่ลงมือกระทำ

ใครรู้ตัวว่านั่งหน้าจอนานแล้ว ลองมายืดเส้นยืดสายเพื่อสุขภาพที่ดีกันนะคะ  คลิกที่นี่

มีความสุขกับการใช้สื่อออนไลน์อย่างมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและ(จิต)ใจค่ะ


หมายเลขบันทึก: 521530เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2013 13:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2015 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อึมมากไปจริงๆ น่ะเรา "คนแก่ติดโก  เหมือนเด็กติดเกมส์"

สวัสดีค่ะวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei

  • ลองทำแบบทดสอบตาม link ได้ค่ะ
  • ถ้าใครอยู่ในระดับเสพติดออนไลน์มากเดี๋ยวปรับโปรแกรมแล้วจะเชิญชวนเข้ามกลุ่มด้วยกันนะคะ ^____^

สวัสดีค่ะ Wasawat Deemarn

  • อ.ลองทำแบบทดสอบยังคะ..ท่าจะได้คะแนนเต็ม(สูง)อิอิ
  • สาวกตัวจริงเสียงจริง ^^

ขอบคุณ บันทึกดีๆ ครับ อาจารย์

ยินดีที่ได้ร่วมแบ่งปันใน G2K ร่วมกันค่ะท่าน พ.แจ่มจำรัส ^^

  • นำดอกไม้ที่มอดินแดงมาฝากศิษย์เก่าครับ 

  • IT พระท่านว่า ต้องมีอีก T
  • T = Time 
  • รู้จักาละเทศะ ในการใช้ให้เป็นประโยชน์ ครับ

ท่าน JJ

  • เห็น กัลปพฤกษ์ แล้วคิดถึงมข.ค่ะ
  • ช่วงนี้มช.คงมีดอกทองกวาวสีเด่นสวยงามเป็นแน่แท้เช่นกัน
  • ตอนนี้คงได้แต่ดูต้นมะพร้าวไปพลางๆก่อนค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท