การทำแผล debridement เบาหวาน


แบบฟอร์มการสมัครผลงาน R2R เข้าร่วมการประกวด

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลส่วนบุคคล

1.  ชื่อโครงการ : การศึกษาวิธีการทำแผลด้วยวิธี debridement เพื่อลดการตัดนิ้วตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

2.  ชื่อนักวิจัยหลัก : นางรุนนา  ใจสุข    

3.  ตำแหน่ง : พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ    

4.  หน่วยงาน : ผู้ป่วยนอก    

5.  วุฒิการศึกษา : ปริญญาตรี พยาบาลศาสตร์และการผดุงครรภ์ ชั้น1

6.  การติดต่อ :นางรุนนา  ใจสุข  โรงพยาบาลศรีสงคราม ต.ศรีสงคราม อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม 48150 โทรศัพท์ 042-599-230 ต่อ 142 และ 080-4625022 ที่อยู่เมล์: [email protected]

7.  รายชื่อทีมวิจัย : นางรุนนา  ใจสุข

8.  แหล่งทุนวิจัยและงบประมาณที่ได้รับ (บาท) : -  

9.  การจัดกลุ่มงานวิจัย :9.1 พื้นที่ : โรงพยาบาลชุมชน9.2 ทีมวิจัย : แพทย์ พยาบาล  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย9.3 หัวข้องานวิจัย :                          

10.  ผลงานวิจัยนี้เคยได้รับรางวัลมาก่อนหรือไม่ : ไม่เคย   ถ้าเคย ได้รับรางวัลใด การประชุมที่ใด : เคยเสนอ งานสัมมนาวิชาการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เครือข่ายสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่5-6-7 วันที่ 29 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2554

การศึกษาวิธีการทำแผลด้วยวิธี debridement เพื่อลดการตัดนิ้วตัดเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน

                              นาง รุนนา  ใจสุข 

                          โรงพยาบาลศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

บทคัดย่อ

บทนำ ผู้ป่วยเบาหวานเกิดแผลที่เท้าด้วยปัจจัยหลายอย่าง จากตัวของโรคเบาหวานเอง และจากอุบัติเหตุ จากสถิติโรงพยาบาลศรีสงครามพบว่า แผลเบาหวานส่วนมากเกิดจากอุบัติเหตุ 85% (จากการเหยียบหนาม ไม้ลูกชิ้น และกระแทกกับวัตถุ) และรองลงมาเกิดจากโรคเบาหวานเอง เกิด Neuropathy แล้วทำให้เกิด Callus  15% สาเหตุเกิดจากการขาดความรู้ในการดูแลเท้า 40.83% และมีความรู้แต่ไม่ปฏิบัติตาม 59.20% เมื่อเกิดแผลเบาหวานแล้ว ผู้ป่วยไม่ยอมมารักษาที่โรงพยาบาลเนื่องจากทัศนคติกลัวการทำแผลว่ามาโรงพยาบาลแล้วจะต้องทำแผลแรง ขูดแผล ตัดแผล จะทำให้แผลไม่หายสักที จึงตัดสินใจไม่มาโรงพยาบาลและจะปกปิดบาดแผล จนกระทั่งทนความเจ็บปวดไม่ไหว มีไข้สูง แผลเน่าเปื่อย นิ้วดำ มีกลิ่นเหม็น จึงตัดสินใจมาโรงพยาบาล เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแพทย์ก็ไม่สามารถดูแลรักษาบาดแผลได้ ต้องส่งตัวรักษาต่อที่โรงพยาบาลนครพนม และสุดท้ายถูกตัดนิ้ว/ตัดเท้าเสมอ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้งานผู้ป่วยนอก สนใจศึกษาวิธีการทำแผลโดยวิธี Debridement เพื่อลดการตัดนิ้วตัดเท้าผู้ป่วยเบาหวาน แผลหายเร็วขึ้น รวมทั้งลดการส่งต่อและค่าใช้จ่ายในการรักษา

ระเบียบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ในกลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลตั้งแต่ระดับ 1A ขึ้นไป(บาดแผลชั้นตื้นไม่ลึกถึงเอ็น/กระดูก)จนถึงระดับ3B ( บาดแผลลึกถึงBONE/มีการติดเชิ้อ/ขาดเลือดมาเลี้ยง)และมีระยะเวลาการเกิดแผลไม่เกิน 1 สัปดาห์ ที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีสงครามในระหว่างเดือน มกราคม-ธันวาคม2555 จำนวน 45 ราย(เป็นชาย 16 คน หญิง 29 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกบาดแผล รายละเอียดบาดแผล   แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

ผลการวิจัย พบว่า แผลผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนใหญ่อยู่ระดับ 2ABและร้อยละ 95.87 แผลหายจากการทำแผลโดยการใช้ วิธี Debridement (ระยะเวลาการหายของแผลเฉลี่ย 29.71 วัน) นอกจากนั้น ยังไม่พบการตัดนิ้ว ตัดเท้า ในกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลลดลงจาก30 วัน เหลือ 12.5 วัน ส่งผลให้สามารถลดค่าใช้จ่ายจากเดิม 67,000 บาทต่อรายเป็น 8,100 บาทต่อราย นอกจากนี้ไม่พบการส่งต่อผู้ป่วยจากการดูแลแผลโดยวิธี Debridement   และภาพรวมความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการดูแลบาดแผล ร้อยละ100

ผลการนำวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ หน่วยงานได้นำไปจัดทำแนวทางสื่อสารไม่ให้กลัวการทำแผล และสื่อการให้ความรู้ในการดูแลเท้า10ประการกับผู้ป่วยและญาติทุกครั้งที่มารับบริการตามนัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแผลและการตรวจสุขภาพเท้าทุก1ปี นอกจากนี้ยังได้ขยายวิธีการ การประเมินบาดแผล และการทำแผลโดยวิธี Debridement   แก่รพสต.ทำให้ผู้ป่วยที่ส่งต่อไปทำแผลที่รพสต. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ทำแผลได้ดี ไม่มีการติดเชื้อกลับมาอีก

บทเรียนที่ได้รับ วิธีการทำแผลโดยวิธี Debridement   เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำแผลเบาหวาน การฝึกทำแผลบ่อยๆให้เกิดความชำนาญการจะสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ในการดูแลแผล ทำให้รักที่จะทำแผลและทำได้ดีที่สุด เกิดความรู้สึกอิ่มใจ นอกจากนี้ยังสามารถทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดการตัดนิ้วตัดเท้า ลดค่าใช้จ่ายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย  ผู้ป่วย/ญาติพึงพอใจ เชื่อมั่น ศรัทธา และวางไว้ใจในโรงพยาบาล  

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ:ความมุ่งมั่น ตั้งใจ ความพยายามของผู้ปฏิบัติงาน และทีมสหสาขาวิชาชีพให้ความร่วมมือ

การสนับสนุนที่ได้รับจากผู้บริหารหน่วยงาน/องค์กร:สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณในการดำเนินงานและ เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ

             


คำสำคัญ (Tags): #ความรู้
หมายเลขบันทึก: 521289เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2013 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มีนาคม 2013 10:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท