เรื่องของไฟฟ้า


ไฟฟ้า

วันนี้ดิฉันได้หยิบสารานุกรมวิทยาศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีรูปภาพประกอบและสีสันสวยงาม มองดูแล้วน่าสนใจกำลังต้องการศึกษาพอดี(ดิฉันเรียนฟิสิกส์กับอาจารย์ฤทธิไกรค่ะ)มาเรียนรู้พร้อม ๆ กันค่ะ

ไฟฟ้า

ไฟฟ้า(electricty) เป็นพลังงานรูปหนึ่งเกิดขึ้นโดยการเคลื่อนที่ของอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งมีประจุเรียกว่าอิเล็กตรอน(electron) ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานสำคัญในโลกทีพัฒนาแล้ว

   อะเลสซานโดร  โวลตา  (Alessandro  Volta)  นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน(ค.ศ. 1745-1827)  เป็นผู้บุกเบิกด้านไฟฟ้า  ในปี  ค.ศ. 1800  โวลตาประดิษฐ์แบตเตอรีชิ้นแรก  ซึ่งเก็บประจุไฟฟ้าได้

 แบตตารี่นี้ชื่อว่า เถาโวลตา (Voltaic  pile)

 

รอเบิร์ต  มิลลิแกน (Robert  Millikan)  นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (ค.ศ.1868-1953)  ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อปี ค.ศ.1923  นับเป็นบุคคลแรกที่วัดประจุของอิเล็กตรอนได้

 

นิวเคลียสของอะตอมประกอบด้วยโปรตอนประจุบวก  และนิวตรอนไม่มีประจุ  อิเล็กตรอนประจุลบ  เดินทางรอบนิวเคลียสด้วยอัตราเร็วสูง  อะตอมคาร์บอนนี้มีอิเล็กตรอนหกตัว  นิวตรอนหกตัวและโปรตอนหกตัว

 

ประจุเป็นบวกของโปรตอนในอะตอมไฮโดรเจนดึงดูดอิเล็กตรอนแระจุลบสู่นิวเคลียส  ในอะตอมทั้งหมดอิเล็กตรอนเดินทางรอบนิวเคลียสในระดับพลังงาน  บางทีเรียกว่า  เปลือกหุ้ม (shells)

เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านโลหะ  อิเล็กตรอนบางตัวกระโดดจากอะตอมหนึ่งไปสู่อีกอะตอมหนึ่ง  อะตอมอื่น  ๆ โครจรรอบนิวเคลียสของอะตอมที่อยู่ในตำแหน่งคงที่

สสารทุกชนิดตั้งแต่กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือไปจนถึงอากาศที่เราหายใจประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ เรียกว่า อะตอม  (atom)  แต่ละอะตอมมีศูนย์กลางที่เป็นประจุบวก  เรียกว่า นิวเคลียส (nucleus) หลายนิวเคลียส (nuclei) มีอนุภาคที่เป็นประจุเรียกว่าโปรตอน (proton)

และอนุภาคเป็นกลาง  ไม่มีประจุเรียกว่านิวตรอน (neutron) อนุภาคที่มีประจุลบมีขนาดเล็กมากกว่า  เรียกว่า  อิเล็กตรอนวิ่งรอบนิวเคลียสด้วยความเร็วสูง

โดยทั่วไปจำนวนอิเล็กตรอนในวัตถุเท่ากับจำนวนของโปรตอน  ประจุลบของอิเล็กตรอนสมดุลกับประจุบวกของโปรตอนและวัตถุนั้นจะเป็นกลาง วัตถุที่มีอิเล็กตรอนน้อยกว่าโปรตรอนมีประจุเป็นบวกและจะดึงดูดอิล็กตรอน  วัตถุที่มีประจุเป็นลบมีอิเล็กตรอนมากกว่าโปรตรอน  และวัตถุนั้นพร้อมจะให้อิเล็กตรอนที่มากเกินพอแก่วัตถุที่มีประจุเป็นบวก

สำหรับวันนี้ขอจบการเรียนรู้ไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะค่ะ  ขอขอบคุณอาจารย์ฤทธิ์ไกรที่ได้แนะนำสั่งสอนและขอขอบคุณหนังสือดีดีจากสารานุกรมวิทยาศาสตร์ของคิงพิชเชอร์

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 521002เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 20:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 20:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท