เมื่องานที่รับมอบหมายไม่ได้ทำที่ “ปอเนาะดาลอ”


                   

 

                    

                    

 

 

เมื่องานที่รับมอบหมายไม่ได้ทำที่ “ปอเนาะดาลอ”

ในการเดินทางของCoreModule 0: Orienting the Map; Orienting the Mind นักเรียน คศน.3
ทุกคนได้รับมอบหมายในการทำหน้าที่ เริ่มตั้งแต่ทุกคนมี Assignmentของตนเอง พร้อมกับงานในตารางแต่ละช่วงมีกำหนดการออกมาอย่างชัดเจน (1) เตรียมเครื่องแต่งกายที่เหมาะสมกับโอกาส (2)ผู้นำจะถูกจัดเป็นทีม
โดยแต่ละทีมจะได้รับมอบหมายงาน (3)ค้นคว้าข้อมูลงานที่ได้รับAssignment (4) Brief ข้อมูลให้เพื่อนๆฟังก่อนการเดินทางไปทำกิจกรรม (5)ทำหน้าที่แนะนำทีม/คณะของเราให้กับชุมชนคณะผุ้แทนหน่วยงาน องค์กรที่มาต้อนรับและบรรยาย (6)รวบรวมข้อมูลเอกสารที่สำคัญที่ได้รับ รวมทั้งจดบันทึก (7)กล่าวขอบคุณและมอบของที่ระลึก (8)จดประเด็นสรุปเนื้อหาและนำการอภิปรายเมื่อกลับมาจากการทำกิจกรรมนั้นๆ  แต่เมื่อไปศึกษาเรียนรู้ที่
“สถาบันปอเนาะสมบูรณ์ศาสน์(ปอเนาะดาลอ)”

การศึกษาดูงานเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2556 เริ่มตั้งแต่ในช่วงบ่าย
พวกเราตื่นเต้นกันมากที่จะได้เห็นสภาพจริงของสถาบันปอเนาะ[1]
สถาบันปอเนาะดาลอ เป็นปอเนาะที่ตั้งมาเป็นเวลากว่า
80 ปี 
แต่กลุ่มผู้ผญิงผู้นำทั้งหลายก็กังวลกับผ้าโพกผม ที่พี่เมตตา  กูนิง เป็นผู้จัดหาให้กับคณะ
เป็นการสอนการโพกผ้า แต่สิ่งที่ขาดหาไปคือข้อปฏิบัติของกลุ่มผู้นำผู้หญิงทั้งหลายที่ต้องปฏิบัติตัวในปอเนาะ  พอลงจากรถตู้มีนักเรียนปอเนาะเชิญ 
ผู้นำผู้หญิงมาเข้าห้องที่มีผ่านสีน้ำเงินกั้นกลาง 
คำถามผุดขึ้นมาทันทีพวกเราถูกปฏิบัติเป็นพลเมืองชั้นสอง(ผู้หญิงหลังม่าน)  ทำให้เกิดการอึดอัด ทำอะไรไม่ถูก  งานที่ได้มอบหมายจะทำอย่างไร
เวทีการพูดคุยกับกลุ่มผู้นำผู้ชายก็เริ่มพูดคุยกันแล้ว  ณ.
เวลาบอกได้เลยว่าทำตัวไม่ถูกว่าจะทำอย่างไร 
แล้วอยากซักถามหลายประเด็น 
แต่ก็มีคำถามแยงในใจในเมื่อเขาไม่อยากให้เราได้เห็นหน้ากัน
ไม่อยากเรียนรู้ร่วมกัน ก็ไม่ต้องถามก็ได้ 
หลังจากนั้นเราก็จะเห็นผู้นำผู้หญิงของเราถ่ายรูป
ส่งงานทางอินเตอร์เน็ตกันบ้าง 
แต่สำหรับตัวเองนั่งจดประเด็น 
จะนำมาสรุปเพราะคำว่า

”หน้าที่”
ประเด็นแต่ละประเด็นเป็นสิ่งที่บอกได้เลยว่าน่าสนใจมาก

     เด็กนักเรียนที่มาเรียนปอเนาะดาลอมาจากหลากหลายพื้นที่ตั้งแต่ลูกหลานชาวมุสลิม กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี  ฉะเชิงเทรา และเด็กภาคใต้ มีเด็กที่มาจากประเทศกัมพูชา อินโดนิเซีย อยู่ร่วมกันประมาณ 300-350
คน แต่วันที่พวกเราไปศึกษาดูงานนั้นเป็นวันปิดเทอมนักเรียนส่วนใหญ่จะกลับบ้านของตนเอง  จะมีบ้างที่เหลืออยู่  สำหรับปอเนาะดานอที่พวกเราเห็นด้วยสายตาจะเป็นกระท่มที่สร้างขึ้นเป็นหลังจะมี 2 ห้องนอนนักเรียนจะแบ่งกันเป็นห้อง และบ้านที่สร้างขึ้นจะเป็นสมบัติของปอเนาะ แต่เดิมเคยมีนักเรียนที่สร้างไว้ พอจบก็ไม่ได้ยกให้ปอเนาะทำให้ไม่ได้ใช้บ้านอย่างคุ้มค่าและเป็นปัญหาในการจัดการ ทางปอเนาะดาลอจึงสร้างเป็นส่วนร่วม(บทสัมภาษณ์นักเรียนในปอเนาะดาลอ)  ทางนักเรียนจะออกไปจากปอเนาะแล้วเกิน 15 วัน แล้วไม่ส่งข่าวเลยหรือไม่กลับมาบ้านหลังนั้นจะให้กับนักเรียนคนใหม่ที่จะเข้ามาเรียน  สำหรับปอเนาะดาลอไม่มีช่วงการรับสมัครเด็กคนนั้นพร้อมเมื่อไร ขอให้อายุเกิน 16 ปีก็สามารถเข้ามาเรียนได้ ปัจจุบันมีนักเรียนอายุ 60 ปีมาเรียนที่ปอเนาะดาลอด้วยเหตุผลว่า ตอนเป็นวัยรุ่นใช้ชีวิตที่สุ่มเสี่ยง ในปัจจุบันจึงขอมาเรียนหลักศาสนาอิสลามที่มีเป้าหมายการศึกษาคือการจำนนต่ออัลลอฮ อย่างสิ้นเชิงทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคมและมนุษยชาติ”โดยพ่อแม่ที่ส่งลูกมาเรียนที่ปอเนาะดาลอหวังเป็นสถาบันจัดการเรียนการสอนอิสลามให้ความศรัทธาเป็นอย่างยิ่งเพราะปอเนาะดาลอที่อบรมสั่งสอนและขัดเกลาจิตใจบุตรหลานให้เป็นคนดีมีความรู้คู่คุณธรรม สามารถปฏิบัติศาสนากิจที่ถูกต้อง  สิ่งที่เป็นบอกความสำเร็จของปอเนาะดาลอลูกศิษย์รุ่นแรกที่มาเรียน คือคุณพ่อของ คุณสุรินทรื พิศสุวรรณ  ที่ตั้งสถาบันปอเนาะจังหวัดนครศรีธรรมราช  และยังมีลูกศิษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ตั้ง”ปอเนาะ” และเป็นโต๊ะครูอีกจำนวนมากที่เผยแพร่หลักของศาสนาอิสลามที่ถือว่ามุสลิมทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องศึกษาและเผยแพร่ศาสนาของตนผู้ใดมีความรู้แต่ไม่ยอมเผยแพร่ให้ผู้อื่นถือว่าเป็นบาป

  สิ่งที่ประทับใจที่ได้เรียนรู้ของสถาบันปอเนาะดาลอ
ได้แก่
(1) ความตั้งใจของบาบอ(โต๊ะครู)ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ มีความรู้ทางด้านศานาอิสลามเป็นอย่างดีมากและไม่มีเงินเดือน สอนเด็กถือว่าเป็นการเผยแพร่หลักคำสอนอย่างถูกต้อง  เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ไปทำหน้าที่นี้สืบต่อไป
โดยเฉพาะบาบอบอกว่าปอเนาะ คือแสงเทียนส่องทาง

(2) เด็กที่พ่อแม่ส่งเข้ามาเรียนที่ปอเนาะดาลอพ่อแม่ได้เตรียมลูกหลานของเขาแล้วที่จะเป็นผู้สิบทอดทางศาสนา  และปอเนาะดาลอจะรับเด็กที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปีขึ้นไปในปัจุบันมีนักเรียนที่มีอายุมากมากเรียนด้วยสิ่งที่เป็นปรากฎการณ์ พ่อแม่ของเด็กเตรียมเปิดสถาบันปอเนาะให้ลูกเมื่อลูกเรียบจ

(3) การประเมินผลของสถาบันปอเนาะดาลอที่เห็นอย่างชัดเจน  คือไม่มีการประเมินผลทางเอกสาร  แต่คนที่จะจบจากปอเนาะดาลอไป คือต้องเป็นผู้สอนคนอื่นได้ และสอนอย่างถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามด้วย  พร้อมทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิและการปฏิบัติตัวด้วยความเป็นจริง ด้วยความงาม และความดี

(4) หลักการปฏิบัติทางหลักศาสนาคือการยึดมั่นศรัทธา  ที่ว่าด้วยการกล่าวปฏิญาณตน, การดำรงการละหมาดวันละ 5 เวลา,การถือศีลอด,การเสียซากาต และการเดินทางไปทำพิธีฮัจย์(สำหรับผู้ที่มีความสามารถจะไป)ซึ่งเป็นตารางในการกำหนดการปฏิบัติตัวของเด็กนักเรียนปอเนาะดาลออย่างชัดเจนในแต่ละวัน และหลังจากในช่วงกลางคืน
จะมีการเรียนกันต่อระหว่างพี่กับน้องเป็นการสอนตัวต่อตัว ซึ่งเป็นการเชื่อมความเป็นกัลยาณมิตรในสายของศาสนาอย่างชัดเจน

(5) สื่อการเรียนของเด็กนักเรียนเราจะเห็นแบบเรียนที่อยู่ในห้องเรียน(วันที่ผู้นำไปเรียนรู้แปลงเป็นห้องประชุม)
ซึ่งเป็นสถานที่ใช้ละหมาดของสถาบันปอเนาะดาลอด้วย ซึ่งใช้อัลกุรอ่านเป็นหนังสือเรียน หรือที่เรียกว่ากีตาบ
อยู่ข้างฝาผนังยกเป็นหิ้งใส่หนังสือจำนวนมาก

(6) การมีกฎร่วมกันในการอยู่ร่วมกันสถาบันปอเนาะดาลอรับเฉพาะเด็กผู้ชายมาเข้าเรียน อาหารการกินต้องรับผิดชอบเอง  ค่าใช้จ่ายครั้งแรกในการเรียน 500 บาท จนกว่าจะเด็กจบจากสถาบันปอเนาะดาลอ ไม่มีการเก็บเป็นรายเดือนมีเด็กบางคนที่ต้องไปหาปลา หาอาหารมาทำร่วมกัน แต่ที่นี้ก็มีการเกษตรด้วย  จะมีเด็กนักเรียนที่ผิดกฎ
บาบอจะลงโทษให้ไปทำงานเกษตร แต่ผลผลิตที่ได้มาก็คือมาแบ่งปันให้นักเรียนการเล่นกีฬาจะเป็นข้อห้ามคือฟุตบอล บอลเลย์บอล (กีฬาที่ใช้กำลัง)เพราะว่าเมื่อมีการเสียเหงื่อมาก การเรียนจะลดน้อยลง

(7) กฎร่วมกันอีกข้อ คือการห้ามมีมือถือหรือเครื่องมือสื่อสารทางเทคโนโลยี เพราะเด็กจะขาดความสนใจ ใส่ใจ ในการเรียน เพราะแย่งเวลาของเด็กในการเรียนศาสนาไปหมด

        สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถาบันปอเนาะดาลอทำให้เข้าหลักศาสนาอิสลามเพิ่มมากขึ้น
และทำให้คำถามของตัวเองตั้งแต่การเริ่มเข้ามาที่สถาบันปอเนาะดาลอ  หรือแม้แต่หน้าที่ที่ถูกกำหนดไว้แล้ว  ไม่ได้ปฏิบัติแต่ก็ได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในการปฏิบัติตัวของผู้หญิงมุสลิม  ที่ต้องมีหน้าที่ดูแลครอบครัว ดูแลลูก
พร้อมกับการเรียนหลักศาสนาไปด้วย เพื่อจะช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น



 






 



[1] ปอเนาะ
เพี้ยนจาก pondok  “ปนดก”
ในภาษามลายูกลาง ยืมมาจากภาษาอาหรับ หมายถึง
สำนักสอนศาสนาอิสลามที่มีหอพักนักเรียนอยู่ในบริเวณสำนัก
ซึ่งโดยปกติจะเป็นกระท่อมเล็กๆที่สร้างล้อมบ้านบาบอ(โต๊ะครู)







 




หมายเลขบันทึก: 520997เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 18:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท