การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) สำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์


การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) สำหรับผู้ป่วยรูมาตอยด์


ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ มีปัญหาทั้งทางด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตลงลงการวินิจฉัย และการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกของโรคก่อนที่ผู้ป่วยจะมีข้อพิการผิดรูปอย่างถาวร (irreversible deformity) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญที่จะช่วยป้องกันภาวะทุพพลภาพ ยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และลดอัตราการตายในผู้ป่วยเหล่านี้ ปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยรูมาตอยด์เกิดภาวะทุพพลภาพน้อยลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

บทบาทการรักษาทางกิจกรรมบำบัด

Lifestyle เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อทำให้สามารถทำงานได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้แก่

การออกกำลังกายและการผักผ่อน

1.  นักกิจกรรมบำบัดจะช่วยผู้ป่วยในการออกแบบตารางเวลาการจัดกิจกรรม ให้เหมาะสมกับเวลาการพักผ่อนรวมถึงกิจกรรมยามว่างด้วยเช่นเดียวกัน Rest and exercise ต้องมีความสมดุลระหว่างการออกกำลังกายและการพัก การพักเพื่อลดการอักเสบ ลดอาการปวด และควรจะพักให้สั้นที่สุด การออกกำลังจะช่วยให้ข้อแข็งแรงมากขึ้น ลดการอักเสบ หลับได้ดีขึ้น หากตื่นมาตอนเช้ามีอาการข้อยืดหรือเคลื่อนไหวลำบากให้ทำการยืดเส้นดังต่อไปนี้


การดูแลข้อ

นักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ออกแบบการทำsplintให้เป็นไปตามรูปข้อของผู้ป่วย เพื่อใช้ลดอาการปวดและทำให้ข้อได้พัก นอกจากนั้นอาจต้องใช้อุปกรณ์อื่นเพื่อช่วยผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน

การดามเพื่อให้ข้อพัก

เราใช้การดามในกรณีดังต่อไปนี้

  • ต้องการลดอาการปวดข้อมือหรือปวดมือ
  • ลดอาการบวมหรือข้อยืดในตอนเช้า
  • ให้ข้อมีการพักในท่าที่ถูกต้อง

การดามเพื่อประคับประคองในขณะใช้ข้อมือ

จุดประสงค์ของการใส่ดามชนิดนี้

  • เพื่อประคองข้อมือ และนิ้วหัวแม่มือในขณะใช้งานเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรง
  • ทำให้ทำงานสะดวกยิ่งขึ้น
  • กำมือได้แข็งแรงขึ้น
  • ป้องกันปวดข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ
3.การลดความเครียด  

นักกิจกรรมบำบัดจะคอยให้คำแนะนำ การจัดการรูปแบบการใช้ชีวิตที่เหมาะสมสำหรับโรคที่เป็นอยู่ เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคเรื้อรังไม่หายผู้ป่วยมักจะหมดหวังกับชีวิต หมดกำลังใจในการรักษา แพทย์รวมทั้งญาติต้องให้กำลังใจผู้ป่วย และคอยดูแลเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

4.  อาหาร 

อาหารที่ไม่มีผลกระตุ้นให้เกิดอาการปวดข้อ ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้ ได้แก่

-  ข้าวกล้อง

-  ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือทำแห้ง (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วยลูกพีช หรือมะเขือเทศ)

-  ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่

-  น้ำ ได้แก่ น้ำธรรมดา หรือ โซดา

-  เครื่องปรุงรส ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

  อาหารที่ มีผลกระตุ้น ให้อาการกำเริบ คือ ผลิตภัณฑ์นมทุกชนิด ทั้งจากนมวัวและนมแพะข้าวโพด เนื้อสัตว์ทุกชนิด ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ

5.  อากาศ ผู้ป่วยบางรายจะเกิดอาการกำเริบเมื่อพบกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันดังนั้นควรหลีกเลี่ยง

6.  การรักษาโดยใช้ยา 


ยาที่ใช้รักษาโรครูมาตอยด์แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่หนึ่ง

ได้แก่ ยาในกลุ่มแก้ปวด ซึ่งเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการในผู้ป่วยที่มีความเจ็บปวดจากข้ออักเสบ ได้แก่ พาราเซตามอล และทรามาดอล และยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หรือเอ็นเสด (NSAIDs

ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้เร็วและช่วยบรรเทาอาการได้นานหลายชั่วโมง แต่เมื่อยาหมดฤทธิ์อาการเจ็บปวดก็จะกลับมาอีก

  ยากลุ่มที่สอง

ได้แก่ ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ซึ่งเป็นกลุ่มยาที่มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคหรือดีมาร์ด (DMARDs) และมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบได้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ เม็ทโธเทร็กเซท (methotrexate), คลอโรควิน (chloroquine) ยาแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในแง่กลไกการออกฤทธิ์ ระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ขนาดของยาที่ใช้ ประสิทธิภาพในการรักษา  ดังนั้นแพทย์ผู้รักษาจะพิจารณาข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ของผู้ป่วยอย่างละเอียดเพื่อเลือกชนิดของยาดีมาร์ดที่เหมาะสมที่สุดแก่ผู้ป่วยแต่ละราย

7.  รองเท้า


รองเท้าที่ดีต้องมีลักษณะดังนี้

  • รองเท้าต้องมีลักษณะเหมือนเท้าของท่าน
  • ไม่ซื้อรองเท้าที่มีตะเข็บบริเวณที่เจ็บเช่นบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า
  • ควรใช้รองเท้าที่เป็นเชือกผูกเพราะจะใส่ได้พอดีกว่ารองเท้าที่เป็นแบบ slip-on shoes

ภาวะที่เกิดจากการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม

8. การผ่าตัด

1.  จะมีบทบาทในการรักษาโรครูมาตอยด์ ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เอ็นขาด เป็นต้น

  ผู้ป่วยและญาติควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค วิธีรักษาโรค การดูแลตนเองในด้านต่างๆ ทราบถึงการทำที่ถูกต้องเพื่อลดอาการเจ็บปวดและวิธีปฏิบัติตนเองเพื่อป้องกันความพิการ ซึ่งสามารถศึกษาได้จากสื่อต่างๆ ทั่วไป และเนื่องจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะเป็นๆหายๆ บางครั้งผู้ป่วยก็ทราบล่วงหน้าว่าโรคจะกำเริบ แต่บางครั้งไม่ทราบทำให้เป็นปัญหาในการวางแผนชีวิต ช่วงที่เป็นปกติผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทำงานได้อย่างมากเพื่อชดเชยช่วงที่ป่วยซึ่งจะกระตุ้นให้โรคกำเริบ ดังนั้นผู้ป่วยต้องปรับการทำงานเพื่อมิให้โรคกำเริบ โดยควรได้รับคำปรึกษาและการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ต่อไป



อ้างอิง รศ.พญ. ไพจิตต์ อัศวธนบดี อายุรแพทย์โรคข้อ.ข้ออักเสบรูมาตอยด์ รู้ช้าเสี่ยงพิการ.เข้าได้ถึงจาก/ Available from: http://www.healthtoday.net/thailand/disease/diisease_108.html

อ้างอิง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.บทความสั้นเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ จากภาควิชาอาหารเคมีลำดับที่ 4. กินอะไร เลี่ยงอะไร ในโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid).ปีพิมพ์[2010-02-02].เข้าได้ถึงจาก/ Available from: http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=4






หมายเลขบันทึก: 520895เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 20:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท