ศิลปการแสดงของชาวไต(ไทยใหญ่ )


ฟ้อนกิ่งกะหล่า

การฟ้อนกิ่งกะหล่า่การเป็นศิลปการแสดงของชาวไตที่นิยมแสดงในเทศกาลออกพรรษาตามตำนานเชื่อว่า ในครั้งพุทธกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อตรัสรู้แล้วก็เสด็จไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นพอถึงวันออกพรรษาจึงได้เสด็จกลับลงมายังพื้นโลก มนุษย์เล่าเทพยดา และสัตว์ในป่าหิมพานต์ ต่างพากันปิติยินดีจึงได้มารอรับเสด็จพระพุทธองค์  ได้มีนกกิ่งกะหล่า( กินรา-กินรี ) มาฟ้อนด้วยลีลาอันอ่อนช้อยงดงาม  จากตำนานนี้ชาวไตจึงได้ยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้ พอถึงเทศกาลออกพรรษาจึงได้จัดให้มีการแสดงฟ้อนกิ่งกะหล่าขึ้นทุกปี

ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนกิ่งกะหล่าประกอบด้วย  กลองก้นยาว 1 ใบ ฆ้อง 2 ใบและ ฉาบ 1 คู่ กลองเป็นตัวกำหนดจังหวะในการฟ้อนจังหวะในการตีกลองในการฟ้อนจะแตกต่างจากการตีในงานแห่ทั่วๆไป

กระบวนท่าในการฟ้อนในสมัยโบราณนั้นไม่ได้กำหนดเป็นชื่อท่ารำข้าพเจ้าจึงได้เรียบเรียงท่ารำและกำหนดชื่อเป็นภาษาไทยใหญ่ คล้องจองกันดังนี้

1. เลิบตี๋หลอดสะเมิง   หมายถึง  ลัดเลาะตามป่าหิมพานต์

2. เติ่งหาพาราเป๋นเจ้า หมายถึง อธิษฐานถึงพระพุทธเจ้า

3. เข้าฮอดหนองใส    หมายถึง  ไปเล่นนำ้ที่สระอโนดาษ

3. กัดใจ๋ซางเอ  หมายถึง   สดชื่นแจ่มใส

4. กางเพหย๋านไก๋  หมายถึง โรคภัยไข้เจ็บอย่าได้เบียดเบียน

5. ฮื่อไล่เฮอเอิงใส   หมายถึง   ขอให้เจริญรุ่งเรือง

6. เยิงใจ๋เอนอาน หมายถึง   ขอใจบริสุทธิ์

7. คืนวานเหลินปี๋   หมายถึง  ทุกคืนทุกวัน

8. ป่าระหมี่ใหญ่กว้าง  หมายถึงให้บารมีกว้างใหญ่

9. อยู่ซ่างเซอเปี่ยว   หมายถึง  ให้อยู่เย็นเป็นสุข

  

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ฟ้อนกิ่งกะหล่า
หมายเลขบันทึก: 52084เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใหม่สูงคา ปี่น้องชาวไตเฮา และขอสดุดีเมืองไตเฮา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท