แนะนำซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สเพื่อการจัดงานประชุมวิชาการ


เดี๋ยวนี้อาจารย์มหาวิทยาลัยอย่างเราๆ เริ่มจะคุ้นเคยกับคำว่า “ประชุมวิชาการ” กันมากขึ้น ด้วยอานิสงค์ของนโยบายตัวชี้วัด หรือ KPI อะไรนั่นละครับ ทำให้มหาวิทยาลัยหลายๆ แห่งขยันจัดประชุมวิชาการกันใหญ่

ณ บัดนี้ ทางคณะของเราก็ได้ฤกษ์จัดงานประชุมวิชาการบ้าง ซึ่งทางทีมงานก็ลงมติให้สาขาวิชาระบบสารสนเทศธุรกิจเป็นผู้รับผิดชอบการจัดทำเว็บไซต์ของงานประชุม ทีมงานของสาขาวิชาฯ เราเน้นโอเพนซอร์สอยู่แล้วครับเพราะมันเปิดโอกาสให้เราปรับแต่งอะไรได้ง่าย ใช้สะดวก เมื่อได้รับคำสั่งจากทางคณะ เราก็เริ่มออกล่าหาเว็บซอร์ฟแวร์จากอากู๋ มากมายหลายตัวดังนี้ครับ

ซอร์ฟแวร์ การใช้งาน ค่าใช้จ่าย ข้อคิดเห็น
EasyChair สมัครออนไลน์ ใช้ได้เลย
ฟรีจ้า เคยเห็นเขาใช้กัน ดีไซน์ไม่สวย และดูไม่เป็นมืออาชีพเอาเสียเลย
Conference Orgainzing Distribution 
ต้องติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์เอง
ฟรีสิจ๊ะ แม้จะพัฒนาบน drupal โอเพนซอร์ส CMS ชื่อดัง แต่ยังเป็น beta ไม่น่าใช้
HotCPR Conference Management Software
ต้องติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์เอง
ฟรีเหมือนกัน ดูวุ่นวายในการติดตั้ง ดูเหมือนเป็นโปรเจคที่มีผู้พัฒนาไม่กี่คน 
Open conference system
ต้องติดตั้งบนเซิร์ฟเวอร์เอง
ฟรีโลด พัฒนามาถึงเวอร์ชั่น 2 น่าจะใช้งานได้ไม่ติดขัด

หลังจากที่โต้ตอบอีเมลกับอาจารย์หลายท่านในสาขาวิชาฯ ก็ได้ข้อสรุป (ดูคอลัมน์สุดท้ายในตารางนะครับ) ว่าเราจะทดลองใช้ Open conference system (OCS) ซึ่งเป็นหนึ่งใน Public Knowledge Project หรือ PKP ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือของ Stanford University, University of British Columbia และอีกหลายมหาวิทยาลัยโดยมี Simon Fraser University เป็นแกนนำ โครงการ PKP เขาไม่ได้มีแค่ซอร์ฟแวร์จัดการงานสัมมนาวิชาการนะครับ ในกลุ่มซอร์ฟแวร์โอเพนซอร์สที่เขาพัฒนา ก็ยังมีตัวที่สามารถบริหารวารสารวิชาการได้ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนิด้าเขาก็ใช้อยู่ครับ

กลับมาที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อาจารย์ที่แก่กล้าด้านเทคนิคในสาขาวิชาฯ ของผมท่านเป็นคนจัดการกับเซิร์ฟเวอร์ ส่วนผมที่ไม่แก่กล้า (แต่แก่กว่า ฮา!) เป็นคนดูแลจัดระบบงานประชุมให้เรียบร้อยเพื่อส่งต่อให้กับคณะกรรมการจัดประชุมวิชาการต่อไป พอเริ่มลงมือก็เริ่มเห็นถึงความซับซ้อนของระบบเลยครับ ลองดูจากเอกสารอ้างอิงของเขาเองก็คงเห็นว่าระบบนี้ครอบคลุมในแง่การจัดประชุมสัมมนาวิชาการได้ครบถ้วน ตั้งแต่การจัดปฏิทินงานสัมมนา (ติดตั้งครั้งเดียว จัดงานสัมมนาได้หลายหน) การกำหนดบทบาทของผู้ใช้ตั้งแต่ director, author, reviewer, participant, และ reader (คนที่เข้ามาอ่านได้เฉยๆ) ครบถ้วนเลยทีเดียว แถมระบบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต (โดยใช้ระบบ paypal account) ซะด้วยนะครับ


(ภาพจาก คู่มือ OCS in an Hour ในรูปแบบ PDF)

ในเรื่องการปรับแต่งทั้งด้านดีไซน์ และด้านเนื้อหาการใช้งาน ผู้ใช้งานที่ไม่ได้แก่กล้าอะไรและเน้นงบประมาณน้อยอย่างผมก็ต้องพึ่งกระดานสนทนา และหน้าเอกสารการช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดเตรียมเว็บงานประชุมฯ ถ้าหน่วยงานไหนมีทุนทรัพย์ก็อาจจะจ่ายเงินเพื่อให้ PKP เขาช่วยแบบจริงๆ จังๆ ได้กว่านี้ด้วยนะครับ ผมคงจะไม่ลงรายละเอียดเรื่องเทคนิคเพราะเชื่อว่าโปรแกรมเมอร์อาชีพ ที่รู้ภาษา PHP และมีประสบการณ์มาสักสองสามปี ควรจะปรับแต่งได้ตามต้องการ (ถ้าเว็บโปรแกรมเมอร์ในองค์กรของท่านทำไม่ได้ แสดงว่าฝีมือไม่ถึงจริงๆ ควรหาคนใหม่ได้แล้ว)

เหตุผลจริงๆ ที่ผมอยากจะเขียนบันทึกนี้เอาไว้ ก็เพราะผมอยากจะเป็นอีกแรงหนึ่งที่สนับสนุนให้คนไทยหันมาสนใจ Open Source กันมากกว่านี้ครับ เท่าที่ได้สนทนากับ ม.ล. ลือศักดิ์ กรรมการสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย แกบอกว่าการเลือกใช้ Open Source นั้น เป็นการลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาบุคลากรแบบยั่งยืน

เป็นการลดค่าใช้จ่ายแบบเห็นๆ เพราะเงินที่จะเอาไปจ่ายค่าซอร์ฟแวร์และค่าสัญญาอนุญาตรายปี (license fee) ก็ไม่มี สมมติว่าเราต้องจ่ายให้ Microsoft Office ราคา 3,000 บาท แต่เราเลือกที่จะดาวน์โหลด OpenOffice แบบฟรีๆ ก็เท่ากับว่าเราประหยัดไป 3,000 บาท หรือพูดอีกอย่างคือ เราได้ใช้งานซอร์ฟแวร์ที่ใช้งานเทียบเคียงกันได้ และเขาแถมเงินให้เราอีก 3,000 บาทก็ไม่ผิดนัก (บทความนี้อธิบายว่าทำไม OpenOffice ถึงมีมูลค่ามหาศาลได้ถึง 21 ล้านเหรียญฯ ต่อวัน)

แต่ที่สำคัญกว่าการประหยัดคือ "โอกาส" ในการพัฒนาบุคลากรระยะยาวครับ เพราะธรรมชาติของ Open Source แม้จะมาแบบสำเร็จรูปเหมือนซอร์ฟแวร์ทั่วไป แต่มันเปิดโอกาสให้ผู้ใช้พัฒนา ปรับแต่ง ต่อยอดไปได้อีกมากมาย เช่นทางสาขาวิชาฯ ของเราที่ติดตั้งและค่อยๆ แยกส่วน OCS เอามาปรับแต่งเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของผู้ใช้นั่นล่ะครับ ตรงนี้แหละที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ต่างจากการใช้ซอร์ฟแวร์สำเร็จรูปที่เราไม่สามารถปรับแต่งอะไรได้เลย เพราะเขาปิดซอร์สโค้ดไว้หมด

ณ ขณะนี้ เว็บไซต์งานสัมมนาวิชาการของเรายังไม่เสร็จสมบูรณ์ครับ เลยยังไม่อยากจะเอามาโชว์ แต่ถ้าใครสนใจอยากลองใช้ก็ไปดาวน์โหลด OCS มาเล่นกันโลดเลยครับ 

หมายเลขบันทึก: 520456เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 เมษายน 2013 23:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

  • ขอขอบคุณ ในข้อคิดเห็น ข้อแนะนำ ซึ่งเป็นสาระความรู้ ที่เป็นประโยชน์มากครับ

ขอบคุณมากครับ อาจารย์ ;)...

ขอบคุณอาจารย์สามสัก อาจารย์ Wasawat และอาจารย์ขจิตมากๆ ครับ

ตอนนี้กำลังปรับแต่งหน้า Conference อยู่ ยิ่งใช้ก็ยิ่งรู้สึกว่ามันดีครับ แนะนำอย่างยิ่งเลยครับ :)

ยินดีครับอาจารย์ขจิต ตอนนี้เว็บเราใกล้เสร็จแล้ว ไว้จะเอามาโชว์นะครับ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท