การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ของผู้ป่วยสมองพิการ (Cerebral palsy)


นอกจากจะเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมของผู้ป่วยนั้นแล้วจะต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย ในทางกิจกรรมบำบัดจะมีแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสมองพิการให้ดียิ่งขึ้น โดยจะเน้น ดังนี้

-  เน้นการฝึกกิจวัตรประจำวัน เช่น การเคี้ยว การกลืน การจับช้อน การถอด-ใส่เสื้อผ้า การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด ถ้าผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เอง

ตัวอย่าง กิจกรรมส่งเสริมทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน

                                       

                                                ( อ้างอิง: http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic )

-  เน้นให้ผู้ป่วยได้การเรียนรู้ในด้านต่างๆ เช่น การกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการเล่น กระตุ้นการเรียนรู้ด้วยการทำกิจกรรมร่วมกับพี่น้อง เพื่อผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน การเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางสังคม เกิดความพยายามที่จะทำสิ่งต่างๆ ด้วยตนเองรวมถึงการเตรียมความพร้อมทางการเรียนด้วย

ตัวอย่าง กิจกรรมบำบัดกลุ่ม ส่งเสริมทักษะสังคม

                          

                                                        ( อ้างอิง: http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic )

-  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยการมีอุปกรณ์ช่วยในชีวิตประจำวัน เช่น ช้อน ด้ามแปรงสีฟัน แก้วน้ำ อาจจะต้องมีการเสริมด้ามอุปกรณ์ต่างๆ ให้เด็กสามารถจับได้ง่ายถนัดมือ ควรปรับสภาพแวดล้อม เช่น การทำทางลาด การทำราวฝึกเดิน การปรับพื้นห้องไม่ให้ลื่นหรือหยาบ ไม่มีสิ่งกีดขวาง การปรับโต๊ะ-เก้าอี้ การปรับสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมต่อการเรียนรู้ หรือการฝึกกิจวัตรต่างๆ ส่งเสริมให้เด็กสามารถเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนย้ายตนเองได้อย่างปลอดภัย  ซึ่งจะส่งเสริมพัฒนาการการเคลื่อนไหว และการฝึกการช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่าง  การปรับให้มีอุปกรณ์ช่วย อุปกรณ์เสริม และปรับสภาพแวดล้อม


(อ้างอิง:http://fcdthailand.org/library/detail.php?contentid=0022&postid=0000093&currentpage=1)

 

ในการที่ผู้ป่วยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีนั้นนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ยังต้องอาศัย กำลังใจจากครอบครัว และการยอมรับของคนในสังคม เพื่อที่จะให้ผู้ป่วยมีความสุขในการดำเนินชีวิต


อ้างอิงข้อมูล

         นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ.โรคสมองพิการ (cerebral palsy).นิตยสารการศึกษาอัพเกรด .2552.Available from:http://www.meedee.net/magazine/med/opd-guide


หมายเลขบันทึก: 520400เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้กำลังใจกับผู้ทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องมากๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท