การพัฒนาคุณภาพชีวิต(Quality of Life)ของเด็กออทิสติก


                                           

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่มีการตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่น หูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autismมี3ประเภท ดังนี้

  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ

เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

การรักษาโดยใช้ยา

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ประสาทหรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาจึงเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง

·  เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย

·  เด็กautismบางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี

·  Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย

การรักษาทางกิจกรรมบำบัด

                                                      

เริ่มแรก เริ่มจากการสังเกตพฤติกรรมของเด็กก่อน เพื่อดูระดับความสามารถของเด็ก และทราบว่าเด็กคนนี้ต้องการอะไรเพิ่มเติมหรือต้องยับยั้งพฤติกรรมอะไรให้น้อยลง เช่น

ต้องการอยู่คนเดียว

มีพฤติกรรมก้าวร้าว

การเล่น การทำกิจวัตรประจำวันของตนเองเป็นอย่างไร

การตอบสนองต่อสิ่งเร้า สิ่งรอบข้างเป็นอย่างไร

มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างหรือผู้ดูแลอย่างไร

การเข้าสังคมและพฤติกรรม

ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

จะเห็นได้ว่าการรักษาภาวะautismไม่มียาใดรักษาได้โดยตรง การทำกิจกรรมบำบัดจึงจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยประเภทนี้ เพราะเป็นการรักษาที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำกิจกรรมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


อ้างอิง เด็กออทิสติก.[internet].2012.[cited 2013 FEB20]. Available from:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/austism/autism.htm

หมายเลขบันทึก: 520397เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท