การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ในผู้ป่วยพาร์กินสัน


                                 การพัฒนาคุณภาพชีวิต (Quality of Life) ในผู้ป่วยพาร์กินสัน

คุณภาพชีวิต หมายถึง สภาวะความพร้อมของบุคคลทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะสามารถส่งผลให้ เขาดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

                                                           

              โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสมอง ผู้ป่วยโรคนี้ จะมีความผิดปกติของ การเคลื่อนไหว  ผู้ป่วยอาจจะมีอาการทรุดลงไปตามกาลเวลา พบโรคนี้ในเพศหญิงและชายเท่าๆกัน และพบในทุกอายุ แต่จะพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป และ  เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้หายขาดได้ การให้ยาเป็นการช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องออกกำลังกาย และทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด ร่วมด้วยทำให้อาการต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ให้ทรุดตัวเร็ว

              การออกกำลังกาย การทำกายภาพบำบัด และการทำกิจกรรมบำบัด จะช่วยเพิ่มความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อและกระดูก ฝึกการทรงตัว และช่วยให้ขับถ่ายดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบาย แข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น และช่วยตนเองได้มากขึ้น หากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันไม่ได้รับการรักษา อาการของโรคพาร์กินสัน จะทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความยากลำบาก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการสั่น และเกร็งมาก และมีโอกาสหกล้มมากขึ้น หรือกลืนลำบาก สำลักอาหารง่ายขึ้น

       

การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด

                                                 

       เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสัน ส่วนใหญ่มักจะเกิดกับวัยผู้สูงอายุมักมีปัญหาการเจ็บป่วยหรือมีความบกพร่องด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื่อมความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหว การรับความรู้สึก การรับรู้ การเรียนรู้และความเข้าใจ ทำให้สูญเสียหน้าที่หรือมีความยากลำบากในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การทำงานและกิจกรรมนันทนาการ

       แนวทางการรักษาทางกิจกรรมบำบัดกับผู้ป่วยพาร์กินสันมีเป้าหมาย  คือ พยายามปรับสภาพให้ผู้ป่วยมีความสามารถ ที่จะช่วยเหลือตนเองให้ได้มากที่สุด สามารถใช้ชีวิต ทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลในสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีเท่าเทียมกับคนปกติ  โดยทุกอย่างของกิจกรรมนั้นๆต้องมีเป้าหมาย

                                 นักกิจกรรมบำบัดสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยพาร์กินสันได้อย่างไร

-  ให้ความรู้ ข้อแนะนำต่างๆ ในการฝึกทักษะประจำวัน

           เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การรับประทานอาหาร การแต่งตัว เป็นต้น

-  ออกแบบและให้คำแนะนำในการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทั้งในบ้าน และที่ทำงานให้เหมาะสม

            เช่น การติดราวไว้ในห้องน้ำ ทางเดิน บันได

-  พัฒนาทักษะ ความสามารถหรือแนวทางชดเช ย ในการทำกิจกรรมต่างๆที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตประจำวัน

-  ให้ความรู้และคำแนะนำแก่ญาติเกี่ยวกับอาการของโรค และความสามารถของผู้ป่วย

-  เน้นการปรับปรุงความสามารถในการใช้มือ และนิ้วมือ

           เช่น ใช้การเล่นเกม การเขียนหนังสือ การวาดรูป งานฝีมือ เป็นต้น



กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสันAvailable from:http://www.masterseniorhome.com/index.php?mo=3&art=41951729

  http://kanchanapisek.or.th/kp6/New/sub/book/book.php?book=34&chap=8&page=t34-8-infodetail06.html

  http://www.goldenyears.co.th/knowledge.php?content=parkinson

  http://otcmu.wordpress.com/การบำบัด-รักษา-ส่งเสริม/กิจกรรมบำบัดสำหรับผู้ป/


อ้างอิงรูปภาพรูปที่1 http://www.goldenyears.co.th/knowledge.php?content=parkinson

อ้างอิงรูปภาพรูปที่2 http://www.otat.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=302040






                                                                                      



หมายเลขบันทึก: 520394เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท