ความสามารถในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตของเด็กออทิสติก(Autism)


                                                    

โรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม ทำบางสิ่งซ้ำๆ

อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ซึ่งเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก เราเรียกเด็กในกลุ่มอาการนี้ว่า “เด็กออทิสติก”

สาเหตุของAutism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนโรคนี้เป็นความผิดปกติในสมองซึ่งมีอาการแสดงและความผิดปกติได้หลายรูปแบบ เด็กจะไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น การพัฒนาด้านภาษาและสติปัญญาก็ไม่สมบูรณ์ ทำให้เด็กไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม ทำบางสิ่งซ้ำๆ

อาการของเด็กบางคนจะแสดงออกตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่จะแสดงออกเมื่อเด็กอายุ 18-36 เดือนเด็กจะไม่สนใจคนอื่น มีพฤติกรรมแปลกๆ สูญเสียความสามารถทางภาษาและทักษะ ซึ่งเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก เราเรียกเด็กในกลุ่มอาการนี้ว่า “เด็กออทิสติก”

ของสมองจะมีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาทหลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ

·  การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ

·  การหลั่งneurotransmittersผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

·  ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygenขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับAutism

-สติปัญญาต่ำ ปัญญาอ่อน

-ซึมเศร้า วิตกกังวล

-เด็กบางคนเป็นโรคลมชัก(seizure)

อาการทางสังคม

เด็กปกติจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็นautism จะไม่สบตาพ่อแม่ มักจะชอบอยู่คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา

  เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น

เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่แออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง

ปัญหาด้านภาษา

เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้ หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ ไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี อาจพูดโดยใช้ความหมายผิด เช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่า”ขึ้นรถ”แทนคำว่า”ออกไปข้างนอก” การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าบ่งบอกความรู้สึกได้

พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

-เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น

-เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง

-เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน

-เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน

-เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน

-เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ

-เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

                                            

                                                                                                                                                                                 

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็ก autism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5 ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่าง เช่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ

การเพิ่มoccupational performance(ความสามารถในการประกอบกิจกรรม)ของเด็กออทิสติก

                      

P(person) คือ เด็กออทิสติก ซึ่งก็คือตัวบุคคล(สิ่งแวดล้อมภายใน) ซึ่งเด็กออทิสติกนี้จะมีปัญหาทางด้านสังคม การสื่อสารกับคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก

E(environment) คือ สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวของเด็ก ซึ่งสิ่งแวดล้อมทุกอย่างมีผลที่จะไปกระตุ้นหรือยับยั้งสิ่งแวดล้อมภายในของเด็กออทิสติกได้ เช่น สภาพแวดล้อมภายในบ้าน ภายในโรงเรียน เพื่อน ครอบครัว สัตว์ สิ่งของต่างๆ

O(occupation) คือ กิจกรรมสื่อการรักษา เช่น ฝึกทำกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง กระตุ้นการตอบสนองต่อสื่งเร้าต่างๆ  การเสริมสร้างปฎิสัมพันธ์ของเด็กกับคนรอบข้า

P(performance) คือ ความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็กขณะนั้น เช่น ความสามารถที่จะพัฒนาได้ หรือความสามารถที่ควรยับยั้งให้ลดลง

หากเราพิจารณาจากPEOP Model และเลือกปรับองค์ประกอบให้สมดุลกัน โดยพิจารณาจากperformanceเป็นหลัก เด็กก็จะเกิดoccupational performane และยังมีโอกาสก่อให้เกิดwell-being และquality of lifeได้มากขึ้น





อ้างอิง   Louise Chang.MD. Benefits of Occupational Therapy for Autism. The American Occupational Therapy Association: ''Supporting Parents of Children With Autism: The Role of Occupational Therapy;'' ''Using Videotapes To Help Children With Autism;'' ''OT for Children With Psychosocial Deficits;'' ''AOTA Evidence Briefs: Efficacy of Sensory and Motor Interventions for Children with Autism;'' and ''Creating Evidence: Sensory Integration and Children With Autism”.[internet].2012.[cited 2013 Jun19]. Available from:http://www.webmd.com/brain/autism/benefits-of-occupational-therapy-for-autism?page=2&rdspk=active

เด็กออทิสติก.[internet].2012.[cited 2013 FEB20]. Available from:http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/neuro/psy/austism/autism.htm

หมายเลขบันทึก: 520389เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2013 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท