6 sigma


ความสำคัญอยู่ที่การนำมาใช้มากกว่าว่ากระบวนการไหนอย่างไรที่ต้องการคุณภาพระดับ 6 sigma หรือน้อยกว่านั้น

          6 sigma คืออะไร เป็นคำถามที่ผมได้รับทางโทรศัพท์ ในตอนเช้า ๆ ของวันนี้ (7 ต.ค. 48) ที่หลาย ๆ อย่างรออยู่บนโต๊ะทำงาน ผมรีบอธิบายด้วยเพราะคำนึงว่าหากไม่จำเป็นจริง ๆ เขาไม่โทรมาถามหรอก และที่เขาโทรเพราะเขาต้องคาดหวังต่อคำตอบไม่ใช่บอกให้รอ (นึกอยู่ว่าถ้าไม่ใช่ทางโทรศัพท์จะอธิบายได้ง่ายกว่า) จากนี้ไปเป็นการถอดคำอธิบายทันทีที่วางหูโทรศัพท์
          sigma คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนค่าความแปรปรวน ซึ่งเห็นง่าย ๆ คือเมือเวลาที่เราหาค่าเฉลี่ยของประชากรก็จะได้ค่าความแปรปรวนออกมาด้วยเสมอ (หากเป็นค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก็จะได้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งใช้ S.D.) ฉะนั้นค่า 6 sigma ก็คือค่าเฉลี่ย +/- ค่าของความแปรปรวนไป 6 ช่วง ทีนี้ค่าเฉลี่ยเมื่อ +/- 1 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 68.28% เมื่อเรานำมาวาดกราฟการแจกแจง โดยสมมติให้พื้นที่ใต้กราฟทั้งเท่ากับ 100% ฉะนั้นเมื่อเรานำค่าเฉลี่ยเมื่อ +/- 2 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 95.46% และเมื่อ +/- 3 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 99.73%
          มาพิจารณาที่กรณี +/- 3 sigma นั่นแสดงว่า น่าจะมีความผิดพลาดได้ที่ .27% ทีนี้ก็นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพ ก็เลยหมายถึง การพยายามที่จะทำให้มีคุณภาพที่เป้าหมายผิดพลาดได้ไม่เกิน 27 ครั้ง จากบริการทั้งหมด 10,000 ครั้ง พอเห็นภาพหรือยังครับ หากเป็น +/- 4 sigma หรือ +/- 5 sigma หรือ +/- 6 sigma ก็จะมีระดับคุณภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ หรือ ความผิดพลาดจะลดลงเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่าภาวะไร้ข้อบกพร่อง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Zero Defect หรือ Defect Free ซึ่งที่ระดับ 6 sigma ก็จะมีความผิดพลาดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง จากบริการทั้งหมด 1,000,000,000 ครั้ง (เพิ่มเติมจากเอกสาร เมื่อ +/- 4 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 99.9937%, เมื่อ +/- 5 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 99.999943%, เมื่อ +/- 6 sigma ก็จะมีพื้นที่ครอบคลุม 99.9999998%)
          แต่ motorola ซึ่งเป็นบริษัทที่คิดและนำแนวคิดนี้มาใช้ บอกว่าหากระยะเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง ระดับคุณภาพจะเลื่อนไปในทิศทางที่ลดลงประมาณ 1.5 sigma หรือที่เรียกว่า 1.5 sigma shife จึงต้องมีการปรับใหม่โดยเลื่อนค่าเฉลี่ยไปทางบวก ณ ตำแหน่ง + 1.5 sigma เดิม ก็จะได้พื้นที่ใต้กราฟใหม่เป็น 99.999660% ที่ระดับ 6 sigma นั่นคือค่าความผิดพลาดใหม่ที่ยอมรับได้จะไม่เกิน 3400 ครั้ง จากบริการทั้งหมด 1,000,000,000 ครั้ง หรือจำตัวเลขใหม่ง่าย ๆ เป็น ไม่เกิน 3.4 /1,000,000 นั่นเอง
          ความสำคัญอยู่ที่การนำมาใช้มากกว่าว่ากระบวนการไหนอย่างไรที่ต้องการคุณภาพระดับ 6 sigma หรือน้อยกว่านั้น เช่นการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์สำหรับนาฬิกา แต่นาฬิกานั้นใช้กับเครื่องบิน ใช้กับปืนต่อสู้อากาศยาน หรือใช้สำหรับการแขวนที่บ้านเพื่อบอกเวลา ย่อมจะแตกต่างกันในการพิจารณา อย่างนี้เป็นต้น (ตัวเลขที่เม่นยำได้จากเอกสารประกอบของ สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล, 2546ในภายหลังจากการวางหูโทรศัพท์พูดคุยกันแล้ว) เพิ่มเติมภาพประกอบ 6 sigma Model


หมายเลขบันทึก: 5193เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2005 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
     ดูรายละเอียดเพิ่มได้ที่ ใครไม่เคยทำผิด(พลาด)บ้าง ? อาจารย์สมบัติฯ นพรัก คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เขียนไว้ครับ
     ดูรายละเอียดเพิ่มได้อีกที่ จาก P-D-C-A เป็น D-M-A-I-C  คุณมนตรี ลีลาวิชิตชัยได้เขียนไว้ครับ
     เพิ่มเติมภาพประกอบ 6 sigma Model
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท