การเดินทางครั้งแรกในดินแดนแห่งอารยธรรมพันปี (เสียมเรียบเขมร)


แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ในความเป็นจริงและมีความเหมาะสมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของเขมรคือ “ภาษา” ไม่ว่าจะเด็กเล็กๆ หรือเด็กโตๆ หน่อย จะสามารถพูดได้หลายภาษาอย่างน้อยก็ภาษาของตนเอง ภาษาอังกฤษ ซึ่งน่าจะเกินคำว่าภาษาที่สองไปแล้ว

            ในครั้งหนึ่งของชีวิตที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปใช้ชีวิตยังดินแดนของ(เพื่อน)บ้านข้างเขียงอย่างเขมร ท่ามกลางความไม่แน่ไม่นอนในใจอันเนื่องมาจากคดีความที่กำลังรอการตัดสินจากศาลโลกในราวกลางปีนี้ ซึ่งไม่ทราบได้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร วันนี้เดินทางกลับมาอย่างปลอดภัยแล้วก็มีความสุขเป็นที่สุด

             แน่นอนครับว่าเป้าหมายของการเดินทางคือปราสาทอันเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอันได้แก่ปราสาทนครธม-นครวัด ซึ่งเป็นศิลปะที่มีมายาวนานเป็นพันๆปี ในการเดินทางครั้งนี้หาได้มีเวลามากนัก มีเวลาเพียงแค่ได้เดินผ่านปราสาทต่าง ๆ โดยไม่มีแม้แต่โอกาสที่จะเรียนรู้อะไรเลยจากตัวปราสาทหินเอง

             ความจริงดินแดนแห่งนี้นับว่ามีประโยชน์ต่อผมเป็นอย่างมากหากได้มีเวลาที่จะศึกษาค้นคว้าในด้านของวรรณคดี โดยเฉพาะวรรณคดีที่เราได้รับอิทธิพลจากอินเดียโดยผ่านเข้ามาทางเขมร อย่างรามเกียรติ์ มหาภารตะ เป็นต้น เพราะเนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในตัวปราสาทต่างๆ หรือแม้แต่ความเชื่อทางศาสนาพุทธและฮินดู

              ในขณะที่เดินชมปราสาทก็เกิดคำถามขึ้นในใจว่า “คนท้องถิ่นเขาเข้าใจเรื่องราวของปราสาทแห่งนี้มากน้อยเพียงใด” เพราะจากการสังเกตไม่จะเห็นมุ่งหมายไปที่การขอ(ทาน)มากกว่า ที่กล่าวอย่างนี้ไม่ได้ต้องการที่จะว่าร้ายหรือมีความรู้สึกที่ไม่ดีอะไร เพียงแต่พยายามที่จะอธิบายข้อสงสัยภายในใจของตนเอง

               ผมว่าหากเปลี่ยนจากการขอมาส่งเสริมให้มีการนำเอาความรู้ในเรื่องราวของท้องถิ่นมานำเสนอเพื่อแลกกับค่าเหนื่อยของตนก็น่าจะเกิดประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากสังเกตแล้วนักท่องเที่ยวมีเป็นจำนวนมากและรอเพียง มคุเทศน์อธิบายก็คงไม่เพียงพอ เพราะหนึ่งคันรถมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก

               ผนวกกับคำกล่าวของมคุเทศน์ที่กล่าวอ้างอิงถึงข้อมูลที่เขานำมาถ่ายทอดให้กับพวกเราได้ฟังนั้นเป็นสำนวนที่ถูกเขียนขึ้นโดยฝรั่งเศส ตรงนี้ทำให้ได้ฉุดคิดว่า “ทำไมไม่อ้างอิงของนักวิชาการเขมรบ้าง” ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่มีนักวิชาการเก่งๆที่เป็นคนเขมรนะ เพียงแต่ต้องการตั้งคำถามว่า “เขาไม่ส่งเสริมให้มีการศึกษาภูมิปัญญาของตน” ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็น่าเสียดายที่วัฒนธรรม อารยธรรมเก่าแก่รวมพันปีต้องหยุดชะงักไป

               แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ในความเป็นจริงและมีความเหมาะสมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของเขมรคือ “ภาษา” ไม่ว่าจะเด็กเล็กๆ หรือเด็กโตๆ หน่อย จะสามารถพูดได้หลายภาษาอย่างน้อยก็ภาษาของตนเอง ภาษาอังกฤษ ซึ่งน่าจะเกินคำว่าภาษาที่สองไปแล้ว นี่คือสิ่งหนึ่งที่เรายากจะหาได้จากคนระดับขอทานอย่างที่พบเห็นภาษาของขอทานในเขมร หรือกับระบบการเรียนแบบครึ่งวัน

               จริงๆ แล้วในเขมรมีความรู้อีกมากมายที่เราสามารถที่จะไปเรียนรู้ ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่น่าสนใจ


หมายเลขบันทึก: 518255เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 21:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท