เทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์ โดย อาจารย์เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์


การเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน เป็นแรงผลักดันหนึ่งของชีวิตการทำงานของข้าราชการ ผลลัพธ์ที่ได้ ชดเชยการทำงานที่ไม่ใช่เพียงทำให้จบไปวัน ๆ เท่านั้น... เป็นการทำงานที่ทำให้ “งานในทุกวัน มีคุณค่า”

การวิเคราะห์งาน เป็นหนึ่งในผลงานวิชาการที่บุคลากรสายสนับสนุนสามารถเลือกใช้เป็นเครื่องมือที่แสดงความสามารถและศักยภาพในงานด้านการคิดวิเคราะห์ โดยทั่วไปแล้ววิชาชีพพยาบาลที่ต้องดูแลผู้ป่วยมีการใช้การคิดวิเคราะห์อยู่แล้วเป็นเบื้องต้น เพราะอย่างน้อยที่สุดก็ต้องประเมินอาการผู้ป่วยที่เห็นอยู่ตรงหน้า แล้ววิเคราะห์ภายใต้ความรู้ที่เรียนมาก่อนรายงานอาการกับแพทย์เจ้าของหรือกับผู้ร่วมทีมดูแล แต่ความยากของผู้ปฏิบัติอยู่ที่เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ในเชิงวิชาการมากกว่า 


ผู้เขียนเคยได้ฟังการบรรยายในหัวข้อ การเขียนผลงานเชิงวิเคราะห์ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555 ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น 2 อาคารสิริคุณากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งจัดโดยฝ่ายแผนและพัฒนาบุคลากร และกองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งบรรยายโดย อาจารย์กาญจนศรี สิงห์ภู่ และ อาจารย์เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ ผู้เขียนเก็บประเด็นได้มากมายจากการบรรยายคราวนั้น และนำมาใช้เป็นพื้นฐานการเขียนงาน แต่ไม่ได้มีโอกาสนำมาเล่าให้ฟัง


ในวันนี้ (2 กุมภาพันธ์ 2556) ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับงานบริการห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ได้เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์งานและการเขียนการวิเคราะห์งาน อาจารย์เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน ผู้เชี่ยวชาญประจำสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น  บรรยาย เรื่อง เทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์ ณ ห้องบรรยายสรรชัย ธีรพงศ์ภักดี ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

  อาจารย์เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์


ซึ่งได้รับความสนใจจากบุคลากรสายสนับสนุนจากหน่วยงานของเราทั้งสองเป็นอย่างมาก มีผู้ร่วมฟังราว 100 คน



ได้ขออนุญาตอาจารย์นำเนื้อหาเทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์ ดังกล่าวมาประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ท่านที่เข้าฟัง และท่านที่สนใจได้นำมาทบทวน รื้อฟื้นคำบรรยาย และใช้เป็นคู่มือประกอบการเขียนงานค่ะ

1. สไลด์ การบรรยาบ เรื่อง "เทคนิคการเขียนงานวิเคราะห์"

2. คู่มือ "เทคนิคการเขียนผลงานวิเคราะห์" 


หากหน่วยงานใดสนใจฟังสด ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งจะได้รับทั้งความเข้าใจและความสนุกสนาน เพราะคำบรรยายเข้าใจได้ง่าย ๆ สามารถนำไปใช้ได้เลย...  สามารถติดต่ออาจารย์ได้โดยตรงที่นี่นะคะ หรือ ที่อยู่ในสไลด์สุดท้ายของอาจารย์ค่ะ


กฤษณา สำเร็จ

2 กุมภาพันธ์ 2556

หมายเลขบันทึก: 518251เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 21:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2013 22:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท