บทความอาจารย์วิจารณ์ พานิช VS บทความ ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท


ผมฝึกอ่านหนังสือ แล้วตีความออกเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ออกสู่ cyber space และค้นพบว่า นี่คือวิธีการหนึ่งในการฝึกตนเองให้เรียนรู้แบบ “รู้จริง” และแล้ว ผมก็บอกตัวเองว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียง “พอรู้” ไม่ใช่รู้จริง เพราะจะรู้จริงได้ ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ผมแก่เกินไปที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเสียแล้ว ผมจึงต้องยอมรับความเป็น “เณรน้อย” ตลอดชีวิต

ผมได้อ่านบทความขอวอาจารย์วิจารณ์ พานิช ดังนี้

"

ผมฝึกอ่านหนังสือ แล้วตีความออกเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ออกสู่ cyber space และค้นพบว่า นี่คือวิธีการหนึ่งในการฝึกตนเองให้เรียนรู้แบบ “รู้จริง” และแล้ว ผมก็บอกตัวเองว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียง “พอรู้” ไม่ใช่รู้จริง เพราะจะรู้จริงได้ ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง ผมแก่เกินไปที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเสียแล้ว ผมจึงต้องยอมรับความเป็น “เณรน้อย” ตลอดชีวิต

ชีวิตที่พอเพียง  : 1741. ชีวิตนักเรียน

“แก่แล้ว ทำอะไรให้เป็นประโยชน์แก่สังคมได้บ้าง ก็จงทำเถิด  ดีกว่าอยู่เปล่าๆ”  คือคำที่ผมให้พรตัวเองในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๖ 

ว่าแล้วผมก็ลองประเมินชีวิตของตนเองใน ๑ ปีที่ผ่านมา คือปี พ.ศ.​ ๒๕๕๕ 

ผมสรุปว่า ผมเป็น “นักเรียนชรา” คนหนึ่ง  ที่สนุกกับการเรียน

เมื่อกว่า ๑๐ ปีมาแล้ว ระหว่างวิ่งออกกำลังกาย ผมถามตัวเองว่า ผมเป็นเด็กไม่รู้จักโตหรือเปล่า  ที่ตั้งหน้าตั้งตาเรียน เรียนรู้อย่างไม่รู้จบ 

บัดนี้ผมได้คำตอบ เป็นคำตอบจาก “ปฏิเวธ” ของตนเอง  ว่าการเป็น “เด็กไม่รู้จักโต” ในเรื่องการเรียนรู้  เป็นคนที่ไม่เคยอิ่ม ในเรื่องการเรียนรู้  มีคุณต่อชีวิตของผมอย่างยิ่ง   ทำให้มีชีวิตที่สนุกสนาน และมีคุณค่า   ได้ดำเนินชีวิตเข้าไปในขอบฟ้ากว้างที่ไม่เคยรู้จัก และไม่เคยคิดว่าจะเข้าไป

ผมเป็น “novice” ในเรื่องต่างๆ  อย่างสนุกสนาน  โดยที่คนอื่นๆ จำนวนหนึ่งยกย่องว่าผมเป็น “ผู้รู้”  แต่ผมบอกตัวเองว่า ผมเป็นแค่ “ผู้เรียน”   

ผมต้องคอยกำกับสติตนเอง อย่าให้เหลิงไปตามการยกย่อง 

ผมเสียดาย คนที่ถือได้ว่าเป็นอัจฉริยะ บางคนที่ผมยกย่องอัจฉริยภาพของเขา  แต่เขาหลงอัจฉริยภาพของตนเอง  จึงเหลิง  และนำตนเองไปสู่ความเสื่อม 

ผมตั้งตัวเป็น “เณรน้อย” (novice) ในเรื่องต่างๆ  แต่งตั้ง “ขรัวตา” ของตนเอง  เอาไว้สอนตนเอง  โดยที่ “ขรัวตา” ทำหน้าที่สอน “เณรวิจารณ์” โดยเขาไม่รู้ตัว  เมียและลูกๆ ของผม ก็โดนผมแต่งตั้งให้เป็น “ขรัวตา” ด้วย  รวมทั้งสุนัข ๒ ตัวที่บ้านลูกสาว ที่อยู่ติดกันด้วย

มีหมาเป็นครู  เท่อย่าบอกใคร

คิดเตลิดต่อไปว่า  หากผมทำพิธีไหว้ครู คงต้องทำหุ่นหัวหมาขึ้นหิ้งบูชาด้วย  นอกเหนือจากชื่อคนมากมายหลายร้อยหลายพัน  ทำให้คิดต่อว่า ไหว้ครูหมาแบบนี้เป็นการทำตามวิธีคิดของคน  จะให้เป็นการรู้คุณหมาจริงๆ ต้องไหว้แล้วหมาปิติ  คงต้องไหว้ด้วยกระดูกเป็ดที่เขาชอบมาก  ซึ่งผมก็เซ่นไหว้เขาบ่อยๆ อยู่แล้ว  และเพราะให้กระดูกเขานี่แหละ เขาจึงมีพฤติกรรมที่สอนใจผม 

ผมฝึกอ่านหนังสือ แล้วตีความออกเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ออกสู่ cyber space  และค้นพบว่า นี่คือวิธีการหนึ่งในการฝึกตนเองให้เรียนรู้แบบ “รู้จริง” 

และแล้ว ผมก็บอกตัวเองว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียง “พอรู้” ไม่ใช่รู้จริง  เพราะจะรู้จริงได้ ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง  ผมแก่เกินไปที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเสียแล้ว  ผมจึงต้องยอมรับความเป็น “เณรน้อย” ตลอดชีวิต 

คิดไปคิดมา จึงค้นพบว่า คนแก่เป็นคนไม่รู้จริง"

วิจารณ์ พานิช

๑ ม.ค. ๕๖

หลังจากนั้นจึงได้แสดงความคิดเห็นต่อบทความของอาจารย์วิจารณ์ ดังนี้

"เรียนอาจารย์วิจารณ์ พานิช ที่นับถือ

ผมติดตามอ่านบทความของอาจารย์ใน gotoknow ตลอดมา ทำให้ได้รับความรู้ใหม่ๆจากอาจารย์มากมาย แต่เหนือกว่านั้น จากการอ่านหนังสือและตีความของอาจารย์ที่นำออกเผยแพร่ ทำให้ผมได้รับคำตอบในเรื่องที่ผมคิดและรู้ในเรื่องที่อาจารย์นำมาเผยแพร่ ผมรู้จากการปฎิบัติ เมื่อได้อ่านบทความที่อาจารย์นำมาเผยแพร่ ทำให้เป็นการยืนยันสิ่งที่ผมรู้และสามารถนำบทความของอาจารย์ไปเผยแพร่กับคนอื่นต่อ  ผมรู้จากการปฎิบัติและการมีประสบการณ์ด้วยตัวเอง สำหรับอาจารย์อ่านจากหนังสือและนำมาตีความ  ความรู้ที่ได้ตรงกัน

ผมได้เรียนรู้และนำแนวทางการเผยแพร่ความรู้ของอาจารย์มาเป็นต้นแบบ หันมาอ่านและตีความและเผยแพร่ตามแนวทางของอาจารย์ เพราะสิ่งที่ผมรู้จากการปฎิบัติ นำไปเผยแพร่ให้คนที่ไม่เคยปฎิบัติ เขาไม่เข้าใจและไม่สามารถให้ความรู้กับเขาได้ ดังนั้นจึงเป็นการยืนยันว่า นักทฤษฎี และนักปฎิบัติ ต้องร่วมมือกันในการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ 

บทสรุปของอาจารย์

"ผมฝึกอ่านหนังสือ แล้วตีความออกเผยแพร่ความรู้ใหม่ๆ ออกสู่ cyber space  และค้นพบว่า นี่คือวิธีการหนึ่งในการฝึกตนเองให้เรียนรู้แบบ “รู้จริง” 

และแล้ว ผมก็บอกตัวเองว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลเพียง “พอรู้” ไม่ใช่รู้จริง  เพราะจะรู้จริงได้ ต้องผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง  ผมแก่เกินไปที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเสียแล้ว  ผมจึงต้องยอมรับความเป็น “เณรน้อย” ตลอดชีวิต 

คิดไปคิดมา จึงค้นพบว่า คนแก่เป็นคนไม่รู้จริง  

จากบทสรุปของอาจารย์ข้างบน ผมไม่เห็นด้วยกับข้อความที่ว่า "ผมแก่เกินไปที่จะลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองเสียแล้ว" เพราะอาจารย์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก อาจารย์ลงมือปฎิบัติมาตลอดชีวิตของอาจารย์ ดังนั้นอาจารย์จึงรู้จริงในเรื่องที่อาจารย์เคยปฎิบัติ แต่ถึงแม้นบางเรื่องอาจารย์ยังไม่เคยปฎิบัติในสิ่งนั้นตรงๆ แต่เมื่ออาจารย์ค้นคว้าและหาอ่านจากหนังสือและอาจารย์นำมาตีความนำมาเผยแพร่เป็นความรู้ใหม่สำหรับคนที่ไม่เคยปฎิบัติ และตรงกับความรู้ที่ผู้เคยมีประสบการณ์ที่เคยปฎิบัติมาแล้ว ก็ถือว่าอาจารย์รู้จริงเช่นกัน เพียงแต่ยังไม่ถึง 100% เพราะยังไม่ได้สัมผัสด้วยตัวเองเหมือนกับยังไม่ได้รู้รสด้วยตัวเอง 

สำหรับประโยคที่อาจารย์กล่าวว่า "คิดไปคิดมา จึงค้นพบว่า คนแก่เป็นคนไม่รู้จริง " ผมขอแย้งอาจารย์เต็มๆเลยครับ ถ้าอาจารย์หมายถึงอาจารย์ หรือแม้นกระทั่งคนแก่ทั่วๆไป จะสรุปว่าเป็นคนแก่ทุกคนรู้ไม่จริงทั้งหมดคงไม่ได้ คนแก่แต่ละคนเคยมีประสบการณ์และเคยปฎิบัติมาก่อน สิ่งที่เขาเคยมีประสบการณ์และเคยปฎิบัติมาย่อมทำให้เขารู้จริงในสิ่งนั้นๆ เพียงแต่เมื่อเขารู้แล้ว จะนำความรู้ที่เขาได้นั้นนำไปปฎิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเขาและสังคมประเทศชาติได้อย่างไร

หมายเลขบันทึก: 518211เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2013 12:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท