The Secret of 100 Years Family Business


พุธที่ 30 มกราคม 2556 ที่ผ่านมา ดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมฟังสัมมนาดีๆ ที่ทางคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเป็นผู้จัด ในหัวข้อเรื่อง "The Secret of 100 Years Family Business" ซึ่งเปิดประเด็น "ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารธุรกิจครอบครัวอย่างยั่งยืน“ วิทยากรโดย ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัว อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยมีผู้ร่วมเสวนาด้วยกันทั้งหมด 3 ท่าน คือ คุณสหฤท สยามวาลา , คุณบุญยง ตันสกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล


จากการสัมมนาในครั้งนี้มีหลายประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก สำหรับคนที่ต้องดำเนินธุรกิจของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคำถามที่ว่าทำไมธุรกิจครอบครัวในไทยถึงยาวได้ไม่เกิน 4 รุ่น และ % ที่รอดมีเพียงแค่ 3% ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น % รอดของเขาถึง 30% เลยทีเดียว 


ดร.ภูษิต ได้ให้ความเห็นไว้ว่า จากรุ่นสู่รุ่น คนสมัยก่อนจะส่งผ่านโดยยึดอาวุโสเป็นหลัก หรือแบ่งออกเป็นส่วนๆ พูดง่ายๆ เลยก็คือว่า พี่ชายคนโตจะเป็นผู้สืบทอดต่อกิจการ แต่ไม่ได้สนใจเลยว่า บางทีน้องอาจเก่งกว่าพี่ก็เป็นได้ เพราะจากการวิเคราะห์จริงๆ แล้วผิด เพราะความเป็นอาวุโสบางครั้งก็ไม่ได้ทำให้รอด สุดท้ายก็เกิดการทะเลาะกัน หรือกระทั่งการตัดทอนแบ่งธุรกิจให้ลูกเพราะกลัวว่าจะไม่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน


ซึ่งพอจะสรุปเป็นหลักใหญ่ๆ ในการทำให้อยู่รอดได้ดังนี้


1. วัฒนธรรมครอบครัว (Family Culture) ครอบครัวเป็นอย่างไร ธุรกิจก็เป็นอย่างนั้น ซึ่งเป็นความเชื่อและวิถีแต่ละครอบครัวที่ไม่เหมือนกัน ความซื่อสัตย์ และกตัญญู ช่วยเรื่องแนวคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม


·  Value 


·  Attitude 


·  Behavior


2. การอบรมดูแล (Parenting) Key Success ในสังคมไทยมีข้อนี้น้อยมาก พ่อและแม่มัวแต่ยุ่งอยู่กับการก่อตั้งธุรกิจ พอลูกเห็นพ่อแม่เหนื่อย ก็เกิดการฝังใจแล้วว่า ไม่อยากดำเนินต่อธุรกิจนี้แล้ว เพราะกลัวเหนื่อย


·  Family Expectation คาดหวังให้ลูกสืบทอด กดดันกับลูก ซึ่งจะกลายเป็นดาบสองคม


·  Team Management จะต้องบริหารจัดการให้พี่น้องรักใคร่กัน โดยเฉพาะผู้นำในทีม


·  Business Environment สอนให้เติบโตด้วยความผูกพันกับธุรกิจ และควรให้ลูกมีส่วนร่วมบ้าง เพราะพ่อแม่สมัยใหม่ พอเริ่มมีเงิน ก็จะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกกันหมด ทำให้ไม่ต่อเนื่อง ขาดความผูกพันในธุรกิจครอบครัว


·  Talent Development  คนมีความสามารถไม่เหมือนกัน การส่งผ่านธุรกิจ ควรถามความสมัครใจ หากมีพี่น้อง 5 คน อาจมีแค่ 3 คนที่อยากสานต่อ ก็ให้ 3 คนดูแลเลย ทำเป็นทีมให้แต่ละคนโชว์ผลงาน เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นเองว่าใครสามารถที่เป็นผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวได้


3. Family System ต้องมีการตั้งกฎเกณฑ์ในครอบครัวให้เป็น standard


·  Constitution ธรรมนูญครอบครัว คือ หลักการปฏิบัติ เช่น สวัสดิการ, ลูกเขย ลูกสะใภ้ , เกษียณแล้วยังไงต่อ, การศึกษาระดับไหน เป็นต้น


·  การจัดการเงินของครอบครัว แบ่งโดยการหารหมดไม่ได้ ต้องมีเงินกองกลางเป็นสวัสดิการ ใช้ยังไง


·  Generation transition การสร้างผู้สืบทอด โดยยกแผงเป็นทีมขึ้นพร้อมกัน รุ่นต่อรุ่น


  •  ดิฉันได้ถามไปว่า แล้วจะจัดการอย่างไร เมื่อเราเรียนมาสูง แล้วต้องไปทำงานร่วมกับรุ่นราวคราวเดียวกับพ่อที่มองว่าเราไม่มีประสบการณ์แต่เค้าประสบการณ์มากกว่า เราเรียนมาอย่างนี้ ความคิดแบบนี้ มันก็เกิดความแตกต่างกันแล้ว

  • คำตอบ คือ Clear Cut ไปเลยและต้องตีกรอบว่างานแต่ละคนรับผิดชอบจุดไหน แต่ไม่ใช่การขีดเส้น ตีกรอบการทำงาน ต้องให้ทุกคนมีพื้นที่ของตนเองให้สามารถดำเนินงานไปได้

จากการฟังสัมมนาในคร้งนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด แต่สิ่งที่ได้ก็คือ ยุคสมัยเปลี่ยน การดำเนินธุรกิจเปลี่ยน วิถีชีวิตเปลี่ยน การติดต่อสื่อสารทันสมัยมากขึ้น เราจะต้องปรับตัวอย่างไรให้สามารถนำสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับธุรกิจเราที่สุด บางทีเราอาจจะไม่ต้องวิ่งตามฝรั่งเสมอไป วิถีชีวิตเราไทยๆ ก็สามารถเป็นจุดขายที่แตกต่างได้ จะทำอย่างไรให้สามารถนำมาประยุกต์และก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ในห่วงโซ่ธุรกิจของเรา และให้เป็นที่ยอมรับ สิ่งเหล่านี้ต่างหากที่เราควรจะขบคิดกัน แต่ก็อย่าลืมว่า ธุรกิจครอบครัวต้องยึดความรักและความผูกพันในครอบครับเป็นที่ตั้ง ความแข็งแกร่ง ความมั่นคง ที่จะช่วยให้ธุรกิจเราสามารถก้าวข้ามไปจากรุ่นสู่รุ่นได้ไม่ยาก ดั่งเช่นนิทานพ่อสอนลูกที่ให้หักไม้ ถ้าหากเราเอาไม้มารวมกันก็ไม่สามารถหักได้ เฉกเช่นเดียวกับความมั่นคงในครอบครัวที่จะนำพาธุรกิจครอบครัวให้ยืนยงได้ต่อไป


อีกท่านหนึ่งที่จะลืมไม่ได้ในท้ายนี้ คือ ผู้ดำเนินรายการ รศ.ทองทิพภา วิริยะพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาด้านธุรกิจครอบครัว อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ขอขอบพระคุณที่มอบหนังสือดีๆ

“การบริหารทีมงาน และการแก้ปัญหา (พิมพ์ครั้งที่ 4)” ซึ่งเป็นหนังสือที่นำเสนอ เคล็ดลับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืนมาให้อ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่ให้สาระมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างทีมงาน ,ทำงานเป็นทีม ,พัฒนาทีมงาน การสร้างขวัญและกำลังใจ ,การจูงใจ ,การเจรจาต่อรอง ,กระบวนการคิดและการแก้ปัญหา ฯลฯ และอีกหลากหลายหัวข้อที่มีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตการทำงานจริง ซึ่งในหนังสือมีหน้าที่ดิฉันประทับใจในบทกลอนของคุณสุเทพ สังข์เพชร (2543) ที่ได้กล่าวไว้ว่า


  มนุษยสัมพันธ์  สร้างได้  ใช่ยากนัก


  ถ้ารู้จัก  การให้  มักได้ผล


  ให้อภัย  ให้ความรัก  ให้เกียรติคน


  อย่ายกตน  ข่มใคร  มันไม่ดี


  จะพูดจา  น่าฟัง  ยังประโยชน์


  ไม่กล่าวโทษ  ผู้ใด  ให้หมองศรี


  รู้คุณคน  แทนคุณท่าน  ในทันที


  อย่าย่ำยี  เหยียดหยาม  ประฌามคน


  เริ่มด้วยเรา  จริงใจ  ให้เขาก่อน


  ผลสะท้อน  ก็จะมี  ทวีผล


  ยิ่งตัวเรา  เอาใจ  เขาใส่ตน


  จะเกิดผล  มากมิตร  สนิทนาน

หมายเลขบันทึก: 518180เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2013 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท