เด็กไทยชอบใช้ไอทีโอกาสใช้ไอทีช่วยให้เรียนแบบรู้จริง



          บ่ายวันที่ ๑๔ ม.ค. ๕๖ ผมไปร่วมประชุมโต๊ะกลมหัวข้อ "Media Use for Learning by Students in Higher Education : An International Empirical Survey"  จัดโดยสถาบันคลังสมองฯ โดยมี ดร. Micheal Grosch, Institute of Vocational and Training, Dept of Engineering Didactics, Karsruhe Institute of Technology, Germany เป็นวิทยากรเสนอผลการวิจัยแบบ survey 

          ผลการวิจัยนี้ทำให้ผมแปลกใจว่า  นศ.ไทยอยู่ในกลุ่มที่ใช้ไอทีมากกว่านศ. ชาติใดๆที่เขาศึกษาทั้งในช่วงนอกการเรียนและเพื่อการเรียน  แต่ ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เตือนว่านศ. ไทยอาจเข้าไปใช้แบบฉาบฉวยแค่ ๑ - ๒ นาทีก็เป็นได้  ไม่มีข้อมูลเชิงลึกด้านคุณภาพหรือความจริงจังของการใช้

          อย่างไรก็ตาม  ข้อมูลเบื้องต้นนี้บอกเราว่า นศ.ไทยมีการใช้ IT มาก ถ้าชักจูงให้ใช้เพื่อการเรียนรู้จริงจังของตนได้ก็จะเป็นประโยชน์มาก

          ผมนึกถึงประเด็นการจัดการเรียนรู้ของสถาบันอุดมศึกษาที่ใช้ IT เป็นเครื่องมือช่วยstudent engagement และflip the classroom คือใช้ช่วยให้นศ. เรียนเนื้อหาวิชา (content) ที่บ้าน หรือนอกห้องเรียน และเรียนประยุกต์ความรู้นั้นในห้องเรียน โดยมีครู/อาจารย์เป็นโค้ชให้เกิดการเรียนรู้แบบรู้ลึก และเชื่อมโยงและใช้เวลาของครู/อาจารย์ให้เกิดคุณค่าสูงสุดต่อนศ. คือช่วยให้เกิด mastery learning

          จะจัดการเรียนรู้ดังกล่าวได้ดีสถาบันอุดมศึกษาไทย ต้องมีsoftware ช่วยอำนวยความสะดวก ดังกรณี Moody ที่ใช้กันมากในสหรัฐอเมริกา  ในประเทศไทย ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ กำลังจัดทำClassStart ให้ใช้ แต่ผมยังไม่เห็นสถาบันอุดมศึกษาใด แม้แต่มอ. เองเข้ามาทำตัวเป็น“ผู้ใช้” software นี้อย่างเป็นระบบ และหาทางผลักดันให้ClassStart ปรับปรุงให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และช่วยให้นศ. เรียนรู้อย่างมีคุณภาพได้ผลลัพธ์การเรียนรู้แบบ “รู้จริง” (mastery)

          ย้ำนะครับว่า อุดมศึกษาไทยต้องการการจัดการแบบ proactive ของสถาบันอุดมศึกษา ให้มีการใช้IT เพื่อยกระดับLearning Outcome ของนศ. สู่การรู้จริง


วิจารณ์ พานิช

๑๔ ม.ค. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 517985เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2013 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มกราคม 2013 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท