ผลการประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช 2/48


คำว่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ต้องดำเนินงานเกี่ยวพันกันในทุก ๆ ชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ปะการัง สาหร่าย ฯลฯ

         การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 ต.ค. 48 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม QAU ชั้น 6 ตึก CITCOMS เป็นการประชุมติดตามผลการแบ่งงานกันไปทำหลังจาการประชุมครั้งที่ 1/48 <Link>

         ผลการประชุม ครั้งที่ 2/48 โดยละเอียดผมจะขอรายงานการประชุมจากทีมเลขานำมาลงแจ้งให้ทราบกันภายหลัง วันนี้ขอเล่าเท่าที่ผมจำได้ เป็นประเด็นใหญ่ ๆ ดังนี้

         1. มีผู้เข้าร่วมประชุมพร้อมหน้าพร้อมตากว่าครั้งที่ 1

         2. ผลงานและประสบการณ์เดิมของแต่ละท่านที่เข้าร่วมประชุมมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานต่อไป

         3. ก่อนประชุมผมคาดว่าทีมจากพะเยาคงจะมีความพร้อมน้อยกว่าทีมจากพิษณุโลกหลังประชุมสรุปได้ว่าผมคาดการณ์ผิด เข้มแข็งทั้ง 2 ทีม ทีมจากพะเยา ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ได้ไปดำเนินการต่อมาอย่างดี ทีมจากพิษณุโลกก็เช่นกัน ดร.เสวียน เปรมประสิทธิ์ ดำเนินการต่อมาอย่างดีเช่นกัน

         4. มีการเสนอให้รวบรวมผลงานเดิม ๆ ของนักวิจัยและเก็บไว้ที่เดียวกันที่ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ คู่ขนานไปกับการคิดโครงการวิจัยใหม่

         5. มีการเสนอให้เพิ่ม area จากเดิมกำหนดไว้ 2 ที่คือ ที่ตัววิทยาเขตสารสนเทศพะเยาและที่ทุ่งแสลงหลวงเป็น area ที่ 3 อีก 1 แห่งคือ ที่ภูหินร่องกล้า เพื่อจะได้มีความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มมากขึ้นตามความสูงจากระดับน้ำทะเล และอยู่ไม่ไกลกัน

         6. แต่ละ area  มีการแบ่งเป็นประเด็นย่อย 4 ประเด็นที่จะทำการศึกษา คือ

                  6.1 การปกป้องพันธุกรรมพืช การสำรวจเก็บรวบรวมพันธุกรรมพืช และศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช

                  6.2 การปลูกรักษาพันธุกรรมพืช

                  6.3 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมพืช

                  6.4 การสร้างจิตสำนึก

         7. แต่ละประเด็นในข้อ 6 มีการกำหนดหัวหน้าทีมทั้งที่พะเยา และพิษณุโลก

         8. ที่พิษณุโลกนาช่วงต้นให้เริ่มที่ทุ่งแสลงหลวงก่อน ส่วนที่ภูหินร่องกล้าจะเริ่มดำเนินการในปีต่อไป

         9. ที่พะเยาโครงการย่อยแต่ละโครงการกำหนดให้มีค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 125,000 บาท ส่วนที่ทุ่งแสลงหลวงไม่เกิน 200,000 บาท แต่ละ area คัดเลือกมาไม่เกินปีละ 10 โครงการย่อย

         10. ให้มีการเชิญนักวิจัยด้าน GIS และการสร้างจิตสำนึกมาร่วมเป็นคณะกรรมการเพิ่มเติมด้วย

         11. คำว่าอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ต้องดำเนินงานเกี่ยวพันกันในทุก ๆ ชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ปะการัง สาหร่าย ฯลฯ

         12. นับเป็นความพยายามแรกในระดับมหาวิทยาลัยที่จะพัฒนาชุดโครงการให้เป็น CE (Center of Excellence)

         13. ประชุมครั้งต่อไป จะนำโครงการย่อยมาประชุมร่วมกันในวันพฤหัสบดีที่ 13 ต.ค. 48 เวลาและสถานที่เดิม

         14. ถ้าผมลืมประเด็นสำคัญอื่น ๆ ช่วยกันเพิ่มเติมด้วยครับ

         15. ..................................


         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 5178เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2005 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท