ความคิดสร้างสรรค์ : ทักษะของครูในศตวรรษที่ 21


บันทึกนี้ ใช้ภาพประกอบและเอกสารจากต่างประเทศทั้งหมด แต่ความรู้ทั้งหลายเป็นสิ่งสากล เวลานำไปปฏิบัติเท่านั้นที่ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละท้องถิ่น ดังคำกล่าวที่ว่า "Know globally, act locally."

“ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity, Creation, Creating, Creative Thinking) เป็นหนึ่งในทักษะสำคัญของครู ที่ได้รับการกำหนดให้เป็นทักษะที่จำเป็นจะต้องนำไปใช้  ในกระบวนการพัฒนาผู้เรียนในช่วงศตวรรษที่ 21 ดังภาพประกอบล่าง (ทั้งนี้ โดยมีทักษะ “การคิดวิเคราะห์ : Analytical Thinking” และ “การคิดแก้ปัญหา : Problem Solving” รวมอยู่ด้วย)

อนึ่ง ความคิดสร้างสรรค์ ยังได้รับการกำหนดให้เป็น 1 ใน 5 ทักษะสำคัญที่ลูกจ้าง/พนักงานในสถานประกอบการต่างๆ จำเป็นจะต้องใช้ในการทำงานในช่วงศตวรรษที่ 21 ดังภาพประกอบล่าง (ทั้งนี้ โดยมี “ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : Critical Thinking” และทักษะ “การคิดแก้ปัญหา : Problem Solving” รวมอยู่ด้วย)

และ ความคิดสร้างสรรค์ ได้รับการพิจารณาว่า เป็นทักษะที่ท้าทายในช่วงเวลาที่ต้องเผชิญกับปัญหาในการประกอบอาชีพในทศวรรษหน้า (ปี 2011-2020) สำหรับทุกสาขาอาชีพ เช่น ศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ ครู เจ้าของกิจการ นักคณิตศาสตร์ นักการเมือง และผู้นำทางธุรกิจ เป็นต้น 

ความคิดสร้างสรรค์ เกิดจากการทำงานของสมองซีกขวา ส่วนการคิดวิเคราะห์ เกิดจากการทำงานของสมองซีกซ้าย ดังภาพล่าง

                  

ในปี 2547-2548 ผู้เขียนได้สนับสนุนให้นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (จาตุพักตร์ พากเพียร) ศึกษาสมรรถภาพทางสมองด้านการคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยการสร้างแบบวัดคู่ขนานที่ใช้เนื้อหาการวัดเดียวกัน (เนื้อหาทางภาษาและตัวเลข) แต่ฉบับที่ 1 ผู้ถูกทดสอบจะใช้สมองซีกซ้ายในการคิดวิเคราะห์ (หรือการคิดเอกนัย [Convergent Thinking] เพื่อเลือกตัวเลือกที่ถูกที่สุดในตัวเลือกที่ให้ไว้ในคำถามแต่ละข้อ) ส่วนฉบับที่ 2 ผู้ถูกทดสอบจะใช้สมองซีกขวาในการคิดสร้างสรรค์ (หรือการคิดอเนกนัย [Divergent Thinking] เพื่อเสนอคำตอบที่เป็นไปได้หลาย ๆ คำตอบในแต่ละคำถาม) ผลการศึกษาพบว่า ในด้านการคิดวิเคราะห์ นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในระดับปานกลาง (คิดเป็นร้อยละ 47.8) รองลงมาเป็นระดับสูง (ร้อยละ 30.5) และระดับต่ำ (21.7) ตามลำดับ ส่วนในด้านความคิดสร้างสรรค์ นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในระดับต่ำ (คิดเป็นร้อยละ 52.8) รองลงมาเป็นระดับปานกลาง (ร้อยละ 45.9) และระดับสูง (ร้อยละ 1.3) ตามลำดับ นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ที่ทำคะแนนความคิดสร้างสรรค์ได้ต่ำกว่าคะแนนการคิดวิเคราะห์มีถึงร้อยละ 55.38  ผู้ที่ได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์พอๆ กับคะแนนการคิดวิเคราะห์มีร้อยละ 40.03 ส่วนผู้ที่ได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าคะแนนการคิดวิเคราะห์ มีเพียงร้อยละ 4.59 ทั้งนี้ สาเหตุส่วนหนึ่ง น่าจะเกิดจาก การเรียนการสอนและการวัดผลในโรงเรียน จะเน้นวัดการคิดวิเคราะห์ (คือ การให้คิดหาคำตอบที่ถูกที่สุดเพียง 1 คำตอบในแต่ละคำถาม) มากกว่าวัดการคิดสร้างสรรค์ (คือ การเสนอคำตอบที่เป็นไปได้มาให้มากที่สุด) ในการวิจัยวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ผู้เขียนได้ดำเนินการร่วมกับครูและผู้ปกครองในท้องที่ชนบทของจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้ "โครงการบ้าน-โรงเรียนร่วมใจ"(ปี 2541-2544)    โดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ก็พบว่า ในด้านการพัฒนาทางสมองของเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายนั้น การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีเหตุผลและทักษะการคิดแก้ปัญหา ได้ผลดีกว่าการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์

ผลการศึกษาที่กล่าวมา ชี้ว่า เด็กปฐมวัยและนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน น่าจะได้รับการพัฒนาที่เน้นความคิดสร้างสรรค์มากกว่าการคิดวิเคราะห์ แต่ครูก็ควรจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนได้ใช้ทั้งสมองซีกซ้ายและซีกขวาในการเรียนรู้ เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่า การใช้สมองซีกใดซีกหนึ่ง และยังจะเป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ที่มีความถนัดในการใช้ซีกสมองต่างกัน ดังที่ในปี 2551-2552 ผู้เขียนได้สนับสนุนให้นักศึกษาสาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา (ปทุมวัลย์ ทองมนต์) ทำการวิจัยปฏิบัติการ (3 รอบวงจร) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดมุกดาหาร โดยการจัดการเรียนรู้ แบบ 4 MAT ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินการ 8 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างประสบการณ์ (ใช้สมองซีกขวา) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้สื่อของจริง เกม เพลง เป็นตัวกระตุ้น ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงประสบการณ์ดังกล่าวมาเป็นประสบการณ์ของตนเอง ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประสบการณ์ (ใช้สมองซีกซ้าย) โดยการอภิปรายวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดจากประสบการณ์ในขั้นที่ 1 ขั้นที่ 3 ปรับประสบการณ์เป็นความคิดรวบยอด (ใช้สมองซีกขวา) โดยให้นักเรียนหาข้อสรุปจากประสบการณ์และสถานการณ์ ขั้นที่ 4 มุ่งหลักการ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากใบความรู้ ขั้นที่ 5 ลงมือปฏิบัติตามหลักการ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการทำงานตามใบงานหรือทำตามขั้นตอนที่กำหนด ขั้นที่ 6 สร้างผลงานตามความถนัด (ใช้สมองซีกขวา) การลงมือปฏิบัติงานในการสร้างชิ้นงานในใบงานตามความสามารถ ขั้นที่ 7 วิเคราะห์ชิ้นงานและแนวทางในการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (ใช้สมองซีกซ้าย) เป็นการนำเสนอผลงาน อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดในกลุ่ม และขั้นที่ 8 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  (ใช้สมองซีกขวา) เป็นการจัดป้ายนิเทศแสดงผลงาน ให้นักเรียนได้นำเสนอผลงาน อภิปรายผลงานให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ พร้อมทำการประเมินผลงาน จากการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้/การสัมภาษณ์นักเรียน และการวัดการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ก่อน/หลังปฏิบัติการ พอจะสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานเป็นกลุ่ม และเป็นรายบุคคล สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติกิจกรรมตามความสนใจและความถนัดของตนเอง ทำให้มีอิสระในการคิด และสามารถคิดได้หลากหลายแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น
(งานวิจัยของนักศึกษาทั้ง 2 ชิ้น เป็นวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการประเมินในระดับดีเยี่ยม : Excellent)

                             

ท้ายที่สุดนี้ ผู้เขียนขอฝากว่า การที่จะพัฒนาทักษะการคิดในด้านใดให้กับนักเรียน ครูผู้สอนเองจำเป็นจะต้องพัฒนาทักษะของตนในด้านนั้นๆ ก่อน ซึ่งจากการที่ผู้เขียน ได้มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้านการพัฒนาการคิดของผู้เรียน การอบรมครูด้านการพัฒนาการคิด การทำหลักสูตรรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิด การจัดทำคู่มือการเรียนรู้และการสอนในรายวิชาดังกล่าวสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และการควบคุมปริญญานิพนธ์ที่ทำวิจัยด้านการสร้างแบบวัดการคิดและการพัฒนาการคิดแบบต่างๆ ให้กับผู้เรียน ผู้เขียนพบว่า มีเอกสารที่ให้องค์ความรู้และแนวคิดแนวปฏิบัติในการพัฒนาการคิดแต่ละอย่างมากมาย ทั้งในแนวคิดทางตะวันออกและทางตะวันตก และกิจกรรม/เทคนิคการพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ก็มีอยู่หลากหลาย เมื่อนำไปฝึกก็ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก (ดังตัวอย่างที่ได้เขียนไว้บ้างในบันทึกที่เกี่ยวข้อง : การคิดนอกกรอบฯ) สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่ว่า ครูอาจารย์จะใส่ใจและตั้งใจจริงแค่ไหนที่จะศึกษาค้นว้า เพื่อนำความรู้และแนวปฏิบัติที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง

 (ขอบคุณทุกท่านที่กรุณาเข้าไปอ่าน ให้ดอกไม้/แสดงความเห็น และขออภัยที่ผู้เขียนคงตอบช้าเช่นเคย เพราะต้องเดินทางเข้าฟาร์ม และที่ฟาร์มใช้ Internet ไม่ได้ค่ะ)




หมายเลขบันทึก: 517265เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2013 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2013 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

การเปลี่ยนแปลง ..... เพื่อการเรียนรู้ .... ผ่านการสร้างสรรค์ คิดใหม่ รูปแบบใหม่ๆ นะคะ

ขอบคุณบทความดีดีนี้ค่ะ อาจารย์แม่

สวัสดี ผศ.วิไล

ป๋าเดเข้าตอบในบล๊อคอาจารย์ไม่ได้แล้ว แต่รูปเล็กๆมันคงไม่ขึ้น ก็จะพยายามต่อไป

อ้อพิมพ์ผิด คือเข้าได้แล้วแต่รูปเล็กมันไม่ขึ้นครับ ช่วยแนะนำหน่อยนะครับ

-ขอให้อาจารย์แม่จงได้รับรางวัลนะครับ...จะรอฟังข่าวดี

จากป๋าเด

กว่าจะได้เข้าเมืองตอบความเห็น/คำถาม "ป๋าเด" ท่านก็แก้ปัญหาได้ด้วยความพยายามของตนเองไปแล้ว

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ท่านประสบความสำเร็จในทุกเรื่อง ที่ท่านได้ใช้ความพยายามไปนะคะ

ขอบคุณค่ะ สำหรับคำอวยพรให้ยายไอดินได้รับรางวัลจากการเขียน จริงๆ แล้ว ยายไอดินไม่เคยเขียนเพราะหวังรางวัลเลยนะคะ

เวลาที่มีหัวเรื่อง "สรอ.ขอความรู้" ที่ยายไอดินพอจะมีข้อมูล/ความคิดเห็น ก็ลงมือเขียนเป็นการให้ความร่วมมือกับ "สรอ." และ "GotoKnow" บางบันทึกก็เขียนเพื่อไม่ให้ขาดหายจากการติดต่อสื่อสารกับ "กัลยาณมิตร GotoKnow" ค่ะ

แต่คงเขียนได้ไม่บ่อยนัก คงประมาณเดือนละ 1-2 เรื่องค่ะ เพราะไปอยู่ที่ฟาร์มใช้ Internet ไม่ได้ จะใช้ได้ก็ตอนเข้าเมืองค่ะ

                                             

ขอบคุณกำลังใจและน้ำใจจาก "Dr.Ple" มากนะคะ ที่มีให้อาจารย์แม่อย่างเสมอต้นเสมอปลาย

ชื่นชม"กิจกรรมสร้างสรรค์" ของชาวเพชรบุรี (รวมทั้งท่าน นพ.สมพนธ์ และ "Dr.Ple") มากค่ะ


ขอบพระคุณกำลังใจจากทุกท่านค่ะ


อาจารย์แม่สรุปได้ละเอียดมาก

ตอนนี้ที่สวนเป็นอย่างไรบ้างครับ ฝนตกไหมครับ

อยากให้ครูทุกคนได้อ่านแนวคิดดีๆเช่นนี้ค่ะ..ขอให้น้องผศ.วิไลและครอบครัวมีความสุขมากๆค่ะ..

ดีใจครับที่ท่านตอบผม...และเราสื่อสารกันได้แล้ว

ขอแสดงความเห็นนิดหนึ่ง.....ภาพที่หัวบล๊อคของท่านเป็นภาพคนยิงศีรษะตัวเอง ผมคิดว่าเป็นภาพที่ไม่ค่อยสวยนะ


ขอบคุณมากนะคะสำหรับกำลังใจจาก "ลูกขจิต"

ฝนหายไปนานแล้วจนจำไม่ได้ค่ะ ว่าตกครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ดีว่า มีน้ำประปา น้ำบาดาลให้ได้รดน้ำต้นไม้ ไม่เช่นนั้นต้นไม้ใบหญ้าคงเหี่ยวแห้งตายหมด

ช่วงนี้ที่ฟาร์มทำงานก่อสร้างเพิ่มเติมเสร็จแล้วค่ะแต่ยังมีปัญหาบางจุด ที่สวนยางก็สร้างโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์เสร็จแล้ว ยางพาราปลูกมาแล้วปีนี้เป็นปีที่ 7 แต่พ่อใหญ่สอบอกจะกรีดปีที่ 8 ค่ะ

อาจารย์แม่อยากส่งภาพที่ฟาร์มให้ดู แต่มีปัญหาเรื่องการใส่ภาพค่ะ ก่อนนี้เคยมี Image Link แต่ตอนนี้หายไป เลยไม่รู้จะใส่ภาพประกอบยังไงค่ะ

ขอบพระคุณกำลังใจและคำอวยพรจาก "พี่ใหญ่" มากนะคะ

สงสัยจังค่ะ ว่า "ป๋าเด" ทำยังไงภาพประจำตัวจึงไม่ปรากฏ

ขอบคุณนะคะ สำหรับความเห็นเกี่ยวกับภาพประกอบ Blog ท่านคงอยากสื่อว่า ภาพไม่เหมาะมากกว่าภาพไม่สวย สำหรับภาพคนยิงตัวตาย ใช่ไหมคะ พอดีว่า Blog "Goaltoknow" ใช้เขียนบันทึกตามแรงบันดาลใจทางสังคม และเรื่องแรกที่เขียน (เกือบ 2 ปีมาแล้ว) ก็เกิดจากความสะเทือนใจที่นักเรียนชั้น ม.6 ที่ร้อยเอ็ดฆ่าตัวตายเพราะคิดว่าตนไร้ค่า อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ ยายไอดินก็เลยใช้ภาพ Graphic คนฆ่าตัวตายประกอบ คงพอจะอนุโลมได้นะคะ เพราะเป็นภาพ Graphic ไม่ใช่ภาพคนจริง และต้องการให้สื่อความถึง "อัตวินิบาตกรรม" ค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับกำลังใจจาก "ลูกแผ่นดิน" "น้องอิน" "พี่วอญ่า" "คุณอักขณิช" และ "หนูพวงผกา"

ป๋าเดคงคิดมากไปเองมั้ง...เรื่องภาพไม่เป็นไรไม่คิดอะไรแล้ว.ป๋าเดกำลังเขียนบล๊อค อยู่นะตอนเข้าเมืองไปถึงบ้านอาจารย์แม่ลองอ่านดูนะ

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับกำลังใจจาก "คุณเขียวมรกต" และ "หนูอรดี"

อาจารย์แม่ครับ คลิกขวาที่ภาพ จะ copy เลือกคัดลอก URL ของภาพ มาคลิกที่ insert image ครับ เอา URL ที่ copy มาใส่ในช่อง กด insert ครับ


  • เห็นด้วยกับท่านอาจารย์ครับ และน่าจะเป็นลำดับแรกๆเลย "ความคิดสร้างสรรค์ : ทักษะของครูในศตวรรษที่ 21"
  • ยิ่งอายุและประสบการณ์ตัวเองมากขึ้น จากความเป็นไปของบ้านเมืองเรา ยิ่งตระหนักครับว่า งานจัดการศึกษา หรืองานพัฒนาคนนั้นสำคัญสุด
  • ขอบคุณความรู้ครับ ท่านอาจารย์สบายดีนะครับ



ขอบคุณ "ลูกขจิต" มากนะคะ สำหรับคำแนะนำวิธีการใส่ภาพประกอบ ดังนี้

"อาจารย์แม่ครับ คลิกขวาที่ภาพ จะ copy เลือกคัดลอก URL ของภาพ มาคลิกที่ insert image ครับ เอา URL ที่ copy มาใส่ในช่อง กด insert ครับ"

ที่ผ่านมา อาจารย์แม่ก็ทำแบบที่ลูกขจิตแนะนำนั่นแหละค่ะ แต่ปัญหาคือ พักหลังนี่อาจารย์แม่ไม่เห็น " URL ของภาพ" ก็เลยไม่รู้จะไปคัดลอกจากไหน กรุณาตอบด่วนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ


 

พ่อใหญ่สอบอกว่าจะกรีดปี 2557 ค่ะ "ป๋าเด" ซึ่งแกและคนงานก็จะต้องอบรมเรื่องการกรีดยางก่อน ต้นปี 2556 แกก็สมัครอบรมพร้อมกับคนงาน 2 คน แต่คนงานไม่เข้าบอกจะเข้าอบรมปีที่จะกรีด แกเลยต้องเข้าอบรมคนเดียว แต่แค่วันแรกเขาให้นั่งกับพื้นลับมีดอย่างเดียว แกก็ไม่ไหวแล้ว เลยขออบรมพร้อมกับคนงานต้นปี 2557 ค่ะ จะเป็นการอบรมที่แกเองต้องการศึกษาให้รู้วิธีปฏิบัติเพื่อดูแลคนงาน ส่วนการปฏิบัติจะให้คนงานเป็นคนฝึกค่ะ

โรงเรือนที่แกทำที่สวนยางสำหรับเก็บปุ๋ยและเครื่องไม้เครื่องมือ (ดังภาพบน) ยายไอดินถามตอนที่กำลังทำว่า "ทำไมทำเล็กจัง" (ยายไอดินไม่ได้มีส่วนร่วมวางแผนเหมือนการต่อเติมบ้านค่ะ) แกหัวเราะหึๆ และพูดต่อหน้าช่างว่า "ก็ไม่รู้จะทำให้ใหญ่โตไปทำไมนะ เพราะไม่มีอะไรมากมายที่จะใส่เข้าไป" แต่พอสั่งปุ๋ยคอกมาปรากฏว่า โรงเรือนไม่พอเก็บต้องเก็บที่อื่น เป็นภาระต้องขนไปที่สวนยางอีก เฮ้อ! อะไรที่ยายไอดินไม่มีส่วนร่วมวางแผน มักจะมีข้อผิดพลาดเสมอเลยค่ะ

 

    

เรียกว่าพ่อใหญ่สอขาดการวางแผน....การกรีดยางก็อยากเข้าอบรมเหมือนกันนะจะได้มีความรู้ติดตัว...แถวบ้านป๋าเดมีสวนยางมาก....แต่บ้านป๋าเดไม่มีสวนยางหรอก...

ฟาร์มไอดิน-กลิ่นไม้ ถ้ากลับไปเยี่ยมชมอีกครั้งคงเปลี่ยนปลงไปมาก.....แหมเห็นภาพโรงยิมของยายไอดิน นึกว่าเป็นโรงฝึกนักกีฬาเล็ก 555...ช่วยตอบหน่อยได้ไหมว่าคือโรงอะไร ???

-ขออนุญาตแนะนำยายไอดินว่า ตอนอยู่ฟาร์มกลางคืนก็เขียนบล๊อกได้ใน Word ไว้ซิ พอกลับเข้าเมืองอุบลฯก็เอาลงบล๊อกได้สบายมาก.....

-บ่อน้ำเป็นอย่างไร หน้าแล้งน้ำจะพอไหม ตกกลางคืนที่ฟาร์มคงเงียบสงัดดีน้อ....

-ป๋าเดไปอบรมที่มหาวิทยาลัยแสตมฟอร์ดวิทยาเขตหัวหินมานะ...คอยอ่านในบล๊อก วันสองวันนี้จะเขียน... 

แวะมาให้กำลังใจนะค่ะ...เห็นด้วยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการคิดวิเคราะห์ให้กับคนไทย 

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความเห็นของ "คุณครูธนิตย์" และต้องขอโทษมากๆ นะคะที่ตอบช้า เพราะต้องรีบกลับเข้าฟาร์ม และพอตอนหลังเข้าเมืองก็เข้าแบบรีบกลับไม่ได้ค้าง เพิ่งมาค้างเที่ยวนี้ค่ะ

อยู่ที่ฟาร์มสุขภาพยายไอดินดีขึ้นค่ะ เพราะกิน-นอนเป็นเวลา อากาศดี และได้ออกกำลังกายด้วยการปลูก/ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้ใบหญ้าค่ะ หวังว่าคุณครูธนิตย์และสมาชิกในครอบครัวจะ สบายดีเช่นกันนะคะ

ขอบคุณมากนะคะ สำหรับกำลังใจและความเห็น จาก "คุณที่ไม่ระบุนาม"

ขอบคุณลูกขจิตมากนะคะ ที่กรุณาแนะนำอาจารย์แม่เรื่องการใส่ภาพ ทั้งที่เข้าไปตอบคำถามในหน้าถามตอบ ซึ่งทุกวิธีที่ลูกขจิตและคุณน้องคนบ้านไกลแนะนำ อาจารย์แม่ก็ทำตามไม่ได้ เพราะคลิกขวาคลิกซ้ายก็ไม่ปรากฏข้อความตามคำแนะนำค่ะ สุดท้ายต้องหิ้ว Notebook ไปหาช่างประจำเขาเองก็ทำตามคำแนะนำไม่ได้เช่นกันค่ะ แต่ได้แนะนำให้เข้าไปที่ Properties และ Copy "๊URL" ที่นั่นค่ะ

 

เรื่อง "โรงยิมเล็ก" ตลกมากค่ะ "ป๋าเด" ตอนแรกพ่อใหญ่สอจะกั้นห้องทั้ง 3 ด้าน (ด้านข้าง 2 ด้านหลัง 1) และด้านหน้าก็จะทำประตูปิด/เปิด (เป็นอีกสิ่งปลูกสร้างที่ยายไอดินไม่ได้ร่วมวางแผน) ยายไอดินเลยบอกว่า ถ้าแกทำเช่นนั้นก็จะกลายเป็นโรงเก็บเครื่องออกกำลังกายไป ขืนเข้าไปออกกำลังกายในห้องเล็กๆ ทึบๆ เช่นนั้นก็จะร้อนอบอ้าวเป็นลมตายพอดี สุดท้ายแกเลยเปลี่ยนเป็นเปิดโล่งด้านข้างที่มองไม่เห็นในภาพและไม่ต้องทำประตูปิด/เปิด (ตามคำแนะนำของยายไอดิน) ยายไอดินต้องนำต้นมะไฟไปปลูกให้ร่มเงาที่มุมขวา (มุมซ้ายมีมะม่วงฟ้าลั่นเสียบยอดเป็นร่มเงาอยู่ก่อนแล้ว) และจัดภูมิทัศน์ให้น่าดูเวลาไปออกกำลังกาย ตอนนี้จัดอุปกรณ์เข้าไปครบแล้วค่ะ คราวหน้าจะลงภาพให้ดูนะคะ  

สวัสดียายไอดิน (ชื่อดูแก่จัง)

-ไม่ได้เปิด Notebook เสียนานเพราะมันค่อนข้างเกเร (เปิดGoogleไม่ได้จึงไม่ได้แวะมาเยี่ยม) 

-คำว่าโรงยิมก็ต้องเป็นสถานที่ออกกำลังกาย ดีแล้วที่ท่านให้พ่อใหญ่ไปออกกำลังกายข้างนอก อากาศจำได้ถ่ายเทสะดวก......โรงยิมเอาไว้เก็บของดีกว่า 555

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน

แต่การสอน "ความคิดสร้างสรรค์ : ทักษะของครูในศตวรรษที่ 21" ยากจังค่ะ  มีวิธีไหนที่จะทำให้ครูผู้สอนเข้าใจได้ง่าย  และปฏิบัติได้  นำไปใช้ได้  อาจารย์ช่วยสอนเป็นวิทยาทานแก่หนูเพิ่มเติมได้หรือไม่คะ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท