การดูแลลำไยช่วงออกดอก (ต่อ)


ชื้อราดำเกิดแล้ว แก้ไขยาก...ค่ะ ทางที่ดีที่สุดคือ เราต้องใช้วิธี "ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราดำ"

ลำไย : ชุมชนคนสนใจเรื่องลำไย ถามตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

https://www.facebook.com/groups/www.longankipqew/

หรือ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home/#/posts/545415/edit

สาวน้อยใจดี นู๋ยุ้ยแก้มตุ่ย

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840


บทที่.....ว่าด้วยการดูแลลำไยช่วงออกดอก (ต่อ)

ในบทเดิมหน้ากระดาษเต็ม เลยต้องยกมาเขียนต่อในบทนี้ ...หุ..หุ ใครอ่านที่ยุ้ยเขียนได้หมด ถือว่าเก่งมากเลย เคยเปิดดูในอินเทอร์เน็ตเรื่องเกี่ยวกับลำไยของคนอื่น เห็นแต่เขาเขียนแบบสรุปๆ แต่ยุ้ยเขียนแบบพูดคุย เล่าสู่กันฟังมากกว่า

มาว่ากันต่อเรื่องการดูแลลำไยช่วงออกดอก

5. ระยะดอกโรย

ช่วงนี้ ก็ถือว่าสำคัญไม่น้อยเลยค่ะ เพราะช่วงนี้จะเป็นช่วงที่ดอกลำไยจะพัฒนาเป็นลูกลำไย ระยะนี้จะมีแมลงมากวนค่อนข้างมาก เนื่องจากเกษตรกรจะพักการพ่นยากำจัดแมลงศัตรูพืช เพื่อไม่ให้แมลงผสมเกสรต้องตาย แบบว่าสงสาร...อ่ะ เ่ขาลำบากบินมาช่วยผสมเกสรให้ดอกลำไยของเรา แลกกับเกสรบางส่วน และน้ำหวาน เพื่อนำไปเก็บไว้กินไว้ใช้ ไว้เลี้้ยงลูกของเขา ( แหม...วันหน้าจะเขียนวงจรชีวิตเรื่องผึ้ง และชันโรงให้อ่านกัน ไหนๆ ก็อบรมฯ มาแล้ว...ชิมิ...ชิมิ )

ช่วงนี้พวก "เพลี้ย" โดยเฉพาะ "เพลี้ยหอยหลังเต่า" จะมาเยือน....นะคะ รวมถึงพวก "หนอนกินดอกลำไย" ที่ชอบชักใยดึงเอากลีบดอกลำไยมาถักทำรังช่วงเข้าดักแด้. พวกนี้ถ้าพบตอนที่กำลังมีแมลงผสมเกสรกำลังทำการผสมเกสร ก็ให้ทำใจ "ปล่อยเขาไปก่อนค่ะ" อย่างเพิ่งไปทำอะไรช่วงนี้

แต่ถ้าเดินพบเห็นมีไม่มากนัก พอจะเอามือรูดๆ ออกได้ ก็ให้ทำเถอะค่ะ ก่อนที่มันจะขยายญาติโกโหติกา ระบาดทั้งสวน ขยันเดินๆ ดูหน่อยนะคะ จะได้ไม่ต้องเปลืองเงินค่ายากำจัดแมลงมากนัก

แต่ถ้าเราเดินแล้ว พบเจอพวก "ราดำ" ...ค่ะ มาเกาะอยู่ที่ดอกลำไย พวกนี้เราต้องป้องกันหน่อย ปล่อยนานไม่ได้ค่ะ

ราดำเขาเกิดมาได้อย่างไร...? โดยธรรมชาติเชื้อราจะปลิวมากับสายลม หรือไม่ก็ติดขา ติดตัวแมลงผสมเกสรมาด้วย พวกราดำนี้ กินน้ำหวานเป็นอาหาร ดังนั้นเมื่อแมลงบินมาผสมเกสรที่ดอกลำไย แล้วบินไป ถ้าเป็นแมลงพวกผึ้งเขาจะปล่อยฟีโรโมนเอาไว้ บอกให้ตัวเอง หรือเพื่อนๆ รู้ว่า "ดอกลำไยนี้ อัวะดูดน้ำหวานแล้ว...นะเฟ้ย" พวกผึ้งตัวอื่นๆ ที่บินไปบินมา ก็จะไม่มาวุ่นวายอีก เสียพลังงานในการ "แลนดิ้งขึ้น-ลง" ( อย่า...งง เพระแปลว่าเสียแรงบินขึ้น-ลง เปล่าๆ ไม่ได้น้ำหวาน..ค่ะ)

ดังนั้นในดอกลำไยดังกล่าวจะยังพอมีเศษน้ำหวานหลงเหลืออยู่บ้างพอเป็นอาหารเชื้อราได้ อาการทีึ่ปรากฎ กับดอกลำไยของเกษตรกรก็คือ ดอกลำไยจะ "ดำ"...ค่ะ ดำจากข้างในดอกออกมา่ข้างนอกเลยล่ะ เพราะตรงนั้นมีเศษน้ำหวานเหลืออยู่

ถ้าเชื้อราดำเกิดแล้ว แก้ไขยาก...ค่ะ ทางที่ดีที่สุดคือ เราต้องใช้วิธี "ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อราดำ"...ค่ะ เกษตรกรสามารถเลือกใช้ได้หลายวิธีการ แต่ส่วนมากจะนิยมใช้สารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อรา พวกคาร์เบนดาซิม หรือแอนทาโคล ฯลฯ ผสมน้ำฉีดพ่นก็ได้ค่ะ

ปัญหาเรื่อง "เพลี้ย" สิ่งที่ตามมา โดยปกติมดต้องออกทำมาหากิน ด้วยการทำตัวเกษตรกร ด้วยการช่วยกันยกเพลี้ยแป้ง มาวางแปะไว้บนกิ่งช่อดอกของต้นลำไย...ค่ะ เพื่อจะรอให้เพลี้ยดูดน้ำเลี้ยงจากช่อดอกลำไย แล้วผลิตน้ำหวานในตัว จากนั้นพวกมดจะมากัดกินเพลี้ย เพื่อดูดกินน้ำหวานต่อไป พอน้ำหวานจากเพลี้ยแตก เศษน้ำหวานเหลือๆ อยู่ ก็จะกลายเป็นอาหารของ "เชื้อราดำ" อีกต่อหนึ่ง ทำให้เกิดการระบาดของเชื้อราดำในช่อลำไย หรือในต้นลำไยของเรา...ค่ะ

ปัญหาเรื่องถ้าเป็นผึ้ง เขาจะอดอยากมาก...ค่ะ แล้วเขาจะ "ดุมาก"...เลยล่ะ ระวังโดนเขาต่อยละกัน ในช่วงเวลาเขาโมโหหิว ต่อมาเมื่อลำบากมากนักผึ้งส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด อาจจะแยกรัง หรือยกฝูงบินไปหารังใหม่อยุ...ค่ะ เราก็อาจจะสูญเสียผึ้งรังนี้ ที่จะช่วยเราผสมเกสรดอกลำไยของเราไปได้...นะคะ

เกษตกรสามารถเลือกใช้วิธีที่จะเป็นมิตรกับมด แมลง และผึ้งค่ะ แต่จะไม่เป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ของเกษตรกรเอง..ค่ะ ก็คือ การใช้สารเคมีป้องกันเชื้อรา...ค่ะ

ของยุ้ยใช้ยาที่มีชื่อทางการค้าว่า "................" นำเข้าโดยบริษัทของประเทศอังกฤษ ชื่อสามัญคือ "โพรพิเนบ (propineb)" เป็นตัวป้องกันค่ะ โดยปกติ ถ้าเกิดการระบาดของเชื้อรา เขาจะใช้อัตราส่วนผสม 1.5 กิโลกรัม/น้ำ 1000 ลิตร แต่ถ้าไม่มีเชื้อราเกิดขึ้น แต่เราต้องการป้องกัน ก็จะใช้อัตราส่วนในการผสมลดลงค่ะ ของยุ้ยใช้ 500 กรัม/น้ำ 1000 ลิตร ซึงก็ได้ผลดีค่ะ ไม่มีเชื้อราดำเกิดในดอกลำไยเลย และแมลงก็ยังบินมาผสมเกสรได้ตามปกติ...ค่ะ เพราะเศษยาที่ติดไปกับตัวแมลง หรือเกสรที่นำกลับไป ก็ยังไปช่วยป้องกันเชื้อราในที่เก็บน้ำหวาน ภายในรังของผึ้งด้วยค่ะ

สิ่งที่ได้เพิ่มเติมในยาแอลทราโคล คือในยาดังกล่าวจะมีส่วนผสมของ"ซิงค์"ซึ่งนอกจากจะช่วยยับยั้งการเกิดเชื้อราแล้ว ยังมีส่วนที่ทำให้ใบ และลูกลำไยที่กำลังพัฒนาจากดอกลำไยที่ได้รับการผสมเกสรแล้ว จะทำให้มีสีเขียวสวยเลย...ค่ะ

ไม่แนะนำให้ใช้ยาป้องกันเชื้อราที่มีกลุ่มของซัลเฟอร์ (กำมะถัน)...นะคะ ยกเว้นเกษตรกรสามารถกำหนดวันเก็บที่แน่นอน และเก็บไม่เกิน 10-15 วัน หลังการใช้

ชื่อทางการค้าคือ "อามิตา" ยาพวกนั้นนอกจากจะแพงสุดๆ แล้ว ยังมีคุณสมบัติกัดแหลก..ค่ะ แบบว่าเขาจะกำจัดเชื้อราด้วยการย่อยสลายเซลส่วนผิวของลำไย ที่มีเชื้อรามาเกาะอยู่ พอลำไยได้น้ำฝน หรือมีการฉีดพ่นน้ำผสมธาตุอาหารต่างๆ ผิวเปลือกลำไยส่วนที่ถูกกัดนี้ก็จะหลุดร่วงไป เหลือแต่ผิวเนียนๆ สวยๆ แต่ผิวลำไยจะมีออกน้ำตาล-แดงๆ ซึ่งไม่เหมาะกับลูกลำไย ในระยะที่เริ่มพัฒนามาจากดอก เพราะช่วงนี้เราต้องการให้ผิวลำไยมีลูกสีเขียวมากกว่า...ค่ะ

เกษตรกรจะนิยมใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรากลุ่มกำมะถันนี้ในช่วงกำจัด และ/หรือช่วงขัดผิวลำไยตอนเป็นลูก หรือใกล้จะเก็บเกี่ยวผลผลิต..ค่ะ จะทำให้ได้ลูกลำไยมีสีผิวออกไปทางน้ำตาล แดงๆ พวกล๊งชอบมาก และมักจะแนะน้ำให้ใช้ เพราะนอกจากจะประหยัดเงินค่าซัลเฟอร์ของล๊งเองแล้ว ยังได้กำไรจากการขายยาดังกล่าวให้กั้บเกษตรกรที่เป็นลูกล๊ง (ลูกหนี้) ด้วย เวลานำผลผลิตที่เก็บมาได้ไปอบซัลเฟอร์ในตู้ จะทำให้ได้ลำไยที่มีสีผิวเหลืองทองสวยมาก ขายต่อได้ราคาดี...ค่ะ

ราคาของยาป้องกัน และกำจัดเชื้อราประเภทนี้ ราคาต่างกันอย่าง "ฟ้า กับเหว" เลย...ค่ะ เลิอกเอาเอง...ละกัน

คราวนี้ก็เริ่มมาจัดการกับเจ้าเพลี้ยหอยหลังเต่ากันได้แล้ว...ค่ะ

สารพัดยาที่มีในร้านเคมีการเกษตร แล้วอาตี๊ อาแปะ (บางร้านใช้เด็ก 10 ขวบ มาขายก็เคยเห็น) ซึ่งเป็นคนขายก็จะบอกสรรพคุณว่า ยาตัวโน่นดี ยาตัวนี้เด่น ยาตัวนั้นกำจัดเรียบ (ฟังๆแล้วอะไรๆ ก็ดีไปหมดยกเว้นเงินในกระเป๋าของเกษตรกร)

ในการกำจัดเพลี้ย มีสารเคมีหลายประเภทที่ใช้ ดังนั้นในฐานะที่เป็นนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร อนาคตอาจจะได้เป็นนักวิชาการเกษตรกับเขาบ้าง และคงต้องไปแนะนำคนอื่นๆ รู้จักสารเคมีเหล่านี้ และถ้าหากเราจำเป็นจะต้องใช้สารเคมีตัวใดตัวหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง จำเป็นที่เราจะต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลเหล่านั้นเสียก่อน เพื่อให้เกิดความมั่นใจก่อนจะใช้ หรือแนะนำคนอื่นๆ ให้ใช้สารเคมีทุกชนิด... กันซักหน่อย

แต่ถ้าเกษตรกรเชื่อใจ และมั่นใจผู้ที่มาแนะนำท่านให้ใช้ยาตัวโน่นตัวนี้ ว่า ท่านเป็นนักวิชาการลำไย ท่านเป็นเกษตรตำบล ...อำเภอ .....จังหวัด หรือ....ปลัดกระทรวงเกษตรมาบอกเอง ( ชักจะไปกันใหญ่...แล้ว ) เป็นผู้มีความรู้ มีความชำนาญเฉพาะด้านจริงๆ เกษตรกรก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาให้เสียเวลาหรอก...ค่ะ

จากรายงานการวิจัยในวารสารกีฏและสัตววิทยา

20(4) หน้า 229-235 ของปิยรัตน์ เขียนมีสุข; ศรีสุดา โท้ทอง

บทคัดย่อ : การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟแมลงศัตรูกล้วยไม้ ในแปลงเกษตรกร ที่กล้วยไม้หวายลูกผสม (นิววันนี) ของพุทธมณฑลสาย 3 แขวงทวีวัฒนา กรุงเทพ เมื่อ พฤษภาคม-มิถุนายน 2541 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ 14 กรรมวิธี พ่นสารฆ่าแมลงทุก 4 วัน ด้วยเครื่องพ่นสารแบบแรงดันน้ำสูงโดยใช้น้ำ 298 ลิตร/ไร่ เปรียบเทียบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงแต่ละกรรมวิธีโดยตรวจนับจำนวนเพลี้ยไฟทั้งหมด 11 ครั้ง สรุปได้ว่า imidacloprid อัตรา 10-20 มล./น้ำ 20 ลิตร, abamectin อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร acetamiprid อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร และ fipronil อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร และ fipronil อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟดีที่สุดรองลงมา ได้แก่ pyriproxyfen อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร และ abamectin อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ส่วน cypermethrin+phosalone อัตรา 40 มล./น้ำ 20 ลิตร ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟได้ในระดับปานกลาง

Copy มาให้อ่านกันเลย...ค่ะ

สรุปว่ายาในกลุ่ม cypermethrin+phosalone ดังกล่าวไม่ใช่ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดเพลี้ยหรอกนะคะ แต่มีประสิทธิภาพในระดับปานกลาง ที่ยุ้ยเลือกใช้ยาตัวนี้ก็ด้วยเหตุผลว่า ที่สวนฯ ยังไม่เคยใช้ยาประเภทนี้มาก่อน ดังนั้นเมื่อเริ่มต้นไม่ควรใช้ยาที่มีความรุนแรงสูงมากเกินไป ซึ่งถ้าใช้และใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้แมลงพวกนี้สร้างภูมิต้านทาน และในที่สุดเราก็จะไม่ีสามารถหายา หรือสารเคมีที่จะกำจัดเขาได้ง่ายๆ อีกต่อไป...ค่ะ

คราวนี้มาศึกษาอัตราส่วนในการผสมกันหน่อย

มิลลิลิตร เป็นหน่วยวัดปริมาตร มีขนาดเท่ากับ 0.001 ลิตร 1 มิลลิลิตร มีค่าเท่ากับ

  • 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • 0.001 ลิตร

จากอัตราส่วนดังกล่าวชาวบ้านอ่านแล้วอาจ...งง ดังนั้นขอสรุปเลยล่ะกัน

สรุปแบบบ้านๆ ได้ว่า ถ้าจะผสมพ่นไม่กี่ต้น ก็ใช้ยา 40 cc/น้ำ 20 ลิตร

ถ้าจะผสมพ่นหลายต้นหน่อยก็ใช้ยา 400 cc/น้ำ 200 ลิตร

ถ้าจะผสมพ่นกันเป็นสวนเลยก็ใช้ 2000 cc/น้ำ 1000 ลิตร

ปกติถ้าเกิดการระบาดอย่างหนัก ก็จะใช้อัตราส่วน 1.5 - 2.0 ลิตร/น้ำ 1000 ลิตร

กรณีของยุ้ย ยังไม่พบเพลี้ยเลย แต่รู้ว่าช่วงระยะนี้ตามสถิติของการปลูกลำไย เพลี้ยน่าจะมาแน่ๆดังนั้นยุ้ยจึงเลือกที่จะใช้ Cypermethrin + Phosalone ตัวนี้ เพียง 500 CC. /น้ำ 1000 ลิตรค่ะ เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้าก่อนที่มันจะระบาด ซึ่ง การกำจัด จะยากกว่าการป้องกัน เพราะต้องใช้เวลา และสารเคมีในปริมาณที่มากกว่า...ค่ะ

ยากลุ่ม Cypermethrin + Phosaloneที่มีวางขายกันอยู่ในร้านเคมีการเกษตร ก็มีอยู่หลายยี่ห้อ...นะคะ เราก็คงต้องพิจารณาเลือกดูแหล่งผลิต หรือบริษัทที่นำเข้ามาขายกันก่อน...ละค่ะอย่างน้อยควรจะเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงมานาน จะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าบริษัทที่เปิดใหม่ๆ ซึ่งไม่เคยได้ยินชื่อ หรือมีผลงาน....มาก่อนเลย

ในที่สุดยุ้ยก็เลือกใช้ยาที่มีชื่อทางการค้าว่า "............." ซึ่งอ่านฉลากยาแล้วพบว่า ผลิตในประเทศอังกฤษ นำเข้าโดยบริษัท........... บจก. ขึ้นทะเบียนรับรองกับกรมวิชาการเกษตร ถูกต้อง แต่เห็นราคาแล้วก็ต้องบอกว่า "พอสมควรกับคุณภาพ...ล่ะคะ"

ผลที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจ...ค่ะ ไม่มีเพลี้ยมาโผล่ที่สวนลำไยของยุ้ยเลย....ค่ะ

"Cypermethrin + Phosalone" เวลาใช้ก็ผสมน้ำไปพร้อมๆ กับยาป้องกัน และกำจัดเชื้อราได้เลย..ค่ะ

แต่ถ้าจะใช้ "จุลินชีพชีวภาพ" ก็ไม่ต้องใช้ร่วมกับยากำจัดแมลง...นะคะ เพราะ "จุลินชีพชีวภาพ" จะโดนยากำจัดแมลง กำจัดไม่เหลือตั้งแต่ยังไม่เริ่มฉีดเลย...ค่ะ

"จุลินชีพชีวภาพ" ใช้ผสมน้ำไปด้วยกัน กับธาตุอาหารทางใบ เท่านั้นนะคะ ไม่สามารถใช้ผสมพร้อมกับยาฆ่าแมลง และยากำจัดเชื้อราทุกประเภท...ค่ะ เพราะเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเหมือนกัน มันจะตายกันหมดเสียก่อน

แต่ถ้ายังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดเชื้อรา หรือมีเพลี้ยมากวนมากมายนัก ก็ไม่จำเป็นต้องใช้หรอกค่ะ....เปลือง

อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้ฉีดพ่นอะไรทั้งสิ้นในช่วงดอกบาน เพราะแรงดันของละอองน้ำ

อาจทำความเสียหาต่อดอกลำไย ทำให้หลุดร่วง หรือดอกลำไยไม่ได้รับการผสมเกสร..ค่ะ

ขยันไปเดินดูในสวนลำไยบ่อยๆ ก็แล้วกัน

จะได้รู้ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นบ้างกับลำไยสุดที่รัก....หรือเปล่า

จากนั้นไม่นานเกินรอ หลังจากดอกลำไยเริ่มโรยราดอกลำไยพัฒนาเป็นผลลำไย โดยจะเริ่มจาก "ตุ่มหัวกลมๆ เล็กๆ สีเขียวๆ" ก็ขอปรบมือดังๆ แสดงความยินดีกับท่านเกษรตรกรในระดับหนึ่ง...นะคะ ว่าท่านเกษตรกร "เก่งมากเลย" สามารถดูแลจนต้นลำไยของท่านพัฒนาจากดอกมาสู่ลูกลำไยได้แล้ว...ค่ะ

ระยะการพัฒนาการเป็นผลลำไย อ่านต่อในลิงก์นี้ค่ะ

http://www.gotoknow.org/dashboard/home#/posts/534962

หมายเลขบันทึก: 517095เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2013 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 22:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ขอบคุณค่ะ..ตำรานี้มาจากการลงมือทำเอง..ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

EM ต้องใช้ในปริมาณเท่าไหร่ และหาซื้อตามท้องตลาดได้หรือเปล่า

ตอบคุณพัฒน์

ต้องขอโทษด้วยที่ตอบช้า เพิ่งเปิดมาอ่านค่ะ


EM แท้มีขายเฉพาะการสั่งผลิตค่ะ  

EM แท้ไม่ค่อยมีขายทั่วไปในท้องตลาด 

ส่วนมากเกิดจากการต่อเชื้อจากหัวเชื้อ EM  นำไปหมักกับอินทรีย์วัตถุต่างๆ  

ซึ่้งไม่ควรใช้คำโฆษณาว่า เป็น EM  แต่ควรเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพ จะถูกต้องกว่า...ค่ะ


EM ต้องเกิดจากการเพาะเชื้อ และเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ  จากนั้นจึงจะทำการขยายพันธุ์ และจะได้เป็นหัวเชื้อ 

หัวเชื้อ EM ส่งให้นำไปผสมหมักกับอินทรีย์วัตถุต่างๆ จะเรียกว่า "น้ำหมักชีวภาพ"... ค่ะ   หมักเพาะเลี้ยงต่อได้ 1 ครั้งค่ะจะยังคงสภาพที่ใช้ได้ดีอยู่ แต่มีระยะเวลาในการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น


ส่วนมากเอเยนต์ที่สั่งหัวเชื้อ EM ไป แทนที่จะบรรจุถัง ปิดยี่ห้อ แล้วขายให้กับเกษตรกรโดยตรง กลับเอาไปต่อเองอีก 1 ครั้ง  กลายเป็นน้ำหมักชีวภาพ  ซึ่งก็ยังอาจคงมีสภาพพอใช้อยู่ได้ในระดับหนึ่ง  แต่จะไม่สมบูรณ์นัก

ต่อไป ต่อมา แล้วก็เกิดความโลภ เลยต่อเองออกไปเรื่อยๆ  มีการเอาไปหมักกับอินทรีย์วัตถุชนิดอื่นๆ อีกหลายประเภท บางครั้งก็ใส่ธาตุอาหารหลักเข้าไปอีก มั่วกันไปหมด

บรรจุขวด หรือถังเกลอนเล็กๆ สวยๆ แต่ขายแพงมาก ลิตรละ 60-80 บาท  


เกษตรกรซื้อไป ก็เอาไปหมักต่อเอง สารพัดสรรหา ผสมไข่ ผสมนม ผสมโน่น ผสมนี่ ว่าไปผสมได้หมดแหละค่ะ


เน้นคำ...นะคะ    การน้ำอินทรีย์วัตถุไปหมัก โดยใช้ EM ผสมนั้นเราจะเรียกว่า น้ำหนักชีวภาพ...ค่ะ   ไม่เรียกว่า  EM 

แต่คนทั้งประเทศก็ยังเรียก  EM  กันให้เกลื่อนเมือง  ยกเว้นนักวิชาการที่มีความรู้ความเข้าใจ จะพูดเสมอว่า "น้ำหมักชีวภาพ" 

ดังนั้น คุณสมบัติของ EM  กับ คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ จึงมีความแตกต่างกันอย่างอย่างชัดเจน


ปริมาณในการใช้ EM ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช่ค่ะ

ถ้าใช้เพื่อควบคุมการขยายพันธุ์ของแมลง ก็ใช้ในอัตราสูงหน่อย 1:100 ค่ะ

ถ้าใช้สำหรับการพ่นหญ้า หรืออินทรีย์วัตถุต่างๆ มี่มีอยู่บนหน้าดิน เพื่อบำรุงดินก่อนที่จะำการไถ่กลบทันที  ก็ใช้เพียง 1:1000 ค่ะ


แต่ถ้าเป็นการบำรุงใบบำรุงต้น ต้องนำ EM ไปหมักกับอินทรีย์วัตถุ ให้เป็นน้ำหมักชีวภาพก่อน แล้วจึงนำมาใช้ค่ะ

น้ำหมักชีวภาพ แต่ละอย่าง ใช้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ เช่น ถ้าต้องการบำรุงราก ต้น ใบ ก็ใช้น้ำหมักชีวภาพ ที่ได้จากการหมักจากซากพืชที่เติบโตพร้อมจะออกผลแล้ว  

ยกตัวอย่างเช่นถ้านำ EM  มาหมักกับหน่อกล้วยอ่อนที่มีความสูงจากผิวดินประมาณ 80-100 Cm.  หรือ

น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมัก EM กับ ต้นข้าวโพดสดๆ ที่ออกดอกแล้วพร้อมจะออกฝัก ก็จะได้ปริมาณของธาตุอาหารครบทั้งสามตัวค่ะ คือ N P และ K ในอัตราส่วนเสมอค่ะ 

นำมาผสมน้ำเปล่าในอัตราส่วน 1: 2000  ฉีดพ่นทางใบ และทางดินให้กับต้นไม้  จะช่วยให้เกษตรกรประหยัดธาตุอาหารหลักได้ ใช้ปุ๋ยในปริมาณที่น้อยลงได้มากกว่า 50 % ค่ะ  และยังมีจุลิทรีย์ที่มีประโยชน์อีกจำนวนมากทำหน้าที่บำรุงดิน ดูแลปรับสมดุลย์ของสภาพความเป็นกรด ด่านในดิน ช่วยรักษาสภาพของดินให้ดีขึ้นอย่างชัดเจน....ค่ะ  ฯลฯ


เดี๊ยวนี้ ดูยากค่ะ ขวดเขียนว่า EM แต่้ข้างในเป็นน้ำหมักชีวภาพ...ค่ะ

ของยุ้ย ได้จากการเพาะเลี้ยงเชื้อในแล็ป และนำไปเลี้ยงต่อ ก่อนจะนำมาใช้ค่ะ  ไม่ได้ซื้อจากตลาดทั่วไป


ต้นทุนจริงๆ ของ EM ราคาพอสมควร แต่รัฐไม่ค่อยส่งเสริมค่ะ เลยออกเป็น พด. สารพัดเลข ซึ่งก็มีคุณลักษณะคล้ายๆ กัน  แต่ EM ประหยัด ราคาไม่แพง คุณภาพก็ดีกว่า แต่กลับไม่ได้การส่งเสริม ตลกดี...ค่ะ

เหตุผล ที่แท้จริงก็คือ

 EM ถ้าส่งเสริมมากๆ  บริษัทปุ๋ย ยา ต่างๆ จะขายสินค้าของเขาไม่ได้...ค่


ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ตามร้านค้าเคมีวัตถุทางการเกษตร จะไม่ค่อยมี EM ของแท้มาวางขายค่ะ

และรัฐบาลก็ไม่ค่อยส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ EM กันอย่างจริงจังเท่าที่ควร


ตอนน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ ซึ่งมีแต่้น้ำเน่า เคยสังเกตข่าว...ไหมค่ะ

รัฐบาลเร่งผลิต พด. เพื่อปั้นเป็นก้อน แล้วเอาไปโยนในแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำเน่าท่วมขัง

หรือ

รัฐบาลเร่งผลิต EM เพื่อปั้นเป็นก้อน แล้วเอาไปโยนในแหล่งน้ำ เพือบรรเทาปัญหาน้ำเน่าท่วมขัง


เดือดร้อนจริงๆ  รัฐบาลเลือกใช้เชื้อตัวไหนล่ะ

รัฐบาล และเกษตรกรไทยอีกจำนวนมาก ที่ยังไม่เข้าใจในประโยชน์ของ EM

ส่วนบริษัทเคมีการเกษตรต่างๆ ไม่ต้องพูดถึง 

เดี๊ยวยอดขายยา ขายปุ๋ย อ๊วตก ....ไม่ล่าย..ไม่ล่าย  ไม่..ซาหนับ..ซาหนุง


ว่ามาซะยาวเลย

ไว้จะเอาไปเขียนในบทความเรื่อง EM ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆมาแบ่งปันนะคะ

ขอบคุณน้องยุ้ยมากค่า พี่ปลูกลำไยที่เชียงใหม่ค่ะ ได้ความรู้แนวละเอียดเลยค่ะ

เขียนได้ดีมากๆ  ทำลำไยอยู่ที่เมืองตากครับ(อาชีพเสริม)  ใส่สารมาตั้งแต่มีสารใส่ลำไยแล้ว  อนาคตน่าจะสอบเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  จะได้ใกล้ชิดกับชาวบ้านนะครับ

 

ขอน้องยุ้ยรับพี่เป็นเพื่อนในเฟสบุ๊ค (ละอ่อนดอย ใจดี)ด้วยจ้า พี่เป็นเกษตรกรทำสวนลำไยมือใหม่พึ่งมาทำปีแรก(56) พี่อยากขอคำแนะนำจากน้องยุ้ยเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติเพราะพี่ไม่มีความรู้เรื่องการทำสวนเลย พี่อยู่เชียงใหม่จ้าขอบคูณสำหรับคำแนะนำ และยินดีที่ได้รู้จักจ้า

ขอบคุณ ทุกๆ ท่านค่ะ

สวนของยุ้ยอยู่ที่ ริมชายแดนไทย-กัมพูชา หมู่บ้านสวนส้ม ตำบลสะตอน อำเภอสอยดาว จันทบุรีค่ะ

ตั้งใจจะสอบเป็นนักวิชาการเกษตรค่ะ  รอเรียนจบก่อน สอบไม่ได้ ก็ไปเป็นชาวสวนต่อ

ยินดีที่จะได้รู้จักค่ะ

อยากรู้เนื้อหาเรื่องอื่นๆ อ่านได้ที่นี่ นะคะ

http://www.gotoknow.org/blog/2012-01

เฟสบุคค์ ค่ะ

https://www.facebook.com/profile.php?id=100000397078840

ขอบคุณครับ อ่านมานานแล้ว ทำตามเท่าที่ทำได้ เพราะเป็นเกษตรกรหัดใหม่ ลองผิดลองถูกก็มาก ถามใครๆก็ไม่เหมือนกันสักคน เลยยึดอาจารย์ยุ้ยเป็นหลักดู ได้ผลจะแจ้งทราบ อยู่แม่สรวย เชียงรายครับ

อยากสอบถามเรื่องดอกที่ติดผลแล้ว ทำไมบางดอกลูกมันโตข้างเดียวน่ะครับ อีกลูกนึงฝ่อลงไปเลย เป็นอยู่เยอะเหมือนกัน ไม่แน่ใจว่าผิดปกติหรือเปล่า ขอความรู้หน่อยครับ

ขอบคุณครับ

ตอบคุณเจริญ... ได้ผลอย่างไร นำมาแชร์ประสบการณ์กัน..นะคะ

ขอบคุณค่ะเป็นประโยชน์มากจริง เข้าใจง่ายเหมือนเพื่อนแนะนำเพื่อนเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท