JJ2013V1_9 เด็ก(ครู)ไทยใน ศตวรรษที่ ๒๑


เด็ก(ครู)ไทยในศตวรรษ ๒๑

  เลยวันเด็กมาหลายวัน ผ่านวันครูมาหลายเพลา ได้เห็น บทความจาก นสพ กรุงเทพธุรกิจ วันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม ได้อ่านบทความที่ ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สำนักง านส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน หรือ สสค ได้ถ่ายทอดไว้ว่า “สิ่งที่จะวัดคุณภาพเด็กรุ่นใหม่ที่ตลาดแรงงานและการแข่งขันไร้พรมแดน เด็กต้องไม่มีแต่ความรู้ เพราะ ความรู้นั้นเกิดขึ้น และ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เด็กในศตวรรษที่ ๒๑ ต้องมี ทักษะการเรียนรู้ ทักษะการจัดการความรู้ และ ทักษะสร้างความรู้ใหม่”

 บทความดังกล่าวได้อ้างอิงถึงการสำรวจความคิดเห็นของบริษัทและองค์กรชั้นนำของโลก ๓๒ แห่ง เช่น แอปเปิ้ล ฮิวเลตต์แพคการ์ด ไมโครซอล์ฟ เลโกกรุ๊ป บริษัทวอล์ทดิสนีย์ ในการรับคนเข้าทำงาน นอกจากความรู้ ทักษะที่สำคัญ อีกสามประการที่สำคัญ คือ


 “ทักษะแรก คือ ทักษะการเรียนรู้ และ นวัตกรรม ซึ่งรวมถึง การคิดวิเคราะห์เป็น รู้จักการแก้ปัญหา และ มีความคิดสร้างสรรค์”  

 “ทักษะที่สอง คือ ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ โดยเน้นการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งมีภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ มีทักษะทางสังคมและเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล”

 “ทักษะที่สาม คือ ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยี หมายถึง ความสามารถในการใช้สื่อ หรือ เทคโนโลยี ในการค้นหาค้นมือ รวมทั้งการผลิตสื่อ หรือ เทคโนโลยี ที่เป็นประโยชน์”

 อ่านบทความนี้จบ แล้วย้อนกลับไปอ่าน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ๒๕๔๔ เมื่อสิบปีที่แล้ว รวมทั้งอ่านเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา ๒๓ ตัวบ่งชี้ รวมทั้ง TQF ที่เน้นสมรรถนะ ของนิสิตนักศึกษา แทบจะไม่แตกต่างกันเลย

ยกตัวอย่าง มาตรา ๒๔ ของ พรบ เขียนไว้ว่า “การศึกษา กระบวนการเรียนรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้ อันเกิดจากการจัดการสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต


ประเด็น คือ ครูในศตวรรษที่ ๒๑ ทั้งองค์กร หรือ องค์กู ได้เตรียมตัว ปรับปรุง และ พัฒนา เพื่อรองรับเรื่องราว หรือ ทักษะเหล่านี้ได้อย่างไร ประสบการณ์ที่ผ่านมา ในหลายๆสถาบัน สนใจแต่ KPI หรือ กะปิ ไม่ได้วางแผนเพื่อพัฒนาให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ ของ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ หรือ กฏเกณฑ์ต่างๆ ที่ต้องการพัฒนาให้ เป็น เด็ก นิสิต นักศึกษา เป็น ฅ ฅน โดยสมบูรณ์

เรียกว่าทำงานแบบ “นายสั่งมา” ไม่ได้ทำแบบ “ใจสั่งมา” สร้าง “จิตสำนึก และ สร้างจิตวิญญาณ ของ ครู เพื่อศิษย์ ในการพัฒนา ให้ทุก ฅน เป็น ฅนไทยที่สมบูรณ์ รู้จักการเรียนรู้ และ พัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ ที่ยั่งยืน ตลอดไป”

JJ2013

หมายเลขบันทึก: 517076เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2013 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เรียน ท่าน อ. JJ ครูเพื่อศิษย์ตลอดกาล

เรื่องของ "ครู ศิษย์ ความก้าวหน้างาน และคุณภาพงาน" ผูกพ่วงกันจนแยกได้ยากมาก จึงยากและท้าทายเสมอนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ที่ช่วยทำให้ผู้ที่ใช้บริการของ "ครู" สบายใจว่า ทุกคนกำลังร่วมกันพัฒนาค่ะ

แวะมาเยี่ยมเยียนอาจารย์ค่ะ อาจารย์สบายดีนะคะ รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

ด้วยความเคารพเสมอ

กฤษณา ศิษย์JJ.

.... ทักษะที่สำคัญ  ทั้ง 3 ประการ นั้น...... สำคัญและดีจริงๆ ค่ะท่านอาจารย์ ...  เห็นด้วยอย่างมากๆๆ ค่ะ 

เรียนพี่ติ๋ว ขอบพระคุณครับ แวะมาเยี่ยมยาม ทาง G2K ชีวิต บั้นปลาย ก็ว่ากันไป น้ำตาลสูง ไขมันมาเกิน กรดยูริกพอก ก็ว่ากันไปครับ

เรียน อาจารย์หมอ Ple ทักษะ ต้องฝึก เริ่มที่ ครู ก่อน อะ ครับ

ขอบคุณครับ

ครู และผู้ปกครองต้องปรับปรุงตัวครับ

ท่านอาจารย์ เจเจครับ ขอบคุณที่ค้นหาความรู้ความคิดใหม่ๆ มาแบ่งปันกับพวกเรา

ทักษะการเรียนรู้ ชนิดหนึ่งคือ การไตร่ตรองทบทวน ( reflective learning ) จะสาธิตการใช้ โดยใช้ กับข้อเสนอของ ดร. ไกรยส ฯ

ดังนี้ :

    ชนรุ่นใหม่ ( อายุ ๓๐ ปีลงมา ) ทั่วโลก กำลังตื่นเต้น ใฝ่ร่วม กระแส new tech และนวัตกรรม อย่างสนุกสนานกึ่งเอาเป็นเอาตาย

จนอาจลืมไปว่า ๙๐% ขององค์ความรู้ ที่มนุษย์ชาติสร้างสมกันมา ๒๐๐,๐๐๐กว่าปีแล้ว ยังใช้ประโยชน์ได้อย่างที่ new tech บรรดามีใน

ปัจจุบัน โดยเฉพาะ ความรู้ ที่ค้นพบและพัฒนา ในระหว่าง ค.ศ. ๑๙๐๐ ถึง ๑๙๖๐ซึ่งถือได้ว่าเป็น knowledge explosion  ยุคสำคัญ

ก่อนกระแส ไฮ เทค ก่อตัว และทะลักท่วมชีวิตและจินตนาการ ของยุค ICT

     ตัวอย่าง ๑) การผลิตใยไหม จากตัวหนอน ใบหม่อน กระด้งไม้ไผ่ 

                ๒) การทำให้ ลำไม้ไผ่ อยู่ยงคงกระพันต่อมอด นับร้อยปี ด้วยสารจุนสี ( copper sulphate Cu2SO4 )

                ๓)ยาโบราณ นับพันตำรับ ที่พิสูจน์แล้วว่าบำบัดโรคต่างๆได้จริง

               ๔)ผัก " ผำน้ำ " ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ ๖เท่า ของข้าว แถมมี คาร์โบไฮเดรต และ โปรตีนสูงกว่าข้าว ๓ เท่า

              ๕)การคำนวณ ทางดาราศาสตร์ ด้วยคัมภีร์ " สุริยะยาตร " พยากรณ์ ปรากฏการณ์ ในอวกาศ ได้แม่นยำใช้เพียง

                 กระดานชนวน กับ ดินสอ

               ๖)การดำรงชีพในสภาวะที่ มีทรัพยากร น้อยที่สุด นิเวศน์โหดที่สุด โดยไม่ต้องพึ่ง วัสดุ อุปกรณ์ ไฮเทคใดๆ

                ๗) การสื่อสารทางจิต ทั้งระยะใกล้ ไกล แม้ข้ามเวลา

                                 ฯลฯ เป็นต้น

               ชนไทยมีลักษณะนิสัยที่ทั้งน่ารัก และ น่าอันตราย ที่ภาษิตโบราณ กล่าวว่า " ขี้ใหม่ หมาหอม "

               หมาแก่ อย่างผม จมูก ไม่ไว จึงอยากวิงวอนว่า จะโปรโมทอะไรๆ ก็แตะเบรคนิดๆ

               อีกประการหนึ่ง ช่วยกันหาศัพท์ใหม่ ที่จับจิตจูงใจกว่า " ภูมิปัญญาพื้นบ้าน " เพราะฟังแล้วมันเชย ด้อยคุณค่า เมื่อเทียบกับ

               " นวัตกรรม " นะครับ นะครับ เพื่อนๆวัยใสปิ๊ง และวัยไปร่งใส วุ้ย โปร่งจนไม่เหลืออะไรให้ใช้จินตนาการบ้างเลย


เรียนพี่ไข่ ต้องปรับตัวปรับใจ เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตครับ

กราบเรียน ท่าน อาจารย์ ดร.กระจ่าง ขอบพระคุณครับ มาต่อยอดความคิด พิชิต ศตวรรษที่ ๒๑ ตัวอย่าง ท่าน อาจารย์ จากประสบการณ์ สุดสุด

สวัสดีค่ะอาจารย์ JJ หนูก็พยายามปรับปรุงกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและตัวเองแบบเกาะติดนะคะ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท