ชนกลุ่มน้อยในประเทศไทย ตอนที่ 2


ชนท้องถิ่นดั้งเดิม

ชนท้องถิ่นดั้งเดิม ตอนที่ 2

         เมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วยระเบียบ บริหารราชการแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งได้จัดระเบียบบริหารราชการออกเป็นราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และตาม พ.ร.บ. นี้ ไม่มีราชการบริหารส่วนภูมิภาคเป็นมณฑล ดังนั้น จึงถือว่าได้ยุบเลิกมณฑลทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 เป็นต้นมา มณฑลปัตตานีจึงแบ่งออกเป็น 3 จังหวัดคือ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ขึ้นตรงต่อส่วนกลางมาจนถึงทุกวันนี้

        สำหรับจังหวัดสตูลนั้น ใน สมัย ร. 5 ได้เสียเมืองทางใต้ให้แก่อังกฤษหลายเมือง รวมทั้งเมืองไทรบุรี ปะลิส ฯลฯ เมืองสตูลจึงต้องไปรวมอยู่ในมณฑลนครศรีธรรมราช ภายหลังรัฐบาลไทยได้ยกเลิกการปกครองแบบมณฑลแล้ว เมืองสตูลก็มีฐานะเป็นจังหวัดเช่นเดียวกับเมืองอื่น ๆ

        วิวัฒนาการของนโยบายประเทศไทยต่อชาวมลายูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีองค์ประกอบใหญ่มากจาก อิทธิพลการล่าอาณานิคมของอังกฤษในดินแดนคาบสมุทรมาเลย์ ในปลายศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่19 การล่าอาณานิคมของเขตตะวันตก เกิดจากชาวเอเชียตะวันออกขาดความชัดเจนของโครงสร้างทางการเมืองด้านจารีตประเพณี กล่าวคือ รัฐอ่อนแอ ปกครองชุมชนเล็ก ๆ ก่อให้เกิดช่องว่างสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์ และความไม่เข้าใจของชาวตะวันตก เช่น เวียดนามไม่สามารถควบคุม ประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ต่อต้านฝรั่งเศส การต่อต้านในดินแดน อาเจ๊ะ สุลต่านไม่สามารถป้องกันฮอลแลนด์ จากการสถาปนาความสัมพันธ์โดยตรงกับดินแดนในอารักขา เป็นต้น

        ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการรักษาเอกราชของชาวไทยในช่วงยุคล่าอาณานิคม คือ ความสามารถเก่งกาจของราชวงศ์จักรีในการเข้าใจการข่มขู่อันน่ากลัวของการล่าอาณานิคม ผู้นำระดับหัวหน้าของปัตตานีเป็นราชาธิบดี ถูกซึมซับเข้าสู่ระบบการบริหารแบบข้าราชการของประเทศไทย นโยบายนี้เป็นการรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และในช่วงปี พ.ศ. 2445 ก็ได้นำระบบกฎหมายอิสลามเข้าไปใช้ในระบบกฎหมายไทย

        ชาวมลายูจึงนับได้ว่าเป็นชนท้องถิ่นดั้งเดิมที่อยู่ในพื้นที่มาตั้งแต่ดั้งเดิม แต่ถูกชนชาวไทย เข้าไปยึดครองใช้อำนาจปกครองมา ดังกล่าว

คำสำคัญ (Tags): #ชนกลุ่มน้อย
หมายเลขบันทึก: 51699เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 10:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 18:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท