การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)


           ดิฉันได้มีโอกาสฟังบรรยายในหัวข้อเรื่อง “การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of life care)” โดยอาจารย์รัชณีย์ ป้อมทอง จากโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ณ ห้อง Auditorium คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา โดยได้รวบรวมความรู้ที่ได้มาเชื่อมโยงกับกิจกรรมบำบัด ดังนี้

           ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal stage) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่างๆ ลุกลาม เรื้อรัง ไม่มีวิธีรักษาให้หายได้ นอกจากการดูแลประคับประคองอาการไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นการดูแลทั้งทางด้านร่างกาย, จิตใจ, และรวมไปถึงจิตวิญญาณของผู้ป่วย รวมไปถึงการให้คำปรึกษาและการให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแล และญาติด้วย

           กิจกรรมบำบัดมีบทบาทที่เกี่ยวข้องในทุกช่วงอายุ ซึ่งรวมไปถึงช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตด้วย โดยมีบทบาทในการให้ข้อมูลของโรค และผลกระทบจากโรค, การให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้รับบริการและญาติ, การฟื้นฟูสภาพจิตให้ให้ผู้รับบริการมีความสุข มีคุณค่าในตัวเอง นอกจากนี้ยังคำนึงถึงด้านจิตวิญญาณในด้านความเชื่อ และศาสนา สนับสนุนให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมที่ต้องการ โดยมีการทำกิจกรรมตามกระบวนการทางกิจกรรมบำบัดในการประเมิน, การรวบรวมข้อมูล, ตั้งเป้าประสงค์, วางแผนการรักษา และการประเมินซ้ำตามลำดับ

กรอบอ้างอิง Psychospiritual integration Frame of Reference เป็นกรอบอ้างอิงที่ใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยมีองค์ประกอบ ได้แก่

  • Becoming :การรับรู้ตนเองในสภาพร่างกาย, จิตใจ และจิตวิญญาณ
  • Meaning:การส่งเสริมให้เกิดคุณค่าและความหมายในชีวิต โดยผ่านกิจกรรมที่มีความหมาย หรือกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำกิจกรรม และการวางแผนการใช้ชีวิตช่วงวาระสุดท้ายให้มีความสุข
  • Centredness: การเห็นถึงคุณค่าของตนเอง ระลึกถึงในสิ่งที่ทำแล้วมีความสุข
  • Connectedness: การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบริบทต่างๆ เช่นสภาพแวดล้อมทางกายภาพ, สังคม, วัฒนธรรม, ความเชื่อ ศาสนา และการจัดสภาพแวดล้อมให้ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
  • Transcendence: นิพพานหรือความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิต การมีคุณภาพชีวิตที่ดี, จากไปอย่างสงบ

           ทุกคนล้วนแล้วแต่มีช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตโดยไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด และไม่ว่าจะเกิดกับตัวเราเองหรือคนใกล้ชิดก็ควรทำใจยอมรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น และทำในสิ่งที่ดีเพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดี, เกิดคุณค่าในตัวเอง และไม่รู้สึกคับข้องใจเมื่อถึงวาระสุดท้ายก่อนการเสียชีวิตและจากไป


หมายเลขบันทึก: 516215เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2013 12:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มกราคม 2013 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท