หลักการทางกิจกรรมบำบัดที่แตกต่างกันในการดูแลผู้ใหญ่กับผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องทางจิตสังคม


โรคทางจิตเวชต่อไปนี้  เป็นกลุ่มโรคจิตเวชในช่วงผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่พบบ่อย ได้แก่

·Mood  Disorders  เช่น  โรคซึมเศร้า

· Alzheimer’s disease  โรคอัลไซเมอร์

· Schizophrenia  โรคจิตเภช

· Bipolar disorder  โรคอารมณ์สองขั้ว

· Personality disorder  โรคบุคลิกภาพผิดปกติ

· Polysubstance abuse  


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด  คือ  การประเมิน  ส่งเสริม  ป้องกัน  บำบัด  ฟื้นฟู  ไม่มีการรักษาแต่มีสื่อการรักษา(therapeutic  Media)  เป้าหมายคือเพื่อให้ผู้รับบริการมีความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being) และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Quality  of  Life)


บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการจิตสังคมในวัยผู้ใหญ่ 

ส่งเสริมความสามารถในการควบคุมตนเอง (self- control)  ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ (ADL)  ความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม  ความสามารถในการทำตามบทบาทของตน  เช่น  การเป็นผู้นำครอบครัวที่ดี

ในผู้ใหญ่บางคนที่เป็นโรคทางจิตเวชจะมีความสนใจ (interest) ในการทำกิจกรรมลดลง  จะชอบอยู่เฉยๆ  เหมือนขี้เกียจจะทำอะไร แต่แท้จริงแล้วที่เป็นเช่นนั้น  มีสาเหตุเพราะการขาดแรงจูงใจ  ดังนั้นนักกิจกรรมบำบัดจะเข้ามาดูในเรื่อง  leisure  rest  ADL เพื่อส่งเสริมให้เค้าทำกิจกรรมต่างๆที่เค้าชอบ เพื่อให้เค้าเกิดการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆที่มีความสมดุล (occupational  balance)    

เนื่องจากในวัยผู้ใหญ่  เป็นวัยแห่งการทำงาน  ดังนั้นเป้าหมายสูงสุดของนักกิจกรรมบำบัดคือการให้เค้ามีความสามารถในการทำงาน  สามารถทำงานหรือกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ    ซึ่งจะเป็นงานอะไรก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละคน  

บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้รับบริการจิตสังคมในวัยผู้สูงอายุ 

ในวัยผู้สูงอายุจะเป็นวัยแห่งความเสื่อม  ร่างกายอ่อนแอลง  จะเน้นไปที่การส่งเสริมเรื่องทักษะในการทำกิจกรรมยามว่าง (leisure)  ที่ตรงกับความสนใจของผู้รับบริการเพราะในผู้สูงอายุจะเป็นวัยที่มีเวลาว่างมาก  เนื่องจากเกษียณจากงานแล้ว  รวมถึงส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ  (โดยเฉพาะกลุ่มการดูแลตัวเอง  เช่น  ทานข้าว  อาบน้ำ  การดูแลตนเอง) ให้ผู้รับบริการสามารถช่วยเหลือตนเองได้  มีส่วนร่วมทางสังคม  จัดการเรื่องตารางเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละวันให้มีความสมดุลเพื่อให้เค้ามีเป้าหมายในการใช้ชีวิตแต่ละวัน  เพื่อให้ผู้รับบริการมีความสุขกับชีวิตปัจจุบันของเค้า


สุดท้ายแล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการบำบัดรักษาผู้รับบริการกลุ่มนี้  นั่นก็คือครอบครัว  ครอบครัวควรจะต้องมีส่วนช่วยในการบำบัดรักษา (Family  Counseling)  ครอบครัวจะมีส่วนอย่างมากในการปรับความคิดของผู้รับบริการให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้น


นายนฤเบศ  เสาร์แก้ว 

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่3 

คณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล


 

  




หมายเลขบันทึก: 516160เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2013 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มกราคม 2013 23:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท