ห้องสมุดกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


จะทำอย่างไรให้ห้องสมุดได้มีประชาชนคนไทยทุกระดับหลากหลายอาชีพได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากห้องสมุดที่ใกล้ตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในปัจจุบัน


                  ก่อนอื่นต้องขอทำความเข้าใจก่อนนะครับ ว่าห้องสมุดมีความสำคัญต่อการพัฒนาความรู้แก่บุคคลทุกภาคส่วน โดยเฉพาะห้องสมุดในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนส่วนใหญ่ ก็มีการจัดระบบการบริการแก่ลูกค้าที่แตกต่างกัน บางองค์กรก็มีความพร้อมในการให้การบริการเช่นมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย เป็นต้น เพราะได้รับการสนับสนุนด้านการจัดหาหนังสือที่ค่อนข้างจะเป็นปัจจุบัน ตลอดจน ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นหาข้อมูลซึ่งอาจจะรวมไปถึงการได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากรเป็นต้น




                  การที่บุคคลต่างๆจะเข้าไปสืบค้น หาความรู้และ หาข้อมูลต่างๆ มาเพื่อใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการศึกษาและด้านอื่นๆนั้นก็ตาม  เราต้องยอมรับก่อนว่าความเป็นจริงแล้วมันจะต่อยอดมาจากการส่งเสริมการรักการอ่านของคนไทยเรา มักจะมีการอ่านน้อยเมื่อเทียบกับบางประเทศ แต่ก็มีสถานศึกษาหลายแห่งในประเทศที่พยายามรณรงค์ส่งเสริมการรักการอ่านเกิดขึ้นในประเทศไทยแต่ก็ยังได้รับผลในระดับหนึ่งหากสถานศึกษาในระดับประถมศึกษารวมไปถึงระดับอุดมศึกษาให้ความสำคัญที่จะปลูกฝังการรักการอ่านหรือส่งเสริมการรักการอ่านอย่างจริงจัง  ก็คิดว่าในอนาคตอันใกล้เด็กไทยและคนไทยต้องรักการอ่านอย่างแน่นอน  แต่บางครั้งเราลองไปสังเกตในร้านขายหนังสือที่อยู่ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆก็มักจะมีประชาชนเข้าไปใช้บริการที่มากเช่นกัน ซึ่งก็อาจจะเป็นตัวชี้วัดพอบอกได้บ้างว่า ณ.ปัจจุบันคนไทยเรามีความสนใจในการอ่านที่เพิ่มมากขึ้นนะครับ




                   ในอนาคตหากคนไทยเราได้ พัฒนาการอ่านทุกระดับอย่างต่อเนื่องแล้ว ก็เชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วการอ่าน ก็จะเชื่อมโยงเข้าสู่คลังความรู้ที่เป็นห้องสมุดได้โดยอัตโนมัติ ในปัจจุบันนี้ห้องสมุด จะเริ่มต้นทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษาก็ตาม หากไม่ให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันลักษณะเป็นเครือข่ายแล้ว เชื่อว่า การพัฒนาการบริการของห้องสมุดก็จะยังมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีความหลากหลายเช่นกัน




                     การจัดกิจกรรมหรือการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ควรจะมีลักษณะการแลกเปลี่ยนแบบเครือข่ายของห้องสมุดที่มีการประเมินว่าอยู่ในแต่ละระดับ ใดเช่นห้องสมุดบางแห่งอาจจะอยู่ในระดับดีที่เป็น Best Practice  และระดับปานกลาง และระดับที่ต้องพัฒนา เป็นต้น



                     ผลที่ได้รับจากการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง จะต้องมีการถ่ายทอดความรู้ ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาห้องมุดให้มีการยกระดับขึ้นไปเรื่อยๆ เช่นห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม ก็อาจจะมีแนวทางการให้การสนับสนุนหนังสือที่หลากหลาย และอุปกรณ์ที่จำเป็นในการสืบค้นหาข้อมูลต่างๆให้แก่ห้องสมุดของสถานศึกษาที่ยังอยู่ในระดับที่ต้องรับการพัฒนาหรืออาจจะมีการสนับสนุนแก่ห้องสมุดประชาชน ที่กระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เป็นต้น



                     การหาผู้ประสานงานหรือหน่วยงานที่เป็นศูนย์ประสานงานห้องสุดในท้องถิ่น ควรจะมีเจ้าภาพที่มีความพร้อมเช่นมหาวิทยาลัยสาขา และมหาวิทยาลัยท้องถิ่น หรืออาจจะเป็นวิทยาลัยต่างๆที่อยู่ในท้องถิ่น และบางแห่งอาจจะเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดที่มีความพร้อมด้านการให้การบริการความรู้และข้อมูล เป็นต้นให้มีการเชื่อมโยงที่เป็นเครือข่ายที่เริ่มต้นมาจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสนับสนุนกันในลักษณะของการไหลของความรู้ในลักษณะของKM  น่าจะได้ หากลองนำร่องบางหน่วยงานในระดับจังหวัดก่อนก็ได้ แต่จะเริ่มต้นอย่างไรนี่ซิต้องมีการหารือและหาเจ้าภาพกันก่อนนะครับ



                    สำหรับบุคลากรที่ควรจะเริ่มต้นในการเข้าร่วมการจัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อันดับแรกหรือกลุ่มแรกน่าจะเป็นทีมงานของผู้ที่ทำหน้าที่บรรณรักษ์ เพราะบุคคลเหล่านี้บางท่านทำหน้าที่นี้มานานก็จะมีการสะสมความรู้ในเชิงประสบการณ์ไว้มากเช่นกัน หากนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เขาอาจจะยกระดับเป็น Facilitator (ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้)ก็เป็นได้นะครับ



                    แต่ก็อาจจะเป็นโจทย์ที่สำคัญว่า จะทำอย่างไรที่จะนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ  ที่จะสะดวกต่อการสืบค้น สะดวกต่อการให้การบริการแก่ประชาชนที่หลากหลาย ได้เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดทั้งทางตรงและทางอ้อม  รวมทั้งการใช้ประโยชน์ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมการสร้างเครือข่ายในการบริการจัดการความรู้เป็นต้น คือมีการบริการความรู้ที่เป็นความรู้เชิงวิชาการและความรู้เชิงประสบการณ์ เป็นต้น แต่ก็ต้องมองต่อไปว่าองค์ความรู้หากเป็นองค์ความรู้ด้านกลุ่มงานพัฒนาอาชีพ และด้านอื่นๆก็อาจจะใช้ในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เป็นลักษณะที่ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วย โดยอาจไม่ต้องบริการหนังสือเป็นเล่มที่อยู่ในห้องสมุด โดยให้ห้องสมุดสามารถบริการดึงเอาเฉพาะเรื่องที่ลูกค้าที่เป็นผู้รับบริการสนใจ แต่ก็ต้องสะดวกและรวดเร็วนะครับ



                    อีกประการหนึ่งห้องสมุดที่มีอยู่ในแต่ละแห่ง ควรจะมีการประชาสัมพันธ์ให้แพร่หลาย พร้อมทั้งมีการเชิญชวนประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามาใช้บริการอย่างทั่วถึง โดยไม่เฉพาะเจาะจง  แต่ห้องสมุดก็ควรจะมีห้องประชุมสัมมนา (ที่มีอุปกรณ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์ครบ)ที่เหมาะแก่การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เฉพาะเรื่องพร้อมกับการให้การบริการองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ที่เข้ามาใช้บริการลักษณะเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน บางครั้งอาจจะมีการปรับเปลี่ยนสถานที่จัดเวทีโดยไปจัดนอกห้องสมุดก็ได้แต่เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะเครือข่าย หรืออาจจะหมุนเวียนในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปตามห้องสมุดต่างๆที่กระจายอยู่ตามจังหวัดก็ได้เช่นกัน



                    ที่นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับห้องสมุดกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาแล้วข้างต้นเป็นเพียงแนวคิดหนึ่งของผู้เขียนเท่านั้นที่คิดว่าจะทำอย่างไรให้ห้องสมุดได้มีประชาชนคนไทยทุกระดับหลากหลายอาชีพได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากห้องสมุดที่ใกล้ตัวให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในปัจจุบัน และเป็นการกระตุ้นที่จะส่งเสริมการรักการอ่านให้แก่สังคมไทยให้มีการอ่านให้มากกว่าที่เป็นอยู่นะครับ



เขียวมรกต
๘ ม.. ๕๖


หมายเลขบันทึก: 515463เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2013 07:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มกราคม 2013 08:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

 เห็นด้วยค่ะท่าน งานทุกอย่างต้องมีเจ้าภาพ

  • ขอบคุณ tuknarak
  • ที่แวะมาทักทาย
  • และให้กำลังใจกัน

ห้องสมุดมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มานานแล้วนะคะ เวลานี้ยิ่งจำเป็นมาก แม้จะเย็บกระดาษ เข้าเล่ม ห้องสมุดมีบริการ แต่ปัจจุบันห้องสมุดบางที่ยังเปิดห้องสมุดออนไลน์ไว้บริการนักเรียนในการค้นคว้า และการศึกษาทางไกลเชื่อมกับต่างชาติ  

เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากค่ะ..

  • ขอบคุณ krutoom มากครับ
  • ที่ได้กรุณาเพิ่มเติมข้อมูล
  • โดยเฉพาะเปิดห้องสมุดออนไลน์ไว้บริการ นับว่าเป็นความก้าวหน้าของห้องสมุด

  • ขอบคุณ พี่ใหญ่ครับ
  • ที่ได้กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมา

  • ขอบคุณครับ ท่านอาจารย์ชยันต์
  • ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท