Good News จากเชียงใหม่ : แนวคิดเริ่มเป็นไปได้


การที่ผมได้ตั้งกรอบแนวคิดในการทำงานวิจัยในระหว่างที่ศึกษาอยู่นี้ ซึ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะในส่วน Metholodogy ทางด้านการทำงานกับชุมชน

วันนี้เป็นวันที่ผมดีใจมาก ๆ เพราะได้รับข่าวดี (Good News) จากเชียงใหม่ว่า แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กำลังจะสร้างขึ้นนี้มาแนวทางที่จะเป็นไปได้ครับ

ขออนุญาตเล่าย้อนถึงกรอบแนวคิดและ Methodology ที่กำลังจะทำเบื้องต้นนี้มีอยู่ 2 เรื่องหลัก ๆ ครับ ก็คือ

  1. เรื่องของการเสนอตัว หรือการปาวารณาตัวเข้าไปทำงานระหว่างศึกษา ก็คือ เปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาวิจัย เปลี่ยนเป็นการเข้าไปร่วมทำงานและช่วยทำงานกับองค์กรต่าง ๆ ครับ ทำงานของเขา กับเขา และเพื่อเขา
  2. การไม่เลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แต่เปลี่ยนเป็นให้กลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป็นผู้เลือกเราเองครับ

โดยผมได้เริ่มปฏิบัติการขั้นตอนแรกโดยการทดลองเสนอตนให้หน่วยงานที่สนใจจะทำงานเรื่องจัดการความรู้ได้เลือกผมมาสองถึงสามหน่วยงานครับ และวันนี้ก็ได้รับข่าวดีจากองค์กรแรกครับ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ จากเชียงใหม่ครับ ว่าเขาเลือกผมให้ไปร่วมงานจัดการแล้วครับ

มูลเหตุจากการได้รับเลือก

คุณจารุวรรณ หัวหน้าฝ่ายแผนฯ ของหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรบนที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่เพิ่งแยกตัวออกมาจากโครงการหลวงฯ เล่าให้ผมฟังว่า

ตอนนี้มีนักวิชาการท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น ดร.ทางด้านเกษตรฯ ท่านบ่น ๆ ว่า ตอนนี้การส่งเสริมการเกษตรบนที่สูงนั้นเริ่มตัน ๆ แต่พอดีได้รู้เรื่องจัดการความรู้เลยนำมาใช้ แล้วท่านรู้สึกว่า "มีประโยชน์"แล้วสามารถแก้ไขปัญหาความตันของการส่งเสริมนั้นได้

ทางคุณจารุวรรณ จึงสนใจและอยากให้ผมเข้าไปร่วมงานจัดการความรู้และร่วมทำ R2R ในหน่วยงานแบบระยะยาวครับ 

แนวความคิดเริ่มที่จะเป็นไปได้ครับ "การให้องค์กรหรือกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลือกนักวิจัย และการเข้าไปไม่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลแต่เข้าไปร่วมทำงาน" เข้าไปทำงานร่วมกัน เรียนรู้และจัดการความรู้ร่วมกันโดยไม่มีค่าตอบแทน

ซึ่งผมวางเป้าหมายในการทำงานครั้งนี้ให้ครอบคลุมทุก ๆ ส่วนของเบญจภาคีในการพัฒนาครับ ก็คือ นับตั้งแต่ 1)หน่วยงานราชการ 2)หน่วยงานเอกชน (ธุรกิจ ห้างร้าน) 3)หน่วยงานการศึกษา 4)องค์กรอิสระที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ (NGOs) และ 5)ประชาชนหรือกลุ่มองค์กรชุมชนครับ ซึ่งจะเข้าไปร่วมทำงานการจัดการความรู้ โดยใช้ R2R เป็นส่วนสำคัญในการทำงาน เพื่อการเรียนรู้ตนเอง เพื่อตนเอง โดยตนเอง  

ซึ่งกะว่าจะร่วมงานภาคีละประมาณ 3 องค์กรครับ ดังนั้น 5 ภาคี ก็จะประมาณ 15 องค์กร ตอนแรกที่เขียนในข้อเสนอโครงการไว้ว่าจะครอบคลุมพื้นที่เขตภาคเหนือตอนล่าง แต่การที่ได้รับข่าวดีจากทางเชียงใหม่ ก็จะขอขยายขอบเขตพื้นที่เป็นภาคเหนือทั้งหมดครับ หรือถ้ามีหน่วยงานหรือองค์กรจากภาคใดต้องการให้ผมเข้าไปร่วมงานอีก ก็จะขยายออกไปให้กว้างขวางมากที่สุดครับ

คิดว่าสองปีนี้น่าจะได้ร่วมงานกับ หลากหลายองค์กร หลายรูปแบบและหลายพื้นที่ให้มากที่สุดครับ เพราะที่จะสกัดหาวิธีและปัจจัยต่าง ๆ ในการเสริมสร้างการจัดการความรู้ในแต่ละรูปแบบองค์กรให้มากที่สุดครับ

จากนั้นก็จะสามารถนำมาสกัดเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการกับเบญจภาคีทั้ง 5 โดยนำเทคนิคการเสริมสร้างนับตั้งแต่ย่างก้าวแรก อย่างเช่นข่าวดีที่ได้รับในวันนี้ มาสกัดเป็นปัจจัยและวิธีการเสริมสร้างในรูปแบบและองค์กรต่าง ๆ ที่แตกต่างกันทั้งวัฒนธรรม รูปแบบ และประเพณีในการทำงาน มาหลอมรวมกันออกมาให้เกิดประโยชน์กับสังคมและชุมชนโดยส่วนรวมครับ

 

หมายเลขบันทึก: 51516เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 00:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  •  Good new จิงๆ
  • ยินดีด้วยจ้า...
  • Lucky Job
  • กำลังรอข่าวดีอีกอย่างนึงง่ะ อยากไปกินขนมจีนแกงไก่ของคุณแม่ไวๆ

 ชอบจริงๆค่ะกับ "การให้องค์กรหรือกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เลือกนักวิจัย และการเข้าไปไม่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลแต่เข้าไปร่วมทำงาน" ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท