Evaluation as a management tool



การประเมินผล (Evaluation) คือกระบวนการให้คุณค่าโดยเริ่มที่ การอธิบายโครงการ (describe program) แล้วดูว่าจะประเมินอะไร (evaluation criteria) ขอบเขตมีแค่ไหน (program scoping) ใช้วิธีการอะไร (evaluation methods) เก็บข้อมูลอะไร/อย่างไรบ้างมาวิเคราะห์ (gather/ analysis) และการสรุปผลอย่างไร (conclusion) ความน่าเชื่อถือของการประเมินอยู่ที่1) ผู้ประเมิน (องค์กร/บุคคล)และ 2) วิธีการประเมิน (methodology) ซึ่งประเด็นในการประเมิน ได้แก่ 1) วิธีการ/สิ่งที่ศึกษา 2) การดำเนินกิจกรรม/การกำหนดประเด็นปัญหา 3)จุดมุ่งหมายของโครงการหรือการศึกษา 4) วิธีดำเนินการ 5) ประเภท  6) เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ และ 7)  ข้อค้นพบ/ข้อสรุป

  ในการประเมินระบบสุขภาพ นอกจากใช้องค์ประกอบตามกรอบแนวคิดของ WHO 2007 แล้วยังต้องพิจารณานโยบายและยุทธศาสตร์และงบประมาณประกอบกันไปด้วยโดยหลักการประเมินผลแตกต่างการวิจัยคือการประเมินผลเป็นการให้คุณค่าของสิ่งที่ศึกษาตามความสัมพันธ์ของวิถีทางและผลลัพธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่เหมาะสมตามเกณฑ์คุณภาพและการนำไปใช้ประโยชน์ซึ่งขึ้นกับสารสนเทศของแต่ละเรื่อง โดยกำหนดประเด็นปัญหาตามความต้องการของสารสนเทศผู้ตัดสินใจ ใช้วิธีศึกษาเชิงประจักษ์และปรัชญาเริ่มตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างและสิ้นสุดโครงการขณะที่การวิจัย มุ่งศึกษาความจริงตามประเด็นที่สนใจของผู้วิจัยโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อหาข้อสรุปได้ความรู้สัมพันธ์กันเชิงเหตุผลตามแนวคิดทฤษฎีใช้วิธีการศึกษาเชิงประจักษ์และประวัติศาสตร์โดยใช้เกณฑ์การตัดสินใจด้านความถูกต้องภายใน และภายนอก ข้อสรุปที่ได้จึงไม่ขึ้นกับบริบท แต่เป็นความรู้ที่เป็นสากล

  แนวทางการประเมินผลใช้วิธีวิทยา (Methodology) ที่ประกอบด้วยศาสตร์ ภววิทยา(Ontology) ซึ่งในทางประเมินผล มี 3 แนวทางได้แก่  1)จิตนิยม (Psychism) คือ เชื่อว่าความจริงอยู่ที่จิต 2) สสารนิยม (Materialism) คือ กลุ่มที่เชื่อว่าสสารเท่านั้นที่เป็นความจริงเพราะจิตไม่มีอยู่จริง และ3) ความจริงประกอบด้วยจิตและสสาร(Dualism) คือเชื่อว่าจิตสร้างความจริงที่เป็นสสาร  และศาสตร์ ญาณวิทยา (Epistemology)  ซึ่งมี 2 แนวทางคืออัตนัยนิยม(Subjective)คือการที่มนุษย์ตัดสินใจว่าอะไรเป็นจริงและอะไรเป็นเท็จนั้นเป็นเรื่องของหลักการแต่ละคน และปรนัยนิยม (Objective) คือ การที่มนุษย์รู้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จนั้นต้องมีหลักฐานที่เป็นสากลที่สามารถตัดสินใจได้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จเป็น Universal standard แล้วใช้ข้อมูลที่มีทั้งหมดมาพิจารณาตัดสินคุณค่าสิ่งนั้นๆ ซึ่งการตัดสินนั้นมีทั้งแบบ Goal base คือ ตัดสินตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และ Goal Free คือ ตัดสินตามสิ่งที่ได้เห็นจริงๆโดยผู้ประเมิน ไม่อิงวัตถุประสงค์

  ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการประเมินผล ใน 2 มุมมอง สิ่งแรกคือ การติดสินคุณค่า ได้แก่ ภาพลักษณ์และสมดุลทางการเมืองในองค์กร และสิ่งที่สองคือ สิ่งที่นำมาประเมิน ได้แก่บุคลิกภาพของผู้เกี่ยวข้อง และความเป็นสาธารณะของสิ่งที่นำมาประเมิน ทำให้ตัวแปรสำคัญที่จะกำหนดความสำเร็จของการประเมิน คือการให้ความร่วมมือหรือต่อต้านการประเมิน ซึ่งอาจนำมาสู่การบิดเบือนการประเมิน เทคนิควิธีการประเมินผล แบ่งเป็น 2 วิธีใหญ่ๆ คือ การประเมินเชิงระบบ ได้แก่ การประเมินโดยยึดหน้าที่  เช่น PPBS, Cost relate analysis, PERT, Rossi Freeman Weight, เน้นการทดลอง เช่น Experimental, เน้นวัตถุประสงค์ คือ Goal base-Goal free, เน้นความสะดวก เช่น CIPP, Center study evaluation, ซึ่งนอกจากจากจะเป็นเชิงระบบ แล้วยังอยู่ในกลุ่มที่ตัดสินผลงาน มากกว่าให้คุณค่า ซึ่งกลุ่มที่เป็นเชิงระบบและให้คุณค่าด้วย เช่น Judicial approach, Accreditation, Goal free,และ Training approach ซึ่งวิธีการประเมินเหล่านี้ ต้องทำโดยนักประเมินมืออาชีพ

  ส่วนอีกวิธีหนึ่ง คือการประเมินเชิงธรรมชาติ ได้แก่ การประเมินโดยประโยชน์นิยม เช่น  Utilization approach, Stakeholder base, เน้นปฏิกิริยา ได้แก่ Responsiveness, Creative, เน้นการมีส่วนร่วม ได้แก่ Transactional, Illuminative, Democratic, และ Effective และ Criticism Approach ซึ่งสองวิธีหลังนี้ เป็นแบบเชิงธรรมชาติและให้คุณค่า แต่ต้องประเมินด้วยผู้เชี่ยวชาญ

  วิธีการประเมินเชิงระบบ ต่างจาก เชิงธรรมชาติ คือ เชิงระบบ  เน้นความเป็นวิทยาศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และจิตวิทยา  มีความเป็นทางการ ให้คุณค่าเชิงเดี่ยวและเป็นปรนัย ใช้เครื่องมือมาตรฐานและความร่วมมือจากลุ่มตัวอย่าง มีการวิเคราะห์ทางสถิติ และนักวิชาการเป็นผู้ใช้ผลที่ได้จากการประเมิน ส่วนวิธีเชิงธรรมชาติ มีความเป็นศิลปะศาสตร์/มนุษย์ศาสตร์และวารสารศาสตร์  ไม่เป็นทางการ ให้คุณค่าเชิงพหุ เป็นอัตนัย ใช้วิธีสังเกตและสัมภาษณ์ จดบันทึกเหตุการณ์ตามธรรมชาติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเชื่อมโยงเหตุผล และบุคลทั่วไปเป็นผู้ใช้ผลที่ได้จากการประเมิน

    การประเมินผล มี 2 รูปแบบ คือ การประเมินเพื่อตัดสินคุณค่าจากกระบวนการ(Formative) และจากการสรุปรวบยอด(Summative) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ตรรกะ การวางแผนประเมินผล การเลือกเครื่องมือวัด และการหาข้อสรุป นอกจากนี้ หากให้ผู้ดำเนินการมีส่วนร่วมในการประเมิน(Empowerment) ด้วยนั้น ทำให้เกิดการพัฒนา ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของชุมชน การให้ประชาชนมีส่วนร่วม เกิดกระบวนการตัดสินทางสังคม สร้างกลยุทธ์ตามเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ สร้างศักยภาพ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และเกิดความตระหนักในหน้าที่รับผิดชอบต่อไป

( สุกัญญา กาญจนบัตร / สรุป )

คำสำคัญ (Tags): #evaluation
หมายเลขบันทึก: 515122เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2013 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มกราคม 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท