506. ว่าด้วย "ความฝังใจ (Mental Model)"


เมื่อวานดูหนังเรื่องคุณนายโฮ สนุกมากๆ หัวเราะกลิ้ง หนังไทยช่วงนี้งานดีมากๆ ได้สาระด้วย เรื่องราวคุณนายโฮ เป็นเรื่องของสุภาพสตรีท่านหนึ่ง ที่เจอสถานการณ์อะไรสะเทือนใจหน่อย จะดีจะร้าย เป็นร้องให้ 


Credit: http://www.dailynews.co.th/entertainment/172918


ก็ขำดูไปเรื่อยๆ จนถึงตอนท้ายๆ เริ่มเห็นอะไรที่หนังเรื่องนี้พยายามสื่อ นั่นคือ “ปมในใจ” หรือ “ความฝังใจ” ทาง OD เราเรียก Mental Model (เมนทอล โมเดล) ความฝังใจ ไม่มีอะไรมากครับ มันเหมือนสมมติฐาน ความเชื่อของคนเรา ความเชื่อคืออะไรครับ ก็คือ แบบจำลองสถานการณ์ที่อยู่ในใจเรา ประมาณว่า “ถ้าทำอย่างนี้ จะได้อย่างนั้น” เป็นลักษณะของเงื่อนไข

ความฝังใจในเรื่องก็คือ นางเอกรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนจำเป็น แต่ไม่มีความสำคัญ คือประมาณว่า เกิดปัญหาอะไรขึ้นมาก็เธอนี่แหละ ที่คนจะต้องมาหาเพราะ “จำเป็น” ที่ต้องมี แต่กลับถูก “เพิกเฉย” เมื่อเวลาต้องการความใส่ใจ นั่นคือ เธอรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับ “ความสำคัญ”  ส่วนพระเอกก็แอบรักสาว ที่มักมาขอคำปรึกษาในทุกเรื่อง ก็เกิดความรู้สึกแบบเดียวกัน ในเรื่องไม่ได้มีการคลี่คลาย “ความฝังใจ” ของนางเอกกับพระเอกเท่านั้น ยังมีการคลี่คลายความฝังใจของคนที่นางเอกรัก ไม่ว่าจะเป็นคุณพ่อ ที่ฝังใจกับแม่นางเอกที่แสนดีที่ต้องจากไปก่อนวัยอันควร นอกจากนี้ยังฝังใจกับ “ความเป็นทหาร” ที่แสดงออกมาถึงความเป็นชายชาตรี ที่ก็สร้างปัญหาทำให้เกิดความขัดแย้งกับน้องชายนางเอก ที่เป็นเกย์ ซึ่งเจ้าน้องชายคนนี้ก็ฝังใจกับพี่สาว ที่เป็นลูกสาวคนโตของครอบครัวที่ตายไปนานแล้ว 



Credit: https://www.facebook.com/sweetymovie


ความฝังใจของแต่ละคนทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ความไม่ลงรอยกันในกลุ่ม และที่สุด หลังจากเหตุการณ์วิกฤติต่างๆ ทุกอย่างก็คลี่คลายลงไปในทางที่ดี เราจะเห็น Mental Model หรือความฝังใจ ถูกคลี่คลายออกไป เห็นการเปิดใจ ที่สุด พระเอกก็พูดออกมาคำหนึ่งคือ “...ทุกคนไม่ว่าใครก็ตาม ล้วนแล้วต้องการอยากให้คนอื่นเห็นความสำคัญทั้งสิ้น”...

นอกจากเสียงหัวเราะ (เป็นหนังไทยที่ผมหัวเราะกระเด็น ทั้งเรื่องจริงๆ) เรื่องนี้สะท้อนหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง ในองค์กรจริง ซึ่งสามารถสะท้อนผ่านมุมมองการพัฒนาองค์กร (Organization Development-OD) โดยเฉพาะผ่านมุมมอง ขององค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ได้ในหลากมิติครับ ดังนี้คือ

1.  ทุกคนมีความฝังใจ (Mental Model)

2.  ความฝังใจทำให้เกิดความขัดแย้ง

3.  ความขัดแย้งทำให้เกิดความความทุกข์ ความไม่สบายใจ

แล้วเราก็เห็นความทุกข์ของทุกคน คลี่คลายไปเป็นความสุข ด้วยเงื่อนไขดังนี้คือ

1.  การผ่านประสบการณ์วิกฤติร่วมกัน ตรงนี้ในทาง OD เราเรียกว่า ผ่านการทำ Team Learning (ทีม เลิร์นนิ่ง การเรียนรู้เป็นทีม) ทุกคนอยู่ในเหตุการณ์ เห็นความทุกข์ของคนอื่น เห็นได้ชัดว่า Mental Model เปลี่ยนไป ความฝังใจคลายตัวไป เกิดความคิดดีๆ ต่อกัน เกิดมุมมองใหม่ๆ Mental Model สร้างสรรค์กว่าของแต่ละคนถูกฟูมฟักขึ้นมา  

2.  เห็นได้ชัดว่า “ความขัดแย้งที่เคยมี” หายไปครับ ทันทีที่ Mental Model เปลี่ยน

3.  ทุกคนมีเป้าหมาย ใหม่มีจุดประสงค์ที่จะใช้ชีวิตในแง่มุมใหม่ๆ ตรงนี้เราเรียกว่า เกิด Shared Vision (แชร์วิชั่น) เกิดเป้าหมายร่วมกันครับ

เรื่องนี้ทำให้ผมนึกถึงเหตุการณ์นานมาแล้วครับ ที่ผมเคยสอน Mini-MBA ให้โรงงานแห่งหนึ่ง ปรากฏว่าเป็นอย่างนี้ครับ “อาจารย์ครับ พอมาเรียนแล้ว เข้าใจ ใช้ ภาษาเดียวกันมากขึ้นครับ แต่ก่อนอยู่ฝ่ายขายก็จะ อัดแต่ฝ่ายวิศวกรรม เรื่องการผลิต ฝ่ายวิศวกรรมก็อัดฝ่ายขายว่าชอบไปรับปากลูกค้า ทำให้การผลิตมีปัญหา พอมาเรียน มาแก้ปัญหาร่วมกัน ถึงได้เริ่มเข้าใจมุมมองของฝ่ายตรงข้าม ที่สุดก็เริ่มปรับเข้าหากันได้”

1.  นี่ไงครับตรงไหมทุกคนมีความฝังใจ (Mental Model) ฝ่ายขายกับฝ่ายวิศวกรรมมีความฝังใจต่อการทำงานของแต่ละฝ่าย

2.  ความฝังใจทำให้เกิดความขัดแย้ง  เรื่องการทำงาน

3.  ความขัดแย้งทำให้เกิดความความทุกข์ ความไม่สบายใจ

พอมาเรียน Mini-MBA ครับ พวกเขาต้องมาร่วมมือกันแก้ปัญหาใน Case Study เมื่อทำงานร่วมกัน ร่วมทุกข์ ร่วมสุข นี่เราเรียกว่า Team Learning ที่สุด Mental Model ก็เปลี่ยนไป เมื่อความฝังใจเปลี่ยนไป ความขัดแย้งก็หาย เกิด Shared Vsion หรือเกิดวิสัยทัศน์ร่วมกัน ผลงานก็ดีขึ้น การผลิตการขายราบรื่นขึ้น


Credit: http://www.forbes.com/sites/infosys/2011/12/20/co-creation-innovation-bte/

อีกตัวอย่างหนึ่งบริษัทตัวแทนจำหน่ายแก๊ส เจอปัญหาครับลูกค้ามันอัดเอา สั่งวันนี้ต้องได้เดี๋ยวนี้ บ้าไปแล้ว มันทำยาก แต่ก็ถูกบ่นถูกว่า ผมเลยถามว่า ลูกค้าที่ไม่บ่นต่างจากลูกค้าที่บ่นตรงไหน ปรากฏว่า ลูกค้าที่ไม่บ่นคือลูกค้าที่เขาเคยพามาทัวร์โรงงาน มาดูงานตั้งแต่ต้นกระบวนการจนจบ นี่ไงครับ ขัดแย้งเพราะ Mental Model ลูกค้าเดิมจะคิดว่าโรงงานบริการได้เสมอ จึงไม่เคยจัดระบบตัวเองครับ แล้วก็เกิดความขัดแย้ง พอมา Team Learning ก็เกิดความเข้าใจ เกิด Shared Vision ขึ้นมา ที่สุดความขัดแย้งก็หมดไป

อย่าปล่อยให้เกิดคุณนายโฮ ในองค์กรของคุณลอยนวลครับ OD  มีวิธีการดีๆ มากมาย ที่จะปรับ Mental Model ของคนในองค์กร เอาเป็นว่าเห็นการขัดแย้งเมื่อไหร่ นั่นแหละครับ สัญญาณของ “ความฝังใจ” ที่บ่อยครั้งไม่สร้างสรรค์ และนำมาสู่ความขัดแย้งแบบคลื่นใต้น้ำ เป็นสาเหตุที่ทำให้งาน และองค์กรไปไม่ไกลเท่าที่ควร ไปได้ก็เหนื่อยครับ เรามีวิธีปลดล๊อกนี้ครับ ทำได้หลายวิธีวันนี้ผมได้เล่าแนวทางการปรับ Mental Model ด้วย Learning Organization และผสมผสาน AI ที่ผมถนัดเข้ามาหน่อย

เป็นอย่างไรบ้างครับ วันนี้ เพียงเล่าให้ฟัง ลองพิจารณาดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 514933เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2013 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ไปดูหนังคุณนายโฮและชอบมากๆ ครับ ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ดีและมีคำสำคัญกิจกรรมบำบัด ขอส่งความสุขให้ดร.ภิญโญ ในเดือนแรกของปีใหม่ 2556 ครับผม


ขอบคุณมากค่ะ  อจ.คงมีโอกาสได้เรียนรู้สิ่งดีจาดอจ.อีกค่ะ

 

เยี่ยมมากเลยครับอาจารย์...

สวัสดีครับคุณ Oraphan

ยินดีและสวัสดีปีใหม่นะครับ

สวัสดีปีใหม่ครับท่านอาจารย์

เป็นมุมมองและแง่คิดที่ดีมากจากการชมภาพยนต์ไทยที่น่าชื่นชมครับ ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันบทความดีๆครับ


โอ้โห.. อาจารย์สะท้อนได้ลึกซึ้งดีจังค่ะ ขอบคุณมากๆเลย

ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัวเป็นบทเรียนที่ดีมากค่ะ เชื่อว่าตัวเองก็คงเป็นคุณนายโฮอยู่เหมือนกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท