KM-DMHT 2012 : ป้องกันโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ด้วยพฤติกรรมชีวิตดีวิถีไทย


การทำงานแทนที่จะแข่งขันกัน ก็ร่วมมือกัน ใครทำอะไรได้ดีก็ช่วยซึ่งกันและกัน

วันที่ 25 ธันวาคม 2555 (ต่อ)

เวลา 09.00-10.00 น. เป็นปาฐกถาเรื่อง ป้องกันโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง ด้วยพฤติกรรมชีวิตดีวิถีไทย โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เทพ หิมะทองคำ สาระมีดังนี้

เบาหวานเป็นโรคที่เราต้องป้องกัน เป็นโรคระบาด การป้องกันต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย แนะนำโรงพยาบาลเทพธารินทร์ว่าได้ปรับเปลี่ยนจากการรักษาโรคไปสู่การป้องกัน โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาคารให้เป็น Lifestyle Building มีกิจกรรมการดูแลทั้งร่างกายและจิตใจ

สหประชาชาติได้ทำให้โรคเบาหวานขึ้น Board ของสหประชาชาติ... ในสหรัฐอเมริการคนที่เป็นเบาหวานมีจำนวนเพิ่มขึ้นเยอะ คนที่เป็น Pre-diabetes มีมากกว่าเกือบเท่าตัว คนที่เป็นแล้วไม่ทราบว่าเป็นประมาณ 30%



ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์เทพ หิมะทองคำ

การสำรวจภาวะสุขภาพของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ความชุกของเบาหวาน 7.5% IFG 10.6% ยังไม่ double ถ้าเป็น IGT น่าจะ double ที่น่าดีใจคือคนที่เป็นเบาหวานแต่ไม่รู้ว่าตนเองเป็น (unaware) ลดลงจาก 50 กว่า % เป็น 35.4% แสดงว่าการรณรงค์ของเราได้ผล เราวินิจฉัยผู้ที่เป็นเบาหวานได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหาความดันโลหิตสูง ไปในทิศทางเดียวกัน... ความชุก 22% เวลาวัดความดันโลหิต จำเป็นต้องวัดหลายๆ ครั้งและวัดที่บ้าน หากมาวัดที่ รพ.สต. อย่าเพิ่งไปบอกว่าเป็นความดันโลหิตสูง ต้องวัดที่บ้าน คนที่เป็น Pre-HT มีประมาณ 33% แต่คนที่เป็นความดันโลหิตสูงแล้วไม่รู้ว่าตัวเองเป็นมีมากถึง 70% เพราะคนคิดว่าเป็นความดันโลหิตสูงต้องมีอาการ

แต่ก่อนเราไปเน้นคนที่เป็นโรค แล้วไปรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด การวินิจฉัยโรคของเราต้องเปลี่ยน ทำอย่างไรจึงจะวินิจฉัย Pre-diabetes, Pre-hypertension มีความพยายามรณรงค์การเจาะเลือดโดยไม่ต้องอดอาหาร เพราะการเจาะเลือดโดยอดอาหารจะพลาดการวินิจฉัยไปประมาณ 50%

Lifecourse ของเบาหวาน ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ………….จึงต้องการการวินิจฉัยก่อนเป็นเบาหวาน

หลักของการป้องกันเบาหวาน

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิต
  2. วินิจฉัยให้เร็วที่สุด
  3. พยายามให้เบต้าเซลล์ตายช้าที่สุด ตัวสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารและออกกำลังกาย กำลังจะมียาออกมา แต่ที่ถูกที่สุดคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ตัวอย่างนิสัยที่ไม่ดี เช่น การใช้บันไดเลื่อน ขี่มอเตอร์ไซด์พาสุนัขเดิน ควาญช้างขี่มอเตอร์ไซต์ตามช้าง



ผู้ฟัง

คนที่อายุมาก ระดับน้ำตาลหลังอาหารจะขึ้น ถ้าเจาะเลือดหลังกินอาหารจะเจอเร็ว......ถ้าใช้ FPG อย่างเดียว เราจะพลาดการวินิจฉัยไปกว่าครึ่ง.....การมี BG หลังอาหารสูงเป็นพิษต่อร่างกาย

คนที่มีความดันโลหิตสูงก็ต้องสอนเรื่องการกินที่ถูกต้อง อาหารลดเกลือ ออกกำลังกาย ผ่อนคลาย Home monitoring…. การทำให้เกิดความสบายใจ อารมณ์ เรื่องของ relaxation ต้องปรับไปตามแต่ละสถานที่…. โครงการละลายความเครียด เอา PMR มาร่วมด้วย Spa ช่วยได้มาก การสอนสมาธิคือการฝึกจิต มีเครื่องวัด stress มี BEMO team (Behavior Modification Team)

Model การทำงานแบบ multidisciplinary…. Camp เบาหวาน ที่ทำมา 14 ปี สิ่งสำคัญต้องสนุก ที่ขยายออกไปได้มาก เพราะ สปสช. เข้ามา ทำให้เกิดขึ้นทั่วไป

แสดงรูปถ่าย classic กลุ่มผู้เข้าประชุมที่เป็นจุดเริ่มต้นของ network เริ่มต้นด้วยตลาดนัดความรู้ กระจายออกด้วย weblog ภาพเต่าและกระต่าย ที่แสดงให้เห็นว่าการทำงานแทนที่จะแข่งขันกัน ก็ร่วมมือกัน ใครทำอะไรได้ดีก็ช่วยซึ่งกันและกัน (บนบก กระต่ายวิ่งเร็วกว่า เต่าก็ขี่กระต่าย ในน้ำ กระต่ายขี่เต่า)



กลุ่มผู้เข้าประชุมที่ริเริ่มให้ใช้ KM สร้างเครือข่ายเบาหวาน

พัฒนาการของงาน KM ขยายจากตลาดนัดความรู้ฯ เป็นงานมหกรรมการจัดการความรู้ เคยจัดการประชุมคนเกือบ 2,000 คน แต่คิดว่าไม่ดี ลดขนาดลงเอาคนที่เป็น core จริงๆ ที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คิดว่าเครือข่ายจะเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ 

ได้มีการขอทุนจาก World Diabetes Foundation มาทำเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคนวัยทำงานที่อยู่ในเมือง ภาคอุตสาหกรรม/บริษัทต่างๆ ก็เข้ามา เป้าหมายเพื่อ raise awareness มีกิจกรรม Health fairs ค่ายลดความเสี่ยง และ KM กิจกรรมในโครงการมหานครปลอดเบาหวาน กลุ่มเป้าหมายคือประชาชนที่อยู่ในกรุงเทพฯ วัยทำงาน หน่วย HR ….เอาออกไปในที่สาธารณะที่มีคนอยู่เยอะ สร้าง Mascot ขึ้นมา พระเอกชื่ออินซูแมน (ตอนนี้เป็นชื่อยา) เวลาที่ไปออกนิทรรศการจะแบ่งเป็น 5 โซน (Zone 1: You are at risk, Zone 2: Exercise, Zone 3: Food & Diet, Zone 4: DM Care, Zone 5: Relax) ต้องมี incentive 

จัดกิจกรรม 24 องค์กรทั้งของรัฐและเอกชน ผลการตรวจ 8,662 คน อายุ 25-55 ปี พบว่ารู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน 1.6% ครอบครัวเป็นเบาหวาน 35% ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ 11.2% รู้ตัวว่าเป็นความดันโลหิตสูง 7.3% ความดันโลหิตผิดปกติ 19.8% Body composition ไขมันเกินเยอะแยะ เข้าไปในบริษัท หา HR screen ให้รู้จักอาหาร การออกกำลังกาย การสร้างเป้าหมาย Office exercise

ค่ายลดความเสี่ยงต่อเบาหวาน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 4 ขั้นตอน

  • รู้และยอมรับความเสี่ยงของตนเอง
  • แสวงหาความรู้และข้อมูล
  • เพื่อนและสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุน
  • วัดผลเพื่อดูความสำเร็จ

พิสูจน์ผล ลด visceral fat ไปได้เท่าไหร่ เลือกคนที่สำเร็จมากที่สุดมาให้รางวัล สิ่งสำคัญที่เป็นอุปสรรคมากคือการเอาคนเข้ามาร่วมกิจกรรม ปัญหาคือ mind set คนที่เป็น HR ไม่เข้าใจ

ประสบการณ์สำคัญได้จากเด็ก เด็กวาดรูปออกมา... เขาเข้าใจได้ ถ้าเด็กได้รับการ approach ก็จะเข้าใจพฤติกรรมที่ดี



แสดงภาพวาดของเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องเอาองค์กรต่างๆ มาร่วม ต้องสร้างโมเดล

ทำ OGTT 317 คน พบผิดปกติ 30.6% เพราะ screen ความเสี่ยงก่อน ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน (อาหาร ออกกำลังกาย) ผล OGTT improvement คนที่เป็นเบาหวาน 1 คน กลับมาปกติ อีก 6 คน กลับมาเป็น IGT คน IGT 13 คน กลับเป็นปกติ แสดงว่าถอยหลังกลับได้ ดีขึ้นแน่นอน BMI, Body Fat, Visceral Fat เส้นรอบเอว ลดลง

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำไว้คือ Model Supermarket เอาไว้สอนว่าควรซื้อ/ไม่ควรซื้ออะไร มีครัวเอาไว้สอน มีโมเดลห้องนอน ห้องทำงาน ตัวอย่างการนั่งประชุมบนลูกบอลที่ได้ขยับเขยื้อนร่างกายตลอดเวลา

เชื่อว่าหากกัดแล้วไม่ปล่อย จะเกิดความรู้ใหม่ เป็นความรู้ฝังลึก เชื่อว่าประเทศไทยจะเป็นผู้นำอีกเรื่องหนึ่ง

เสนอ VDO BEMO Program เป็นความพยายามในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มคนทำงาน….ทำหน้าที่คล้าย Organizer แต่เป็น Organizer ที่รู้เรื่อง สิ่งสำคัญที่สุดคือสิ่งแวดล้อม เราต้องไป influence ท้องถิ่นเพื่อปรับสิ่งแวดล้อม

สรุป

  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นหัวใจของการป้องกันโรค
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประกอบด้วยอาหาร การออกกำลังกาย และอารมณ์
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องเป็นไปตามบริบทของสถานที่และวัฒนธรรม
  • สร้างสื่อเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ
  • ต้องกัดแล้วไม่ปล่อยและมีการถอดบทเรียนตลอดไปจากประสบการณ์ จนเกิดความรู้ใหม่ที่ฝังลึก
  • มีการแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์
  • เผยแพร่ความรู้ในหมู่ผู้ปฏิบัติและออกต่างประเทศ
Download PowerPoint ประกอบการบรรยายได้ที่นี่ 
วัลลาตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 514652เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2012 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มกราคม 2013 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สุขภาพดี..วิถีไทย .. ปีใหม่  สุขภาพดีๆ นะคะ 


สวัสดีปีใหม่ครับ อาจารย์วัลลา ครับ

ขอบคุณ Dr.Ple และคุณแสงแห่งความดี ขอให้มีความสุขในปีใหม่เช่นกันนะคะ

กำลังรวบรวมสมาธิและความคิดเพื่อจะเขียนถึงหนังสือเล่มใหม่ของเครือข่าย และ กิจกรรมในฐานเรียนรู้ที่นุชรับในงานมหกรรมฯ สัญญาว่าต้องเขียนแน่ๆค่ะ ลงมือแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท