กิจกรรมพัฒนาการเขียน จุดเริ่มต้นของจิตอาสาในอีกมิติหนึ่ง


การเขียนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องราว เพียงงานเขียนสั้น ๆ มันก็มีพลังอำนาจพอที่จะส่งผลให้จิตอาสาสั่นสะเทือน เช่น “หากเราเขียนอะไรดีๆ เช่นเขียนให้กำลังใจคนที่กำลังท้อแท้ในชีวิตผ่าน Facebook ทุกวัน อย่างน้อยผมว่ามันสามารถทำให้คนมีกำลังใจขึ้นมาได้ใช่ไหมครับ”

             หลังจากที่ผมได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับ “จิตอาสาในชีวิตประจำวัน” วันนี้ผมก็อยากจะหยิบยกกิจกรรมที่ผมได้พรากนักศึกษาอันเป็นที่รักออกจากรังสู้อ้อมกอดแห่งเขาวังน้ำเขียว ซึ่งโจทย์ของเราในครั้งนี้คือ “เรื่องเล่า กวี ดนตรีและธรรมชาติ” หากเพียงชื่อเป็นสื่อล่อตาล่อใจเขาเท่านั้นแหล่ะครับ ที่จริงมันคือต้องการเปิดโลกทัศน์ทางความคิดและสอดแทรกทักษะพร้อมจุดประกายการเขียนหนังสือให้เขาในฐานะเอกภาษาไทย  

              อ้าวแล้วมันเกี่ยวอะไรกับชื่อเรื่องหรือจิตอาสา? ผมขอให้ทุกท่านอย่าได้ต่อว่าหรือไม่พอใจกับการตั้งชื่อที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาอันใดของผมเลยครับ อย่างน้อยก็ถือเสียว่าผมมี “จิตอาสา” ที่นำเรื่องราวของกิจกรรมที่มีประโยชน์น้อยมาร่วมแบ่งบัน


               หากเพียงคำพูดที่กล่าวถึงงานวิจัยอันเจ็บปวดสำหรับคนไทยว่า “คนไทยอ่านหนังสือโดยเฉลี่ยปีละ ๘ บรรทัดต่อคน” หมายถึงหนังสือ ๑ หน้าอ่านเป็นสัปดาห์เลยที่เดียว นี่คือความท้าทายที่ไม่ใหม่นักสำหรับการที่จะเริ่มให้ความสำคัญ ซึ่งผลในระยะต่อมาก็ได้เกิดโครงการต่างๆ มากมายตามมา เช่น โครงการรักการอ่าน ทั้งหมดล้วนได้ผลเป็นที่หน้าพึงพอใจ แต่นอกจากไม่อ่านแล้วเรายังไม่เขียนอีก

               แม้ว่าข้อความข้างต้น “จะทำให้รู้สึก?” แต่ผมเชื่อในคำกล่าวที่ว่า “เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส” หมายความว่า การอ่านหนังสือของคนไทยมีน้อยมาก แต่ที่น้อยไปกว่านั้นแล้วเราไม่ได้พูดถึงเลยคือ นอกจากจะอ่านน้อยเรายังเขียนหนังสือน้อยมากๆๆ ให้อ่านยังพออ่านได้แต่บอกให้เขียน “ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร” นี่คือแผนการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสของผม


                ผมของเล่าเรื่องราวในกิจกรรมของเราคราวๆ คือ เราแบ่งกลุ่มการเขียนออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มของการเขียนเพื่อบันเทิงคดี กับกลุ่มการเขียนเพื่อสารคดี หรือพูดง่ายๆ คือ เขียนเพื่อความสนุกสนาน กับเขียนเพื่อเพิ่มพูนสาระให้แก่ผู้อ่าน เราเริ่มจากการจัดประกาย ให้กำลังใจ และสอดแทรกทักษะการเขียนพื้นฐานและเบื้องต้น หลังจากนั้นก็นำพาไปยังสถานที่ต่างๆ เสพสรรพสิ่งเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สุดท้ายให้เวลาในการเขียนงานประมาณ ๓ ชั่วโมง ซึ่งในที่สุดเราก็ได้รับผลงานจากนักศึกษา แม้จะไม่มีงานชิ้นใดได้รับรางวัลชนะเลิศ แต่ก็มีงานที่ประทับใจกรรมการอยู่เป็นอย่างมาก ถึงขั้นคัดเข้าคัดออกอยู่หลายครั้งในบางชิ้น


                กิจกรรมครั้งนี้เราได้รับอะไรจากนักศึกษาเป็นอย่างมาก ไม่ได้มุ่งหวังให้เขาเป็นกวี เขียนเรื่องสั้น เพราะถึงเขาไม่เขียนมันก็มีให้อ่านไม่หมด (คำกล่าวของหัวหน้า) แต่สิ่งที่เราเห็นมันกลับจะเป็นไปได้ ทีมงานรู้สึกมีกำลังใจไม่สิ้นหวัง


                ตอนนี้ไฟของเขากำลังมีพลังในการขับเคลื่อน เราไม่ควรที่จะหยุดเพียงแค่นั้น แน่นอนครับผมไม่ได้ปล่อยมันผ่านไปจากค่าย ผมทิ้งให้เขาเขียนหรือพัฒนางานของตนเองให้ดีขึ้นเพื่อที่จะนำมารวมเล่มในโอกาสต่อไป ปรากฏว่าต่างก็มุ่งมั่นนำพามาส่ง

                อย่างน้อยที่สุดงานที่เขาเขียนคือ “เล่าเรื่อง” คำว่าเล่าเรื่องนี่แหละคือสิ่งที่จะนำพาหรือสิ่งที่ผมจะชักโยง ลากเข้าความไปหาจิตอาสาให้มันได้ เมื่อเขาไม่อ่านไม่เป็นไร แต่ถ้ามีไหร่เขาเขียนอย่างน้อยเขาก็ได้อ่านเอง ซึ่งจุดเล็กๆ ตรงนี้ละที่ผมหวังและอยากจะผลักให้เข้าไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “จิตอาสา”


                การเขียนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องราว เพียงงานเขียนสั้น ๆ มันก็มีพลังอำนาจพอที่จะส่งผลให้จิตอาสาสั่นสะเทือน เช่น “หากเราเขียนอะไรดีๆ  เช่นเขียนให้กำลังใจคนที่กำลังท้อแท้ในชีวิตผ่าน Facebook ทุกวัน อย่างน้อยผมว่ามันสามารถทำให้คนมีกำลังใจขึ้นมาได้ใช่ไหมครับ” นี่แหละครับจิตอาสามิติหนึ่งที่ไม่ควรมองข้าม

                ยิ่งไปกว่านั้นผมคิดว่าเพียงแค่เขานำเอาหลักการที่เขาเขียนเล่าเรื่องในวันนี้กลับไป “เล่าเรื่องในชุมชนของเขา” ที่แน่นอนว่าในชุมชนของเขาย่อมมีเรื่องราวอีกมากมายที่คนไม่รู้ แม้แต่ตัวเขาเอง ชุมชนคือคลังความรู้ที่ยิ่งใหญ่ เพียงแต่เขากลับไปรื้อค้นและถ่ายทอดมันออกมาผ่านการเขียนเรื่องเล่าของเขา เพื่อให้คนอื่นได้อ่านได้ทำความเข้าใจและรับรู้เรื่องราวของชุมชน แค่นี้เขาก็สมควรที่จะได้รับการกล่าวขานว่า “มีจิตอาสา” เช่นกันครับ

                และผมก็เชื่อเช่นกันครับว่า “การอาสาในลักษณะดังกล่าวก็มีประโยชน์ไม่แพ้การอาสาในลักษณะอื่นๆที่เราเคยสัมผัส” และยิ่งนับวันเราจะมุ่งสนใจสากลมากว่าองค์ความรู้ของท้องถิ่นที่เราเรียกว่าภูมิปัญญา เอาสิครับ ลองดูว่าถ้าเขากลับไปในหมู่บ้านแล้วไปค้นหาเรื่องราวต่าง ๆ ในหมู่บ้าน จากนั้นเขาเขียนเล่าเรื่องมาทีละเรื่องตามที่เขาได้ไปขุดคุ้ยในชุมชนนั้นๆ ให้ออกมารวมเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า “เรื่องเล่าจากหมู่บ้าน...............” มันจะเป็นประโยชน์อยู่มาก โดยเฉพาะภูมิปัญญาที่กำลังจะเลือนหายไปจากชุมชน ที่สำคัญมันอาจะสามารถนำมาจำหน่ายได้ด้วย ซึ่งผมคิดว่าอยากจะสานต่อแนวคิดดังกล่าว


                 แม้มันจะลากเข้าความไปบ้างว่าคือ “จิตอาสา” แต่ผมก็ยังจะก้มหน้าก้มตายอมเจ็บไปเองเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้นำเอาทักษะการเขียนในวันนี้กลับเข้าไปในหมู่บ้านแล้วถ่ายทอดเรื่องราวที่ดีงามออกมาด้วยภาษาของเขาเอง เรื่องเล็กๆที่เรามองข้ามไม่สนใจนี้แหละครับคือ “ความอาสาหรือความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของเรา” ที่จะไปหยิบฉวยมันออกมาชำระให้ดูใหม่น่าสนใจศึกษา และที่สำคัญลูกหลานของเราก็จะได้อ่าน และเข้าใจว่ายุคหนึ่งสมัยหนึ่งในยุดของพวกเราเขาทำอะไร ดีกว่าการที่เราจะปล่อยให้มันตายไปกับปราชญ์ชาวบ้านที่มีน้อยลงทุกวัน ๆ แล้ววันนั้นคุณค่าของงานเขียนเราจะยิ่งใหญ่ และที่สำคัญการหยิบหรือทำในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ “มันคือจิตอาสาที่ยิ่งใหญ่กว่าการไปอาสาในสิ่งที่มีคนเขาอาสาอยู่แล้ว”

รักและสวัสดี

หมายเลขบันทึก: 514088เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2012 23:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 ธันวาคม 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การเขียน  ไม่เพียงสะท้อนมุมมองชีวิตของผู้เขียน
หากแต่บางที มุมมองเช่นนั้น  ย่อมมีอิทธิพลต่อผู้อ่าน (พลังวรรณกรรม)  จะโดยตั้งใจ หรือไม่  มันก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ
ครับ- การเขียน ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของทักษะการเรียนรู้  ที่มีพลังพอต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์-ชีวทัศน์ของผู้เขียน หรือแม้แต่ผู้อ่าน  การเขียนจะบ่มเพาะ หล่อมหลอม ขัดเกลาชีวิตได้อย่างมหัศจรรย์

ลองดูนะครับ  ลองให้เด็กเขียนเรื่องเล่าง่ายๆ ในรูปแบบต่างๆ ผ่านมุมมองชีวิต  หรือเล่าเรื่องราวบ้านเกิดตัวเองดูก็ได้  เพราะนั่นคือการทดสอบให้เห็นว่าแต่ละคน รับรู้เรื่องราวตัวเอง-บ้านเกิดตัวเอง กี่มากน้อย

วิธีการเช่นนี้  บ่มเพาะเรื่องจิตสำนึกรักบ้านเกิดได้เหมือนกัน

ชื่นชม  และเป็นกำลังใจให้นะครับ

จิตอาสา .... จิตที่ยิ่งใหญ่ นะคะ

จุดประกายอีกแล้วค่ะ  จะลองให้นักเรียนทำบ้างค่ะ

"การเขียนไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเรื่องราว เพียงงานเขียนสั้น ๆ มันก็มีพลังอำนาจพอที่จะส่งผลให้จิตอาสาสั่นสะเทือน เช่น “หากเราเขียนอะไรดีๆ  เช่นเขียนให้กำลังใจคนที่กำลังท้อแท้ในชีวิต"

                                                       ชอบคุณค่ะ


สวัสดีครับพี่ Ico48

แผ่นดิน
 ขอบคุณมากครับที่ให้ข้อคิดที่ว่า "การเขียน ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของทักษะการเรียนรู้  ที่มีพลังพอต่อการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์-ชีวทัศน์ของผู้เขียน หรือแม้แต่ผู้อ่าน  การเขียนจะบ่มเพาะ หล่อมหลอม ขัดเกลาชีวิตได้อย่างมหัศจรรย์" มีกำลังที่จะเดินต่อครับ


ขอบคุณครับ

ดีครับIco48

Dr. Ple
ขอขอบพระคุณครับที่ให้กำลังใจ

สวัสดีครับIco48

KRUDALA
ไม่ต้องทำอะไรมากครับ ขอเป็นดินก้อนเดียวในดินแดน แต่ค่าของมันกลับหนักและแน่นเต็มแผ่นดินครับ เด็กทุกวันนี้เขียนน้อยหรือไม่ชอบเขียนเลย เราควรมีส่วนผลักเขาบ้างครับ


ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนครับ

เขียน...พลังที่ซุกซ่อน

เขียน....กวีกลอนแสนอ่อนหวาน

เขียน...ความคิดแห่งจิตวิญญาณ

เขียน...ความสมานสามัคคี


ชื่นชมค่ะ

ทุกอย่างเริ่มต้นที่ก้าวแรก

ไม่มีใครปฏิเสธการบันทึกเรื่องราวตนเองได้ 

ส่งเสริมการเขียน ส่งเสริมการบันทึกประวัิศาสตร์ตัวเอง..

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ ถือเป็นการกระทำเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่า เพียงการจุดประกายเล็กๆนี้อาจจะก่อให้เกิดอะไรที่มีคุณค่าอีกมากมายทีเดียวนะคะ ขอบคุณพลังเล็กๆที่ยิ่งใหญ่ ที่ทำให้เกิดความอิ่มเอมในใจของคนอ่านจากบันทึกนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท