ตัวอย่างการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment)


"พัฒนาความเจริญแต่วัตถุ แต่ไม่พัฒนาจิตสำนึกต่อสังคม"

ตัวอย่างการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact Assessment)

แลกเปลี่ยนความรู้โดยผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดยกาญจนา  นิ่มสุนทร   นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

       อุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นตัวอย่างของการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นปัญหามายาวนานซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ยากเป็นที่มาที่ทำให้เกิดแนวคิดว่าจะใช้การแก้ปัญหาแบบเดิมไม่ได้จะต้องมาแก้กันด้วยทิศทางการพัฒนาว่าจะแก้ไปในทิศทางใดปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบทั่วประเทศ เช่น คนอีสานไปทำงานเป็นจำนวนมาก
ในอนาคตเราจะเจอโรคมาบตาพุดที่เกิดจาก มลภาวะของโรงงานอุตสาหกรรมทางภาคตะวันออก ความพยายามของชาวบ้านรวมกลุ่มกันประท้วงฟ้องสารปกครองทำให้โรงงานดังกล่าวระงับไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง แต่เพราะอิทธิพลของเม็ดเงินส่งผลให้การดำเนินต่อเนื่องในปัจจุบัน

       ผลกระทบต่อสุขภาพจากอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพประชาชนหลายครั้งทั้งสารพิษ ในร่างกาย โรคผิวหนังและการเสียชีวิต ผลของการถมทะเลของนิคมอุตสาหกรรมทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล นอกจากนี้ยังโรงงานอุตสาหกรรมยังปล่อยน้ำเสียลงทะเลทำให้ปลาตายน้ำเน่าเสีย เมื่อโดนน้ำจะทำให้เป็นโรคผิวหนัง ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในบริเวณชุมชนเริ่มเลวลง
สุขลักษณะไม่ดีโดยเฉพาะกรณีค่ายคนงานได้รับผลกระทบจากอากาศเป็นพิษ ควันเขม่าสีดำกระจายทั่วท้องฟ้าบริเวณที่อาศัย เด็กเล็กๆ ได้รับผลรุนแรงมากเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ส่วนผู้ใหญ่ยังไม่มีใครแสดงอาการน้ำฝนบริโภคไม่ได้ต้องดื่มน้ำประปา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ชายทะเลใกล้ๆ สกปรกมากขึ้นทุกวัน สารเคมีปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ ผลกระทบในระดับชุมชนเหล่านี้ โดยเฉพาะด้านมลภาวะปรากฏเป็นปัญหาเดือดร้อน

        นอกจากนี้ยังพบว่า ผลกระทบที่เกิดจากแรงงานอพยพที่ต่างเข้ามาทำงานในเขตอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความแออัด เกิดโรคระบาดติดต่อให้กับคนในชุมชน เกิดปัญหาอาชญากรรม ปัญหายาเสพติดปัญหาอื่นๆตามมามากมาย
ขาดความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนเดิมและคนในชุมชนใหม่ ใช้ชีวิตแบบชุมชนอุตสาหกรรมขาดพลังในการรวมกลุ่มกันในการแก้ไขปัญหา จึงเป็นที่มาในการศึกษาประเด็นที่เป็นผลกระทบต่อสุขภาพปัจจุบัน

        การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ: มีวัตถุประสงค์ทำนายคาดการณ์ประเมินผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากนโยบายสาธารณะจากนั้นเมื่อประเมินแล้วจะทำอย่างไรในการลดปัญหาผลกระทบดังกล่าว

       ขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ : เลือกเอานโยบายสำคัญๆมาประเมิน กำหนด Scope ล่วงหน้า แคบชาวบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมทำตามกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติต้งไว้ ประเมินตามขอบเขตผลกระทบต่อการแจ้งงาน ความเจ็บป่วย ป่าไม้ อาจใช้ ฟอรฺคลาสสร้างการทำงานผลกระทบจะกระทบกับใคร ใครมีส่วนได้ส่วนเสีย นำผลการประเมินมาให้สาธารณะพิจารณาว่ามาตรการต่างๆเป็นได้ไหมให้ EIA  (Environment Impact Assessment)เป็นผู้พิจารณาว่าผ่านหรือไม่ จากนั้น HIA จะนำเสนอคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ว่าจะให้ดำเนินการไม่ดำเนินการหลังจากอนุมัติโครงการแล้วจะทำตามที่แนะนำในมาตรการต่างๆหรือไม่ เช่น การทำเหมืองทองคำไม่ให้มีน้ำเสียเล็ดลอดออกมา เช่น ปูพลาสติก ไม่ให้น้ำเสียไหลออกมา  ซึ่งแนวคิดของ HIA เป็นแนวคิดเดียวกับสามเหลี่ยมเขยื้อนภูผา การสร้างความรู้หรือการทำงานทางวิชาการ การขับเคลื่อนทางสังคม นำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย
       HIA จะมีเวลาจำกัดหลายครั้งเป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลหรือการตัดสินใจบนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว 
ต่างประเทศ
เช่น Canada วางแผนสร้างเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองและส่งออกเอมริกา จึงได้ทำเอกสารสรุปออกมาว่าจะมีประโยชน์อย่างไรต่อประเทศและประชาชน และวางแผนการปกป้องสิ่งแวดของประเทศอย่างไร ปกป้องที่อยู่อาศัยของปลาอย่างไร  สัตว์ป่า ต้นไม้วางแผนการติดตามประเมินผล ป่าไม้ แม่น้ำ  ให้สาธารณะรับทราบ  แก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นโดยมีข้อตกลงเกิดขึ้น จากนั้นยอมรับความคิดเห็นอย่างชัดเจน ใช้หลายวิธีให้ชาวบ้านมารับรู้รับฟังทั้งการประชุม และการประชุมเชิงปฏิบัติการ

       จะเห็นได้ว่าการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันภาคประชาชนจะให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน และนอกจากนี้ประชาชนจึงรวมพลังต่อสู้กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและต่อสุขภาพอย่างเห็นได้ชัดโดยใช้กระบวนการถกแถลง Deliberative หลักการทำ คือ สำรวจโพลเห็นด้วยไม่เห็นด้วย สุ่มคนมาจำนวนหนึ่งแล้วถกแถลงกัน ให้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นที่มีข้อมูลสนับสนุนและข้อมูลคัดค้านให้ข้อมูลทั้ง 2 กลุ่ม แบ่งกลุ่มย่อย รวมทั้งกลุ่มที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ที่ประชาชนสุ่มเลือกเข้ามา ตั้งคำถามในกลุ่มย่อย เข้าสู่เวทีใหญ่ให้ ผู้เชี่ยวชาญช่วยตอบปัญหาเหล่านันเพื่อเป็นการถกทำหลายๆรอบเป็นประเด็นกลับไปมาสำรวจอีกครั้งเพื่อโหวต ทั้งก่อนทำถกแถลงและหลังการทำถกแถลงณ์ ความเห็นสุดท้ายจะเผยแพร่ออกเป็นทางการ เป็นกระบวนการที่สมัครใจ คิดใคร่ควรอย่างดีทั้งสองฝ่าย

หมายเลขบันทึก: 513783เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 17:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ธันวาคม 2012 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท