ผู้จัดการมรดกไม่ยอมจัดการมรดก


สำหรับมาตรการในการถอดถอนผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1731 ถือเป็นแนวทางหนึ่งในการทำให้การจัดการมรดกเป็นไปตามกฎหมาย แต่ก็ควรเป็นมาตรการสุดท้ายเพราะ แท้จริงแล้วเรื่องของมรดกก็เป็นเรื่องที่ทายาทด้วยกันเองควรหันหน้ามาเจรจากัน หากมีการฟ้องร้องใดๆ แทนที่มรดกที่มีอยู่จะสามารถนำมาแบ่งกันระหว่างทายาทก็จะต้องมีค่าใช้จ่าย(ค่าทนายและอื่นๆ) เหลือมรดกแบ่งกันไม่เต็มจำนวน ประการสำคัญเมื่อมีการฟ้องร้องกันก็เกิดความแตกแยกในบรรดาญาติพี่น้องได้มรดกเสียพี่เสียน้อง...ผมว่าไม่คุ้มครับ

 

ก่อนอื่นต้องออกตัวก่อนเลยว่า เป็นครั้งแรกที่ผมเขียนถึงกฎหมายเกี่ยวกับมรดก...ปกติจะเน้นไปที่กฎหมายธุรกิจ.....เรื่องของเรื่องเพราะมีอาจารย์ท่านหนึ่งที่เคารพนับถือกันโทรศัพท์มาปรึกษาผม... “พี่มีเรื่องกลุ้มใจขอรบกวนน้องหน่วย...เรื่องมรดก” ผมบอกไปเพื่อไม่ให้กังวลว่า... “มีมรดกมาให้กลุ้มก็ยังดีกว่ามีเรื่องหนี้สินมาให้กลุ้มครับ”

...เรื่องของเรื่องคือ ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งพี่ชาย ซึ่งมีพี่น้องรวมกัน 3 คน เป็นผู้จัดการมรดกของคุณพ่อ แต่ด้วยที่ผ่านมา พี่ชาย(ผู้จัดการมรดก)ไม่ยอมเปิดเผยความคืบหน้าเกี่ยวกับการรวบรวมทรัพย์มรดกเลย พี่น้องคนอื่นๆห็ไม่ว่าอะไร อาจารย์ท่านนี้ในฐานะทายาทคนหนึ่งจะทำอย่างไรดี เคยมีคนแนะนำให้รายงานศาลและขอให้ศาลปลดพี่ชายจากการเป็นผู้จัดการมรดก เพระถือว่ากระทำผิดหน้าที่ แต่อาจารย์ท่านี้ก็ไม่อยากจะให้รุนแรงเป็นเรื่องราวเดี๋ยวจะเสียพี่เสียน้องกันไป เลยต้องการทราบข้อกฎหมายหรือวิธีการทางกฎหมายว่าจะบังคับให้พี่ชาย รายงานความคืบหน้าได้อย่างไรบ้าง และอยากทราบบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการมรดกและผลทางกฎหมายกรณีไม่ทำหน้าที่ ทายาทควรดำเนินการอย่างไร

อ่านราลละเอียดต่อ ผู้จัดการมรดก.pdf

หมายเลขบันทึก: 513587เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2012 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท