เรียนรู้ในสวนปาล์มน้ำมันระยะออกดอก(๒)


มีความจำเป็นที่จะอนุรักษ์ทางธรรมชาติ คืออนุรักษ์ด้วงงวงช้างดอกปาล์มน้ำมันให้มีไว้ในสวนปาล์มอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยในการผสมเกสร ด้วงชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและไม่ทำอันตรายต่อต้นปาล์ม


                   เมื่อเร็วๆนี้ทางทีมงานมีโอกาสไปเยี่ยมเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันที่ หมู่ที่๗ ตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชรคือคุณชูชัย กลิ่นเกษร  มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้ว ๖๕ ไร่ ขณะนี้ต้นปาล์มมีอายุ ๕ ปีแล้ว แต่ต้องยอมรับว่าจากการที่ทางทีมงาน ได้ไปเยี่ยมสวนปาล์มน้ำมันของเกษตรกรในเขตจังหวัดกำแพงเพชรมาหลายสวนแล้ว สวนปาล์มน้ำมันของอาจารย์ชูชัย กลิ่นเกสร นี้นับว่าเป็นสวนที่มีการดูแลรักษาต้นปาล์มที่ดีสวนหนึ่งที่เกษตรกรเจ้าของได้มีความรู้ และนำความรู้ไปปฏิบัติในสวนจนเห็นผลค่อนข้างชัดเจนครับ

                 


                   คุณชูชัย ได้เล่าให้ทีมงานฟังว่า ตนเองอดีตเป็นข้าราชครู แต่ต่อมาได้ลาเกษียณอายุก่อนกำหนด มาหลายปีแล้ว เริ่มแรกมาทำสวนส้มที่กำแพงเพชร จำนวน ๖๕ ไร่ แต่ส้มไม่ยั่งยืนไปไม่รอด จึงได้ปรับปรุงพื้นที่ในสวนส้มเดิม โดยปรับเปลี่ยนมาปลูกปาล์มน้ำมันแทนส้ม การทำสวนปาล์มน้ำมันของตนเอง ใช้หลักการสร้างต้นปาล์มให้สมบูรณ์ลำต้นใหญ่ (สะโพกใหญ่)ปีแรกจะยังไม่มุ่งเก็บผลผลิต  ดูแลรักษาบำรุงให้ต้นสมบูรณ์และแข็งแรงก่อน ขณะนี้ผลผลิตปาล์มเริ่มออกแล้ว



                   คุณชูชัย ได้เล่าต่อไปอีกว่าข้อสำคัญที่พบตนเองในช่วงที่ปาล์มน้ำมันกำลังออกดอก จะสังเกตว่าในสวนปาล์มก็จะมีทั้งช่อดอกตัวผู้และช่อดอกตัวเมีย  ซึ่งจะแยกกันอยู่กันคนละช่อดอก จึงมีความจำเป็นที่จะอนุรักษ์ทางธรรมชาติ คืออนุรักษ์ด้วงงวงช้างดอกปาล์มน้ำมันให้มีไว้ในสวนปาล์มอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยในการผสมเกสร ด้วงชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและไม่ทำอันตรายต่อต้นปาล์ม พบว่าให้ผลเป็นที่น่าพอใจจากการสังเกตเต็มวัยมีความไวต่อกลิ่นของดอกตัวผู้มาก การช่วยผสมเกสรเกิดจากละอองที่ติดตามลำตัวเมื่อไปตอมดอกตัวเมียในช่วงระยะหนึ่ง ทำให้ละอองตกบนดอกตัวเมีย เกิดการผสมพันธุ์ การติดผลต่อทะลายก็เพิ่มมากขึ้น


   

           ดอกตัวเมีย                                                   ดอกตัวผู้



    

        แลกเปลี่ยนเรียนรู้ใต้ร่มปาล์ม                      ต้นปาล์มน้ำมันที่สมบูรณ์(อายุ๕ ปี)


                    ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสวนปาล์มน้ำมันของคุณชูชัย กลิ่นเกษร ในครั้งนี้ ทางทีมงานก็ได้เรียนรู้การดำรงชีวิตของด้วงงวงดอกปาล์มน้ำมันในสวนปาล์ม การติดผลดกของปาล์มน้ำมันส่วนหนึ่งเกิดจากมีแมลง(ด้วงงวงดอกปาล์มน้ำมัน)ช่วยผสมเกสรให้แมลงนี้มีช่วงชีวิตอยู่ ๓o วันซึ่งจะบินเร่ร่อนในสวนปาล์มน้ำมันซึ่งจะกัดกินดอกเพศผู้ของปาล์มน้ำมันเป็นอาหาร แต่ด้วยการมองไม่แม่นยำหรือเข้าใจผิด ไปสัมผัสดอกเพศเมียอยู่บ่อย ๆจึงกลายเป็นตัวช่วยผสมเกสรในช่วงที่ดอกต่างบานเต็มที่ดอกเพศผู้จะทำให้กลิ่นของเกสรฟุ้งกระจายมากทำให้มีด้วงงวงจำนวนมากบินมาเยี่ยมเยือนที่ต้นปาล์มน้ำมันเหล่านั้นยามเมื่อเราเดินเข้าไปใกล้ต้นปาล์มน้ำมันก็จะได้รับกลิ่นหอมของเกสรปาล์มเช่นกัน


                    ณ.ปัจจุบันก็พบว่ามีเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมันเกือบจะทุกสวนให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ด้วงงวงดอกปาล์มน้ำมันให้มีอยู่ในสวนปาล์มอย่างต่อเนื่องนั่นเองครับ


เขียวมรกต

๒o ธค.๕๕






หมายเลขบันทึก: 512791เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2013 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

  • ขอบคุณ tuknarak
  • ที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจกันเสมอมา

  • ขอบคุณ เมืองน่ารัก
  • ที่แวะมาเยี่ยมและให้กำลังใจ
  • ยินดีครับ

  • ขอบคุณ KRUDALA
  • ที่มาแวะเยี่ยมและให้กำลังใจเสมอมา

  • เป็นความรู้ใหม่..ที่เพิ่งทราบว่า ด้วงงวงช่วยผสมเกสร
  • ขอบคุณขอบคุณ

  • ขอบคุณท่านอาจารย์สามสัก
  • ที่แวะมาทักทายกันเสมอมา
  • ด้วงงวงดอกน้ำมันปาล์มนี้ น่าจะเป็นแมลงที่มีประโยชน์เฉพาะสวนปาล์ม
  • ตัวเล็กๆ รูปร่างคล้ายมอดข้าวสาร
  • ความจริงมีความตั้งใจจะถ่ายรูปด้วงงวงนี้มาให้ชม แต่กล้องผมจับภาพไม่ได้
  • หากมีโอกาสจะนำภาพมาให้ชมกันชัดๆนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท