498. "คิดดี" เขย่าโลกได้ (ในสิบปี)


“คิดดีๆทำให้เกิดจินตนาการดีๆ 

จินตนาการดีๆก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงดีๆครับ”

คุณว่าจริงไหมครับ

ลองพิสูจน์กันนะครับ

ระยะหลังๆนี้ผมชอบได้ยินคำ “คม” ที่บาดหู บาดใจยิ่งที่แพร่สะพัดอยู่ในสังคมไทย นั่นคือ “โกงไม่เป็นไร ขอให้เราได้ประโยชน์บ้างก็พอ” ประมาณว่า “โกงแต่ทำ” ครับ เราเห็นคำพูดนี้เด่นขึ้นมากเรื่อยๆ จนชี้นำอะไรบางอย่างไปแล้ว เราไม่ค่อยได้ยินคำพูดว่า “ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” ครับ สิ่งที่ผมอยากบอกคือ ไม่ต้องพิสูจน์กันหรอกครับ ในระยะยาวแล้ว เห็นประเทศไหนบ้างที่มีแนวคิดแบบนี้ แล้วเจริญ ประสบความสำเร็จ เป็นมหาอำนาจ ไม่ต้องเป็นมหาอำนาจทางทหาร หรือการเมืองก็ได้ครับ เอาแค่เจริญทางเศรษฐกิจจริงๆ ก็เถอะ อาจเห็นสีสันวูบวาบ แต่ที่สุดก็ดับสูญ เหมือนกับอาณาจักรโรมันที่เคยเจริญเป็นเจ้าโลก แต่ระยะหลังผู้ปกครองบอกว่า ถ้าเราจะทำให้ประชาชนสงบ ไม่เกิดความวุ่นวาย ต้องให้ Bread and Circus (เบรดแอนด์เซอร์คัส - ขนมปัง และการแสดง เช่นกลาดิเอเตอร์)  ที่สุดคุณก็จะเห็นความล่มสลายตามมา

มาดูทางสร้างสรรค์ครับ ดูประโยคนี้ครับ 



นี่คือแนวคิดของผู้ว่าการนครหลวงโบโกต้าของประเทศโคลอมเบียร์ เป็นไงครับ น่าทึ่งประเทศที่ดูมีปัญหายาเสพติด ที่นี่มีชื่อเสียงเรื่องการเป็นต้นคิดเรื่องระบบขนส่งมวลชนที่สร้างสรรค์ที่สุดของโลก  คืออะไรครับ เมื่อหลายปีก่อน จำได้ครับ เคยอ่านข่าวเขาครับ ว่าประเทศนี้อยากพัฒนา อยากมีรถไฟฟ้า อย่างประเทศที่เจริญแล้ว แต่ไม่มีงบประมาณครับ เขาก็มานั่งคิดกันว่าจะทำอย่างไร ที่สุดก็ตกลงไม่ใช้รถไฟฟ้า แต่ใช้ระบบของรถไฟฟ้าแทน ก็ง่ายๆครับ รถไฟฟ้ามีทางเฉพาะของมัน และมาตรงเวลา แค่นี้แหละครับ เริ่มเลย เขาจัดการแบ่งเส้นทางตามแบบรถไฟฟ้า เป็นสีแดงสีน้ำเงินแบบบ้านเรานี่แหละ จากนั้นก็บริหารจัดการสับหลีก จัดระบบให้รถเมล์สามารถไปถึงป้ายถัดไปได้ตรงเวลา ที่สำคัญยังทำการเชื่อมต่อกับทางจักรยาน และทางรถยนต์ให้ทางพวกนั้นเป็นระบบป้อนผู้โดยสาร (Feeding System ฟีดดิ้ง ซิสเต๊ม) ที่สุดระบบนี้เมื่อเดินเต็มที่สามารถเป็นที่พึ่งของคนนับล้านๆ ที่สำคัญจุดประกายความคิดให้กับเมืองอื่นๆ เป็นต้นแบบ ตอนนี้โบโกต้าได้รับรางวัล ในฐานะเมืองที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่สุด ที่สามารถพัฒนาระบบการขนส่งแบบยั่งยืนได้ครับ


ประเด็นเรื่องนี้ไม่มีอะไรมากครับ ผมไม่ได้ชื่นชมระบบการขนส่งของเขาอย่างเดียว ผมชอบคำ “คม” ที่ดูบาดใจของเขาครับ เมื่อเทียบกับคำคมหลายๆ อย่างที่พูดตรงๆ เป็นมิจฉาทิฐิ ที่นอกจากไม่จุดจินตนการ ยังพิสูจน์ในระยะยาวไม่ได้ว่าดีจริงหรือไม่ เพราะไม่ใช่เดี๋ยวนี้ครับ ตลอดประวัติศาสตร์โลก ตั้งแต่ยุคโรมันแล้ว ก็ล่มสลายด้วยความคิดมักง่ายคล้ายๆกัน

จะว่าไปแนวคิดของผู้ว่าเมืองโบโกต้า ก่อให้เกิดเรื่องดีๆ นวัตกรรมแบบยั่งยืน และประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรม เป็นต้นแบบที่กล่าวขวัญถึงแม้กระทั่งในโลกตะวันตก นี่ใช้เวลาไม่ถึง 20 ปีครับ อะไรดีๆ จะดึงดูดคนดีๆ มาช่วยสานฝันต่อ อะไรโง่ๆก็จะดึงดูดคนบ้าๆ คนโลภ คนเค็ม เข้ามาต่อยอดกลายเป็นความหายนะได้เช่นกัน ช่วยกันหาเรื่องราวดีๆ ความคิดดีๆ มาพูดกันนะครับ 

เอาหล่ะครับ มันเกี่ยวอะไรกับ Appreciative Inquiry หรือ AI ที่ผมเขียนมันมาจะห้าร้อยตอนแล้ว เกี่ยวครับตรงๆ เพราะศาสตราจารย์เดวิด นั้นได้สังเคราะห์ทฤษฎีอะไรก็ตามที่เป็นบวก ส่วนใหญ่เป็นจิตวิทยาบวก แต่มีทฤษฎีหนึ่งครับ ที่ท่านไปอ่านมานั่นคือ Cultural Vitality (คัลเจอร์ราล ไวทาลิตี้) ประมาณว่านักคิดท่านหนึ่งคือ Polak หรือพอลแล๊ก (ดู The Image of the Future  เดิมเป็นหนังสือ ตอนนี้มีเป็น PDF ดึงมาดูได้ฟรีเลยครับ) ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของอาณาจักรสำหคัญในโลกเช่นกรีก โรมัน ท่านค้นพบว่าก่อนที่อาณาจักรสองอาณาจักรจะเจริญ ท่านค้นพบว่าคนในสังคมเห็น "ภาพ" ที่ดีของอาณาจักร คนส่วนใหญ่ต่างเต็มไปด้วยความหวัง จินตนาการ ความคิดดีๆ ที่สุดก็สามารถสร้างสรรค์อะไรดีๆ จนอาณาจักรเจริญรุ่งเรือง แต่พออาณาจักรรุ่งเรือง คนกับเริ่มคิดไม่ดี เห็นแต่เรื่องไม่ดี กลายเป็นว่ามีแต่คนจิตนาการอะไรที่ไม่เข้าท่าจากเคยคิดอะไรได้ เลยเริ่มคิดอะไรไม่ออก จนในที่สุดอาณาจักรเริ่มเสื่อมและล่มสลายในที่สุด 


(ศาสตรจารย์เดวิด ผู้คิดค้น AI กับผมเองที่งาน The First AI Summit in Thailand ระหว่างวันที่ 28-29 กพ. 55)

ศาสตราจารย์เดวิด ผู้คิดวิชา AI ที่สุดแล้วจึงสังเคราะห์ทฤษฎีนี้และทฤษฎีจิตวิทยาบวกอีกหลายทฤษฎี จนกลายมาเป็นทฤษฎีพื้นฐานของ AI นั่นคือ Positive Image Positive Action (โพสิทีพ อิมเมจ โพสิทีฟ แอ็กชั่น) หรือ "ภาพเชิงบวก ส่งผลให้เกิดการกระทำเชิงบวก" 


ชัดไหมครับว่ากรณีแรก ไม่เกิดภาพอะไรดีๆ ขึ้นเลย ทำให้เราไม่มีวันจะเจออะไรที่เป็นบวก ที่จะส่งให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ อะไรขึ้นมาอย่างยั่งยืนได้ ส่วนกรณีที่สอง ในประเทศที่เต็มไปด้วยอาชญากรรม มีปัญหาเศรษฐกิจ ด้อยความรู้ยิ่งกว่าบ้านเรา หากแต่มีคนคิดดี แล้วพูดคำพูดดีๆ จนจุดประกายให้เกิดการเห็นภาพดีๆ และเกิดการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ขึ้นมาในที่สุด 


ปัจจุบันจึงมีคนนำ AI ไปพัฒนาเมือง เช่นกรณีของ Imagine Chicago อิมเมจิ้น ชิคาโก้ ก็เน้นการสร้างคำถามดีๆ เพื่อให้คนเกิดจินตนาการเห็นภาพดีๆ ครับ 


เพียงตั้งข้อสังเกต และเล่าให้ฟังเท่านั้น ลองพิจารณาดูนะครับ

 


หมายเลขบันทึก: 512773เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 10:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 13:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 แต่บ้านเรา.....มีแต่ .... คนแห่.....ชื้อรถ (ลดสมชื่อนะคะ) ..... จ่ายทั้ง  น้ำมัน  บำรุงรักษา  และถ้าโดนชนหรือไปชนเขาเข้า... ก็เดือดร้อนเข้าไปอีก ..... จริงๆๆแล้ว ... ถ้ามีบริการสาธารณะดีดี ..... คงไม่มีใครอยากขับรถนะคะ (ทั้งเครียด...เหนื่อย)  .... เหมือนญี่ปุ่นเขามีบริการดีดีนะคะ


วันนี้ไม่ยกตัวอย่างประเทศเจริญอย่างญี่ปุ่นครัยจริงๆ เอาโคลอมเบีย จะว่าไป Colombia ความเจริญนี่สู้ไทยไม่ได้เลยครับ ดีกว่าเขมรหน่อยหนึ่ง แต่แค่คิดดีๆ ไม่กี่คน ก็เขย่าโลกได้ครับ ในสิบปีเอง 

ตอนนี้ช่วยกันนะครับ ปล่อยความคิดดีๆ คำพูดดีๆ เข้าไปในสังคม ผมเชื่อว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครับ โคลอมเบียทำได้ ประเทศไทยก็ทำได้ครับ 




อาจารย์ครับ...อ่านแล้วมีประโยชน์และมองเห็นความคิดดีๆ มากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท