มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ความจริงแท้เรื่องรูปและนิพพาน


  โครงการธรรมศึกษาวิจัย

ที่มาจากหลักฐาน เรื่องรูปและนิพพาน

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐  พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

  การศึกษา ที่มาจากหลักฐานเรื่องรูปและนิพพาน ช่วยให้ผู้ศึกษาได้ทราบถึงความจริงในหลักธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ สร้างความลึกซึ้งการจะเข้าถึงธรรมได้อย่างดี เพราะใน  มีการแสดงเปรียบเทียบความจริงกับสิ่งปรากฏให้รู้ได้  เพื่อให้การศึกษา ที่มาจากหลักฐานเรื่องรูปและนิพพานเป็นอย่างเข้าใจ ผู้เขียนจึงสกัดเนื้อธรรม และภาษาให้เข้าถึงธรรมได้อย่างง่ายๆและไม่เสียเนื้อความ อันที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์นี้ สามารถสร้างเข้าใจได้อย่างง่ายขึ้นหนังสือนี้เชื่อว่าจะยังคุณประโยชน์ให้แก่ผู้อ่าน ด้วยผลแห่งกุศลที่ประสงค์จะดำรงพระสัทธรรมให้ดำรงคงมั่นในอยู่จิตใจชาวพุทธ สร้างเสริมปัญญาเป็นบารมี จงเป็นบุญญาบารมีให้บิดามารดาครูอาจารย์ญาติพี่น้องตลอดจนสหายธรรมทุกท่านเป็นผู้ดำรงคงมั่น ในสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และให้ศาสนาแห่งพระบรมศาสดาดำรงคงอยู่ตลอดกาลนาน เป็นแสงสว่างนำพาชีวิตของสรรพสัตว์ออกจากห้วงมหรรณพภพสงสารพ้นกองทุกข์กองโศกกองกิเลสเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต ด้วยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ

  ธีรเมธี

  ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

  มหาบัณฑิตพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

รูปปรมัตถ์

  ความหมาย

  รูปปรมัตถ์  คือ  รูปจริงที่มีอยู่จริงๆโดยสภาวะ  โดยธรรมชาติ  ใครได้เรียนรู้  ได้ศึกษา  ได้กระทบได้สัมผัส  จะมีความรู้สึกเหมือนกันหมด  เพื่อความเข้าใจง่ายและให้เห็นชัดระหว่างรูปปรมัตถ์กับรูปบัญญัติ  ดังตัวอย่างดังนี้

  ถ้าเราเอาไฟมาจี้ที่แขนของคน๕คนซึ่งเป็นชาติต่างๆ  ถามว่า  แต่ละคนจะมีความร้อนเหมือนกันหรือไม่  แน่นอนทุกคนจะมีความรู้สึกตรงกันเหมือนกัน  นั่นคือ  “จริงที่มีอยู่จริง”  ส่วนคำอุทานหรือคำที่พูดแสดงความรู้สึกออกมานั้นจะไม่เหมือนกัน  ถ้าเป็นคนไทยก็บอกว่าร้อน  ชาติอื่นๆก็ออกเสียงอุทานเป็นภาษาของชาติตนเอง

  ความรู้สึกที่เหมือนกันตรงนั่นแหละเป็น  “ปรมัตถ์”  ส่วนการสื่อสารความหมายออกมา  เป็นภาษาเสียงนั้นเป็น  “บัญญัติ”  และไฟที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นหนึ่งใน  รูปปรมัตถ์  คือ  เตโชธาตินั่นเองโดยจะมีธาตุอีก๓ชนิดประกอบได้แก่  ปฐวี  วาโย  อาโป  เป็น[1]

  รูปสังคหะ  (Analysis  of  matter)  คือ  รูปทั้งหลายสงเคราะห์เป็นหมวดไว้ในพระอภิธรรมปิฎกธรรมสังคณีปกรณ์รูปกัณฑ์มี๑๑หมวดเมื่อกล่าวโดยหัวข้อแล้วพระอนุรุทธาจารย์ท่านได้รจนาไว้ในพระอภิธัมมัตถสังคหะปริจเฉทที่๖สงเคราะห์ไว้เป็น๕นัย

 

ประเภทและความสำคัญของรูปในพระอภิธรรม

  สงเคราะห์รูป ๒๘ เป็น ๕ นัย ได้แก่

  นัยที่๑รูปสมุทเทส  เป็นการแสดงรูปธรรมโดยสังเขปเพื่อให้วิเสสลักษณะของรูปแต่ละรูป  เพื่อทราบถึงลักษณะ

  นัยที่๒รูปวิภาค  เป็นการแสดงรูปธรรมโดยพิสดารโดยจำแนกเป็นพวกๆ

  นัยที่๓รูปสมุฎฐาน  เป็นการแสดงสมุฎฐาน๔ที่ให้เกิดรูป

  นัยที่๔รูปกลาป  เป็นการแสดงรูปที่รวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนมีจักขุเป็นต้น

  นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมะ เป็นการแสดงการเกิดดับหรือความเป็นไปของรูปธรรม โดยความเป็นไปของรูปธรรม โดยความแตกต่างกันแห่งภพ กาล ภูมิ จะขอยกตัวอย่างเพียงนัยที่ ๑ เท่านั้น คือ

  นัยที่๑รูปสมุทเทส (Enumeration of matter) คือรูปธรรมมี๑๑ประเภทรวมมี๒๘รูป

  ประเภทของรูป  จำนวนรูป

๑.  มหาภูตรูป๔ได้แก่    ๑. ปฐวีคือธรรมชาติที่ทรงภาวะความแข็งหรืออ่อน

  ๒. อาโปคือธรรมชาติที่ทรงภาวะเกาะกุมหรือไหล

  ๓. เตโชคือธรรมชาติที่ทรงภาวะการร้อนหรือเย็น

  ๔.วาโยคือธรรมชาติทรงภาวะไหว, การเคร่งตึง

๒. ปสาทรูป๕ได้แก่    ๕. จักขุปสาทรูปคือประสาทตาเป็นที่ตั้งแห่งจักขุวิญญาณ

  ๖. โสตปสาทรูปคือประสาทหูเป็นที่ตั้งแห่งโสตวิญญาณ

  ๗. ฆานปสาทรูปคือประสาทจมูกเป็นที่ตั้งแห่งฆานวิญญาณ

  ๘. ชิวหาปสาทรูปคือประสาทลิ้นเป็นที่ตั้งแห่งชิวหาวิญญาณ

  ๙. กายปสาทรูปคือประสาทกายเป็นที่ตั้งแห่งกายวิญญาณ

๓.  โคจรรูป๔  ได้แก่๑๐. วัณณะคือสีที่กระทบจักขุปสาทรูปจึงเกิดจักขุวิญญาณ

      ๑๑. สัททะคือเสียงที่กระทบโสตปสาทรูปจึงเกิดโสตวิญญาณ

      ๑๒. คันธะคือกลิ่นที่กระทบฆานปสาทรูปจึงเกิดฆานวิญญาณ

๑๓. รสะคือรสที่กระทบชิวหาปสาทรูปจึงเกิดชิวหาวิญญาณ

๔.  ภาวรูป๒ได้แก่ 

๑๔. อิตถีภาวรูปคือรูปที่แสดงให้รู้สภาพความเป็นหญิง

๑๕. ปุริสภาวรูปคือรูปที่แสดงให้รู้สภาพความเป็นชาย

หทยรูป

๑๖.  หทยรูปคือน้ำเลี้ยงหัวใจโตเท่าเมล็ดบุนนาคอยู่ภายในเนื้อหัวใจ

ชีวิตรูป 

๑๗. ชีวิตรูปคือรูปที่รักษากัมมชรูปให้ดำรงอยู่

.  อาหารรูปได้แก่ 

๑๘ อาหารรูปหรือโอชาคือกพฬีการาหาร(คำข้าว)

.  ปริเฉทรูป  ได้แก่ 

๑๙ ปริเฉทรูปหรือกาสรูปคือช่องว่างระหว่างรูปกับรูป

.  วิญญัติรูป  ได้แก่  

  ๒๐ กายวิญญัติรูปคือการไหวกายให้ผู้อื่นรู้ความหมาย

      ๒๑. วจีวิญญัติรูปคือการกล่าววาจาให้ผู้อื่นรู้ความหมาย

๑๐.  วิการรูป  ได้แก่   ๒๒. ลหุตารูปคือรูปที่มีความเบาเป็นลักษณะ

      ๒๓.  มุทุตารูปคือรูปที่มีความอ่อนเป็นลักษณะ

      ๒๔.  กัมมัญญตารูปคือรูปที่มีการควรของสิ่งมีชีวิต

๑๑.  ลักขณรูป๔ได้แก่  ๒๕. อุปจยรูปคือรูปที่เกิดขึ้นในขณะแรกที่ปฎิสนธิ

      ๒๖. สันตติรูปคือรูปที่เจริญขยายตัวสืบต่อแห่งรูป

    ๒๗. ชรตารูปคือรูปที่เสื่อมโทรมแก่คร่ำคร่า

    ๒๘. อนิจจตารูปคือรูปที่แตกดับสูญสิ้นไป

  ตั้งแต่ปสาทรูปถึงลักขณรูปมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าอุปาทายรูป๒๔

  ตั้งแต่มหาภูตรูปถึงอาหารรูปมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่านิปผันรูป๑๘

  ตั้งแต่ปริจเฉทรูปถึงลักขณรูปมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าอนิปผันรูป๑๐

  ส่วนรูปที่ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้เรียกว่าอวินิพโภครูป๘ได้แก่ปฐวี, อาโป,เตโช,วาโย, วัณณะ,คันธะ,รสะ,โอชา, และปฐวี,เตโช,วาโย,วัณณะ,สัททะ,คันธะ,รสะ,เรียกวิสยรูป๗วิสยรูป๗กับปสาทรูป๕รวมเป็น๑๒เรียกโอฬาริรูป๑๒ส่วนรูปที่เหลืออีก๑๖รูปเป็นรูปที่ละเอียดเรียกว่าสุขุมรูป๑๖ไม่สามารถจะรู้ได้ทางปัจจทวาร (คือตาหูจมูกลิ้นกาย ) เพราะรู้ได้ทางมโนทวาร (คือทางใจ) นอกจากนี้ยังเรียกว่าทุเรรูปคือรูปไกลหรืออัปปฎฆรูปคือรูปที่กระทบไม่ได้ได้แก่อาโปอิตถีภาวปุริสภาวหทยชีวิตอาหารปริจเฉทกายวิญญัติวจีวิญญัติลหุตามุทุตากัมมัญญตาอุปจยสันตติชรตาอนิจจตา

  ..บทวิเคราะห์ความหมายและความสำคัญในพระอภิธรรม

 

  หลักพระอภิธรรมล้วนว่าด้วยรูป

  รูปที่มีอยู่ในวิทยาการทางโลก  โดยเฉพาะวิชาฟิซิกส์ศึกษาเรื่องสสารและพลังงานแม้จะเป็นวิทยาการที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์เราแต่ยังเป็นความรู้โดยอ้อมไม่ใช่เป็นความรู้โดยตรงเพราะยังไม่สามารถจะเข้าถึงสภาวะแก่นแท้ของรูปได้และยังมิได้เป็นไปเพื่อความสุขที่แท้จริงของชีวิตอย่างจริงจังผิดกับวิทยาการเรื่อง “รูป” ที่มีอยู่ในพระอภิธรรมซึ่งเป็นวิทยาการเพื่อความพ้นทุกข์ของชีวิตอย่างแท้

จริง  เป็นการเสริมความเข้าใจในเรื่องสสารและพลังงานในทางโลกให้กระจ่างยิ่งขึ้นด้วย

  มีวิทยาการว่าด้วยเรื่อง “รูป” หลายเรื่องที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเปิดเผยนักวิทยาศาสตร์ปุถุชนทางโลกได้ค้นพบภายหลังเช่นความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของรูปที่มีชีวิตโลกกลมไม่ใช่โลกแบนโลกไม่ใช้ศูนย์กลางของจักรวาลเรื่องของสสารและพลังงานเป็นต้น

  นอกจากนั้นพระพุทธองค์ยังทรงประทานให้เราทราบถึงความรู้เรื่องรูปที่นักวิทยาศาสตร์ปุถุชนทางโลกยังค้นไปไม่ถึงเช่นรูปอันเกิดจากอำนาจกรรมในอดีตรูปละเอียดที่ตาเปล่าของมนุษย์มองไม่เห็นซึ่งเป็นร่างกายของสัตว์นรกเปรตตลอดจนเทวดา  พรหมเป็นต้นและที่สำคัญที่สุดในบรรดาความรู้เรื่องรูปเป็นไปเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง

รูปคืออะไร

  ๑. รูปในความหมายของ “สมมติสัจจะ” คือความจริงตามสมมุติของชาวโลกเช่นรูปร่างพระสงฆ์๙รูปเป็นต้น

  ๒. “รูปในความหมายของ “ปรมัตถสัจจะ” คือความจริงที่เข้าถึงสภาวแก่นแท้ของธรรมชาติเป็นความจริงขั้นสูงสุดพระพุทธองค์ทรงให้ความหมายของ “รูป” ไว้ว่ารูปคือธรรมชาติที่ผันแปรแตกสลายไปด้วยความร้อนหรือความเย็นพิเศษ( รุปปนลกขณํ)

  รูปเป็นหนึ่งในปรมัตถธรรมทั้ง๔อันได้แก่จิตปรมัตถ์เจตสิกปรมัตถ์รูปปรมัตถ์และนิพพานปรมัตถ์

ตัวอย่างเรื่อง ปรมณู

  คำว่า “ปรมณู” คนเราทั่วไปมักเข้าใจว่าเป็นคำของวิทยาศาสตร์ทางโลกเขาความจริงแล้วคำนี้เป็นคำของพุทธศาสนาและนักวิทยาศาสตร์ทางโลกเอาไปใช้ต่างหาก

  หากพิจารณาตามศัพธ์ของคำว่า “ปรมณู” มาจากคำ๒คำคือปรม+อณูอณูคอรูปที่เล็กละเอียดส่วนคำว่า “ปรม”  ในที่นี้คืออย่างยิ่งรวมความว่า “ปรมาณู” หมายถึงสิ่งที่เล็กละเอียดอย่างยิ่งแบ่งเป็น๒ประเภทคือ

  ๑. ปรมาณูในทางโลกหรือทางวิทยาศาสตร์

  ๒. ปรมาณูในทางพุทธศาสนา

  อธิบายได้ดังนี้

    ๑. ปรมาณูในทางโลกประกอบด้วยอีเล็คตรอน (Electron) โปรตอน (Protron) และนิวตรอน (Newtron)  โดยที่อีเล็คตรอนซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบวิ่งรอบๆนิวเคลีย (Nucleus ) ซึ่งประกอบด้วยโปรตรอนและนิวตรอนโปรตรอนมีประจุไฟฟ้าบวกส่วนนิวตรอนเป็นกลางคือไม่มีประจุไฟฟ้าบวกหรือลบ

  นักวิทยาศาสตร์ปุถุชนทางโลกถือว่าทุกปรมณูไม่อยู่คงที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่มีเสถียรภาพ (Unstability)  ซึ่งเข้าหลักอนิจจังในทางพระพุทธศาสนา

  ทางธรรม  ทางโลก  ปรมาณู

  ปรมาณู 

 



  อวินิพโภครูป 

นิวเคลียส

เมื่อก่อนทางโลก  เขาถือว่าปรมาณูหรืออะตอมดังกล่าวไม่สามารถแยกออกไปได้  แต่ต่อมามีการทดลองพิสูจน์  เรื่องของระเบิดปรมาณูหรือนิวเคลียร์  ซึ่งเกิดจากการแยกตัวขององค์ประกอบปรมาณูนี้  เพราะเมื่อปรมาณูแยกตัวออก  ก็จะมีพลังงานที่มีปฏิกิริยาลูกโซ่ (chain  reaction)  อันเป็นพลังงานนิวเคลียร์

  ๒. ปรมาณูในพระพุทธศาสนา  ใน๑ปรมาณูมีขนาด๑ในแปดสิบสองล้าน  สามแสนหนึ่งพัน  หนึ่งร้อย  แปดสิบสี่ส่วนของเมล็ดข้าวเปลือก  ด้วยเหตุนี้  หนึ่งปรมาณูมีขนาดเล็กมากๆสัมผัสกายก็ไม่ได้  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  เพราะแสงไม่สามารถสะท้อนให้มากระทบกับตาเรา  เพื่อเกิดการเห็นได้  ในหนึ่งปรมาณูนี้  ยังมีรูปปรมัตถ์ต่างๆประชุมกัน

มีข้อหน้าสังเกตว่า  รูปร่างของสัตว์นรก  เปรต  เทวดา  พรหม  ซึ่งทางธรรม  เรียกว่า”โอปปาติกะ”เป็นร่างกายปรมาณู  คือ  ร่างกายละเอียด  มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น  แต่รู้ได้ทางใจ  โดยผ่านสมาธิ  หรือการสะกดจิต

หนึ่งปรมาณูในพระพุทธศาสนาดังกล่าวยังสามารถแบ่งย่อยลงไปอีกจนไปเจาะถึงสถาวะแก่นแท้ของปรมัตถ์  และจะมีกลุ่มรูปปรมัตถ์ให้ออกจากกันได้กลุ่มรูปปรมัตถ์เล็กที่สุด  และไม่สามารถแยกออกจากกันได้นี้ทางธรรมเรียกว่า “อวินิพโภครูป”ซึ่งมีรูปปรมัตถ์ 8 รูป  คือ  ปฐวี  อาโป  เตโช  วาโย  วรรณะ  รสะ  โอชะ  และ  คันธะ  ไม่ว่ารูปใดๆต้องมี  อวินิพโภครูป  เป็นส่วนเล็กที่สุดประกอบด้วยเสมอ

รูปปรมัตถ์ประชุมกันอย่างไร

ไม่มีรูปปรมัตถ์ประเภทใดประเภทหนึ่ง  ที่จะอยู่โดดเดี่ยวลำพัง  โดยไม่อยู่รวมกับรูปปรมัตถ์ประเภทอื่นๆ

รูปปรมาณูต่างๆมาประชุมกัน  จึงทำให้มีสิ่งของต่างๆในโลก

การประชุมของรูปปรมัตถ์ที่เป็นกลุ่มๆแต่ละกลุ่มทางธรรมเรียกว่า”กลาปะ”ลักษระของรูปกลาปะหรือกลุ่มรูป  คือ  เกิดพร้อมกัน  และอยู่ที่เดียวกัน  การประชุมของกลุ่มรูปปรมัตถ์เหล่านี้  เป็นรูปหยาบ  คนเราทั่วไปมักคุ้นเคย  ยังมีกลุ่มรูปแต่ละกลุ่มที่ละเอียดอ่อน  ที่สัมผัสกายไม่ได้  ตาเปล่าก็มองไม่เห็น  เมื่อกลุ่มรูปละเอียดเหล่านี้มาประชุมกันซึ่งไม่เบียดเสียดหนาแน่นเหมีอนกลุ่มที่เรามองเห็น  ในกรณีนี้คนเราทั่วไปไม่คุ้นเคย  นักวิทยาศาสตร์ปุถุชนทางโลก  ก็ยังไม่คุ้นเคย  คุ้นเคยแต่รูปกายที่หยาบ  ผิดกับพุทธวิทยาศาสตร์ของพระพุทธองค์ผู้มีพระสัพพัญญุตญาณได้อธิบายการประชุมของกลุ่มรูปปรมัตถ์ที่หยาบและละเอียด

กลุ่มรูปต่างๆที่มาประชุมกัน  ไม่ติดกันเป็นพืด  แต่มีช่องว่าง  ระหว่างกลุ่มรูปที่ทางธรรมะเรียกว่า “ปริจเฉทรูป” ซึ่งเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ได้คนพบภายหลัง

รูปเกิดจากอำนาจอะไร

รูปปรมัตถ์มาจาก๔สมุฎฐานดังนี้คือ

  ๑.  เกิดจากอำนาจกรรม  (กัมมชรูป)  เช่น  ประสาท  ตา  ประสาทหู  ประสาทจมูก  ประสาทลิ้น  ประสาทกาย  หทยวัตถุ  อันเป็นที่ตั้งของจิตต่างๆรูปที่แสดงความเป็นเพศหญิงหรือชายเป็นต้น

  ๒. เกิดจากอำนาจจิต  (จิตตชรูป) เช่น  เสียงพูด  สีหน้าท่าทาง  รูปยืน  รูปเดิน  รูปนั่ง  รูปนอน  ลมหายใจเข้าออก  เป็นต้น

  ๓.  เกิดจากอำนาจอาหาร  (อาหารชรูป)  อาหารที่เรารับประทานสามารถทำให้เกิดรูปอันเกิดจากอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายของเราให้ดำรงอยู่ได้  เป็นต้น

  ๔.  เกิดจากอำนาจอุตุ  (อุตชรูป)  อุตุคือความร้อนหรือความเย็น  อุตุนี้สามารถทำให้เกิดรูปต่างๆเช่นเป็นไข้ตัวร้อน[2]

รูปกับนาม

  ความสัมพันธ์กันระหว่างรูปกับนาม

  เมื่อประกอบรวมอะไหล่อุปกรณ์เครื่องยนต์ต่างๆเข้าด้วยกันการเรียกว่า”รถ” ย่อมมีได้ฉันใด  เมื่อรวมองค์ประกอบต่างๆคือรูปเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณเข้าด้วยกัน  การบัญญัติเรียกว่า”คนหรือสัตว์” ย่อมมีได้ฉันนั้น[3]เหมือนกับการบัญญัติเรียกว่า”คนหรือสัตว์”เป็นสิ่งที่เกิดจากส่วนประกอบ๕อย่างเรียกว่าเบญจขันธ์หรือขันธ์๕  องค์ประกอบของขันธ์๕นั้น[4]มีคำอธิบายดังนี้

  . รูปขันธ์คือส่วนที่เป็นรูปทั้งหมดได้แก่มหาภูตรูป๔

และอุปาทายรูป๒๔คำว่ารูปนั้นหมายถึงสิ่งที่เสื่อมสลายผุพังแตกดับด้วยความร้อนความเย็นเป็นต้นรูปทั้งหมดแยกอธิบายโดยสังเขปได้

ดังนี้คือ

  ๑) มหาภูตรูป๔  คือรูปที่สามารถแปรสภาพเป็นสิ่งต่างๆได้อีกมากมาย  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าธาตุ๔ได้แก่ปฐวีธาตุอาโปธาตุเตโชธาตุวาโยธาตุ

  ๒) อุปาทายรูป  (รูปอาศัยหรือรูปที่สืบเนื่องมาจากมหาภูตรูปคือเป็นรูปส่วนย่อยที่มีองค์ประกอบของธาตุ๔รวมอยู่ด้วย) มี๒๔รูปคือ

  - ประสาทรูปทั้ง๕คือตาหูจมูกลิ้นกาย (จักขุปสาทโสตปสาทฆานปสาทชิวหาปสาทและกายปสาท)

  - โคจรรูปหรือวิสยรูป(อารมณ์) ๔คือรูปเสียงกลิ่นรส (โผฎฐัพพะไม่นับเพราะตรงกันกับปฐวีธาตุเตโชธาตุและวาโยธาตุ)

  - อิตถีภาวะความเป็นหญิงที่มีอยู่ทั่วร่างกาย (สมัยปัจจุบันเทียบได้กับโครโมโซม x)

  - ปุริสภาวะความเป็นชายที่มีอยู่ทั่วร่างกาย (สมัยปัจจุบันเทียบได้กับโครโมโซม y)

  - ที่ตั้งของวิญญาณ (หทัยวัตถุ)[5]

  - การแสดงให้รู้ความหมายทางกายเช่นคำพูดสนทนาเป็นต้น (วจีวิญญัติ)

  - ชีวิตินทรีย์ (ส่วนที่เชื่อมโยงรูปต่างๆให้รวมกันไม่ให้กระจัดกระจาย)

  - ปริเฉทรูป (ช่องว่างที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกายเช่นช่องหูเป็นต้น)

  - ความเบาของรูป (รูปสฺสสหุตา) ความยืดหยุ่นของรูป (รูปสฺสมุทุตา) ภาวะที่ควรแก่การงานของรูป (รูปสฺสสนฺตติ) ความเสื่อมตัว (ชรตา) ความสลายตัว (อนิจฺจตา) และอาหาร (หมายถึงโอชาที่เซลล์ดูดกินเข้าไป)



[1] สรรค์ชัย  พรหมฤาษีเอกสารประกอบการเรียนพระอภิธรรมทางไปรษณีย์  บทที่  ๑๔  ปริเฉทที่ ๖  รูปปรมัตถ์, (กรุงเทพฯ : เอกสารคอมพิวเตอร์ , ๒๕๓๗) , หน้า ๑-๓.

[2]  วินัย  อ.ศิวะกุล  พุทธวิทยาศาสตร์ประยุกต์  เพื่อความสุขขั้นสูงสุดของชีวิต  คู่มือการศึกษาพระอภิธรรมประยุกต์,พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สุทธิสารการพิมพ์ ,๒๕๒๙), หน้า  ๑๗๕-๒๑๘

[3] แก้วชาย ธรรมชัย,ปัญหาพระเจ้ามิลินทร์, หน้า ๔๓.

[4] ขันธ์ ๕ เป็นข้อธรรมที่ปรากฎใน ที.ปา.๑๑/๓๐๕/๒๖๘.,๒๑๒/๓๐๓. สํ.นิ. ๑๖/๑๖/๒๔.; สํ.สฬา. ๑๘/๒๗๐/๓๐๓.

[5] ดูรายละเอียดใน พระสัทธัมมโชติกะ ธัมมาจริยะ, ปรมัตถติกะ ปริเฉทที่๑-๒-๖จิต เจตสิก รูป นิพพาน,(กรุงเทพฯ:๒๕๓๖),หน้า ๗๕; บุญมี เมธางกูร,ชีวิตภายหลังความตาย,(กรุงเทพฯ:สุทธิสารการพิมพ์,๒๕๓๒),หน้า ๑๓๘-๑๔๖.

 

คำสำคัญ (Tags): #นิพพาน#รูปธรรม
หมายเลขบันทึก: 512768เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 10:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

  . เวทนาขันธ์[1]คือส่วนที่เป็นความรู้สึกเป็นธรรมชาติที่เสวยอารมณ์เช่นความรู้สึกสบายไม่สบายดีใจเสียใจหรือเฉยๆแบ่งเป็น๓คือสุข (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) ทุกข์ (ทางกายหรือทางใจก็ตาม) อทุกขมสุข (ไม่ทุกข์ไม่สุขคือเฉยๆ  บางทีเรียกว่าอุเบกขาอีกอย่างหนึ่งแบ่งเป็น๕คือสุข (ทางกาย) ทุกข์ (ทางกาย) โสมนัส (ดีใจ) โทมนัส (เสียใจ) อุเบกขา (เฉยๆหรือความรู้สึกธรรมดาไม่ประทับใจเป็นกลางๆ) แบ่งตามทางที่เกิดเป็น๖คือเวทนาเกิดจากสัมผัสทางจักขุ (ตา) ทางโสตะ (หู) ทางฆานะ (จมูก) ทางชิวหา (ลิ้น) ทางกาย (กาย) และทางมโน (ใจ)

  . สัญญาขันธ์ส่วนที่เป็นตัวกำหนดหมายทำให้รู้ถึงความต่างและความเหมือนกันในสิ่งที่สัมผัสว่าเป็นอรไรเช่นเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของว่ามีลักษณะอย่างไรดีหรือไม่ดีหอมหรือเหม็นเป็นของเราหรือของเขาเป็นต้นแบ่งเป็น๖ตามทางแห่งการรับรู้คือ[2]

  ๑. รูปสัญญาความหมายรู้รูปเช่นว่าสีดำสีแดงสีเขียวสีขาวอ้วนหรือผอมเป็นต้น

  ๒. สัททสัญญาความหมายรู้เสียงเช่นว่าดังเบาทุ้มแหลมเป็นต้น

  ๓. คันธสัญญาความหมายรู้กลิ่นเช่นว่าหอมเหม็นเป็นต้น

  ๔. รสสัญญาความหมายรู้รสเช่นว่าหวานเปรี้ยวขมเค็มเผ็ดเป็นต้น

  ๕. โผฏฐัพพสัญญาความหมายรู้ทางกายเช่นว่าอ่อนนุ่มแข็งหยาบกระด้างละเอียดร้อนเย็นอุ่นเป็นต้น

  ๖. ธัมมสัญญาความหมายรู้อารมณ์ทางใจเช่นว่าพอใจไม่พอใจงามน่าเกลียดเที่ยงไม่เที่ยงเป็นต้น

  . สังขารขันธ์ส่วนของเจตนาคือการปรุงแต่งอารมณ์หมายถึงธรรมชาติที่มีการประสมเป็นความคิดปรุงแต่งเกี่ยวกับอารมณ์นั้นๆหรือสิ่งต่างๆเช่นดีหรือไม่ดีชอบหรือไม่ชอบอยากได้หรือไม่อยากได้รักหรือเกลียดทั้งทางกายวาจาและทางใจ[3]

  .วิญญาณขันธ์ส่วนที่รู้อารมณ์หรือธรรมชาติที่รู้แจ้งอารมณ์ต่างๆเช่นเห็นรูปได้ยินเสียงเป็นต้น

  เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วขันธ์๕ย่อลงเป็น๒ส่วนคือรูปกับนามรูปเป็นฝ่ายวัตถุไม่สามารถรับรู้อารมณ์ต่างๆเช่นเห็นได้ยินเป็นต้นได้ส่วนเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณเป็นฝ่ายนามคือเป็นสิ่งที่รู้อารมณ์เช่นเห็นได้ยินเป็นต้นได้รูปเป็นธรรมชาติที่ไม่น้อมไปสู่อารมณ์ส่วนนามเป็นธรรมช่าติที่น้อมไปสู่อารมณ์ดังนั้นนามขันธ์๔คือเวทนาสัญญาสังขารและวิญญาณจึงมีธรรมชาติเป็นอย่างเดียวกันคือธรรมชาติเป็นตัวยืนหรือเป็นฐานทางเดินให้แก่นามขันธ์ที่เหลือคือเวทนาสัญญาและสังขารถ้าไม่มีวิญญาณแล้วเวทนาสัญญาและสังขารจะมีไม่ได้ในทำนองเดียวกันวิญญาณไม่อาจมีโดยไม่มีเวทนาสัญญาและสังขารวิญญาณไม่อาจดำรงรังอยู่อย่างเดี่ยวๆในรูปของเชิงเดี่ยวได้แต่ต้องมีเวทนาสัญญาและสังขารเข้าผสมการมองจากแง่นี้ทำให้เห็นว่าเวทนาสัญญาและสังขารเป็นลักษณะหรือคุณสมบัติของวิญญาณแต่ละลักษณะไป  เช่น  วิญญาณหรือจิตที่เสวยอารมณ์  มีสุขหรือมีทุกข์  จำอารมณ์  ปรุงแต่งอารมณ์  มีโกรธ  หรือ  มีเมตตา  เป็นต้นเพราะอาศัยการประกอบกันอย่างเหมาะสมของขันธ์ 5 นี้เองชีวิตจึงมีขึ้นได้องค์ประกอบของชีวิตเมื่อพูดอีกนัยหนึ่งก็คือกายและวิญญาณกายและวิญญาณนี้มีธรรมชาติแตกต่างกัน  กายไม่ใช่วิญญาณ  และวิญญาณไม่ใช่กาย

  แม้พระพุทธศาสนามีทัศนะว่า  กายและวิญญาณนั้นมีธรรมชาติเตกต่างกันก็จริง  แต่ถือว่ากายและวิญญาณทั้งสองนั้น  ต่างก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด  กล่าวคือ  ต่างก็อิงอาศัยเป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกันเป็นไป  เมื่ออย่างหนึ่งผิดปกติ  อีกอย่างก็ต้องพลอยผิดปกติไปด้วย  หรือถ้าฝ่ายหนึ่งถูกทำลาย  อีกฝ่ายก็ต้องถูกทำลายไปด้วยดังข้อความที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า “รูปและนาม(กายกับวิญญาณ) เป็นของคู่กันทั้งคู่อาศัยกันและกันเมื่ออย่างหนึ่งแตกสลายก็แตกสลายทั้งคู่ตามปัจจัย”[4]ตามข้อความนี้แสดงให้รู้ว่าทั้งกายและวิญญาณแม้จะไม่ใช่สิ่งเดียวกันแต่ก็เป็นปัจจัยของกัน  กายก็เป็นปัจจัยแก่วิญญาณ  วิญญาณก็เป็นปัจจัยแก่กาย  ทั้งสองอย่างไม่สามารถแยกออกจากกันได้  เพราะเมื่อกายมีปัญหาใช้การไม่ได้  วิญญาณก็ไม่สามารถอาศัยแสดงออกได้  หรือเมื่อวิญญาณดับ (เช่นตายจุติวิญญาณ)  ร่างกายก็ไม่สามารถสืบต่อไปได้  ดังข้ออุปมาที่ว่า “ไม้อ้อ 2 กำตั้งอยู่ได้เพราะต่างอาศัยซึ่งกันและกัน  ฉันใด  เพราะนามรูปเป็นปัจจัย  จึงมีวิญญาณเพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูปฯลฯ  ฉันนั้น  ไม้อ้อ 2 กำ  ถ้าเอาออกเสียกำหนึ่ง  อีกกำหนึ่งย่อมล้มถ้าดึงอีกกำหนึ่งออก  อีกกำหนึ่งก็ล้ม  ฉันใด  เพราะนามรูปดับ  วิญญาณก็ดับเพราะวิญญาณดับนามรูปก็ดับ

ฯลฯฉันนั้น[5]เปรียบเสมือนคนขับรถกับรถ  รถนั้นถ้าไม่มีคนขับก็ไม่สมารถจะขับเคลื่อนได้  หรือมีแต่คนขับไม่มีรถก็ไม่สำเร็จประโยชน์ต้องอาศัยทั้งคนขับรถและรถการไปสู่จุดหมายปลายทางจึงจะเป็นไปได้  ฉันใด  วิญญาณเปรียบเสมือนคนขับรถเปรียบเสมือนร่างกายก็ฉันนั้นเหมือนกัน

  แม้ว่าทั้งกายและวิญญาณอาศัยกันและกันจึงจะสามารถทำหน้าที่ต่างๆได้  แต่ถึงกระนั้น  วิญญาณก็มีอำนาจเหนือกายคือวิญญาณเป็นผู้สั่งการกายเป็นผู้ทำตามอำนาจของวิญญาณ

ดังนั้นร่างกายถ้าไม่มีวิญญาณอาศัยอยู่  กายย่อมดำรงอยู่ไม่ได้  ต้องตายและจะถูกทอดทิ้ง  เหมือนท่อนไม้ที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้  ดังพุทธพจน์ว่า

  อจิรํ  วตยํกาโย  ปฐวึ  อธิเสสฺสติ

  ฉุฑฺโฑ  อเปตวิญฺญาโณ  นิรตฺถํว  กลิงฺครํ

  ร่างกายนี้ไม่นานนัก  จักนอนทับถมแผ่นดิน

  เมื่อปราศจากวิญญาณแล้วก็ถูกทอดทิ้ง

  เหมือนท่อนไม้ใช้ประโยชน์ไม่ได้[6]

  ตามหลักพุทธพจน์นี้  จะเห็นได้ว่ากายจะดำรงอยู่ได้มีการเคลื่อนไหวอิริยาบถต่างๆได้  ก็ต่อเมื่อยังมีวิญญาณอาศัยอยู่  ถ้าไม่มีวิญญาณ  กายก็ไม่มีความหมายทำอะไรไม่ได้  มีแต่จะเน่าเปื่อยผุพังในที่สุด

รูปกับนามเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตคือ

  กายและวิญญาณหรือรูปและนามนี้จะดำรงอยู่ได้  ต้องได้รับอาหาร 4 หมายถึงเครื่องค้ำจุนชีวิตหรือปัจจัยหล่อเลี้ยงร่างกายและใจ  ทำให้เกิดกำลัง  ความสืบต่อ  เจริญเติบโต  และมีพัฒนาการได้[7]คือ

  ๑.กวฬิงการาหาร  อาหารหยาบที่บริโภคเป็นคำๆหมายถึงอาหารสามัญที่บริโภคกันโดยทั่วไปเช่นข้าวเนื้อผลไม้เป็นต้น  โอชะของอาหารก็จะถูกดูดซึมเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย

  ๒. ผัสสาหาร  อาหารคือผัสสะ  ได้แก่  การบรรจบแห่งอายตนะภายในคือตาหูจมูกลิ้นกายและวิญญาณ  อายตนะภายนอกคือรูปารมณ์  สัททารมณ์  คันธารมณ์  รสารมณ์  โผฎฐัพพารมณ์  และธรรมารมณ์  การรับรู้อารมณ์ก็จะเกิดขึ้นตามทวารนั้นๆ  และเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา  พร้อมทั้งเจตสิกทั้งหลายเกิดขึ้นตามมา  สิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้วิญญาณแสดงบทบาทออกมาทางกายวาจา  และใจ

  ๓. มโนสัญเจตนาหาร  คือ  ความมุ่งหวังความจงใจ  หรือเจตนา  อันเป็นปัจจัยของการคิดพูดทำซึ่งเรียกว่ากรรม  เป็นตัวชักนำมาซึ่งภพ  คือให้เกิดปฏิสนธิในภพทั้งหลายมโนสัญเจตนาหาร  เป็นความตั้งใจที่อยากจะมีชีวิตอยู่  ความตั้งใจนี้  ทำให้การมีภพชาติไม่มีสิ้นสุด  และเป็นพลังผลักดันให้กระทำสิ่งต่างๆในชีวิต  ความสำเร็จต่างๆ  ก็เป็นผลมาจากอาหารชนิดนี้

  ๔. วิญญาณาหาร  คือวิญญาณที่เป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป  เป็นผู้วางรากฐานให้กับชีวิตในทุกชาติที่เกิด  และเป็นตัวทำให้เกิดความรู้สุขทุกข์และไม่สุขไม่ทุกข์  และมีความเกี่ยวเนื่องกับปัญญาอย่างใกล้ชิดจนไม่สมารถแยกออกจากกันได้

  กวฬิงการาหารทำให้ร่างกายทรงตัวอยู่ได้ผัสสาหารทำหน้าที่ให้วิญญาณเกิดยึดเหนี่ยวให้มีความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อบรอบตัว  มโนสัญเจตนาหาร  ความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวเป็นแรงผลักดันอย่างสำคัญ[8]ทำให้เกิดเจตนา  คือการปรุงแต่งอารมณ์ทางใจ  เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น  หรือเลวลง  ซึ่งการกระทำที่ทำให้มีการสืบต่อชีวิตอันเนื่องมาจากกรรม  และวิญญาณหารเป็นตัวทำให้เกิดการรับรู้ต่างๆ  วิญญาณกับร่างกายมีหน้าที่แตกต่างกัน  แต่จะประสานกันทำให้มีองค์กรรมเป็นหน่วยเดียวกัน  เมื่อไม่มีสติปัญญารู้เท่าทันกระบวนการการเกิดขึ้นของนามรูปตามความเป็นจริง ก็จะทำให้เกิดอวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน และกรรมอันเป็นเหตุปัจจัยทำให้ชีวิตนี้เวียนว่ายตายเกิดไม่สิ้นสุด และเมื่อมีองค์ประกอบครบทั้ง  4  การเป็นไปแห่งนามรูป(กายและวิญญาณ)ย่อมทรงตัวอยู่ได้เพราะสิ่งเหล่านี้ช่วยหล่อเลี้ยงนามรูป  ให้มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามวัฎจักรของกรรม

ความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างสัญญา-วิญญาณ-ปัญญา

  สัญญา  วิญญาณและปัญญา  เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง 3 อย่าง  แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกันและอยู่คนละขันธ์  สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง  วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง  ปัญญาอยู่ในฝ่ายสังขารก็เป็นอีกขันธ์หนึ่ง  ความแตกต่างระหว่างสัญญา  วิญญาณ  และปัญญานั้น  มีคำอธิบายดังนี้

  สัญญา (Perception) คือความจำความหมายรู้การกำหนดรู้หรือการกำหนดรู้อาการของอารมณ์เช่นลักษณะทรวดทรงสีสัณฐานฯลฯ  ตลอดจนชื่อเรียก  และสมมติบัญญัติต่างๆว่าเขียวขาวดำแดงดังเบาทุ้มแหลมกังวานอ้วนผอมโต๊ะปากกาหมูหมาปลาแมวคนเราเขาท่านเป็นต้น  การหมายรู้หรือการกำหนดรู้นี้  อาศัยการจับเผชิญหรือการเทียบเคียงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้เก่ากับประสบการณ์หรือความรู้ใหม่ถ้าประสบการณ์ใหม่ตรงกับประสบการเก่า  เช่น  พบเห็นคนหรือสิ่งของที่เคยรู้จักแล้ว  ได้ยินเสียงที่เคยได้ยินแล้ว  ดังตัวอย่างนายก. รู้จัก

นายเขียวต่อมาอีกเดือนหนึ่งนายก. เห็นนายเขียวอีก  และรู้ว่าคนที่เขาเห็นนั้นคือนายเขียว  อย่างนี้เรียกว่าจำได้[9]กล่าวโดยสรุปสัญญา  ก็คือ  กระบวนการเก็บรวบรวมและสั่งสมข้อมูลของการเรียนรู้และวัตถุดิบสำหรับความคิดเพราะเป็นคุณสมบัติของวิญญาณ

  ปัญญา (wisdom or understanding)  แปลกันมาว่าความรอบรู้  เติมเข้าไปอีกว่าความรู้ทั่วความรู้ชัดคือรู้ทั่วถึงความจริงหรือรู้ตรงตามความเป็นจริงท่านขยายความกันออกไปต่างๆเช่นว่ารู้เหตุรู้ผลรู้ดีรู้ชั่วรู้ถูกรู้ผิดรู้ควรไม่ควรรู้คุณรู้โทษรู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์รู้เท่าทันสังขารรู้องค์ประกอบรู้เหตุปัจจัยรู้ที่ไปที่มารู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลายรู้ตามความเป็นจริงรู้ถ่องแท้เข้าใจถ่องแท้รู้เข้าใจสภาวะรู้คิดรู้พิจารณารู้วินิจฉัย[10]  กล่าวโดยสรุปปัญญาก็คือ

ความเข้าใจสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง  เป็นการมองทะลุสภาวะหรือมองทะลุปัญหา

  วิญญาณ(Consciousness) แปลว่าการรู้แจ้งอารมณ์หรือการรู้อารมณ์ได้หลายทางเช่นการเห็นการได้ยินการรู้กลิ่นการรู้รสการรู้สึกสัมผัสและความรู้นึกคิดวิญญาณในความหมายนี้เป็นวิญญาณที่กำลังทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางวิถี (ไม่ใช่ภวังควิญญาณ) เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย  เมื่อไม่มีปัจจัยก็ไม่เกิดเช่นในที่มืดแม้ลืมตาก็มองไม่เห็นเรียกว่าจักขุวิญญาณไม่เกิดแต่ก็ยังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นปกติการรับรู้แบบวิญญาณนี้เป็นเพียงแค่รู้อารมณ์เฉยๆยังไม่มีการตีความหมายใดๆ

  ความแตกต่างระหว่างความรู้ระดับวิญญาณและสัญญาคือวิญญาณเป็นความรู้ระดับการรับรู้  ส่วนขั้นที่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรเป็นขั้นสัญญาแต่ความรู้ทั้งสองระดับก็มีความต่อเนื่องกันมากเช่นผู้หญิงเดินมาเมื่อเห็นเป็นวิญญาณเมื่อรู้ว่าเป็นผู้หญิงรูปร่างหน้าตาอย่างไรใส่เสื้ออะไร

เป็นต้นเป็นขั้นแยกแยะให้เห็นความแตกต่างเรียกว่าเป็นสัญญา[11]

  เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญญากับสัญญา  ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไปและลึกซึ้งยิ่งขึ้น  สองทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้นเพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด  รู้รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจ

เพียงนั้น  เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง  เมื่อยังคิดไม่ออกก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมาย

ต่อไปได้ต่อเมื่อเข้าใจคิดแก้ปัญหาได้แล้วก็มีเรื่องให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปอีก

  ปัญญาตรงข้ามกับโมหะแปลว่าความหลง  ความไม่รู้ความเข้าใจผิดสัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่  อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำเพราะเมื่อหลง  เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น  ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณและสัญญาเดินถูกทาง

  สัญญาและวิญญาณ  อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานไปได้  สร้างภาพเห็นภาพขึ้น

ไปจากอารมณ์นั้น  แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์  ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้นกับอารมณ์นี้กับอารมณ์โน้นบ้างพิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้างเอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันพิเคราะห์ออกไปบ้างมองเห็นเหตุเห็นผลเห็นความสัมพันธ์ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไรหาเรื่องมาให้วิญญาณละสัญญารับรู้และกำหนดหมายเอาไว้อีก[12]

  พระสารีบุตรเคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณกับปัญญาว่า  คนมีปัญญา  รู้ว่านี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับทุกข์นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์  ส่วนวิญญาณเป็นสภาวะรู้แจ้ง  คือ  รู้แบบแยกแยะว่าเป็นสุขรู้ว่าเป็นทุกข์รู้ว่าไม่เป็นสุขไม่ใช่ทุกข์แต่ทั้งปัญญาและวิญญาณนั้นก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้าหรือระคนกันอยู่ไม่สามารถแยกแยะบัญญัติข้อแตกต่างกันได้เพราะปัญญารู้ชัดสิ่งใดวิญญาณก็รู้แจ้งสิ่งนั้น  วิญญาณรู้แจ้งสิ่งใด  ปัญญาก็รู้ชัดสิ่งนั้น[13]ความรู้แจ้งหรือปัญญาญาณนี้เกิดจากความรู้ภายในโดยวิปัสสนาญาณ  อย่างไรก็ตาม  ความแตกต่างระหว่างปัญญาและวิญญาณก็คือปัญญาเป็นภาเวตัพธรรม  คือเป็นสิ่งที่ฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้นให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น  ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม  คือ  เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้หรือทำความรู้จักให้เข้าใจรู้เท่าทันสภาวะและลักษณะของมันตามความเป็นจริง[14]

  อนึ่งความสัมพันธ์ระหว่างวิญญาณกับปัญญานั้น  มีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิดสมดังคำที่พระนาคเสน  ตอบพระเจ้ามิลินท์ที่ว่า  วิญญาณ  ได้แก่  ความรู้แจ้งในเมื่อตาเห็นรูปเป็นต้นปัญญาได้แก่ความรอบรู้ซึ่งเกิดแต่การได้พิจารณา  รูป  เสียง  กลิ่นรส  ที่วิญญาณได้รับรู้ไว้นั้นว่ามีเหตุผลอย่างไร[15]

  ในคัมภีร์รุ่นหลังเช่นวิสุทธิมรรค[16]เป็นต้นอธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญาวิญญาณและปัญญาไว้ว่าสัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่าเขียว  เหลือง  แดงเป็นต้นกล่าวคือรู้อาการของอารมณ์ไม่อาจให้เข้าถึงความเข้าใจลักษณะคือ  อนิจจัง  ทุกขังอนัตตาได้  วิญญาณรู้อารมณ์ว่าเขียวเหลืองแดงเป็นต้นได้ด้วยทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะว่า  อนิจจัง  ทุกขังอนัตตาได้ด้วยคือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก  แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความบ่รากฎแห่งมรรค  คือ  ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้ส่วนปัญญารู้ทั้งอารมณ์  ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะและทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรคอุปมาเหมือนคน  ๓คน  มองดูเหรียญกษาบ่ณ์สัญญาเปรียบเหมือนเด็กยังไม่รู้เดียงสามองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่างยาวสั้นเหลี่ยมกลมสีและลวดลายแปลกๆสวยงามของเหรียญนั้นแต่ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกันใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขายวิญญาณเปรียบเสมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่าง  ลวดลายและรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่าเหรียญนี้แท้เหรียญนี้ปลอม  มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วนปัญญาเปรียบเสมือนเหรัญญิกซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้วและรู้ชำนาญจนกระทั่งว่าจะมองดูก็รู้ฟังเสียงเคาะก็รู้ดมชิมหรือเอามือชั่งดูก็รู้รู้ตลอดไปถึงว่าเหรียญนี้ทำที่นั้นๆผู้ชำนาญคนนั้นๆทำอนึ่งปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป  บางทีก็มีแต่สัญญาและวิญญาณหาได้มีปัญญาด้วยไม่แต่เมื่อใดที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยกันกับสัญญาและวิญญาณ  คราวนั้นก็จากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน

  ตามเหตุผลที่กล่าวข้างต้นนั้น  แสดงให้เห็นว่า  สัญญา  วิญญาณ  และปัญญานั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดไม่สามารถจะแยกแยะออกจากกันได้  เพราะสัญญาและปัญญาเป็นเจตสิกหรือเป็นคุณสมบัติของวิญญาณเกิดดับพร้อมกันกับวิญญาณ  แต่ทั้งสัญญา  วิญญาณ  และปัญญามีความต่างกันในหน้าที่การทำงาน



[1] พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตฺ โต). พุทธธรรม, หน้า ๓๐.

[2] เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐.

[3] พระพุทธโฆษาจารย์,วิสุทธิมรรค เล่ม ๓, แปลโดย พระเมธีกิตโยดม (พิณ กิตตฺปาโล) และ ธนิต อยู่โพธิ์. หน้า ๓๙.

[4] พระพุทธโฆษาจารย์,  วิสุทธิมรรคภาค 3  ตอนจบ, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2541), หน้า 19

[5] พระพุทธโฆษาจารย์,  วิสุทธิมรรคภาค 3  ตอน1, หน้า 19

[6] ดูรายละเอียดในพระพุทธโฆษาจารย์,  พระธัมมปทัฏฐกถา  แปล  ภาค 2 , (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ็มหามกุฎราชวิทยาลัย, 2537), หน้า 222-227.

[7] อภิ.สงฺ. (ไทย) 34/73/40.

[8] สมเด็จพระสังฆราชเมธังกร, โลกทีปกสาร, แปลโดย แย้ม  ประพัฒน์ทอง,(กรุงเทพฯ : ห้างหุ่นส่วนสามัญนิติบุคคล  สหประชาพาณิชย์,2529) ,หน้า 4.

[9] พระธรรมปิฎก  (ประยุทธ์ ปยุตโต) พุทธธรรม, หน้า 17.

[10] เรื่องเดียวกัน, หน้า 21.

[11] พระเมธีธรรมาภรณ์(ประยูร  ธมฺมจิตฺโต) และเสถียรพงษ์ วรรณปก,  มณีแห่งปัญญา,  พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ : ธรรมสภา, 2536), หน้า 80.

[12] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, หน้า 23.

  [13] วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม, จิตวิทาพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์กรุงเทพ), หน้า ๑๓๓.

  [14] พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต), พุทธธรรม, หน้า ๒๔.

  [15] แก้วชาย ธรรมาชัย, ปัญหาพระเจ้ามิลินท์, หน้า ๙๔.

  [16] พระพุทธโฆษาจารย์, วิสุทธิมรรค ภาค ๓ ,พิมพ์ครั้งที่ ๒ ,(กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,๒๕๘๒), หน้า ๑.

 

อิทธิพลของรูปต่อนามและนามต่อรูป

อิทธิพลของรูปต่อนาม

ในชีวิตประจำวันของคนทั้งหลายต้องประสพกับปัญหาทุกข์มากมายต่างๆกันเช่นการเจ็บป่วย, ไม่มีกินไม่มีใช้, การพลัดพรากจากของรักหรือสิ่งอันเป็นที่รัก  การประสพกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักไม่ชอบใจการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามหรือขันธ์๕  เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ทั้งกายและใจคนจึงแสวงหาความสงบสันติด้วยการให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนา

  ทานและศีลเป็นกุศลที่นำไปเกิดในสุคติภูมิ  เป็นมนุษย์และเทวดาอุดมสมบูรณ์ด้วยความสุขมีโภคทรัพย์เกิดขึ้นแต่ก็ยังคงข้องติดอยู่ในสังสารวัฏฏ์  เวียนว่ายตายเกิดไม่รู้จบสิ้นตลอดเวลาที่ยังมีการเกิดตายว่ายเวียนอยู่ย่อมต้องประสบกับความทุกข์อยู่จะพบกับความสุขได้  ไม่ว่าจะเกิดอยู่ในภพภูมิใดแม้ในสวรรค์ชั้นพรหมก็ยังต้องประสบกับทุกข์อยู่จะพบกับความสุขอันแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อได้พ้นออกไปจากทุกข์แล้วพระองค์จึงได้ทรงสอนการเจริญภาวนา  ให้ประพฤติปฏิบัติเป็นหนทางนำไปสู่การพ้นทุกข์การเจริญภาวนานั้น  ได้แบ่งออกเป็น๒ประเภท  เรียกว่าสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน

  สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน  มีความหมายแตกต่างกัน  แต่โดยมามักเข้าใจผิดนำมาใช้ปะปนกันอยู่เสมอ  เช่น  บางคราวก็กล่าวรวมกันไปว่า  สมถะวิปัสสนา  บางคราวก็ใช้เพียงว่าวิปัสสนา  ความหมายที่ใช้สมถะและวิปัสสนานั้นก็มักมุ่งไปในทำนองทำฤทธิ์เดชหรือมองเห็นเหตุการณ์ทำนายทายทักต่าง    ได้คล้ายมีอำนาจพิเศษเกิดขึ้นที่จิตใจถือว่าเป็นคุณวิเศษอย่างหนึ่งและมักเข้าใจเลยไปถึงกับว่าเป็นลักษณะของคุณธรรมชั้นหนึ่งที่จะดำเนินไปถึงพระนิพพาน  เป็นเหตุให้หลงเข้าใจผิดในคำสั่งสอนของพระพุทธองค์สมถะและวิปัสสนาที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนนั้น  ถ้าพิจารณาตามสายตาอย่างธรรมดาแล้วจะเห็นว่า  มิใช่พิธีกรรมที่ทำให้เกิดฤทธิ์อำนาจอย่างใดสมถะคือการกระทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวมุ่งไปทางความสงบระงับจากนิวรณ์ส่วน  วิปัสสนาก็คือการตามดูปรากฏการณ์ธรรมชาติ  เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นสภาวะความจริงมุ่งหมายความรู้หรือ

นิพพาน

ความหมายของนิพพานในพระอภิธรรม

  ความหมายและคำไวพจน์ของนิพพาน

  ความหมายของนิพพาน

  หลักคำสอนในพุทธศาสนาที่นับว่าสำคัญที่สุดคือนิพพานนิพพานเป็นภาวะแห่งปรมัตถธรรมที่สูงสุดและเป็นอุดมคติแห่งชีวิตของพุทธศาสนิกชนคำสอนต่างๆพระพุทธเจ้าตรัสแสดงเป็นไปเพื่อการบรรลุนิพพานทั้งสิ้นเพื่อความเข้าใจความหมายของนิพพาน  จะได้นำเสนอข้อความตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกอรรถกถา  และตามตำราเล่มอื่น    พอสังเขป  ดังต่อไปนี้

  คำว่า “นิพพาน” เป็นภาษาบาลีมาจากนิอุปสรรค  (แปลว่าพ้นไปหมดไปเลิกไม่มี) วาน (แปลว่าพัดไปเป็นไปเครื่องรึงรัด)  หากใช้เป็นกิริยาของไฟหรืออาการของไฟแปลว่า  ดับไฟดับร้อนเย็นลงหากใช้เป็นกิริยาของจิตหมายถึงความเย็นใจไม่มีความกระวนกระวาย  ไร้เครื่องเสียดแทง[๑]

  ในภาษาสันสกฤตใช้คำว่า  “นิรวาน”  ซึ่งมาจากคำว่านิร+วาน  คำแรกมีความหมายเชิงปฏิเสธส่วนคำหลังเป็นชื่อของกิเลสดังนั้นคำว่า “นิรวาน” จึงหมายถึงการดับกิเลส

  ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าทรงให้ความหมายของนิพพานไว้ว่า  “ภิกษุทั้งหลายภาวะอันไม่เกิดไม่เป็นอันปัจจัยไม่ทำไม่ปรุงแต่งมีอยู่ภิกษุทั้งหลายหากภาวะอันไม่เกิด  ไม่เป็นอันปัจจัยไม่ทำไม่ปรุงแต่งจักไม่มีเลยการสลัดภาวะที่เกิด  ที่เป็นอันปัจจัยทำ  ปรุงแต่ง  จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย”[๒]

 

  พุทธทาสภิกขุ  ให้ความหมายว่า  “นิพพานคือตัคโลภะโทสะโมหะซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งความร้อนได้จริง”[๓]

  พระนาคเสนเถระ  ให้ความหมายว่า “นิพพานเป็นอนุปาทนียะคือไม่เป็นที่ตั้งแห่งอุปทาน(ความยึดมั่น)”

  ส่วนในคัมภีร์ปรมัตถทีปนีให้ความหมายว่า  “นิพพานนั้นเป็นที่ดับความเร่าร้อนที่เกิดจากวัฎทุกข์ทั้งหมด”[๔]พุทธพจน์บทหนึ่งให้ความหมายว่า “ดูกรราธะความสิ้นไปแห่งความอยากคือนิพพาน”[๕] พุทธพยต์บทนี้มุ่งแสดงความสิ้นไปแห่งความอยากคือตัณหาภายในใจว่าเป็นภาวะของนิพพาน

  เกี่ยวกับความหมายนิพพานนั้นท่านแสดงไว้นัย[๖]คือ :

-  นัยปฏิเสธเช่นนิพพานคือความสิ้นราคะสิ้นโทสะสิ้นโมหะ , คือความสิ้นตัณหา , คือจุดจบแห่งทุกข์ , คือความไม่ตายเป็นต้น 

-  นัยอุปมา  เช่น  นิพพานเป็นเหมือนภูมิภาคอันราบเรียบน่ารื่นรมย์ , เหมือนไฟดับเพราะเชื้อเพลิงหมดเป็นต้น

๑.  นัยไวพจน์เช่นคำว่าสงบ. ปณีต. บริสุทธิ์, เกษม, อุดมเป็นต้น

๒.นัยบรรยายภาวะโดยตรงดังพุทธพจน์ว่า “ภาวะที่พึงรู้ได้มองไม่เห็นด้วยตาไม่มีที่สิ้นสุดเข้าถึงได้ทุกด้านตรงนี้อาโปปฐวีเตโชและวาโย  ตั้งอยู่ไม่ได้ตรงนี้ยาวสั้นละเอียดหยาบงามไม่งามก็ตั้งอยู่ไม่ได้ตรงนี้นามรูปดับสนิทตรงนี้เพราะวิญญาณดับนามรูปจึงดับ”[๗]  ในนัยนี้นั้นพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต)  ให้ทัศนะว่า  “แบบนี้มีน้อยแห่งแต่เป็นที่สนใจของนักศึกษานักค้นคว้ามาก  โดยเฉพาะผู้ถือพุทธธรรมอย่างเป็นปรัชญาและมีการตีความกันไปต่างๆทำให้เกิดข้อถกเถียงกันได้มาก”[๘]

  การจำแนกนิพพานทั้ง๔นัยนี้ยึดตามหนังสือพระพุทธรรมเป็นแบบ  ส่วนในคัมภีร์อรรถกลาสมันตปาสาทิกา  (ภาค๑)  พระอรรถกถาจาร์ยใช้นัยปฏิเสธเป็นไวพจน์ของนิพพาน  เช่น  ความสิ้นไปแห่งตัณหา  (ตัณหักขโย )  ความสิ้นไปแห่งราคะ  (ราคักขโย)  เป็นต้น  ฉะนั้นจึงอาจรวมนัยปฏิเสธและนัยไวพจน์เข้าด้วยกัน

    การดับแห่งขันธ์นี้    ของพระอรหันต์  เปรียบเหมือนการดับของไฟที่หมดเชื้อ  จึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเกิดหรือไม่เกิด  มีหรือไม่มี  หากแต่เป็นเพียงความเป็นไปตามธรรมชาติแห่งปรมัตถธรรมเท่านั้น  หากมีคำถามว่า  นิพพานสูญ  กระนั้นหรือ ?  กรณีนี้  วัชระ  งามจิตรเจริญ  ให้คำตอบว่าเราจะเรียกนิพพานเป็นความสูญก็ไม่ถูก  เพราะไม่มีตัวตน  อะไรขาดสูญ  และการกล่าวว่า  นิพพานคือการขาดสูญของวิญญาญหรือขันธ์    จะกลายเป็นอุจเฉทวาทไป[๙]จะเห็นได้ว่า  นิพพานมิได้อยู่ในฐานะแห่งความขาดสูญ  เพราะเหตุที่ไม่มีความมีตัวตนในนิพพานนั้น

    รวมความว่า  นิพพานคือภาวะที่ใจมีอิสรภาพปราศจากเครื่องเศร้าหมองคือกิเลส  และนิพพานคือจุดหมายสูงสุดของชีวิตตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา

    ความคำไวพจน์ของนิพพาน

    แสดงนิพพาน  ๔๖  ชื่อคือ

    โมกฺโข  นิพพาน,โมกขธรรรม,นิพพานเป็นที่หลุดพ้นจึงชื่อโมกขะ ,  นิพพานเป็นเครื่องหลุดพ้นจากราคะเป็นต้น  จึงชื่อว่าโมกขะ  ผู้พ้นจากความเป็นผู้ต่ำและปานกลาง  ชื่อว่าโมกขะ(ผู้หลุดพ้น)  ทางไปสู่ความสงบ  พระนิพพาน  ทางอันประกอบด้วยสุขอันยิ่ง  มีอยู่  ด้วยการกล่าวคำสัจนี้  ขอทางดำเนินไปสู่พระนิพพาน  จงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า  ภิกษุครั้นบวชแล้วควรแสวงหาโมกขธรรมสักอย่างหนึ่ง,สัตว์ทั้งหลายผู้แสวงหาโมกขธรรมย่อมมีอยู่

    นิโรโธ  นิพพาน, นิโรธธรรม,  นิพพานเป็นที่ดับราคะเป็นต้น  จึงชื่อว่านิโรธะ,  นิพพานเป็นที่ปราศจากกิเลศ  จึงชื่อว่านิโรธะ  ความสิ้นไปแห่งตัณหา  ความปราศจากราคะ  ท่านเรียกว่านิโรธะ[๑๐]อานนท์  รูปแลไม่เที่ยงถูกปัจจัยปรุงแต่ง  เกิดเพราะอาศัยเหตุปัจจัย  เป็นธรรมที่ต้องเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมอันปราศจากราคะเป็นธรรมดับราคะเป็นต้นท่านเรียกว่านิโรธะ[๑๑]

  นิพฺพานํ  นิพพาน,ที่ที่พ้นจากตัณหาชื่อว่าวานะ ,  เพราะการพ้นจากตัณหาชื่อว่าวานะ

แล้วดับสนิท  หรือธรรมเครื่องดับไฟ  คือราคะเป็นต้น  ชื่อว่านิพพาน[๑๒]  ธรรมอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งกิเลสทั้งปวง[๑๓]  สภาพที่สงบจากสังขารธรรมทั้งปวง  สิ้นตัณหา  ปราศจากราคะ  ดับราคะคือพระนิพพาน[๑๔]

  ทีโป  พระนิพพานที่สกัดกั้นห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร  ดุจเกาะสกัดกั้นกระแสคลื่นให้สงบไป  ฉะนั้น ,  สถาวะที่สิ่งให้เห็นความปราศจากกิเลศ  เหมือนแสงประทีปส่องกำจัดความมืด  คือพระนิพพาน[๑๕]

  ตณฺหกฺขโย  นิพพาน, ธรรมที่สิ้นตัณหา,  ชื่อว่าตัณหักขยะเพราะเป็นธรรมอันเป็นเหตุสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย,  ความสิ้นไปแห่งตัณหาชื่อว่าตัณหักขยะ  นิพพานเป็นที่สิ้นตัณหา  จึงชื่อว่าตัณหักขยะ[๑๖]  จริงอยู่ราธะความสิ้นไปแห่งตัณหาคือพระนิพพาน[๑๗]

    ปรํ  นิพพานชื่อว่าประเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อราคะเป็นต้น  หรือเพราะประเสิรฐสุด[๑๘] 

    ตาณํ  นิพพาน,ธรรมเครื่องรักษา,นิพพานรักษาบุคคลจากอบายเป็นต้นจึงชื่อว่าตาณะ[๑๙]

  เลณํ  นิพพาน, ธรรมเครื่องหลีกเร้น,ที่หลีกเร้นจากภัยในสงสาร,  นิพพานเป็นที่หลีกเร้นจากความกลัวคือ  ภัยในสงสารจึงชื่อว่าเลณะ[๒๐]  นิพฺพานํ  ตาณํ  เลณํ  สรณํ  ปรายนํ  อจฺจุตํ  อมตํศัพท์ทั้งหมดนี้มีความหมายเหมือนกัน

  อรูปํ  นิพพาน,ธรรมที่ไม่มีรูปลักษณ์,  นิพพานไม่มีรูปร่างสัณฐาน  มีความยาวและสั้นเป็นต้น  จึงชื่อว่าอรูปะ[๒๑]

  สนฺตํนิพพาน, ธรรมเครื่องสงบ, นิพพานชื่อว่าสันตะเพราะ  ทำให้ราคะเป็นต้นสงบลงได้[๒๒]

  สจฺจํ  นิพพาน , นิพพานชื่อว่าสัจจะเพราะเป็นเหตุสิ้นไปแห่งราคะ  เพราะเป็นธรรมไม่[๒๓]ผิดเพี้ยนจากความจริง  หรือเป็นธรรมนับเนื่องในสัจจะ  [๒๔]

  อนาลยํ  นิพพาน  ธรรมที่ปราศจากตัณหานิพพานเป็นที่ไม่มีอาลัยคือตัณหาชื่อว่าอนาลยะ

  อสงฺขตํ  นิพพาน  อสังขตธรรม  ธรรมที่ไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง  นิพพานไม่ถูกปัจจัยปรุงแต่งจึงชื่อว่าอสังขตะ[๒๕]

  สิวํ  นิพพาน  นิพพานกระทำความเกษมจึงชื่อว่าสิวะ, หรือพระนิพพานเป็นธรรม  ที่ผู้กลัวสงสารพึงเสพจึงชื่อว่าสิวะ[๒๖]  นิพพานยังบุคคลให้เข้าไปสงบจึงชื่อว่าสิวะ  บรรลุพระนิพพานอันเป็นสันติสุข

  อมตํ  นิพพาน  อมตธรรม  นิพพานเป็นที่ที่ไม่มีความตาย  หรือเมื่อบุคคลเข้าถึงนิพพานนี้แล้ว  ไม่มีความตาย  นิพพานจึงชื่อว่าอมตะ[๒๗]  อมตศัพท์  เป็นไปในส่วนแห่งยันต์  อาหารทิพย์  ร่างกายที่ยังเคลื่อนไหว  ไข่แมลงวัน  พระนิพพาน  ทรัพย์  ปูนขาว  มีรูปเป็นอมโต  อมตาบ้าง  แปลว่าเถาบอระเพ็ด  และมะขามป้อม  ( นานตฺถสงฺคห )  อปฺปมาโท  อมตํ  ปทํ  ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย[๒๘]

  สุทุทฺทสิ  นิพพาน  ธรรมที่ปุถุชนมองไม่เห็น ,เห็นได้ยาก  นิพพานชื่อว่าสุทุททสะเพราะเป็นธรรมที่มองเห็นได้ยาก[๒๙]

  ปรายณํ  นิพพาน  นิพพานอันพระอริยเจ้าผู้ประเสิรฐ  พึงเข้าถึงจึงชื่อว่าปรายณะ,ธรรมอื่นจากสงสารที่พระอริยะเจ้าพึงรู้ , หรือเพราะเป็นธรรมที่อยู่ของของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย

  สรณํ  นิพพาน  นิพพานเครื่องกำจัดกิเลศแต่ละระดับของมรรค    จึงชื่อว่าสรณะ,นิพพานชื่อว่าสรณะเพราะ  เป็นธรรมที่อาศัยอยู่  ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย[๓๐]

  อนีติกํ  นิพพาน  นิพพานเป็นที่ไม่มีความชั่วร้าย  อันตรายและบ่วงจึงชื่อว่าถนีติกะตัณหาที่นำสัตว์ไปสู่สงสารชื่อว่านีติ  นิพพานชื่อว่าอะนีติกะเพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อนีติ[๓๑]  ความดับขันธ์๕  ชื่อว่าอนีติกะและนิพพานะ[๓๒]

  อนาสวํ  นิพพาน  นิพพานชื่อว่าอนาสวะ  เพราะไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ[๓๓]

  ธุวํ  นิพพาน  นิพพานชื่อว่าธุวะเพราะมีความหมายว่ามั่นคง  หรือนิพพานไปสู่มัคคารมณ์จึงชื่อว่าธุวะ[๓๔]

  อนิทสฺสนิ  นิพพาน  นิพพานชื่อว่าอนิทัสสนะ  เพราะเป็นสภาพที่มองไม่เห็น  นิพพาน

เป็นที่ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา  จึงชื่อว่าอนิทัสสนะ[๓๕]

  อกตํ  นิพพาน  นิพพานชื่อว่าอกตะเพราะเป็นธรรมที่ปัจจัยทำอะไรไม่ได้[๓๖]  นิพพานไม่ถูกปัจจัยทั้งหลายกระทำ (ปรุงแต่งไม่ได้) จึงชื่อว่าอกตะ[๓๗]

 

 

  อปโลกิตํ  นิพพาน  นิพพานถึงความเป็นธรรมไม่เลือนหาย  เพราะมีอยู่ตลอดกาล  ,  หรือเป็นเครื่องรู้แจ้ง  นิพพานจึงชื่อว่าอปโลกิตะ  ธรรมที่ชาวโลกรู้ชื่อว่าโลกิตะ  ,  นิพพานชื่อว่าอปโลกิตะเพราะไม่เป็นธรรมที่ชาวโลกนั้นรู้[38]  ไปและรู้แจ้ง, เพราะไม่เสื่อมนิพพานจึงชื่อว่าอปโลกิตะ[39]

  นิปุณํ  นิพพาน  นิพพานชื่อว่านิปุณะเพราะละเอียดอ่อน, นิพพานเครื่องชำระกิเลศของมรรค๔ให้หมดจดจึงชื่อว่านิปุณะ[40]

  วิบากและกัมมชรูปนี้แหละ  จึงได้ชื่อว่าอุปาทิเสส  เมื่อว่าโดยบุคคลาธิษฐานแล้ว  ก็ได้แก่ร่างกายของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง

 

  ประเภทและความสำคัญของนิพพานในพระอภิธรรม

นิพพานมี๓คือ

๑.  สุญญตนิพพาน 

๒.  อนิมิตตนิพพาน

๓.  อัปปณิหิตนิพพาน

ในคัมภีร์อรรถกถาอภิธัมมัตถสังคหะ  เรียกการจำแนกอย่างนี้ว่า  เป็นการจำแนกตามปริยายแห่งเหตุ  และแสดงวิธีแบ่งอีกอย่างหนึ่งตามประเภทแห่งอาการบรรลุ  จึงเป็นนิพพาน    ประเภท[41]  โดยใช้คำว่า  วิโมกข์  ( ความหลุดพ้น )  เป็นไวพจน์ของนิพพานคือ

  ๑.  สุญญตวิโมกข์  คือ  ความหลุดพ้นด้วยการพิจารณาเห็นความว่างในนามรูป  โดยความเป็นอนัตตา  คือ  ว่างจากสัตว์  บุคล  ตัวตน  เรา  เขา  หมายความว่า  ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น  สูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์    ไม่มีอะไรเหลืออยู่อีกแล้ว

  ๒.  อนิมิตตวิโมกข์  คือ  ความหลุดพ้นด้วยการพิจารณาความไม่มีนิมิตในนามรูป  โดยความเป็นอนิจจัง  คือ  ไม่ถือนิมิตในสัตว์  บุคคล  ตัวตน  เรา  เขา  หมายความว่า  ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น  ไม่มีนิมิตเครื่องหมาย  รูปร่างสัณฐาน  สีสรรวรรณะอย่างใดเลย

  ๓.  อัปปหิณิหิตวิโมกข์  คือ  ความหลุดพ้นด้วยการพิจารณาไม่ตั้งความปรารถนาในนามรูป  โดยความเป็นทุกขตา  คือ  พิจารณาเห็นความเป็นไปตามธรรมชาติแห่งสังขตธรรม  หมายความว่า  ความเป็นอยู่ของพระนิพพานนั้น  ไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถด้วยโลภะ  และไม่มีตัณหาที่เป็นตัวต้องการอยู่ในนิพพานนั้น  และนิพพานนั้นไม่ได้เกิดอยู่ภายในบุคคล  เป็นธรรมะภายนอกโดยส่วนเดียว  ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์จะมีนิพพานเป็นอารมณ์

บางแห่งท่านจำแนกนิพพานออกอีกเป็น๓ประเภท[42]  คือ

  ๑.  สันทิฎฐิกนิพพาน  คือ  นิพพานที่เห็นได้เอง

  ๒.  ตทังคนิพพาน  คือ  นิพพานที่ดับกิเลสด้วยองค์ธรรมนั้นๆ

  ๓.  ทิฎฐธัมมนิพพาน  คือ  นิพพานในชาติปัจจุบัน  ได้แก่สอุปาทิเสสนิพพาน

  ความสำคัญของนิพพาน

  ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดอยู่ในโลกนี้  ความเกิดและความตายในคนหนึ่งๆที่ผ่านมาแล้วนั้นมากมาย  จนไม่สามารถจะคำนวณได้ว่า  เคยเกิดเคยตายมาแล้วเท่าไร  และต่อไปข้างหน้าความเกิดความตายก็จะมีต่อไปเรื่อยๆ  กำหนดไม่ได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะอาศัยตัณหา  คือความพอใจ  ติดใจ  ต้องการในอารมณ์ต่างๆนั้นเอง  เป็นผู้เกี่ยวสัตว์ไว้ไม่ให้หลุดพ้น  จากความเกิดความตายไปได้  เหมือนหนึ่งช่างเย็บผ้า  ที่เอาผ้าหลายๆชิ้นมาเย็บให้ติดต่อกันฉันใด  ตัณหาก็เปรียบได้เหมือนช่างเย็บผ้า  คือเกี่ยวสัตว์ในภพเก่าให้ติดต่อกันกับภพใหม่เรื่อยๆไป  ด้วยเหตุนี้แหละตัณหาจึงได้ชื้อว่า “วาน”

  สำหรับพระนิพพานนั้น  เป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาไปแล้ว  ฉะนั้นจึงชื่อว่า  นิวาน  คำว่า  วาน  เป็นชื่อของธรรมชาติที่ไม่ดี  แต่เมื่อมีคำว่า  นิ  ประกอบอยู่ข้างหน้าแล้วก็กลายเป็นชื่อของธรรมที่ดีที่สุดไป  เช่นเดียวกับผู้ที่ได้ชื่อว่า  พระขีณาสพ  คำว่า  ขีณาสพ  เมื่อแยกออกแล้วได้    บท  คือ  ขีณ  +  อาสว,  ขีณ  =  หมด  อาสว  =  ธรรมที่ไหลไปได้ใน๓๑  ภูมิ  ได้แก่  โลภะ  ทิฎฐิ  โมหะ  ชื่ออาสวะเป็นชื่อที่ไม่ดี  แต่เมื่อเอาคำว่า  ขีณะ  เติมลงข้างหน้าแล้ว  กลายเป็นสิ่งที่ดีไป  ว่าโดยบุคคล  ได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย  มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น  ดังนี้[43]

  ผู้ที่ไม่เข้าใจในสภาวะความเป็นอยู่ของพระนิพพานดีพอ  เมื่อได้ยินว่าพระนิพพานนั้นไม่มีความทุกข์กาย  ทุกข์ใจแต่ประการใด  มีแต่ความสุขล้วนๆเพราะเป็นธรรมที่พ้นจากโลก  เช่น  นี้แล้วก็เกิดความอยากได้พระนิพพาน  เพราะต้องการความสุขกายสุขใจ  ที่ไม่เกี่ยวกับโลก  และไม่ต้องการความเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  แต่คิดไม่ถึงว่า  สภาพความไม่เกิดของพระนิพพานนั้น  คืออะไร  ( ธรรมดาความสุขกาย  ความสุขใจจะเกิดขึ้นได้  โดยไม่เกี่ยวกับการเกิดเป็นมนุษย์  เทวดา  พรหม  ที่อยู่ในโลกนั้นไม่มี )  ฉะนั้นความปรารถนาของพระนิพพานของบุคคลจำพวกนี้  จัดเป็น “วิภวตัณหา”

  บทวิเคราะห์ความหมายและความสำคัญนิพพานในพระอภิธรรม

  นิพพานในชีวิตประจำวัน

  ความเข้าใจเรื่องนิพพานอย่างถูกต้องนั้น  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน  เพราะว่าคนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  ดังนั้นการศึกษาหลักคำสอนในพุทธศาสนาจนเข้าใจอย่างถูกต้องและนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตตามความเหมาะสมกับสถานภาพของตนเอง  จนวิถีชีวิตดำเนินไปได้ด้วยดี  มีความสุข  และเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดนรวมจึงจะนับว่าเป็นชาวพุทธโดยสมบูรณ์แบบ

  อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าคนไทยจะนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ก็ตาม  แต่คนไทยเหล่านั้นโดยภาพรวมยังคงเป็นปุถุชนและขาดความเข้าใจหลักศาสนาธรรมอย่างเพียงพอเพื่อนำมาปฏิบัติจนสามารถบรรลุอรรถประโยชน์จากการปฏิบัติธรรมได้โดยดี  ความจริง  วิถีชีวิตของปุถุชนหรือผู้ยังมีกิเลสภายในใจจำนวนมากนั้น  ยังคงเป็นไปภายใต้กรอบกระแสแห่งกิเลสอยู่ตลอดเวลาพฤติกรรมต่างๆตามที่ปรากฏนั้นถูกบงการและควบคุมจากกิเลสภายในใจอีกชั้นหนึ่ง  ดังนั้น  กิเลสจึงมีอำนาจเหนือจิตใจและเป็นแกนกลางหรือฐานรองรับพฤติกรรมต่างๆของปุถุชนในขณะเดียวกัน

  แม้ว่านิพพานจะอยู่ในฐานะหลักธรรมขั้นสูงสุดในพุทธศาสนา  โดยที่ภาวะของปุถุชนนั้นยังอยู่ไกลต่อการบรรลุนิพพานได้โดยตรงด้วยประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสในชีวิตปัจจุบันก็ตาม  แต่หลักการของนิพพานนั้นคงเป็นประโยชน์ต่อวิถีชีวิตของปุถุชนโดยอ้อมในอันหล่อเลี้ยงสภาพจิตใจ  คือช่วยลดระดับกระแสความรุ่มร้อนและรุนแรง  ความสับสน  ความตรึงเครียดทางอารมณ์ฯลฯ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องประสบในการดำเนินชีวิตประจำวัน  ให้อยู่ในระดับเป็นปกติ  อันจะเป็นผลให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้ด้วยดีและมีความสุข  ดังนั้น  การทำความเข้าใจบทบาทของกิเลสและนิพพาน  จึงเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน

  แบ่งโดยภาวะมี๒คือ

  . สอุปาทิเสสนิพพานดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือคือหมดกิเลสแล้วแต่ว่ายังดำรงชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนั่นเอง

  . อนุปาทิเสสนิพพาน  คือ  ภาวะที่พระอริยบุคคลดับกิเลสและขันธ์    (วิบากและกัมมชรูป)ดับโดยไม่เหลือ  เป็นภาวะหลุดพ้นโดยปลอดภัยจากวัฎฎสังสารอย่างสิ้นเชิง  มีพุทธพจน์รับรองว่า “ภิกษุทั้งหลายอนุปาทิเสสนิพพานเป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เป็นพระอรหันต์ผู้ขีณาสพ  อยู่จบพรหมจรรย์  ทำกิจที่ควรทำแล้ว  ปลงภาระลงได้แล้ว  บรรลุประโยชน์  ตนแล้ว  สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว  เพราะรู้โดยชอบ  เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้นเป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้วจักดับเย็นภิกษุทั้งหลายนี้เราเรียกว่าอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”[44]

  อนุปาทิเสสนิพพาน  จะเรียกว่าสัมปรายิกนิพพานก็ได้  เพราะพระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อปรินิพพานแล้ว  จึงเข้าถึงพระนิพพานนั้น

  อุปาทิ  ศัพท์นี้มีความหมาย    อย่าง  คือ  หมายถึงเบญจขันธ์ก็ได้  หมายถึงกิเลสก็ได้[45] 

  ประวัติผู้รวบรวมและเขียน

ชื่อสกุล    นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี



  [๑] องฺ.ติก. (บาลี) ๒๐/๔๙๗/๒๐๗ : อภิธานวรรณา (ไทย) ๑/๖/๒๐.

[๒] ขุ.อ. (บาลี) ๒๕/๗๓/๒๑๓.

[๓] วิสุทธิ. (บาลี) ๒/๕๕๙/๑๕๖.

[๔] พระธรรมปิฏก(ป.อ.ปตตฺโต). พุทธธรรม. หน้า ๑๒๕.

[๕] พระธรรมปิฏก(ป.อ.ปตตฺโต). พุทธธรรม. หน้า ๑๒๕.

  [๖] พระธรรมปิฏก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หน้า ๒๓๒

[๗] ที.สี. (ไทย) ๙/๔๙๙/๒๒๐.

  [๘] พระธรรมปิฎก(ป.อ.ปยุตโต), พุทธธรรม, หน้า ๒๓๓.

  [๙] วัชระ  งามจิตรเจริญ ,  “ พัฒนาการของมโนทัศน์เรื่องอนัตตาในพุทธปรัชญาเถรวาท,  พุทธศาสน์ศึกษา,ปีที่  ๖  ฉบับที่  ๒  (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๔๒)  :  ๓๒-๖๑.

[๑๐] วิ.หา.อ. ๑ / ๓๘ / ๒๒๗.

[๑๑] อภิธาน.ฏีกา. (บาลี) ๑๗/๒๑/๒๑.

[๑๒] อภิธานวรรณนา. (ไทย )๑/๖/๒๐

[๑๓] วิ.ม. (บาลี )  ๔/๗/๗.

[๑๔] อภิธาน.ฏีกา . (บาลี)๑/๖/๑๔

[๑๕] สํ.สฬา.อ. (บาลี) ๓/๓๗๗-๔๐๙/๑๗๔.

[๑๖] สํ.ขนฺธวาร. (บาลี) ๑๗/๓๖๗/๒๓๓.

[๑๗] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/๖/๑๔

[๑๘] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/๖/๑๔

[๑๙] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/ ๖/๑๔

[๒๐] อภิ.ก.(บาลี) ๓๗/๔๔๕/๒๗๐.

[๒๑] อภิธาน.ฏีกา . (บาลี )  ๑/๖/๑๔.อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/๖/๑๔.

[๒๒] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/๖/๑๔

[๒๓] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี) ๑/๖/๑๔

[๒๔] อภิธาน.ฏีกา .(บาลี) ๑/๗/๑๕.

[๒๕] อภิธาน.ฏีกา. (บาลี) ๑/๗/๑๕.

[๒๖] อภิธาน.ฏีกา.(บาลี)  ๑/๗/๑๕

[๒๗]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท