“สอนอย่างไรให้นักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรม”


กิจกรรมการจัดการความรู้เรื่อง “สอนอย่างไรให้นักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรม”

ครั้งที่ 2/ 2555วันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555

ณห้องสร้างเสริมสุขภาพและธรรมชาติบำบัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

คุณอำนวย  รศ.ดร. สายพิณ เกษมกิจวัฒนา

คุณลิขิต อาจารย์พรทิพย์ สารีโส


         เมื่อวันพุธที่ 17 ตุลาคม 2555 สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2/2555ขึ้นณ ห้องสร้างเสริมสุขภาพและธรรมชาติบำบัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เวลา 13.30-16.30 น. เรื่องสอนอย่างไรให้นักศึกษามีคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 2 ภายหลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต้นโดยอาจารย์แต่ละท่านได้นั่งพื้นและล้อมเป็นวงกลม บรรยากาศในการทำกิจกรรมเป็นไปอย่างผ่อนคลาย สบายและสนุกสนาน  มีคณาจารย์ของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ ให้ความสนใจในการทำกิจกรรมครั้งนี้ จำนวน 15 คน กิจกรรมครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเล่นเกมส์ที่ช่วยฝึกสมาธิ เกมส์มัชเมลโล่ ที่ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหาที่ไม่อยู่ในกรอบแต่อยู่ในกฎ ซึ่งได้สร้างบรรยากาศให้ผ่อนคลายสนุกสนานให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนที่จะพร้อมเล่าประสบการณ์การสอนดีๆ ที่สนุกปนสาระต่อไป ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับเทคนิคและวิธีการเรียนการสอน ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในนักศึกษา

        เริ่มต้นจากคุณอำนวยเปิดโอกาสให้อาจารย์ทุกคนได้เล่าถึงประสบการณ์ดีๆ ที่ใช้สอนและประสบความสำเร็จ โดยอาจารย์อัศวินีได้เล่าเป็นคนแรกว่า “ในรายวิชาจิตเวชฯ จะเน้นที่ภาคปฏิบัติ โดยอาจารย์ต้องเป็นเครื่องมือที่ดี คือต้องทำตัวRole model ที่ดี เช่น ไปถึงหอผู้ป่วยก่อนเพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องการรักษาเวลา อีกวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ก็คือการทำข้อตกลงร่วมกันกับนักศึกษา เพื่อ respect ความเป็นคนของนักศึกษา โดยจะถามนักศึกษาว่ากฎของอาจารย์หรือของรายวิชานักศึกษาทำตามได้หรือไม่ ถ้ามีข้อแตกต่างกันต้องตกลงว่านี่คือข้อตกลงของกลุ่ม ถ้านักศึกษาทำผิดหรือทำไม่ได้ อาจารย์จะชี้แนะผลเสียที่จะตามมา และเมื่อทำข้อตกลงเรื่องกฎต้องทำข้อตกลงเกี่ยวกับการลงโทษด้วยในกรณีที่นักศึกษาทำผิด เพื่อให้ทุกสิ่งมากจากนักศึกษา ฝึกให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการวางกฎเกณฑ์และการลงโทษ ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีการวางแผนในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังจะเน้นเรื่องการรักษาความลับของผู้ป่วย จะบอกนักศึกษาเสมอว่า การนำข้อมูลผู้ป่วยมาพูดคุยกันต้องเป็นไปในเชิงวิชาการเท่านั้น อีกทั้งยังสอนให้นักศึกษา respect ผู้ร่วมงานในทุกระดับชั้น รู้จักกาลเทศะ เพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดี” หลังจากนั้นอาจารย์สุริย์ ฉาย ได้เพิ่มเติมว่า “จะเน้นความซื้อสัตย์ในการส่งงาน เช่น การ copy งาน โดยให้นักศึกษา reflective ทั้งในการพยาบาลและการแสดงออก ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ยกตัวอย่าง case เพื่อใช้ในการ conference โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ในการดูแลผู้ป่วย เน้นให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน และที่สำคัญคือการให้กำลังใจนักศึกษา โดยต้องชมถ้านักศึกษาปฏิบัติได้ดี” ต่อมา รศ. ดร. ชมนาด ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “อาจารย์ต้อง role model ในทุกๆ เรื่อง ทั้งในด้านการปฏิบัติตัว การแต่งกายหรือการรับของจากชาวบ้านหรือผู้ใช้บริการ การตรงต่อเวลา เช่น นัดกับนักศึกษาก็ต้องตรงเวลา อีกเรื่องคือ ต้องกล้าขอโทษนักศึกษา ถ้าอาจารย์ทำผิดหรือพูดผิด หรือบางครั้งที่ทำให้นักศึกษารู้สึกสะเทือนใจ ถ้าอาจารย์รู้จักที่จะขอโทษ จะทำให้นักศึกษารู้สึกดีและศรัทธาอาจารย์มากขึ้น นอกจากนี้คิดว่าอาจารย์ไม่ควรเรียกชื่อเล่นนักศึกษาในชั้นเรียน” หลังจากนั้นอาจารย์จันทร์จิรา ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตนเองได้ใช้ role play มาใช้ในการสอนภาคทฤษฎี โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสิทธิผู้ป่วย  โดยอาจารย์จะสอดแทรกเนื้อหา ทำให้นักศึกษาสนุกสนาน ไม่ต้องท่อง” ลำดับต่อมาอาจารย์พรสวรรค์ ได้เล่าถึงการสอนของตนเองว่า “ตนเองจะเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา โดยเฉพาะเรื่องการตรงต่อเวลา การมีวินัย ซึ่งจะทำให้นักศึกษารู้สึกละอายใจ นอกจากนี้ในการฝึกปฏิบัติจะมีการมอบหมายงานให้นักศึกษา โดยจะมี leader โดยจะทำหน้าที่จ่ายงานให้เพื่อน และติดตามงาน เพื่อฝึกบทบาทของการเป็นผู้นำ สมาชิกทีมและความรับผิดชอบ การมอบหมายหน้าที่จะเรียงตามลำดับ ID เปลี่ยนทุกวัน เพื่อให้นักศึกษารู้ตัวและมีการวางแผนในการฝึกปฏิบัติงาน มีการใช้สถานการณ์จริงบนวอร์ด มาเป็นตัวอย่าง โดยให้นักศึกษา reflective ในสถานการณ์ดังกล่าว ว่าควรและไม่ควรปฏิบัติอย่างไร ถ้านักศึกษามีประเด็นคำถามควรเชื่อมโยงให้เข้าประเด็นจริยธรรม” อาจารย์จิตราภรณ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ตนเองจะยกตัวอย่างสถานการณ์จริงบนวอร์ด สอดแทรกเนื้อหาจริยธรรม และจะตั้งประเด็นที่เป็นปัญหาทางจริยธรรมให้นักศึกษาสะท้อนคิด เช่น ในผู้ป่วย end of life ที่ญาติต้องการ off ET  จะเชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นทางจริยธรรม ชี้ให้เห็นทั้งด้านบวกและด้านลบของการ off tube ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการวางตัวที่เหมาะสมกับผู้ร่วมงาน ญาติและผู้ป่วย  นอกจากนี้จะเน้นความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน การ copy งานคนอื่น” อาจารย์วรรัตน์ กล่าวเสริมว่า “ในการฝึกปฏิบัติจะใช้สถานการณ์จริงบนวอร์ดเชื่อมโยงกับประเด็นจริยธรรม เป็นตัวอย่างในการวางตัวที่เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมถึงการวางกฎระเบียบร่วมกันกับนักศึกษา  เพื่อให้นักศึกษาไม่รู้สึกว่าถูกบังคับ ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนรู้  สุดท้ายคือการสร้างความมีน้ำใจในการเรียนรู้ เช่น กำหนดเวลาในการเริ่ม conference ซึ่งนักศึกษาจะรีบช่วยกันเพื่อให้งานเสร็จทันเวลา” อาจารย์แสงเดือนได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “ได้ใช้สถานการณ์บนวอร์ดมาใช้สอนนักศึกษาเช่นเดียวกัน โดยอาจารย์จะชี้ให้เห็นประเด็นปัญหาและผลที่จะเกิดตามมา รวมถึงให้นักศึกษา reflective เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ให้อิสระนักศึกษาเพื่อให้มีความพร้อมในการขึ้นฝึกปฏิบัติ” ต่อมาอาจารย์ปิยะภร ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “อาจารย์ต้องเป็น role model ที่ดีให้นักศึกษา โดยเฉพาะเมื่อขึ้นฝึกปฏิบัติ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวจะเน้นความเป็นมนุษย์ สิทธิผู้ป่วยให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ในระหว่างการ pre-post conference จะให้นักศึกษาสะท้อนผลการปฏิบัติงานของตนเอง ถ้ามีเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ต้องตำหนินักศึกษาจะเรียกมาคุยเป็นการส่วนตัว ไม่ตำหนิต่อหน้าผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย ในสวนอื่นก็จะใช้สถานการณ์บนวอร์ดมาสอนนักศึกษา แยกแยะ model ที่ดีและไม่ดีให้นักศึกษาเห็น” อาจารย์อุษากล่าวว่า “ถ้าต้องการให้นักศึกษาเป็นอย่างไร อาจารย์ต้องเป็นตัวอย่างให้เห็น เช่น การตรงต่อเวลา การเข้า approach ผู้ป่วย ให้กำลังใจนักศึกษาถ้าทำดี ในการปฏิบัติต้องให้นักศึกษาเอาใจเขามาใส่ใจเรา สุดท้ายคืออาจารย์มีโอกาสผิดพลาดได้ ต้องรู้จักขอโทษ” หลังจากนั้นอาจารย์ผ่องศรีกล่าวเพิ่มเติมว่า “เน้นการเป็นตัวอย่างที่ดี ทั้งในด้านการตรงต่อเวลา การพูดจา รวมถึงการดูแล (caring) โดยจะใช้การสัมผัสมาช่วย ทำให้นักศึกษาดู ใช้สถานการณ์บนวอร์ดสอนเรื่องสิทธิผู้ป่วย ในช่วงสัปดาห์แรกของการฝึกปฏิบัตินักศึกษายังปรับตัวไม่ได้ อาจารย์ต้องให้กำลังใจนักศึกษา ในช่วงของการ post-conference จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พูดคุย รวมถึงมีการกล่าวขอโทษเมื่อมีการทำผิด” ต่อมาอาจารย์สถิตย์กล่าวว่า “ตนเองจะใช้ relationship ที่ดีกับบุคลากรบนวอร์ด โดยจะนำคำชมหรือ feedback จากบุคลากรมาบอกนักศึกษา จะทำให้นักศึกษาเกิดความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ในการ conference จะนำพฤติกรรมที่ดีของนักศึกษามาเป็นตัวอย่างเพื่อให้นักศึกษาที่มีพฤติกรรมไม่ดีปรับปรุง แต่จะไม่มีการตำหนิ” อาจารย์อรทัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “ใช้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงบนวอร์ดที่เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมของนักศึกษา เช่น การถ่ายรูปประวัติผู้ป่วย ให้นักศึกษาสะท้อนคิด โดยสรุปได้ว่าข้อดีที่เกิดขึ้นจะเป็นของนักศึกษาทั้งหมด แต่ข้อเสียนั้นก็จะเป็นของผู้ป่วย จะทำให้นักศึกษาคิดได้ว่าควรกระทำหรือไม่ เป็นต้น” ต่อมาอาจารย์นิษา ได้เล่าต่อว่า “ในประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น อาจารย์ต้องทำตัวเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาเห็นตั้งแต่อยู่ชั้นปีที่ 1 โดยอาจารย์ที่ปรึกษาจะพบนักศึกษาทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ทำให้อาจารย์กับนักศึกษามีสัมพันธภาพระหว่างที่ดี นักศึกษากล้าปรึกษา พูดคุย” สุดท้ายอาจารย์พรทิพย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “อาจารย์ต้องการให้นักศึกษาเป็นอย่างไร ตัวเองต้องเป็นให้อย่างนั้น อีกทั้งในการขึ้นฝึกปฏิบัติอาจารย์ต้องใช้สถานการณ์บนวอร์ดมาสอนไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี เพื่อให้นักศึกษาสามารถแยกแยะได้ และได้สะท้อนคิดเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางจริยธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น”

    (อาจารย์พรทิพย์ สารีโส)

    คุณลิขิต



หมายเลขบันทึก: 512765เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยค่ะ การที่อาจารย์จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดี 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท