มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

ปฎิบัิติแบบอิริยาบถบรรพ


 

โครงการธรรมศึกษาวิจัย

การปฎิบัติอิริยาบทบรรพ

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษาวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการ

ทางพระพุทธศาสนาตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ พิมพ์ครั้งที่ ๑

๕๐๐ เล่ม เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

คำนำ

ชาวโลกมนุษย์ทุกวันนี้เขาชอบของปลอมไม่ชอบของจริงทุกคนจึงพยายามเสริมของปลอมเอามาหลอกกันรูปร่างกายมนุษย์เรามีอะไรเราอาจทราบได้ด้วยการศึกษาตามธรรมดาวิชาโลกๆแต่กระนั้นก็ยังดูไม่ออกไม่เข้าใจในรูปที่เห็นเสียงที่ได้ยินกลิ่นที่ได้ดมรสที่ได้ลิ้มและสัมผัสที่ได้กระทบถูกต้องแม้พระพุทธเจ้าผู้เปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาจะทรงเรียกให้มาดูก็ยังดูกันไม่ออกไม่เข้าใจเมื่อไม่เข้าใจจึงได้พากันหลงรักหลงใคร่ติดอยู่ในของปลอมๆเหล่านี้ความอิ่มในการดูรูปที่ถูกใจในเสียงที่ได้ยินในกลิ่นที่ได้ดมในรสที่ได้ลิ้มและในสัมผัสที่ได้ถูกต้องไม่มีชาวโลกถูกความหิวกระหายบังคับให้ต้องดิ้นรนขวนขวายไปแสวงหาเหยื่อของโลกคือโลกามิสเหล่านี้ไปโดยไม่มีเวลาพักผ่อนไม่มีก็ต้องเสาะหาด้วยอำนาจของตัณหาคือความต้องการตื่นขึ้นมาตอนเช้าก็ต้องไปกันแล้วพวกพ่อค้าแม่ขายก็ไปกันแล้วพวกข้าราชการก็ไปชาวไร่ชาวนาก็ต้องไปทาสกรรมกรรับจ้างก็ต้องไปกันแล้วไม่ไปไม่ได้เพราะถูกเจ้านายคือความต้องการบังคับเมื่อสิ้นวันมืดค่ำกลับมาพักผ่อนหลับนอนกันเสียทีพอรุ่งพรุ่งนี้ก็ต้องไปกันอีกชีวิตเรามีเพียงเท่านี้หรือ

การศึกษาหนทางพ้นทุกข์ วิธีหนึ่งคือการปฺฎิบัติธรรมกำหนดอิริยาบถ ๔

รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ด้วยอำนาจความดีที่ท่านทั้งหลายได้อ่านและทำความเข้าใจจงเป็นบุญบาท

ให้พุทธศาสนาดำรงอยู่ได้นานตราบนาน

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

  บทที่ ๑

  การมีวิถีชีวิตที่ดี

เราทำกันมาอย่างนี้จนมีอายุ๕๐-๘๐ปีจนกระทั่งแก่ก็ต้องทำงานกันอยู่

  ถามไปทำงานทำไม

  ตอบทำงานเพื่อหาเงิน

  ถามไปเรียนทำไม

  ตอบเรียนก็เพื่อหางานทำ

  ถามทำงานไปทำไม

  ตอบทำงานก็เพื่อหาเงิน

  ถามหาเงินมาทำไม

  ตอบหาเงินเพื่อเอามาซึ้อรูปที่สวยๆเอามาดูซื้อเสียงเพราะๆเอามาฟังซื้อกลิ่นที่หอมๆเอามาดมซื้อรสที่อร่อยๆเอามากินซื้อสัมผัสที่นุ่มนวลชวนชมเอามาถูกต้องไม่มีก็ต้องเสาะหาด้วยอำนาจตัณหาเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งเรียกว่าคเวสนทุกข์  

  เมื่อได้มาเป็นกรรมสิทธิ์แล้วก็ต้องลงทุนคอยพิทักษ์รักษาเป็นห่วงเป็นใยต้องระแวดระวังกลัวคนอื่นจะมาแย่งชิงกลัวจะมามีส่วนในของที่ตนหวงแหนไม่อยากให้ใครมามีส่วนร่วมรู้สึกเป็นความลำบากนับเป็นความทุกข์อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า

อารักขทุกข์ทุกข์เพราะต้องคอยดูแลรักษาไม่มีก็จะต้องเสาะหาเพราะอำนาจตัณหาเมื่อได้มาแล้วก็ต้องคอยดูแลรักษาด้วยอำนาจของอุปาทานทั้งตัณหาและอุปาทานเป็นตัวกิเลสวัฏฏะผลักดันเหล่าสัตว์ให้หมุนไปเสาะหาเพื่อเอามาเป็นกรรมสิทธิ์การเสาะหาและถือเป็นกรรมสิทธิ์จัดเป็นกรรมวัฏฏะส่วนผลที่ได้มากินมาใช้เป็นวิปากวัฏฏะในมนุษย์โลกทุกวันนี้เต็มไปด้วยของปลอมเพราะชาวโลกทุกวันนี้ไม่สนใจของจริงทุกคนจึงต้องเสริมสวยของปลอมมาสนองความต้องการ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมืองใหญ่ๆจะดูศิวิไลย์ไปด้วยการตกแต่งประดับประดาเพื่อเรียกร้องความสนใจของหมู่ชนผู้ที่ไปชมแม้ผู้คนทั้งหญิงทั้งชายต่างก็แต่งตัวเสริมสวยไปอวดไปหลอกล่อยั่วยวนกันทำให้ดูกันไม่ออกไม่เข้าใจกันเมื่อไม่มีความเข้าใจในรูปที่เห็นก็เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสคือความเศร้าหมองคือความรักอยากได้เป็นผลติดตามมาเรื่องของรูปทำให้เกิดกิเลสความเศร้าหมองง่ายกว่านามเพราะรูปเป็นของหยาบเสริมสวยให้คนที่ขาดปัญญาหลงใหลได้ง่ายคนเราถ้าลงได้หลงใหลไปแล้วถึงจะเสียหายเท่าไหร่ก็ยอมบางทีถึงกับยื้อแย่งตีรันฟันแทงกันเพราะเหตุแห่งการแย่งรูปก็มีมากการทำความเข้าใจในรูปเป็นการเข้าใจยากมากเพราะรูปนี้มีมารยาสาไถยมากมายเหลือเกินบางทีเป็นคนมีความรู้เป็นใหญ่เป็นโตมีชื่อมีเสียงบางทีก็เสียชื่อเสียงเพราะรูปก็มีมากเพราะการศึกษาให้เข้าใจรูปซึ่งเป็นของปลอมจึงมิใช่เรื่องธรรมดาบางคนที่หลงใหลในรูปที่ถูกใจถึงกับใฝ่หากินไม่ได้นอนไม่หลับแม้ว่ารูปจะอยู่ไกลแสนไกลก็จะต้องไปดูให้จงได้มิฉะนั้นก็กินไม่ได้นอนไม่หลับบางคนปลอบโยนเท่าไหร่ก็ไม่ยอมฟัง

  ถามว่าเธอจะเอาอะไรก็ขอให้บอกจะหาให้ทุกอย่าง

  ก็ตอบว่าไม่อยากได้อะไรทั้งนั้นถ้านอกเสียจากรูปที่ฉันต้องการจะดูแล้วก็ไม่อยากได้อะไรทั้งหมด

  เห็นไหมเห็นฤทธิ์ของตัณหาหรือยังทำไมของปลอมแท้ๆจึงทำให้คนเราเป็นบ้าเป็นบอถึงขนาดนี้เรียนศาสตร์เรียนศิลป์อะไรก็พอจะเรียนเข้าใจกันได้แต่การเรียนให้เข้าใจในรูปซึ่งเป็นของปลอมๆแท้ๆทำไมจึงเข้าใจยากจริงๆถ้าท่านไม่เชื่อก็ลองพิจารณาเพราะมีข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องไม่เข้าใจในรูปแล้วทำให้เสียหายอยู่ถมเถไปเรื่องของรูปเป็นเรื่องที่ต้องแก้ไขปรับปรุงอยู่เสมอๆจะหยุดยั้งไม่ได้เพราะการปรับปรุงแก้ไขเป็นการปกปิดความจริงความปลอมจะคงทนถาวรอยู่ได้ก็ด้วยการปรับปรุงแก้ไขส่วนนามธรรมคือความสบายไม่สบายหรือเฉยๆความจำความชอบความไม่ชอบหรือการเห็นการได้ยินดมกลิ่นลิ้มรสและรู้ถูกต้องเป็นของที่มองเห็นได้ยากจึงไม่ค่อยจะยั่วตัณหาราคะเท่าไรแท้จริงเรื่องรูปเท่าที่เราพอจะพิจารณาถึงความจริงก็มีอยู่๓อย่างคือ

  ๑. มีลักษณะแตกดับไปเป็นธรรมดา

  ๒. สกปรกโสมมไม่สะอาด

  ๓. เป็นปัจจัยให้คนโง่คนพาลหลงรักหลงชัง

  ความจริงของรูปก็มีอยู่เท่านี้แต่เพราะเราไปปกปิดความจริงของรูปไว้จึงไม่แสดงความจริงเรื่องรูปเป็นภัยที่น่ากลัวมากเพราะเป็นที่อาศัยอยู่ของพยาธินานาชนิดเป็นบ่อเกิดของความป่วยไข้เป็นภาระให้เกิดปลิโพธกังวลในการดูแลรักษาเราหลงดูแต่รูปเพียงภายนอกซึ่งถูกปกปิดไว้ด้วยเครื่องประดับเสริมสวยใหม่ๆจึงไม่เห็นความจริงภายในดูไม่ต่างอะไรกับหีบศพที่เขาประดับประดาไว้ด้วยเครื่องตั้งความเข้าใจผิดสำคัญเอาว่ารูปเป็นของสวยสดงดงามเป็นวิปลาสคลาดเคลื่อนจากความจริงตัณหาราคะความกำหนัดยินดีทำให้สัตวโลกตาบอดมองไม่เห็นความจริงของรูปจึงหลงรักหลงใคร่อาลัยใฝ่ถึงวาดภาพไปต่างๆนานาว่าหน้างามจมูกงามผมงามใบหน้างามฟันงามผิวงามทรวดทรงงามเป็นความจำผิดคิดผิดเห็นผิดกับความเป็นจริงของรูปรูปนี้เกิดมาจากอดีตกรรมดีในชาติที่ล่วงแล้วนำมาเกิดแล้วก็ได้ความอุปถัมภ์ค้ำจุนด้วยจิตอุตุและอาหารจึงเป็นไปได้แต่จะยึดเอาแก่นสารสาระจากรูปนี้ไม่ได้เลยเราเป็นทาสรับใช้รูปโดยการพยุงให้ลุกให้นั่งให้นอนให้กินดื่มอาบน้ำกินข้าวดื่มน้ำถ่ายอุจจาระปัสสาวะเป็นต้นมาแต่วันเกิดจนอายุล่วงเข้า๕๐-๖๐ปีแล้วยังจะต้องรับภาระนี้ต่อไปจนกว่าจะถึงวันตายก็หยุดพักไม่ได้ตายแล้วเกิดใหม่ก็ต้องรับใช้รูปไปอย่างนี้ไม่มีเวลาที่จะพักผ่อนได้  ภาระหนักในการรับใช้รูปจึงรู้สึกว่าวางใจไม่ได้ตราบใดที่ยังมีรูปอยู่ก็จะต้องรับใช้กันเรื่อยไปรูปจึงเป็นตัวทุกข์และทำให้ผู้แบกรูปขันธ์มีภาระจำต้องเป็นทุกข์ตลอดไปสิ้นกาลนาน

  อวิชชาความไม่รู้เป็นคู่กับตัณหาเมื่อไม่รู้ว่ารูปนี้เป็นทุกข์ก็เป็นเหตุให้อยากได้เพราะเข้าใจว่าถ้าได้รูปนี้มาแล้วจะเป็นความสุขในโลกทุกวันนี้ส่วนมากก็เป็นไปอย่างนี้ทั้งนั้นต่างคนต่างก็ไหลไปตามกระแสของกิเลสถูกกระแสกิเลสพัดพาไปตกเหวแห่งโอฆะคือโอกอ่าวของกิเลสตัณหารอดพ้นไปไม่ได้ต้องพากันจมตายอยู่ในวัฏฏะคือวังวนนี้ไม่รู้จักสิ้นสุดลงได้เกิดมาตัวเปล่าไม่มีสมบัติสิ่งใดติดตัวมาเลยเวลาตายก็ไปตัวเปล่ามิได้เอาสมบัติอะไรติดตัวไปเลยความจริงเราเห็นกันอยู่อย่างนี้ใช่ไหมโลกมนุษย์เป็นเพียงที่พักในระหว่างทางเป็นการชั่วคราวเท่านั้นเรามาพักกันไม่เท่าไรต่างก็ต้องลาตายจากไปและเดินทางต่อไปอีกแล้วจำต้องเดินทางต่อไปตามยถากรรมคือทำกรรมอย่างใดไว้ก็จำต้องไปตามกรรมนั้นเรื่องที่ว่านี้เป็นเรื่องที่แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัยเราจะหวังอะไรในรูปนี้ตามใจหวังเป็นอันว่าไม่ได้ตามใจหวังเพราะรูปไม่ใช่ของเราจึงไม่มีอะไรในรูปนี้รูปนี้เกิดมาแต่เหตุปัจจัยเมื่อหมดเหตุปัจจัยรูปก็ต้องแตกสลายไปตามสภาพเรื่องนี้เป็นกฎธรรมดาที่มีมาแต่ไหนแต่ไรมาแล้วเราทั้งหลายไม่เข้าใจในรูปจึงหลงรักหลงใคร่มีความอาลัยในรูปจนถึงต้องโศกเศร้าเสียใจในรูปแต่รูปก็หาได้รู้ไม่ว่าเขายิ่งมีความโศกเศร้าเสียใจถึงเราที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรูปรับรู้ใครเป็นอารมณ์ไม่ได้  เรื่องรูปเป็นวิชาที่ลึกลับเรียนเข้าใจได้ยากเพราะเรื่องการไม่เข้าใจรูปนี่เองเราจึงพากันหลงในรูปแม้จะเป็นนักปราชญ์มีความรู้ขนาดไหนก็ตามส่วนมากก็มาหลงรักรูปตายเพราะรูปกันทั้งนั้นชายก็รักรูปหญิงหญิงก็รักรูปชายที่จริงรูปไม่ใช่หญิงไม่ใช่ชายเพราะรูปเขาเคยบอกกับใครว่าเขาเป็นหญิงเป็นชายแต่เราเองต่างหากที่เข้าใจเอาเองว่ารูปเป็นรูปหญิงรูปชายแล้วก็ลงทุนรักกันหลงกันแต่พอรูปแตกทำลายไปตามธรรมดาต่างก็เสียใจอาลัยถึงรูปทุกคนต่างก็ดิ้นรนไปเองคิดไปเองคือคิดว่ารูปดีก็หัวเราะชอบใจแต่พอคิดว่ารูปไม่ดีก็ร้องไห้เสียใจอาลัยถึงอาการทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของตัณหาราคะทั้งนั้นเราทั้งหลายไม่มีสติปัญญาหรืออาวุธอะไรที่จะสามารถไปทำลายได้จึงจำต้องถูกกิเลสมารร้ายพาไปให้ได้รับทุกข์ต้องเกิดๆตายๆไปในวังวนคือวัฏฏสงสารนี้ไม่มีที่สิ้นสุดถูกอวิชชาคือความไม่รู้หุ้มห่อไว้มืดมนมองไม่เห็นความจริงของสัจธรรมว่าอยู่ที่ไหนสังคมโลกทุกวันนี้ไม่มีแสงสว่างอะไรที่จะช่วยให้เราได้รับแสงสว่างบ้างส่วนมากมีแต่เรื่องมอมเมาทำให้มืดมนหมดที่พึ่งขาดความอบอุ่นใจต่างคนต่างอยู่กันด้วยความหวาดผวามองเห็นอยู่แต่พระดำรัสของพระพุทธเจ้าบทหนึ่งที่ว่าตนเท่านั้นเป็นที่พึ่งของตนคนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้

  ทางมีอยู่แต่ไม่มีผู้เดิน

  ทุกข์มีอยู่แต่ไม่มีผู้กำหนด

  สมุทัยมีอยู่แต่ไม่มีผู้ละ

  นิโรธมีอยู่แต่ไม่มีผู้ทำให้แจ้ง

  มรรคมีอยู่แต่ไม่มีผู้เจริญ

ซากศพที่ตายแล้ว๑วัน๒วันถึง๓วันเริ่มขึ้นพองแล้วขออย่าได้แปลกใจเลยตายแล้วเหมือนกันทุกคนไม่รอดพ้นไปได้รูปร่างกายนี้ประกอบไปด้วยธาตุดิน๒๐ธาตุน้ำ๑๒คือ

  ดิน๒๐   ผม  ขน  เล็บ  ฟัน  หนัง

  เนื้อ  เอ็น  กระดูก  เยื่อในกระดูก  ม้าม

  หัวใจ  ตับ  พังผืด  ไต  ปอด

  ไส้ใหญ่  ไส้น้อย  อาหารใหม่  อาหารเก่า  มันสมอง

  ธาตุน้ำ๑๒น้ำดี  เสมหะ  น้ำเหลือง  โลหิต  เหงื่อ  น้ำมันข้น

  น้ำตา  น้ำมันเหลว  น้ำลาย  น้ำมูก  ไขข้อ  ปัสสาวะ

  ส่วนต่างๆในร่างกายนี้เป็นของไม่สะอาดเกิดมาจากปัจจัยคืออวิชชาตัณหาอุปาทานกรรมและอาหารอวิชชาคือความไม่รู้ว่าความเกิดเป็นทุกข์จึงเป็นปัจจัยให้เกิดเป็นนามรูปอาหารเป็นอุปถัมภ์ปัจจัยประคองให้รูปนี้เป็นอยู่ไปได้ส่วนตัวตัณหาอุปาทานและกรรมเป็นปัจจุบันเหตุตัณหาและอุปาทานเป็นกิเลสวัฏฏะส่วนกรรมเป็นกัมมวัฏฏะเป็นปัจจัยให้เกิดอนาคตผลในภพหน้าถ้าเราจะใช้ปัญญาพิจารณาในนามรูปแล้วจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีแก่นสารสาระอะไรเลยเป็นภาระที่หนักจำต้องรับผิดชอบตัวเองตลอดมาตั้งแต่วันเกิดจนกระทั่งตายและเมื่อตายแล้วก็จะต้องไปเกิดรับภาระคือขันธ์๕นามรูปนี้อีกกิเลส๓ตัวคือตัณหามานะและทิฏฐิเป็นธรรมะที่ทำให้เหล่าสัตว์เนิ่นช้าอยู่ในวัฏฏะคือวังวนนี้ความพอใจความอยากได้ความสุขอยู่ในภพภูมิต่างๆโดยเห็นผิดว่าเป็นของดีของงามเป็นกิเลสเจ้าเรือนหมักดองอยู่ในความรู้สึกของสัตว์ทั้งหลายไม่สามารถจะแกะออกได้ยึดติดอยู่ภายในตัวเองบ้างยึดติดอยู่ในภายนอกตัวเองบ้างไม่มีช่องว่างให้สติปัญญาเกิดมาเห็นความจริงได้เลยเพราะสัตว์ทั้งหลายเพลิดเพลินพอใจอยู่ในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในสัมผัสที่นุ่มนวลชวนชมโดยไม่ยอมออกห่างจากสิ่งเหล่านี้เลยเพราะมีความเพลิดเพลินคุ้นเคยกับเหยื่อล่อเหล่านี้มากรูปนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ให้เกิดกิเลสตัณหาได้ง่ายเพราะเป็นของหยาบความจริงสัตวโลกไม่ค่อยได้ใช้ปัญญาพิจารณาความจริงของรูปว่ารูปมีความจริงเป็นอย่างไรพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำอย่างไรในเรื่องของรูปรูปนี้มีความจริงเป็นอย่างไรความจริงของรูปก็คือความแตกดับเป็นธรรมดารูปเป็นของสกปรกโสมมปฏิกูลน่าเกลียดจำต้องคอยขัดสีทำความสะอาดอยู่เสมอๆแม้กระนั้นก็ยังไม่วายเหม็น

  รูปร่างกายนี้เสมือนเรือนที่มีประตูไหลออกไหลเข้าของสิ่งโสโครกอยู่๙ช่องคือตา๒เป็นที่ไหลออกของขี้ตาหู๒เป็นที่ไหลออกของขี้หูจมูก๒เป็นที่ไหลออกของขี้มูกปากเป็นที่ไหลออกของขี้ปากทวารเบาเป็นที่ไหลออกของน้ำปัสสาวะทวารหนักเป็นที่ไหลออกของอุจจาระส่วนรูเล็กๆที่มีอยู่ทั่วสรรพางค์กายก็เป็นที่ไหลออกของเหงื่อไคลไหลออกมาตามรูขุมขนแล้วก็ออกมาเปื้อนผ้านุ่งผ้าห่มต้องคอยซักฟอกทำความสะอาดอยู่ไม่ว่างเว้นรูปร่างกายนี้เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดน่าความสะอิดสะเอียนเหลือประมาณถ้าเราจะใช้ปัญญาพิจารณาดูด้วยเหตุผลแล้วรู้สึกว่ารูปร่างกายนี้ไม่มีประโยชน์เลยรู้สึกว่าเป็นภาระที่ปลงได้ยากยิ่งจำต้องรับใช้ด้วยการคอยพยุงให้ลุกให้นั่งให้เดินให้ยืนให้คู้เหยียดเคลื่อนไหวให้ดื่มกินให้ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ว่างเว้นตั้งแต่วันเกิดจนกว่าจะถึงวันตายมิใช่เพียงแต่เท่านั้นรูปนี้ยังเป็นปัจจัยให้คนผู้โง่เขลาเบาปัญญาหลงรักหลงใคร่อยากได้รูปมาเป็นของตนบางทีถึงกับยื้อแย่งตีรันฟันแทงกันจนตายก็มีที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะไม่เข้าใจในรูปนั่นเองเรารักรูปแต่รูปไม่รู้จักว่ามีผู้มารักเราชังรูปเต่รูปก็ไม่รู้จักว่ามีคนชังตนทั้งนี้เพราะรูปเป็นอนารัมมณะรับเอาใครเป็นอารมณ์ไม่ได้นึกว่ารูปดีก็พอใจในรูปนึกว่ารูปไม่ดีก็เกลียดรูปชังรูปบางทีถึงกับยิงแทงฆ่ารูปรูปเองก็ไม่รู้ว่าเขามาแทงตนฟันหรือฆ่าตนเพราะรูปนี้เป็นอัปปหาตัพพะเป็นธรรมที่ไม่ควรประหานรูปร่างกายเป็นอยู่ได้ด้วยอาหารที่รับประทานเข้าไปวันหนึ่งๆหลายเวลาอาหารที่รับประทานเข้าไปภายในท้องก็มีมากมายหลายอย่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์ต่างๆเช่นไก่เป็ดปลาปูหอยกุ้งหมูเนื้อสัตว์ต่างๆก็รับประทานรวมเข้าไปหมักหมมกันอยู่ในท้องพิจารณาดูแล้วเหมือนป่าช้าที่ทิ้งศพของสัตว์ต่างๆเป็นป่าช้าชั้นต่ำเป็นที่น่าสะอิดสะเอียนอย่างยิ่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไปยังแบ่งออกเป็น๕ส่วนที่ใช้ไม่ได้ส่วนหนึ่งเป็นอุจจาระส่วนที่๒เป็นน้ำที่ใช้ไม่ได้เป็นน้ำปัสสาวะส่วนที่๓ถูกพวกพยาธิที่อาศัยอยู่ในร่างกายแย่งกินเสียอีกส่วนที่๔ถูกไฟธาตุย่อยให้เสียไปอีกส่วนหนึ่งจะได้นำไปเสริมร่างกายเพียงส่วนเดียวเท่านั้นและส่วนหนึ่งที่ได้มานี้ก็จะเสริมส่วนต่างๆในร่างกายมีผมขนเล็บฟันหนังเนื้อเป็นต้นที่สึกหรอไปตามธรรมดาและถ้าไฟธาตุที่เกิดจากกรรมอ่อนย่อยไม่ดีแทนที่จะเสริมส่วนต่างๆในร่างกายแต่กลับกลายเป็นโทษทำให้เกิดเป็นโรคผิวหนังเป็นกลากเกลื้อนหรือพุพองตามร่างกายหรือโรคท้องร่วงไปก็ได้

นอกจากนี้รูปร่างกายนี้ยังเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บนานาประการเป็นโรคตาโรคหูโรคจมูกโรคลิ้นโรคในปากโรคฟันโรคลมโรคเบาหวานโรคความดันโรคหัวใจโรคอัมพาตโรคมะเร็งโรคบิดโรคเอดส์โรคท้องมานโรคเหน็บชาโรคริดสีดวงโรคเท้าช้างโรคลมชักโรคไทรอยด์โรคต่อมทอนซินโตโรคไข้หวัดใหญ่โรคไข้ทรพิษโรคไตโรคตับโรคปอดเป็นต้นรวมความว่ารูปร่างกายเป็นรังที่อยู่ของโรคภัยไข้เจ็บนานาชนิดเป็นที่อยู่ของพยาธิคือหนอนต่างๆมีพยาธิตัวตืดพยาธิไส้เดือนพยาธิปากขอพยาธิปากดำเป็นต้นที่อาศัยอยู่ในร่างกายนี้รูปร่างกายนี้มีโทษร้ายมากมายหลายสถานนอกจากรูปจะผุพังไปตามธรรมชาติแล้วยังจะเป็นภาระธุระต้องคอยดูแลรักษาเพื่อมิให้รูปนี้ต้องเกิดภัยต่างๆที่จะเกิดมีมาทั้งภายในและภายนอกความหมดเปลืองเงินทองไปเกี่ยวกับเรื่องของรูปตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงบัดนี้มีประมาณไม่น้อยแล้วต่อไปในวันหน้าก็จะต้องหมดเปลืองเพราะเรื่องของรูปร่างกายอีกมากผลที่ได้มาจากการดูแลรักษารูปไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลยผลสุดท้ายเวลาตายก็จะต้องเสียเงินเสียทองเผารูปร่างนี้ทิ้งไปอีกส่วนเราและญาติพี่น้องนอกจากจะไม่ได้อะไรจากรูปนี้แล้วยังจะต้องร้องห่มร้องไห้เสียใจอาลัยถึงรูปนั้นอีกทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ก็มิใช่อื่นไกลที่จริงก็เป็นเรื่องของรูปร่างกายนี้ทั้งนั้นรูปร่างกายเป็นของว่างเปล่ามิได้มีส่วนใดในรูปนี้เป็นแก่นสารเลยนับตั้งแต่วันเกิดจนบัดนี้มีอายุคนละ๕๐-๖๐ปีเรากินข้าวหมดคนละกี่ถังกินแกงหมดคนละกี่หม้อกินเนื้อหมดคนละกี่ชั่งกี่กิโลกินน้ำหมดไปเท่าไรแล้วมาบัดนี้มีเหลืออยู่ไหมไม่มีเหลือเลยรักก็เคยรักมาแล้วชังก็เคยชังมาแล้วสุขก็เคยสุขมาแล้วทุกข์ก็เคยทุกข์มาแล้วแล้วมาบัดนี้มีเหลืออยู่ไหมไม่มีอะไรเหลืออยู่เลยแล้วเราจะไปเอาแก่นสารสาระจากรูปได้อย่างไรการเห็นว่ารูปนี้งามรูปนี้เที่ยงรูปนี้เป็นสุขรูปนี้เป็นอัตตาตัวตนการจำอย่างนี้ความคิดอย่างนี้ความเห็นอย่างนี้พระตรัสว่าเป็นวิปลาสพลาดผิดธรรมดาความจริงในคำสอนนี้ไม่มีนามรูปที่ไหนที่งามที่เที่ยงแท้แน่นอนที่เป็นสุขที่เป็นอัตตาตัวตนเป็นความเข้าใจผิดสัตวโลกถูกอวิชชาความมืดปกปิดไว้ไม่ให้เห็นความจริงของนามรูปจึงเป็นเหตุให้เกิดตัณหาคือความทะเยอทะยานอยากได้นามรูปนั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์แล้วยึดถือว่าเป็นเราด้วยอำนาจของตัณหายึดถือว่ารูปนามนี้เป็นเราด้วยอำนาจมานะและยึดถือว่านามรูปนี้เป็นตัวตนของเราด้วยอำนาจของทิฏฐิธรรมะทั้ง๓คือตัณหามานะและทิฏฐิเป็นปปัญจธรรมเป็นธรรมที่ทำให้สรรพสัตว์เนิ่นช้าอยู่ในสังสารวัฏคือความเวียนว่ายตายเกิดนี้อวิชชาสังขารตัณหาอุปาทานกรรมภพเป็นอดีตเหตุทำให้เกิดผลในปัจจุบันนี้๕คือวิญญาณนามรูปสฬายตนะผัสสะและเวทนาเมื่อมีเวทนาแล้วตัวเวทนาคือความสุขซึ่งเป็นปัจจุบันผลก็เป็นปัจจัยให้เกิดปัจจุบันเหตุคือตัณหาอุปาทานกรรมภพอวิชชาและสังขารอันเป็นเหตุในปัจจุบันก็จะทำให้เกิดผลในอนาคตคือชาติชราเป็นต้นต่อไปเพราะสัตว์ทั้งหลายต้องการความสุขหลีกหนีความทุกข์ไม่ต้องการความทุกข์รูปที่เราได้เห็นเสียงที่เราได้ยินกลิ่นที่เราได้ดมรสที่เราได้ลิ้มสัมผัสคือความเย็นความร้อนความอ่อนความแข็งเป็นต้นเท่าที่เราเสาะแสวงหาอยากได้กันอยู่ทุกวันนี้ความจริงเป็นกามคุณคือวัตถุกามเป็นวัตถุอันน่าใคร่น่าปรารถนาของกิเลสกามคือตัณหารูปเสียงกลิ่นรสสัมผัสอันน่าใคร่น่าพอใจเป็นบ่วงของมารส่วนความปรารถนาความอยากได้รูปเป็นต้นเป็นกิเลสมารเมื่อเป็นเช่นนี้ประชาชาวโลกทั้งหมดไม่ว่ามวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็ติดอยู่ในวังวนของวัฏฏะติดอยู่ในทุกข์และเหตุให้เกิดทุกข์จะหลุดพ้นไปไม่ได้เพราะรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสที่เป็นปัจจัยให้เกิดการเห็นการได้ยินการรู้กลิ่นการรู้รสและรู้เย็นร้อนอ่อนแข็งคือรวมรูปภายนอก๗ที่เรียกว่าวิสยรูป๗และนามที่ได้เห็นได้ยินรู้กลิ่นรู้รสและรู้เย็นร้อนอ่อนและแข็งเป็นนามธรรม๑๐อย่างนามรูปทั้งสองประการนี้เป็นทุกขสัจจะส่วนความต้องการที่อาศัยทุกข์นี้เกิดขึ้นเป็นสมุทัยสัจจะรวมความแล้วชาวโลกทุกวันนี้มีอยู่แต่ทุกข์กับสมุทัยสัจจะเท่านั้นความสุขที่เกิดแต่กามคุณคือการเห็นรูปได้ยินเสียงดมกลิ่นลิ้มรสและสัมผัสที่จริงแล้วก็คือทุกข์นั่นเองเพราะสุขเป็นเวทนาขันธ์ตกอยู่ในความไม่เที่ยงเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาบังคับบัญชาอะไรไม่ได้สังคมสมัยใหม่ทุกวันนี้พากันเสาะหาความสุขความจริงแล้วไม่ใช่เสาะหาสุขแท้จริงแล้วแสวงหาความทุกข์นั่นเองเพราะความสุขที่เขาแสวงหานั้นเป็นขันธ์เป็นกองของทุกข์แต่สังคมถูกอวิชชาคือความไม่รู้หุ้มห่อไว้จึงมองไม่เห็นความจริงของทุกข์ได้ส่วนวิชาการสมัยใหม่ที่ชาวโลกนิยมเรียนกันทุกวันนี้เรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งลาภยศสรรเสริญและความสุขซึ่งโลกธรรมฝ่ายดีเหล่านี้เป็นปัจจัยแก่ตัณหาคือความต้องการทำให้ตัณหาอันเป็นต้นเหตุของทุกข์ให้กำเริบเสิบสานมากขึ้นไม่ใช่ทำตัณหาให้เบาบางลงเลยตัณหาคือความทะยานอยากได้ไม่ใช่อยากได้อย่างอื่นที่จริงก็อยากได้รูปสวยๆเอามาดูเอามาชมเพราะเมื่อได้ดูได้ชมแล้วมีความสุขอยากได้เสียงเพราะๆเอามาฟังเพราะเมื่อได้ฟังเสียงเพราะๆแล้วมีความสุขใจอยากได้กลิ่นหอมๆเอามาดมเพราะเมื่อได้ดมกลิ่นหอมๆแล้วมีความชื่นใจเป็นสุขใจอยากได้รสอร่อยๆเอามาลิ้มเพราะเมื่อได้ลิ้มรสอร่อยๆแล้วทำให้สุขใจสบายใจอยากได้ของที่อ่อนนุ่มเอามาครองเพราะเมื่อได้ของนุ่มนวลชวนชมเอามาครองแล้วทำให้รู้สึกซาบซ่านสุขใจสุดที่จะพรรณนาได้เป็นไปด้วยอำนาจตัณหาราคะแท้ๆความจริงแล้วเรื่องของรูปไม่ได้มีรสชาติอะไรดอกแต่เพราะตัณหาอย่างเดียวที่ทำให้เกิดมีรสชาติดูไม่ต่างอะไรกับสุนัขจิ้งจอกเที่ยวเสาะหาอาหารไปและบังเอิญไปพบกระดูกสัตว์ตกอยู่ท่อนหนึ่งเป็นสีขาวดังสีสังข์แล้วแต่เพราะความหิวกระหายจึงลงทุนเคี้ยวน้ำลายไหลยืดๆลิ้นรับรสน้ำลายของตัวเองอย่างเอร็ดอร่อยเหมือนกับสังคมมนุษย์ทุกวันนี้เสาะแสวงหารูปเอามาชมแล้วก็เข้าใจว่าเป็นสุขก็เหมือนกันเราเข้าใจว่ารูปเป็นสุขแต่รูปก็ไม่ได้บอกเราว่ารูปเป็นสุขแต่เพราะเข้าใจเอาเองว่ารูปเป็นสุขเราเข้าใจผิดว่ารูปเป็นเราว่าเราเป็นรูปว่ารูปมีในเราว่าเรามีในรูปแม้ในเวทนาในสัญญาในสังขารและในวิญญาณรวม๕ขันธ์ก็มีอย่างละ๔จึงรวมเป็นสักกายทิฏฐิ๒๐ทิฏฐานุสัยไหลออกไปอาบฉาบทาอารมณ์ทุกขณะที่ได้เห็นได้ยินดมกลิ่นลิ้มรสและถูกต้องเย็นร้อนอ่อนแข็งไม่สามารถจะเพิกถอนออกได้สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงไม่มีทางที่จะออกจากทุกข์ด้วยวิชาเท่าที่ทางโลกเรียนกันอยู่ในขณะนี้แม้โลกจะพัฒนาวิชาการให้สูงขึ้นเท่าไรก็ไม่มีทางที่จะออกจากทุกข์ได้เลยมีแต่จมอยู่ในกองทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น

  พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนาถที่พึ่งของโลกได้ทรงประกาศพระสัจธรรมมาโปรดชาวโลกหาทางออกให้แก่ชาวโลกด้วยการแสดงถึงไตรสิกขาอริยมรรคมีองค์แปดจึงจะสามารถออกจากทุกข์ได้นั่นก็คือสติปัฏฐาน๔อันเป็นทางสายเอกเป็นทางสายเดียวที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนานี้เป็นทางสายเดียวที่มุ่งตรงไปสู่พระนิพพานเป็นทางสายเดียวที่เป็นไปเพื่อความหมดจดโดยวิเศษแห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นไปเพื่อความก้าวล่วงเสียได้ซึ่งความโศกความร่ำไรเป็นไปเพื่อความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งความทุกข์และโทมนัสเป็นไปเพื่ออริยมรรคเป็นไปเพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้งนี้คือ

หมายเลขบันทึก: 512608เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2012 22:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

สติปัฏฐาน๔ได้แก่

  ๑. กายานุปัสสนาสติปัฏฐานคือที่ตั้งของสติที่เกิดร่วมกับสัมปชัญญะที่ตามรู้กาย๑๔ข้อ

  ๒. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานคือที่ตั้งของสติที่เกิดร่วมกับสัมปชัญญะที่ตามรู้เวทนา๙ข้อ

  ๓. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานคือที่ตั้งของสติที่เกิดร่วมกับสัมปชัญญะที่ตามรู้จิต๑๖ข้อ

  ๔. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานคือที่ตั้งของสติที่เกิดร่วมกับสัมปชัญญะที่ตามรู้ธรรมะ๕ข้อ

  องค์ของผู้ที่จะเจริญสติปัฏฐานนั้นจะต้องประกอบด้วยธรรมะ๓อย่างคือ

  ๑. ต้องมีความเพียรที่เป็นประธาน๔อย่างคือ

  ๑.๑เพียรเพื่อละบาปอกุศลที่เกิดแล้ว

  ๑.๒เพียรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาปใหม่

  ๑.๓เพียรเพื่อทำกุศลที่ยังไม่เคยเกิดให้เกิดขึ้น

  ๑.๔เพียรเพื่อทำกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

  ๒. จะต้องมีสติที่ตั้งอยู่ในฐานทั้ง๔คือกายเวทนาจิตและธรรม

  ๓. จะต้องมีสัมปชัญญะทั้ง๔มีสาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น

  เมื่อผู้ประสงค์จะปฏิบัติสติปัฏฐานเบื้องต้นจะต้องเสาะหาสถานที่เป็นสัปปายะแก่สติปัญญาคือที่ๆห่างไกลจากอารมณ์ของกิเลสจะต้องแสวงหากัลยาณมิตรคือผู้ที่คงแก่เรียนปริยัติมาดีแล้วและได้เคยผ่านการปฏิบัติมาดีแล้วมีความฉลาดสามารถที่จะแก้ปัญหาให้แก่ผู้สงสัยในขณะปฏิบัติวิปัสสนาได้สำหรับในที่นี้จะพูดเฉพาะการปฏิบัติที่เป็นแนวทางของปัญญาวิมุตที่เป็นวิปัสสนาล้วนๆเท่านั้น  และจะพูดได้เฉพาะกายานุปัสสนาสติปัฏฐานเกี่ยวกับเรื่องอิริยาบถและสัมปชัญญะหมวดบางอย่างเท่านั้น

  เบื้องต้นเมื่อตนพร้อมแล้วที่จะปฏิบัติก็ต้องเรียนรูปนามขันธ์๕ให้เข้าใจเมื่อตนเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามจากนั้นจะต้องไปเรียนถ่ายทอดถึงการปฏิบัติจากอาจารย์ให้เกิดความเข้าใจให้แน่นอนแล้วจึงไปปฏิบัติในที่นี้เริ่มที่อิริยาบถคือเดินยืนนั่งและนอนก่อนตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

  คจฺฉนฺโตวา  คจฺฉาปีติ  ปชานาติ   เดินก็รู้ว่าเดิน

  ฐิโตวา  ฐิโตมฺหีติ  ปชานาติ  ยืนก็รู้ว่ายืน

  นิสินฺโนวา  นิสินฺโนมฺหีติ  ปชานาติ  นั่งก็รู้ว่านั่ง

  สยาโนวา  สยาโนมฺหีติ  ปชานาติ  นอนก็รู้ว่านอน

  ในเวลาปฏิบัติท่านสอนให้คอยสังเกตดูท่าว่าเดินในท่าอย่างไรและรู้ถึงเหตุของการเดินเป็นต้นด้วยว่าจะเดินทำไมทำไมจะต้องเดินเป็นต้นจะไม่เดินจะได้ไหมความจริงของคนและสัตว์จะไม่เดินเป็นต้นไม่ได้เพราะอิริยาบถต่างๆเหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องผลัดเปลี่ยนอยู่แล้วจะไม่ผลัดเปลี่ยนไม่ได้ถ้าไม่ผลัดเปลี่ยนก็เป็นทุกข์ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในอิริยาบถเก่าเบียดเบียนบีบคั้นให้สัตว์ทั้งหลายต้องเป็นทุกข์จึงจะต้องผลัดเปลี่ยนไปเพื่อแก้ทุกข์แม้อิริยาบถที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เป็นสุขที่จริงก็เป็นทุกข์เหมือนกันแต่เป็นเพียงสังขารทุกข์เพราะจำต้องแก้ไขถ้าจะเปรียบเทียบกันแล้วทุกขเวทนาที่เกิดในอิริยาบถเก่าเหมือนคนไข้ส่วนทุกข์ในอิริยาบถใหม่เหมือนคนพยาบาลไข้สรุปแล้วก็เป็นทุกข์เหมือนกันเป็นทุกข์คนละฐานะผู้ประสงค์จะเห็นทุกข์จำเป็นต้องทำลายฆน-สัญญาที่จำผิดว่าเป็นกลุ่มเป็นแท่งให้กระจายออกจากกันเสียก่อนผู้ปฏิบัติจึงจะสามารถเห็นสภาวะคือนามรูปได้ผู้ปฏิบัติต้องพยายามใช้ความเพียรประคองจิตให้ตั้งอยู่ในรูปที่กำลังปรากฏและต้องตั้งสติไว้ในรูปที่กำลังปรากฏอยู่นั้นและจะต้องรู้สึกตัวด้วยว่าตนกำลังดูอะไรอยู่สิ่งที่ดูนั้นเป็นรูปหรือนามถ้าเป็นรูปเป็นรูปอะไรจำเป็นจะต้องรู้มิฉะนั้นก็จะเข้าใจผิดคิดว่ารูปเดินก็คือรูปยืนรูปยืนก็คือรูปนั่งรูปนั่งก็คือรูปนอนที่จริงแล้วรูปเหล่านี้ไม่ใช่รูปเดียวกันมีเหตุปัจจัยมาคนละอย่างไม่ใช่อย่างเดียวกันเมื่อมาถึงตอนนี้ศีลก็เป็นศีลวิสุทธิเพราะตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยเกิดในอารมณ์นั้นไม่ได้จึงจัดเป็นศีลวิสุทธิแม้จิตก็เป็นวิปัสสนาจิตตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้เช่นกันจิตจึงเป็นจิตตวิสุทธิส่วนปัญญาที่เห็นว่าเป็นรูปไม่ใช่เราไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขาก็จัดเป็นทิฏฐิวิสุทธิเป็นปัญญาวิสุทธิเบื้องต้นที่จะให้เกิดปัญญาวิสุทธิที่สูงๆขึ้นไป

  แนวการปฏิบัติวิปัสสนาแนวปัญญาวิมุตคือวิปัสสนาล้วนๆขณะนี้ยังมีอยู่ถ้าผู้ใดมีศรัทธาก็สามารถจะปฏิบัติได้แม้พระพุทธศาสนาจะได้ล่วงเลยมาถึงขณะนี้แล้วก็ตามแต่ผู้ที่ยังสนใจประพฤติปฏิบัติกันอยู่ก็มีจึงขอให้ทุกท่านโปรดทราบเถิดว่า

  การปฏิบัติที่ให้เกิดสมาธินั้นมีมากพอเราไปสัมผัสเราก็รู้ว่าไม่ใช่วิปัสสนาส่วนมากมักจะเข้าใจว่าทำสมาธิให้มั่นคงดีแล้วจึงจะเกิดปัญญาเองรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงจะเกิดสมาธิเมื่อสมาธิดีแล้วก็จะเกิดปัญญาเองความเข้าใจแบบนี้ยังไม่ตรงต่อความเป็นจริงส่วนความจริงนั้นก็มีอยู่ว่า

  สมาธิกับปัญญานั้นมีสภาพต่างกันราวฟ้ากับดินคือสมถะมีบัญญัติกัมมัฏฐานเป็นอารมณ์ทำได้๒ทวารคือทางตากับทางใจเท่านั้นมีอำนาจในการประหานในปัจจุบันมีอภิญญาเป็นอานิสงส์เมื่อตายแล้วจะให้เกิดเป็นพรหมส่วนวิปัสสนาเป็นเรื่องของปัญญามีสภาวะนามรูปเป็นอารมณ์ทำได้ทั้ง๖ทวารมีอำนาจทำลายอารัมมณานุสัยให้เกิดไม่ได้มีผลสมาบัติคือการเข้าไปเสวยความสุขในผลของตนๆเป็นอานิสงส์และเมื่อตายแล้วก็เป็นผู้สิ้นชาติสิ้นภพไม่ต้องเกิดอีกต่อไปเพราะฉะนั้นสมถะกับวิปัสสนาจึงต่างกันมากราวฟ้ากับดินทีเดียวสมถะคือสมาธิเคยมีมาก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วแต่วิปัสสนาเกิดขึ้นหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วแม้วิปัสสนาก็มีสมาธิเหมือนกันแต่สมาธิในวิปัสสนานั้นตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้ศีลสมาธิปัญญาในวิปัสสนานั้นท่านเรียกว่าอธิศีลคือศีลยิ่งอธิจิตคือจิตยิ่งอธิปัญญาคือปัญญายิ่งเป็นศีลสมาธิและปัญญาในองค์มรรคเป็นองค์ของทางสายกลางที่จะไปสู่ธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์เป็นโลกียมรรคอริยสัจจะที่จะมุ่งตรงไปสู่โลกุตตรมรรคอริยสัจจะโดยตรงเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์หมดจดโดยพิเศษแห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นไปเพื่อความก้าวล่วงโศกปริเทวะเป็นไปเพื่อความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัสเป็นไปเพื่อพระอริยมรรคและเป็นไปเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้งในหลักของการปฏิบัติในสติปัฏฐานโดยเฉพาะอิริยาบถและสัมปชัญญบรรพนี้เป็นแนววิปัสสนาล้วนๆเป็นการเน้นถึงรูป-นามโดยเฉพาะผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องศึกษารูปนามจากอาจารย์ให้มีความเข้าใจจึงจะได้ผลมิฉะนั้นจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติมากทีเดียวก็คำว่านามรูปหรือรูปนามที่ว่านี้ก็มีในตัวเรานี่เองไม่ได้ไปเอามาจากที่ไหนแต่เพราะเราไม่เคยเรียนไม่เคยสนใจในเรื่องเหล่านี้จึงไม่เข้าใจแต่กลับไปเข้าใจเสียว่ารูปนามนี้เป็นเราเป็นของๆเราด้วยอำนาจของตัณหามานะทิฏฐิจึงไม่อาจเกิดความเข้าใจตามความเป็นจริงของสภาวะเหล่านั้นได้อวิชชาความไม่รู้ว่านามรูปเป็นทุกข์หุ้มห่อปิดบังเราอยู่แทบทุกลมหายใจแต่เราไม่รู้เพราะเราไม่มีวิชชาคือวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นจึงไม่อาจทำลายอวิชชาคือความไม่รู้เหล่านี้ได้ตัวทุกข์คือนามรูปที่ปรากฏอยู่ตามอารมณ์และอิริยาบถเป็นกิจที่ควรกำหนดรู้ความทุกข์มี๒อย่างคือทุกข์ที่เราทำขึ้นเช่นเดินนานๆหรือนั่งนานๆเป็นชั่วโมงสองชั่วโมงก็ปวดเมื่อยเป็นทุกข์แบบนั้นไม่ใช่ของจริงเป็นทุกข์ที่เราทำขึ้นก็นั่งนานๆทำไมจะไม่ทุกข์ก็เป็นทุกข์ทั้งนั้นแต่เป็นทุกข์ที่ทำขึ้นไม่ใช่ทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติความจริงอิริยาบถที่เกิดขึ้นตามธรรมดานั้นแม้เราจะไม่ทำขึ้นการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถก็มีอยู่โดยปกติอยู่แล้วเราจะอยู่เฉยโดยที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวนั้นไม่ได้เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทรงสอนให้กำหนดอิริยาบถด้วยพระดำรัสว่าคจฺฉนฺโตวา  คจฺฉาปีติ  ปชานาติ  เดินก็ให้รู้ว่าเดินยืนก็ให้รู้ว่ายืนนั่งก็ให้รู้ว่านั่งนอนก็ให้รู้ว่านอนเป็นหมวดหนึ่งในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  

  และก้าวไปข้างหน้าถอยกลับมาข้างหลังก็รู้

  ดูตรงเหลียวซ้ายแลขวาก็ให้รู้

  คู้แขนขาและเหยียดอวัยวะก็ให้รู้

  ใช้สังฆาฏิบาตรและจีวรก็ให้รู้

  ในการกินดื่มเคี้ยวลิ้มก็ให้รู้

  ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะก็ให้รู้

  ในการเดินยืนนั่งหลับตื่นพูดนิ่งรวมหมวดของสัมปชัญญบรรพ

  ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเพียรพยายามสังวรระวังไม่ให้จิตตกไปจากอารมณ์เหล่านี้การสังวรนี้จัดเป็นศีลในองค์มรรคทำสติให้ตั้งมั่นอยู่ในอิริยาบถต่างๆไม่ได้ตกออกไปจากอิริยาบถนั้นเป็นสมาธิและมีสัมปชัญญะรู้ตัวอยู่เสมอว่าตนกำลังดูอะไรอยู่สิ่งที่ตนกำลังดูอยู่เป็นรูปหรือเป็นนามถ้าเป็นรูปเป็นรูปอะไรตนก็รู้ขณะเดินตนเองก็รู้ถึงเหตุของการเดินว่าเป็นการแก้ทุกข์ถ้าไม่เดินก็เกิดทุกข์จากอิริยาบถยืนบีบคั้นจำเป็นต้องเดินเมื่อเดินไปเป็นทุกข์ก็จำเป็นต้องนั่งหรือนั่งเพื่อแก้ทุกข์และก็จะอยู่ในอิริยาบถนั้นไม่ได้อีกที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะทุกข์นี้มีการบีบคั้นเบียดเบียนเป็นอรรถจำเป็นจะต้องปรับปรุงแก้ไขกันอยู่เป็นนิตย์จะอยู่เฉยๆไม่ได้เพราะรูปมีการเกิดเป็นไปมีการแก่เป็นไปและมีการแตกดับเป็นไปและเป็นสภาพที่ไม่แน่กลับกลอกเปลี่ยนแปลงอยู่เป็นนิตย์ขณะอิริยาบถเก่ากำลังปรากฏอยู่ผู้ปฏิบัติรู้ไม่ทันก็เป็นปัจจัยให้เกิดโทมนัสผู้ปฏิบัติทิ้งอารมณ์ที่เป็นปัจจุบันไปเอื้อมเอาอิริยาบถใหม่ซึ่งยังไม่เกิดโดยคิดว่าถ้าเปลี่ยนเสียได้จะเป็นสุขอย่างนี้ก็เป็นปัจจัยให้เกิดอภิชฌาที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะตนขาดปัญญาที่จะรู้ว่าตนกำลังดูอะไรก็ไม่รู้คือขาดปัญญานั่นเองอภิชฌาและโทมนัสอารมณ์ที่เป็นอดีต- อนาคตเกิดขึ้นเมื่อไม่ทันอารมณ์ขณะใดก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดอภิชฌาและโทมนัสขณะนั้นขณะเดินรูปเดินกำลังปรากฏตนรู้หรือเปล่าว่าเดินเป็นรูปถ้ารู้ทันว่าเป็นรูปธรรมไม่ใช่เราเดินหรือหญิงเดินชายเดินเป็นแต่เพียงธรรมะที่เป็นทุกขธรรมเกิดขึ้นจากปัจจัยเป็นสภาพที่แก้ไขอะไรไม่ได้เป็นสัจธรรมที่ต้องกำหนดรู้เมื่อเห็นว่าเป็นทุกข์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้วก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในขันธ์อันเป็นตัวทุกข์ในโลกนี้หรือโลกไหนๆก็ตามที่มีเบญจขันธ์มีนามมีรูปโลกนั้นก็ต้องมีทุกข์ไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ก่อนเปลี่ยนอิริยาบถทุกครั้งจำเป็นต้องรู้เหตุทุกครั้งว่าตนจะเปลี่ยนอิริยาบถทำไมถ้าไม่รู้เหตุแห่งการเปลี่ยนก็จะเป็นช่องให้ตัณหาและทิฏฐิเข้าได้และการเปลี่ยนอิริยาบถแต่ละครั้งต้องมีความจำเป็นจึงค่อยเปลี่ยนไม่ใช่อยากเปลี่ยนจึงเปลี่ยนเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากทุกข์ในอิริยาบถเก่าเป็นของหยาบกว่าอิริยาบถใหม่หรืออิริยาบถย่อยท่านจึงได้เปรียบอิริยาบถใหม่หรืออิริยาบถย่อยว่าเหมือนคนพยาบาลไข้เพราะเมื่อเกิดทุกข์ขึ้นในอิริยา-บถเก่าแล้วก็แก้ทุกข์เสียด้วยอิริยาบถใหม่ทุกข์นั้นจะบรรเทาไปแต่มิใช่หมายความว่าหมดทุกข์มิใช่เป็นเช่นนั้นจะเป็นอิริยาบถใหญ่หรืออิริยาบถย่อยก็ตามเมื่อหมดอายุเข้าแล้วก็เป็นทุกข์ทั้งนั้นทุกข์ในอิริยาบถใหญ่เป็นทุกขเวทนาส่วนทุกข์ในอิริยาบถใหม่หรือทุกข์ในอิริยาบถย่อยเป็นสังขารทุกข์ละเอียดกว่าการใส่ใจในทุกข์ต้องดูให้รู้ว่าตนดูอะไรเป็นรูปหรือนามถ้าเป็นรูปเป็นรูปอะไรถ้าเป็นนามเป็นนามอะไรเกิดขึ้นเมื่อมีความรู้สึกว่าเป็นรูปหรือเป็นนามแล้วความรู้สึกว่าเป็นเราหรือเป็นหญิงเป็นชายจะมีขึ้นไม่ได้ในขณะนั้นเมื่อเห็นว่ารูปนามเป็นทุกข์ทนอยู่ไม่ได้บังคับบัญชาให้อยู่ในอำนาจอะไรไม่ได้แล้วตัณหาก็ไม่มีที่จับไม่มีที่อาศัยแม้จะเป็นภพใดภูมิใดถ้ามีรูปมีนามแล้วก็ชื่อว่ามีทุกข์เหมือนกันหมดการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่ว่าอิริยาบถใหญ่หรือย่อยก็ตามประการสำคัญก็คือจะต้องรู้เหตุเสียก่อนว่าจะเปลี่ยนเพื่ออะไรหรือจะเปลี่ยนทำไมเพราะไม่รู้เหตุของการเปลี่ยนแล้วตัณหาและทิฏฐิก็อาศัยในความรู้สึกอันนั้นได้เมื่อตัณหาทิฏฐิอาศัยในความรู้สึกเสียแล้วสติปัญญาจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลยความไม่รู้ทุกข์ที่กำลังเกิดอยู่ก็ย่อมเป็นปัจจัยให้ตัณหายึดถือนามรูปนี้ว่าเป็นของเราให้มานะยึดถือว่านามรูปนี้เป็นเราให้เกิดทิฏฐิเห็นผิดว่านามรูปนี้เป็นตัวตนของเราสัตว์ทั้งหลายต่างพากันเนิ่นช้าอยู่ในภพน้อยภพใหญ่เกิดๆตายๆกันอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุดนามรูปที่เป็นตัวทุกข์นี้เป็นอารมณ์ของปัญญาจะปรากฏให้เห็นปัจจุบันคือขณะเดินยืนนั่งนอนก้าวไปข้างหน้าถอยกลับมาข้างหลังดูตรงๆเหลียวซ้ายแลขวาคู้อวัยวะเข้าเหยียดอวัยวะออกใช้ผ้าสังฆาฏิบาตรจีวรกินดื่มเคี้ยวลิ้มถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะอิริยาบถย่อยเดินยืนนั่งหลับตื่นพูดนิ่งในอิริยาบถใหญ่๔และในสัมปชัญญะ๗หมวดดังว่ามานี้ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องสังวรระวังอย่าให้จิตตกจากอารมณ์เหล่านี้เป็นอินทรียสังวรศีลเป็นศีลในมรรคและต้องมีตั้งอยู่ในสภาวะนามรูปที่กำลังปรากฏอยู่นี้เป็นจิตตวิสุทธิและต้องรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าตนกำลังดูอะไรอยู่เป็นสัมปชัญญะคือตัวปัญญาวิสุทธิศีลสมาธิปัญญาตามที่กล่าวตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้เพราะมีความว่องไวรู้เท่าทันต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นความจริงผู้ปฏิบัติมีหน้าที่คอยสังเกตอยู่ในทุกอิริยาบถเท่าที่ปรากฏเพื่อให้รู้ว่ารูปอะไรปรากฏและรูปนั้นมีสภาพที่ต้องแปรไปตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขมีความเร่าร้อนเพราะความเกิดแก่และแตกทำลายเป็นไฟเผากันเองอยู่ในตัวเป็นสภาพที่เปลี่ยนแปลงกลับกลอกเอาเป็นแน่นอนอะไรไม่ได้แม้แต่นิดหนึ่งนามรูปมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้นแล้วก็มีความแปรไปในท่ามกลางแล้วก็มีความแตกสลายในที่สุดผู้ปฏิบัติมีหน้าที่คอยดูอย่างเดียวเท่านั้นไม่มีหน้าที่จะไปจัดแจงอะไรนามรูปเขาจะแสดงอย่างไรเป็นเรื่องของนามรูปไม่มีผู้ใดที่จะบังคับบัญชาอะไรได้เมื่อผู้ปฏิบัติเฝ้าดูอยู่ด้วยสติปัญญาก็จะเห็นว่านามรูปนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้บังคับบัญชาให้เป็นไปปรารถนาอะไรก็ไม่ได้ทั้งนั้นแม้การเห็นหรือการได้ยินก็ตามก็เป็นเพียงนามธรรมที่เกิดขึ้นจากรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดการเห็นการได้ยินขึ้นมาแล้วก็ดับไปการเห็นและการได้ยินนั้นก็เป็นนามธรรมที่เกิดมาจากปัจจัยมิได้มีอำนาจผู้วิเศษอะไรทำให้เกิดขึ้นและนามเห็นนามได้ยินนั้นก็มิใช่หญิงมิใช่ชายมิใช่บุคคลตัวตนเราเห็นเหมือนอย่างที่พวกเรามีความเข้าใจกันการที่มีความเข้าใจว่าเราเห็นเราได้ยินเราเหม็นเราหอมเราอร่อยเราไม่อร่อยเรายืนเราเดินเรานั่งเรานอนเราก้าวไปข้างหน้าเราถอยกลับมาข้างหลังเราพาดสังฆาฏิเราอุ้มบาตรเรานุ่งห่มจีวรเราถ่ายอุจจาระปัสสาวะเรากินเราดื่มเราหลับเราตื่นเราพูดเรานิ่งที่นามหรืออาการต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เราเป็นเพียงธรรมะที่เกิดขึ้นตามปัจจัยเท่านั้นแต่เพราะขาดปัญญาจักษุคือวิปัสสนาจึงฝันไปว่านามรูปนี้เป็นเราเป็นของเราและเป็นตัวตนของเราด้วยอำนาจของตัณหามานะทิฏฐิจึงทำให้สัตว์ทั้งหลายต้องเนิ่นช้ากันอยู่ในวัฏฏะนี้ 

  การพิจารณาหรือการกำหนดหรือการดูเป็นคำๆเดียวกันแต่คำว่าดูเป็นคำที่ฟังง่ายเข้าใจง่ายมาจากบาลีว่าสิกฺขติที่แปลว่าศึกษาหรือสำเหนียกหรือสังเกตการใช้อิริยาบถจะเป็นอิริยาบถใหญ่หรืออิริยาบถย่อยก็ตามจะต้องมีเหตุผู้ปฏิบัติจำเป็นจะต้องรู้จักเหตุของการใช้อิริยาบถมิฉะนั้นจะรู้ไม่ทันหรือดูไม่ทันถึงความจริงที่เกิดขึ้นเมื่อจะเดินตนรู้หรือไม่ว่าทำไมต้องเดินยืนทำไมจึงต้องยืนนั่งทำไมจึงต้องนั่งนอนทำไมจึงต้องนอนก้าวไปข้างหน้าถอยกลับมาข้างหลังทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นดูตรงหรือเหลียวซ้ายแลขวาทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นคู้อวัยวะเข้าเหยียดอวัยวะออกทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นใช้สังฆาฏิใช้บาตรจีวรทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นถ่ายอุจจาระปัสสาวะทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นเดินยืนนั่งนอนกินดื่มเคี้ยวลิ้มหลับตื่นพูดนิ่งทำไมจึงต้องทำเช่นนั้นจะไม่ทำไม่ได้หรือเมื่อว่าโดยเหตุผลแล้วไม่ทำเช่นนั้นไม่ได้เพราะจำต้องแก้ไขเราไม่มีอำนาจอะไรที่จะไปบังคับอิริยาบถเหล่านี้แม้แต่น้อยเลยแต่พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้เท่ารู้ทันกับสิ่งเหล่านี้อิริยาบถคือความผลัดเปลี่ยนต่างๆเหล่านี้เป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสก็ได้ให้เกิดปัญญาก็ได้หากขณะใดรู้ไม่ทันขณะนั้นก็เกิดกิเลสคืออวิชชาเกิดตัณหาและทิฏฐิเพราะความรู้สึกว่าเราเดินเรายืนเป็นต้นเคยเกิดมีมาตั้งแต่วันเกิดหรือเคยมีมาแล้วแต่หลายชาติความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ว่าเป็นทุกข์ไม่เคยเกิดมีเลยในสังสารวัฏนี้การใส่ใจในอิริยาบถเป็นกิจสำคัญที่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาจะต้องดูให้รู้ถึงความจริงที่กำลังปรากฏในปัจจุบันขณะเกิดความหิวทุกข์เกิดขึ้นแล้วจะต้องแก้เสียด้วยการกินขณะง่วงก็จะต้องแก้เสียด้วยการนอนหรือความเมื่อยเกิดขึ้นก็ต้องแก้เสียด้วยการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถเมื่อผู้ปฏิบัติมีโยนิโสมนสิการรู้เท่าทันทุกข์ที่เกิดขึ้นทุกๆขณะที่เปลี่ยนก็จะเห็นว่าความทุกข์นี้เป็นสภาพที่แก้ไขอะไรไม่ได้เบียดเบียนบีบคั้นอยู่เป็นนิตย์จำต้องปรับปรุงแก้ไขกันอยู่เสมอหาความยั่งยืนถาวรอะไรไม่ได้ทุกข์นี้มีแต่ความเร่าร้อนเผากันเองด้วยความเกิดขึ้นด้วยความตั้งอยู่ด้วยความแตกทำลายไปมีแต่ความเปลี่ยนแปลงกลับกลอกไม่แน่นอนเมื่อมีความทุกข์ในอิริยาบถเก่าก็จำต้องแก้ไขด้วยการเปลี่ยนไปเป็นการแก้ทุกข์แม้ในอิริยาบถใหม่เองก็มิใช่เป็นความสุขสติปัญญาเกิดขึ้นอวิชชาคือความไม่รู้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นมาปิดความจริงคือทุกข์นี้ได้ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ว่าขณะจะเปลี่ยนอิริยาบถตนดูอยู่หรือเปล่าว่าตนดูอะไรและสิ่งที่ดูนั้นเป็นรูปหรือนามถ้าเป็นรูปเป็นรูปอะไรหรือถ้าเป็นนาม  ต้องรู้ด้วยว่าเป็นนามอะไรเพราะรูปแต่ละรูปไม่ใช่อย่างเดียวกันเช่นรูปเดินก็ไม่ใช่รูปนั่งรูปนั่งก็ไม่ใช่รูปนอนรูปนอนก็ไม่ใช่รูปยืนเป็นต้นแม้นามก็เหมือนกันนามเห็นก็ไม่ใช่นามได้ยินนามได้ยินก็ไม่ใช่นามรู้กลิ่นนามรักก็ไม่ใช่นามชังนามฟุ้งก็ไม่ใช่นามง่วงเป็นต้นปัจจัยของสภาวธรรมเหล่านี้ก็มีมาไม่เหมือนกันทุกข์ที่เกิดอยู่ตามอารมณ์และอิริยาบถเป็นความจริงที่ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้ความสังเกตจะต้องศึกษาให้รู้เท่าทันเพราะเป็นสภาพธรรมความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้เป็นทุกข์ที่ควรกำหนดรู้ที่ใกล้ตัวที่สุดเป็นสัจธรรมผู้ปฏิบัติจะต้องใช้สติปัญญาศึกษาให้รู้เพราะถ้าไม่รู้ทันต่อสภาวธรรมนั้นแล้วก็ทำให้ตัณหาและทิฏฐิเข้าอาศัยในอารมณ์นั้นได้อันความเข้าใจผิดคิดว่าเราเดินเรายืนหรือเรานั่งเป็นต้นความจริงแล้วจะมีได้ที่ไหนในรูปต่างๆเช่นรูปเดินรูปยืนรูปนั่งเป็นต้นจะเป็นเราได้อย่างไรทำไมจึงได้มีความเห็นผิดคิดผิดจำผิดไปเช่นนั้นพระมิได้สอนเช่นนั้นแต่เพราะขาดสติปัญญาจึงมีความวิปลาสพลาดผิดธรรมกันไปอย่างที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้นามรูปเป็นทุกข์เป็นความจริงของพระอริยะที่ท่านสอนไว้จะต้องรู้ด้วยปัญญาหากขาดวิปัสสนาปัญญาเสียแล้วก็ไม่สามารถจะรู้ทุกข์นี้ได้สติปัฏฐานทั้ง๔เป็นบุพพภาคมรรคคือเป็นมรรคเบื้องต้นที่จะเป็นปัจจัยให้ถึงโลกุตตรมรรคทุกข์คือนามรูปที่ไม่เที่ยงเป็นอนิจจังเป็นทุกขังเป็นอนัตตาทำให้วิปัสสนาปัญญามารู้แจ้งแทงตลอดในสภาวธรรมเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยให้เกิดทิฏฐิวิสุทธิมีปัญญารู้เห็นที่บริสุทธิ์จนตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้

  การสังวรระวังใจให้อยู่ในนามรูปไม่ตกไปจากนามรูปก็เป็นศีลวิสุทธิเพราะตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้แม้สติที่ตั้งมั่นอยู่ในนามรูปโดยไม่เลอะเลือนก็จัดเป็นจิตตวิสุทธิเพราะตัณหาและทิฏฐิอาศัยเกิดไม่ได้ในอารมณ์นั้นสัมปชัญญะคือปัญญาก็รู้เท่าทันอยู่ในนามรูปนั้นโดยไม่มีเรามีเขาไม่มีหญิงชายสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาจึงเป็นปัญญาวิสุทธิเป็นมัชฌิมาปฏิปทาที่จะเดินไปสู่ความพ้นทุกข์เป็นที่สุด

 

ทุกข์ในวิสุทธิมรรค

  ท่านแสดงไว้๗อย่างในที่นี้จะแสดงเพียง๓อย่างคือ

  ๑. ทุกขทุกข์หมายถึงทุกข์กายและทุกข์ใจที่ชื่อว่าทุกข์เพราะมีการเสวยเป็นสภาพและโดยชื่อ

  ๒. วิปริณามทุกข์หมายถึงความสุขที่จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์เพราะแปรปรวนไปเป็นอย่างอื่น

  ๓. สังขารทุกข์หมายถึงอุเบกขาเวทนาและสังขารในภูมิ๓ที่ชื่อว่าเป็นทุกข์ก็เพราะถูกความเกิดและความดับไปบีบบังคับเป็นนิตย์

  อีกนัยหนึ่งที่แสดงในข้อปฏิบัติแบ่งออกเป็น๓คือ

  ๑. ทุกขเวทนาคือความไม่สบายกายไม่สบายใจเท่าที่เราพากันรู้อยู่ทุกๆวันนี้

  ๒. สังขารทุกข์หรือสภาวทุกข์คือขันธ์๕ที่มีการดับเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

  ๓. ทุกขลักษณะหมายถึงลักษณะของทุกข์ในสามัญญลักษณะมีใช้อยู่ตอนปฏิบัติวิปัสสนาคือ

  ก. อนิจจะคือความไม่เที่ยงหมายถึงเบญจขันธ์นั่นเองไม่เที่ยง  ข. อนิจจลักษณะคือลักษณะที่ไม่เที่ยงเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาปัญญา

  ค. อนิจจานุปัสสีคือปัญญาที่เห็นความไม่เที่ยงเนืองๆ

  ง. อนิจจาวิหารีคือผู้ปฏิบัติที่กำลังเห็นความไม่เที่ยงอยู่

  ทุกข์ทั้งหมดตามที่กล่าวมานี้มิใช่อื่นไกลที่จริงก็คือทุกขอริยสัจจะนั่นเองเพราะเป็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้เป็นความจริงของพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้นหรือเป็นความจริงที่ทำให้ผู้รู้กลายเป็นพระอริยะหรือเป็นความจริงอันประเสริฐเป็นสภาพที่แน่นอนไม่มีวิปริตแปรผันคือทุกข์ก็เป็นทุกข์จริงจะเปลี่ยนแปลงเป็นสมุทัยหรือนิโรธไปไม่ได้เลย

  ในการกำหนดรู้ทุกข์ท่านสอนให้กำหนดรู้ทุกขเวทนาก่อนที่เป็นเช่นนี้เพราะทุกขเวทนาเป็นของหยาบรู้ได้ง่ายกว่าทุกข์อื่นเพราะปรากฏแก่เราทุกเวลาพอวันรุ่งขึ้นเราก็ต้องแก้ทุกข์เกี่ยวกับอิริยาบถเดินเป็นต้นอยู่ทั้งวันโดยไม่มีเวลาหยุดหย่อนแต่เราไม่ได้ใช้สติปัญญากำหนดรู้เราจึงไม่เข้าใจอิริยาบถเหล่านั้นว่าเป็นทุกข์อิริยาบถย่อยหรืออิริยาบถใหม่ที่เกิดขึ้นจากการผลัดเปลี่ยนจำเป็นต้องมีอิริยาบถย่อยก่อนเสมอจะมีแต่เฉพาะอิริยาบถใหญ่อย่างเดียวไม่ได้ความปวดเมื่อยของอิริยาบถเก่าเป็นทุกข์แก้ไขไม่ได้เพราะบีบคั้นให้จำเป็นต้องแก้เราไม่มีอำนาจอะไรในความปวดเมื่อยนั้นเลยแต่มีอาจารย์บางพวกแนะว่าให้นั่งไปนานๆจนหายปวดหายเมื่อยจะเป็นการดีมากแต่เมื่อพูดกันตามความเป็นจริงแล้วพระพุทธเจ้ามิได้สอนเช่นนั้นแต่เป็นคำสอนของอาจารย์มากกว่าทำไมจึงได้ว่าอย่างนั้นที่ว่าอย่างนี้ก็เพราะเบญจขันธ์จะเป็นรูปหรือนามก็ตามไม่มีใครไปมีอำนาจเหนือไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับทุกข์คือขันธ์๕ได้เพราะอนัตตาไม่ใช่ตัวตนของใครแต่เท่าที่อาจารย์บางท่านไปสอนเช่นนั้นก็เพราะเอาทิฏฐิใส่เข้าไปในความเข้าใจนั้นคือเมื่อความปวดเมื่อยเกิดขึ้นเป็นสภาพที่แก้ไขตามสภาวะแต่กลับไปเอาอำนาจของสมาธิไปบังคับให้ความปวดเมื่อยหายไปจึงสามารถนั่งได้นานๆ๒

ชั่วโมงบ้าง๓ชั่วโมงบ้างเมื่อสมาธิมีกำลังมากปัญญาเกิดไม่ได้แล้วจะไปเห็นความจริงได้อย่างไรเพราะอารมณ์ของสมาธิเป็นอารมณ์ที่ตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัยเกิดได้เมื่อความมืดคืออวิชชาปิดบังความจริงเสียแล้วปัญญาที่จะเข้าไปรู้ทุกข์ที่กำลังปรากฏก็ไม่สามารถจะเกิดขึ้นรู้ความจริงคือทุกข์ตามสภาวะได้

หลักสำคัญในการปฏิบัติ

  ควรทำอะไรทีละอย่างอย่าไปทำหลายอย่างเพราะจะวุ่นวายไปหมดจะไม่มีการสังวรระวังสติที่จะคอยตามดูตามรู้ก็จะไม่มีเพราะมัวแต่จัดแจงวุ่นวายไปหมดการทำความเข้าใจในอิริยาบถใหญ่และอิริยาบถย่อยก็ต้องมีอยู่ด้วยกันทั้งนั้นทุกข์ของอิริยาบถใหญ่ก็คือความปวดเมื่อยส่วนทุกข์ในอิริยาบถย่อยมีมากมายหลายอย่างการเปลี่ยนระหว่างอิริยาบถใหญ่ด้วยกันก็จำเป็นจะต้องมีอิริยาบถย่อยเช่นขณะนั่งอยู่เวลาจะเดินก็ต้องมีอิริยาบถย่อยหรือขณะนอนอยู่จะพลิกตัวก็ต้องมีอิริยาบถย่อยคือมีอิริยาบถย่อยที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ก็มีเช่นรับประทานอาหารหรือการอาบน้ำเป็นต้นถ้าเป็นอิริยาบถย่อยในระหว่างอิริยาบถใหญ่ก็ไม่จำต้องทำอะไรแต่ขอให้พยายามสังวรระวังไปก็จะสามารถรู้อิริยาบถย่อยได้เช่นนั่งแล้วจะไปเดินอิริยาบถย่อยระหว่างอิริยาบถนั่งก่อนที่จะเป็นอิริยาบถเดินก็เพียงให้สำรวมระวังในอิริยาบถย่อยนั้นๆก็พอแล้ว

วิธีป้องกันทิฏฐิขณะปฏิบัติ

  การทำความเข้าใจในนามรูปให้รู้เท่าทันในอารมณ์ปัจจุบันขณะที่รูปหรือนามกำลังปรากฏอยู่ขณะนั้นตัณหาและทิฏฐิเกิดไม่ได้ทิฏฐิอย่างหยาบไม่มีปัญหาอะไรสำหรับพวกเราแต่การป้องกันทิฏฐิอย่างละเอียดที่เกี่ยวกับความเห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนอันนี้ก็ต้องถึงขณะที่ปฏิบัติจริงๆถ้าไม่ปฏิบัติก็จะชำระทิฏฐิกันไม่ได้จะชำระได้ก็ขณะปฏิบัติเท่านั้นจึงจะป้องกันตัณหาและทิฏฐิได้

  ในขณะปฏิบัติผู้ปฏิบัติจะต้องดูทุกข์อยู่เสมอๆทุกข์อยู่ที่ไหนดูทุกข์ในอิริยาบถยืนอิริยาบถเดินอิริยาบถนั่งอิริยาบถนอนหรือดูรูปหรือนามทางทวารต่างๆคือทางตาหูจมูกลิ้นกายหรือทางใจที่จรเข้ามาจะต้องทำความเข้าใจอยู่เสมอๆในทุกๆอารมณ์การทำความเข้าใจในอิริยาบถใหญ่ขณะอยู่ในอิริยาบถใดเช่นกำลังนั่งอยู่เมื่อนั่งนานๆก็จะรู้สึกปวดเมื่อยก็ให้ใส่ใจในทุกข์คือความปวดเมื่อยที่ปรากฏขึ้นเมื่อใส่ใจทุกข์แล้วจึงค่อยเปลี่ยนการจะเปลี่ยนเป็นการเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์หรือถ้าไม่แก้ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ช่างไม่ใช่เรื่องของเราขออย่าไปทำอะไรเพิ่มขึ้นมากไปกว่าการใส่ใจทุกข์ทุกครั้งที่เปลี่ยนให้ใส่ใจทุกข์ก่อนเสมอถ้าทำอย่างนั้นก็ไม่เป็นการบริกรรมหรือไม่เป็นบัญญัติผุดขึ้นมาในใจว่าเราต้องเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์อันนี้เป็นปรมัตถ์ล้วนๆที่เข้าไปสัมผัสทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นจริงๆไม่ใช่สักแต่พูดตามคำของอาจารย์ว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์เป็นความแตกต่างกันมาก

  ถ้าหากใส่ใจทุกข์แล้วเวลาเปลี่ยนจะเปลี่ยนไปเพื่อแก้ทุกข์จริงๆแล้วจิตใจจะไม่เหมือนกันเลยกับการเปลี่ยนไปตามปกติธรรมดาที่ไม่มีการใส่ใจในทุกข์เพราะฉะนั้นจึงต้องใส่ใจทุกข์ถ้าใส่ใจทุกข์แล้วความรู้สึกจะเกิดขึ้นเองเป็นความรู้สึกจริงๆด้วยท่านบอกแล้วว่าให้รู้สึกอย่านึกถ้าเอาคำของอาจารย์มาใช้แล้วมันนึกนึกถึงคำของอาจารย์ตอนนี้ท่านบอกว่าต้องให้มีความรู้สึกว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์เราก็เลยทำขึ้นมาว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์จึงกลายเป็นนึกไปถ้าจะให้เป็นความรู้สึกจริงๆก็ต้องใส่ใจทุกข์เมื่อใส่ใจทุกข์จริงๆแล้วจึงเปลี่ยนจะเป็นการรู้สึกจริงๆว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์ซึ่งจะไม่เป็นภาษาไม่เป็นบัญญัติอะไรทั้งนั้นจะมีความรู้สึกเหมือนกันหมดไม่ว่าผู้ปฏิบัติจะเป็นคนชาติใดภาษาใดทั้งนั้น

  ถ้าหากใส่ใจทุกข์ในเวลาที่จะใช้อิริยาบถทั้งหลายเสียก่อนก็จะเกิดปัญญารู้เองว่าเปลี่ยนทำไมใช้อิริยาบถนั่งยืนเดินนอนในคราวนั้นๆทำไมการใส่ใจทุกข์นั่นแหละเป็นโยนิโสมนสิการการรู้ว่าจะใช้อิริยาบถนั้นเพื่อแก้ทุกข์กล่าวคือการเดินเพื่อแก้ทุกข์เป็นต้นเป็นปัญญาที่เกิดจากโยนิโสมนสิการนั้นเป็นเรื่องสำคัญในการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างนี้

  เมื่อเกิดปัญญารู้ว่าจะเดินเพื่อแก้ทุกข์มันจะมีผลไปถึงตัณหาจะป้องกันตัณหาได้ปัญญาอย่างนี้เป็นการทำเพื่อแก้ทุกข์เพราะเมื่อเห็นว่าสักแต่ว่าแก้ทุกข์เท่านั้นตัณหาจะไม่อาศัยเลยมันจะไม่เห็นสาระที่น่าได้

  เมื่อทุกขเวทนาคือความปวดเมื่อยเกิดขึ้นแล้วก็เปลี่ยนอิริยาบถแม้การเปลี่ยนก็สักแต่ว่าแก้ทุกข์นั้นก็เป็นทุกข์อีกอย่างหนึ่งเหมือนกันคือทุกข์ที่จำต้องแก้ต้องบำบัดต้องรักษาไม่เปลี่ยนไม่ได้มันปวดเมื่อยเมื่อรู้ว่าจะเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์ก็จะไม่เล็งเห็นสาระในการใช้อิริยาบถเก่า

  ปกติคนธรรมดามักเปลี่ยนอิริยาบถไปเลยโดยไม่ได้พิจารณาทุกข์เพราะเล็งเห็นแต่ความสบายเสมอเพราะเกิดความพอใจจัดเป็นตัณหานุสัยไม่ใช่ตัณหาหยาบๆแต่ตัณหาตัวนี้สำคัญมากซึ่งถ้าไม่ได้สังเกตทุกข์ก็จะเป็นทุกข์กันอยู่เรื่อยไปทุกภพทุกชาติไม่รอดพ้นทุกข์ไปได้เลย

  การดูทุกข์ก่อนเปลี่ยนอิริยาบถถ้าดูทุกข์ก่อนแล้วเดินเพื่อแก้ทุกข์จะเห็นความเป็นจริงว่าแก้ทุกข์จิตใจะเป็นอีกแบบหนึ่งแต่ถ้าหากไม่ใส่ใจทุกข์แล้วจิตใจจะเป็นคนละเรื่องถ้าหากใส่ใจทุกข์ก่อนแล้วเดินเพื่อแก้ทุกข์แล้วดูรูปเดินระหว่างดูรูปเดินนั้นความรู้ในการดูรูปเดินจะเป็นความรู้ของปัญญาอย่างแท้จริงแต่ถ้าไม่ใส่ใจทุกข์เสียก่อนแล้วไปเดินเลยแม้ท่านจะรู้ว่าอันนี้เป็นรูปเดินก็ไม่ใช่ความรู้ของปัญญา

  การดูทุกข์ก่อนแล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถปัญญาจึงจะเกิดขึ้นปัญญานี้เกิดขึ้นจะป้องกันตัณหาในการใช้อิริยาบถพอใช้ไปแล้วถ้ามีโยนิโสมนสิการกำหนดรูปเกิดปัญญารู้ว่าเป็นนามเป็นรูปนามอะไรรูปอะไรนั้นจะเป็นปัญญาป้องกันทิฏฐิที่เห็นว่าเป็นอัตตาตัวตนธรรมที่ก่อความไม่บริสุทธิ์๒อย่างนี้สัมพันธ์กันเกี่ยวข้องกันถ้าไม่มีการชำระตัณหาเสียก่อนการใช้อิริยาบถของท่านก็จะไม่บริสุทธิ์เพราะตัณหา  เมื่อไม่บริสุทธิ์แล้วก็ไม่มีโอกาสทำปัญญาให้เกิดขึ้นมาเห็นความจริงได้เลยว่าอันนี้เป็นนามอะไรเป็นรูปอะไรเพราะของไม่บริสุทธิ์ในชั้นนี้ไม่ถึงขั้นวิสุทธิสำหรับความบริสุทธิ์ในขั้นนี้เป็นเพียงป้องกันเสียก่อนถ้าเครื่องปรุงทั้งหลายไม่บริสุทธิ์เพราะขาดความเข้ามจแต่ต้นอะไรๆก็ไม่บริสุทธิ์หมดปัญญาก็เกิดไม่ได้

  ดังนั้นก่อนการใช้อิริยาบถจึงสำคัญที่สุดแต่ส่วนมากไม่ค่อยสนใจกันสนใจแต่ว่าจะกำหนดรูปนามให้ได้มากๆการใส่ใจทุกข์คือต้องรู้ว่าทุกข์อะไรทุกข์ตรงไหนการเปลี่ยนอิริยาบถนั้นจะเป็นเครื่องยืนยันว่าทุกข์เกิดจริงๆการเดินแก้ทุกข์จริงๆนั้นเดินตรงไหนก็ได้และไม่ต้องเดินมากมายอะไรถ้าเทียบกับเวลาไม่เดินกรรมฐานแล้วจะเห็นผิดปกติควรสังเกตว่าถ้าไม่เข้ากรรมฐานจะเดินมากอย่างนั้นไหมแสดงว่าใช้อิริยาบถเดินเกินความจำเป็นอาจมีตัณหาหนุนอยู่เบื้องหลังเพราะอิริยาบถเดินเป็นของหยาบถ้าถนัดที่จะดูรูปเดินก็แสดงว่ามีความพอใจในอิริยาบถเดินตัณหาก็เข้าอีกก็ไม่มีประโยชน์อะไรในการทำเช่นนั้นความจริงไม่ควรคำนึงว่ารูปนี้ชัดรูปนี้ไม่ชัดรูปอะไรมีก็ดูไปดูไม่ได้ก็ค่อยๆแก้ไขไปเราอาจยังไม่เข้าใจเรื่องการมีสติออกไปที่ท่าทางหรือไม่ทราบวิธีที่จะให้มีสัมปชัญญะเกิดขึ้นก็ได้หน้าตาของสติเป็นอย่างไรหน้าตาของสัมปชัญญะเป็นอย่างไรถ้าไม่ใส่ใจทุกข์จริงๆแล้วการใช้อิริยาบถมักจะไม่ตรงตามความเป็นจริงจะมีความต้องการมีความพอใจอาศัยได้ไม่ตรงไปตรงมาตามทุกข์ที่เกิดขึ้น

  การใส่ใจทุกข์ก่อนเปลี่ยนอิริยาบถที่เปลี่ยนนั้นจะเหมาะสมแก่การแก้ทุกข์จริงๆเช่นนั่งอยู่พอเกิดปวดเมื่อยอาจจะไม่จำเป็นต้องเดินก็ได้ถ้าใส่ใจทุกข์จริงๆเพียงแต่เหยียดขาออกก็แก้ทุกข์แล้วไม่จำเป็นต้องไปเดิน  ถ้าเหยียดก็แล้วคู้ก็แล้วทำตัวตรงก็แล้วถ้าใส่ใจทุกข์อยู่แล้วก็จะรู้เองว่าจุดนี้จะนั่งต่อไปไม่ได้คราวนี้ต้องเดินจริงอยู่เดินนั้นเป็นการแก้ได้จริงๆ  เวลานั่งอยู่จะนั่งคู้ขาเหยียดขานั่งเอนอยู่พอไปเดินก็สามารถแก้ทุกข์ได้จริงๆแต่ว่าเราจะรู้ว่าเป็นการแก้ทุกข์จริงหรือไม่มันอาจไม่บริสุทธิ์คือมีความต้องการอาศัยหรืออยากจะเดินอยู่แล้วเวลาทุกข์เกิดก็เดินทันทีอย่างนี้สมควรเดินแล้วหรือยังอาจจะยังไม่สมควรก็ได้เมื่อไปเดินเข้าก็อาจเป็นอำนาจความต้องการก็ได้คือตัณหาเข้าอาศัยได้

  ถ้าไม่ใส่ใจทุกข์มันจะไปสนใจในอิริยาบถที่เปลี่ยนถ้าไปสนใจในอิริยาบถที่เปลี่ยนก็จะเห็นว่าอิริยาบถมีสาระหรือเห็นว่าเดินดีกว่าผู้ปฏิบัติถ้าทิ้งทุกข์เสียแล้วก็จะไปสนใจในอิริยาบถจะมีการเลือกว่าอะไรดีกว่าคิดว่าเดินดีกว่าเมื่อเดินดีกว่าก็ไม่ใช่แก้ทุกข์แล้วความบริสุทธิ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้แม้จะกำหนดรูปเดินอยู่ก็ตามก็ไม่ใช่ความรู้ของปัญญาเลยเพราะว่าไม่บริสุทธิ์อาจเข้าใจเองว่าเป็นความรู้ของปัญญาก็ได้อันนี้เป็นความเข้าใจก่อนเปลี่ยนอิริยาบถ

  อิริยาบถมี๒อย่างคืออิริยาบถไได้แก่การนั่งนอนยืนเดินและอิริยาบถย่อยได้แก่อิริยาบถที่ต้องใช้มือและแขนเป็นต้นเมื่อมีความเข้าใจหรือกำหนดทันอิริยาบถใหม่ดีแล้วอิริยาบถย่อยก็จะรู้ตามไปเองอิริยาบถย่อยละเอียดกว่าอิริยาบถใหญ่ทั้ง๔อิริยาบถย่อยเป็นผู้ช่วยอิริยาบถใหญ่  เมื่อท่านจะต้องใช้อิริยาบถแล้วจะต้องรู้ว่าเป็นการแก้ทุกข์ในอิริยาบถใหญ่เวลาที่จะเปลี่ยนอิริยาบถใหญ่นี้แหละเป็นเหตุที่จะให้รู้ว่าอิริยาบถย่อยนั้นเกิดขึ้นเพราะเหตุอะไรอิริยาบถย่อยจะช่วยแก้ทุกข์ในอิริยาบถใหญ่อย่างไรการแก้ทุกข์นี้รูปกับนามนี้จะช่วยกันทุกข์นี้เกิดจากอิริยาบถใหญ่อิริยาบถย่อยก็ช่วยแก้เหมือนกันทุกข์แต่ละอย่างๆที่อิริยาบถจะช่วยแก้นี้ไม่เหมือนกันการกำหนดอิริยาบถใหญ่นี้แหละก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงเหตุผลในการที่จะต้องใช้อิริยาบถย่อยด้วยต้องกำหนดรู้อิริยาบถย่อยไปว่าเป็นเครื่องแก้ทุกข์เดินไปเพื่อแก้ทุกข์เช่นเดินไปเพื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะเดินเพื่อแก้เมื่อยแล้วแต่จะกำหนดรู้การไปจะต้องทำความรู้สึกในอิริยาบถนี้เพื่อเป็นการแก้ทุกข์ไปด้วย

  อิริยาบถย่อยเช่นเวลาอาบน้ำล้างหน้าถ่ายอุจจาระถ่ายปัสสาวะรับประทานอาหารดื่มน้ำเป็นต้นแม้จะรู้ว่าเป็นทุกข์แล้วและใส่ใจในทุกข์ก็ตามแต่เวลาที่จะทำกิจนั้นๆก็อดที่จะมีความสุขความสบายและความพอใจไม่ได้เช่นการอาบน้ำก็อดที่จะมีความชื่นใจไม่ได้ทั้งๆที่มีความเข้าใจอยู่แล้วทำไมถึงมีความพอใจอยู่อีกแม้แต่อิริยาบถใหญ่จากนั่งเป็นยืนความรู้สึกว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์หายไปฉับพลันแม้ก่อนหน้านั้นก็มีการใส่ใจทุกข์รู้ด้วยปัญญาว่าเปลี่ยนเพื่อแก้ทุกข์ผู้ปฏิบัติรู้ดีว่ามีความรู้สึกอย่างนั้นแต่เมื่อลุกขึ้นเท่านั้นความรู้สึกนั้นหายไปเลยอันนี้มีได้ทั้งนี้เพราะในขณะที่เปลี่ยนนั้นได้ส่งใจไปในเรื่องอื่นกล่าวคือทิ้งทุกข์ไปสนใจการเดินเสีย

  ความจริงถึงท่านไม่สนใจการเดินท่านก็เดินได้โดยไม่ต้องสนใจอะไรกันทีนี้ไปสนใจการเดินจะเดินเพื่อแก้ทุกข์แต่มีเรื่องอื่นเข้ามาคือสนใจว่าจะเดินตรงไหนดีอย่างนี้ทุกข์ก็หายไปเลยก็จะกลายเป็นว่าเดินเพื่อจะดูเดินจนได้เพราะฉะนั้นจะต้องมีอุบายรักษา

  อุบายรักษาคืออะไรคือความเข้าใจขณะเปลี่ยนอิริยาบถคือการทำสติให้รู้ขึ้นในขณะที่กำลังลุกขึ้นยืนต้องมีสติสำรวมระวังอยู่ในอาการถ้าเป็นอย่างนี้จะรักษาการเปลี่ยนอิริยาบถเพื่อแก้ทุกข์เอาไว้ได้ตลอดจนกว่าจะใช้อิริยาบถใหม่ไปจริงๆเพราะฉะนั้นต้องมีสติแม้จะชั่วขณะเดียวก็ตาม

 

การทำความเข้าใจเวลาอาบน้ำและรับประทานอาหาร

  ความจริงการอาบน้ำจะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่ารูปสกปรกจำเป็นต้องอาบน้ำขณะอาบน้ำก็ต้องสังวรระวังอาการอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่ต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่าทำแก้ทุกข์เพราะถ้าทำเช่นนั้นจะกลายเป็นการบริกรรมไปเมื่อตักน้ำรดตัวถ้าไม่ทำความเข้าใจแล้วความสบายที่เกิดจากความเย็นความพอใจก็จะแทรกเข้าอาศัยความรู้สึกว่าสบายนั้นได้ถ้าขาดการสังวรความพอใจจะเกิดในความสบายเพราะหายร้อนถ้าสังวรอยู่จะรู้เหตุผลตลอดหรือถ้ารีบไปหน่อยไม่สังวรกิเลสก็เข้าอาศัยได้แต่ถ้าสังวรอยู่จะรู้ได้ว่ารูปเย็นไม่ต้องไปบอกเพราะเย็นสบายก็ต้องรู้อยู่แล้วแต่ถ้ามีการสังวรจะไม่รีบถ้าไม่สังวรจะรีบทำให้ไม่ทราบถึงเหตุผลถ้าไม่มีความเข้าใจจะอยากอาบน้ำแต่ถ้ามีความเข้าใจจะทราบได้ว่าเพราะเหตุไรจึงต้องอาบน้ำเพราะทุกข์เกิดขึ้นแล้วใช่ไหมจึงต้องอาบคือต้องใส่ใจเสียก่อนว่าไม่ได้ทำตามความอยากที่เกิดขึ้นแต่เพราะทุกข์เกิดจึงจำเป็นต้องอาบเมื่อรู้ว่าผิดแล้วก็เลิกไปเองการอาบน้ำเป็นภาระที่ผู้ปฏิบัติจะต้องใช้เสมอในชีวิตประจำวันเมื่อท่านนั่งอยู่ตามปกติเกิดร้อนหรือเหนียวตัวขึ้นมาจะบำบัดทุกข์นี้ด้วยการอาบน้ำเมื่อรู้ว่าจะอาบน้ำเพื่อแก้ทุกข์แล้วขณะลุกขึ้นเดินไปห้องน้ำระหว่างกำลังเดินไปห้องน้ำนั้นถ้าขาดสติสังวรไปในอาการที่กำลังลุกขึ้นเพราะเห็นว่าเข้าใจแล้วใช้ได้แล้วก็มักจะไปนึกถึงบ้านนึกถึงคนนั้นก็เดินไปอย่างนี้ก็จะไม่มีเหลืออยู่เลยว่าจะอาบน้ำเพื่อแก้ทุกข์ฉะนั้นจึงต้องมีสติสังวรไปสติจะตกไปบ้างในการสังวรอาการนั้นบ้างก็ไม่เป็นไรก็ขอให้มีการสังเกตเอาพอรู้สึกตัวขึ้นมาว่าปล่อยใจเสียแล้วก็กลับมาสังวรใหม่ก็เท่านั้นเมื่อปฏิบัติไปนานๆสติมีความเข้มแข็งขึ้นก็สามารถสังวรได้ตลอดรอดฝั่งไปเอง

  และเป็นธรรมดาของผู้ปฏิบัติที่ยังไม่ชำนาญก็จะต้องมีข้อบกพร่องสติก็ยังไม่เข้มแข็งสัมปชัญญะก็ยังมีกำลังน้อยก็จำต้องอาศัยเวลาสักหน่อยแต่จะต้องรู้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไรแล้วก็พยายามทำอย่างนั้นก็จะถูกต้องไปเองผู้ปฏิบัติจะต้องมีการสังเกตไปด้วยการใส่ใจทุกข์ใหม่ๆอาจมีบัญญัติบ้างแต่ทำไปสังเกตไปก็จะทิ้งบัญญัติไปเองการใส่ใจทุกข์จริงๆเป็นอย่างไรผู้ปฏิบัติต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างแท้จริงเสียก่อนคือให้รู้ว่าทุกข์อะไรทุกข์เกิดที่ไหนนี่แหละถึงจะเป็นการใส่ใจทุกข์ผู้ปฏิบัติอย่าเห็นว่าใส่ใจทุกข์แล้วทำถูกต้องแล้วแล้วจากนั้นจะปล่อยใจไปถึงเรื่องอะไรก็ได้อย่างนี้ไม่ถูกความรู้จะไม่เกิดว่าทำไปทำไมก็จะหายไปในระหว่างทางและการใส่ใจทุกข์เป็นเหตุให้อินทรีย์สังวรดีเหลือเกินช่วยให้อินทรีย์สังวรดียิ่งขึ้นเช่นในการรับประทานอาหารก็ต้องใส่ใจทุกข์ต้องรู้ว่ารับประทานอาหารเพื่อแก้ทุกข์เป็นต้นเมื่อความหิวเกิดขึ้นก็ต้องรู้ว่าความหิวเป็นทุกข์ต้องรับประทานอาหารเพื่อแก้ทุกข์ขณะรับประทานอาหารต้องมีความสังวรในการรับประทานให้ทำอะไรไปทีละอย่างจะทำให้สังวรได้เช่นตักอาหารเข้าปากก็ให้มีความรู้สึกตัวเวลาเคี้ยวก็ให้รู้สึกตัวคือให้สังวรในอาการที่ใช้จะหยิบอะไรก็ให้หยิบทีละอย่างจะเคี้ยวก็ขอให้เคี้ยวไปจนหมดก่อนแล้วจึงหยิบหรือตักใหม่ไม่ใช่เคี้ยวไปแล้วก็ตักเตรียมรอไว้ด้วยอย่างนี้ไม่ทัน

  ในระหว่างรับประทานอาหารให้สังวรในอาการทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะยกมือเหยียดมือไปตักกับข้าวหรือตักข้าวในชามข้าวอาการที่คู้แขนเข้ามานำอาหารใส่ปากอาการที่เคี้ยวอาการที่กลืนให้สังวรในอาการเหล่านี้ไปทุกอาการถ้าสังวรในอาการเหล่านี้ผู้ปฏิบัติจะไม่สนใจเลยว่าวันนี้กับข้าวมีอะไรจะเป็นแกงจืดหรืออะไรก็เท่ากับว่าผู้ปฏิบัติไม่ถือนิมิตอนุพยัญชนะในการกินความชอบใจไม่ชอบใจในอาหารจะเกิดขึ้นไม่ได้แต่ถ้าผู้ปฏิบัติไม่สังวรจะเป็นอย่างนี้คือถ้าไม่ชอบใจในอาหารก็จะรับประทานน้อยพอหายหิวก็หยุดแต่ถ้าเจออาหารที่ถูกใจก็จะรับประทานมากไปนั่นเป็นเพราะไปสนใจวัตถุคืออาหารก็จะเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมาได้  

  แต่ถ้าไม่ไปสนใจอาหารไปสนใจอยู่ในอาการสังวรอยู่ในอาการที่ใช้การรับประทานอาหารของผู้ปฏิบัติก็จะเป็นไปอย่างเหมาะสมอาหารนั้นจะเป็นอาหารที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจก็จะเป็นไปตามปกติ

 

ารทำความเข้าใจในการกำหนดนามรูป

  ในการกำหนดนามรูปเป็นการทำความเข้าใจหลังจากเปลี่ยนอิริยาถแล้วเช่นนั่งเปลี่ยนเป็นเดินอย่างนี้จะต้องมีความเข้าใจในอิริยาบถเดินว่าขณะเดินจะต้องรู้ด้วยว่าตนกำลังดูรูปอะไรด้วยมิใช่ดูรูปเดินเฉยๆแต่ไม่รู้ว่าเป็นรูปอะไรก็ไม่ได้ผู้ปฏิบัติจะต้องมีความเข้าใจอยู่ตลอดเวลาเวลาเดินรูปเดินนั่นเองเป็นอารมณ์ที่ควรใส่ใจเพราะถ้าใส่ใจแล้วสามารถป้องกันทิฏฐิได้ป้องกันทิฏฐิที่เห็นว่าเป็นอัตตาคือเราเดินได้การใส่ใจในอาการเดินหรือรูปเดินจะป้องกันทิฏฐิอันนี้ได้คือมีแต่รูปเดินเท่านั้นอย่างนี้แล้วการใส่ใจในรูปเดินนี้ก็จะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องตามสภาวะความเป็นจริง

  แค่นี้ยังไม่พอยังต้องมีรายละเอียดอีกเพราะในขณะที่เดินอยู่และกำหนดรูปเดินอยู่นั้นเกิดมีเสียงดังมากระทบหูหรือจะเป็นเสียงกระซิบก็ตามทำให้ผู้ปฏิบัติดูอิริยาบถไม่สะดวกโดยเฉพาะเสียงกระซิบจิตใจเรามักจะคอบไปสนใจอยู่เรื่อยพอรู้ตัวกลับมามันก็ไปอีกเป็นอย่างนี้อยู่เรื่อยๆถ้าจะดูให้ได้ก็ต้องบังคับกันพอตั้งใจเป็นพิเศษก็ต้องกำหนดแรงอาจจะเลยไปอยู่ที่ส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกายไปหรือไม่ก็จงใจจะทำกรรมฐานกล่าวคือกำหนดเป็นพิเศษไปก็จะเกิดเป็นสาระขึ้นมาก็ใช้ไม่ได้อีกเมื่ออยู่ในลักษณะเช่นนี้ผู้ปฏิบัติต้องโยกย้ายอารมณ์ไปตามสมควรถ้าขืนดึงดันกำหนดรูปเดินไปให้ได้อย่างนี้อะไรจะเกิดขึ้นมันจะมองไม่ออกเอาทีเดียวจริงๆแล้วจะมีทั้งตัณหาทิฏฐิและอัตตาคือจะให้เป็นไปในอำนาจและมันก็จะไปอีกคราวนี้เแหละสมควรจะกำหนดนามรูปอย่างอื่นเวลานั้นมีเสียงมารบกวนทางหูกำหนดนามได้ยินเสียอาจจะสะดวกหากกำหนดนามได้ยินถึงแม้จะยากก็กำหนดไปเถิดจะกำหนดได้หรือไม่ได้ก็ต้องหัดดูบ้างไม่เช่นนั้นจะทำอย่างไรจะดูรูปเดินก็เป็นการบังคับการกำหนดนามได้ยินผู้ปฏิบัติมักจะคิดว่ากำหนดไม่ได้เรื่องดูไม่ได้นั้นไม่มีหรอกดูได้นิดหนึ่งแล้วก็ทิ้งไปหากจะเลยไปหาเสียงก็ให้ดูใหม่นิดหนึ่งผู้ปฏิบัติยังจับไม่ได้ว่าจะดูได้เหมือนกันก็เลยเข้าใจว่าดูไม่ได้เสียเลยก็ท่านกำหนดรูปเดินรูปนั่งรูปยืนรูปนอนก็สามารถกำหนดได้ดังนั้นการไปกำหนดรูปนามอย่างอื่นก็ต้องได้เหมือนกันเพียงแต่ว่าจะดูได้นานชัดเจนเหมือนอิริยาบถยืนเดินนั่งนอนหรือไม่เท่านั้นเองเพราะนามได้ยินเป็นของละเอียดอาจจะไม่ถนัดถนี่นักแต่ถ้าสติสัมปชัญญะแข็งแรงดีแล้วมันก็จะถนัดถนี่อยู่ได้นานเองอย่างนี้เป็นต้น

  แต่ถ้าขืนดึงดันจะดูรูปนั่งให้ได้อย่างนี้เรียกว่าไม่มีความเข้าใจเพราะรูปนั่งไม่ใช่อารมณ์ที่ควรจะใส่ใจแล้วเกี่ยวกับว่าไม่มีประโยชน์ในการถอนอัตตาตัวตนแต่ถ้าจะดึงดันดูให้ได้ความดึงดันนั้นมันบ่งถึงความเป็นอัตตามีอำนาจอยู่แล้วเพราะฉะนั้นก็ต้องไปดูนามได้ยินเสียอย่างนี้เป็นต้น

การทำความเข้าใจในเวลาเปิดพัดลม

    เมื่ออากาศร้อนผู้ปฏิบัติจะเปิดพัดลมเพื่อบรรเทาความร้อนแล้วก็กำหนดรูปนั่งไปหรือกำหนดรูปนอนก็ตามแล้วเกิดปวดศีรษะแต่พอปิดพัดลมแล้วก็หายแต่พอเปิดพัดลมอีกก็เป็นอย่างนี้อีกถ้าสังเกตดูจะทราบว่าการเปิดพัดลมเป่าตัวนั้นความรู้สึกมันไปเกิดที่การกระทบเพราะมันเด่นชัดไปที่นั่นความรู้สึกมันไปที่การกระทบหมดแต่ผู้ปฏิบัติต้องการจะดูรูปนั่งรูปนอนรูปยืนรูปเดินก็ไม่ยอมให้มันไปคอยดึงดันมาอยู่ที่รูปนั่งเรื่อยๆแล้วมันก็ไปอีกถ้าอย่างนี้ก็จะเกิดอาการเครียดทำให้เกิดอาการมึนงงได้ทำอย่างนี้ก็เป็นการฝืนไม่อนุโลมตามสะดวกขณะนั้นถ้าเปิดพัดลมอยู่รูปอะไรที่ควรจะดูก็คือรูปกระทบนั่นแหละถ้าเห็นว่าไม่สะดวกก็ปิดพัดลมเสียทนร้อนไปถ้าฝืนจะดูให้ได้อย่างนี้เรียกว่าไม่มีความเข้าใจเหมือนกันการใส่ใจรูปเย็นร้อนอ่อนแข็งก็ตามที่เป็นอยู่ในขณะนั้นจึงเรียกว่ามีความเข้าใจถ้าไม่มีอารมณ์อื่นเข้ามาทำให้ผิดแผกแตกต่างไปอิริยาบถนั่นแหละเป็นประธานที่ควรใส่ใจเพราะเราเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานหมวดพิจารณาอิริยาบถจะไปใส่ใจอารมณ์อื่นบ้างเป็นบางครั้งก็ได้ในคราวที่อิริยาบถนั้นๆไม่สะดวก

 

การกำหนดในขณะทุกขเวทนาครอบงำ

  ในขณะมีโรคภัยไข้เจ็บเช่นปวดฟันทำให้ปวดร้าวไปหมดทั้งศีรษะอารมณ์ที่ชัดเจนในเวลานั้นคือทุกขเวทนาก็ไปดูทุกขเวทนาแต่มีผู้ปฏิบัติบางคนบอกว่ายิ่งดูทุกขเวทนาก็ยิ่งปวดจนทนไม่ไหวถ้าไม่ดูทุกขเวทนายังปวดน้อยแต่ถ้าไปดูอิริยาบถก็ดูไม่ได้อีกอย่างนี้ถึงหัดดูก็ดูไม่ได้แล้วเพราะจิตใจกระสับกระส่ายเนื่องจากทุกขเวทนารบกวนที่ดูทุกขเวทนาแล้วยิ่งปวดนั้นเรียกว่าไม่ดูทุกขเวทนาอย่างรู้สึกตัวมีแต่สติอย่างเดียวแล้วก็อาจหมายไว้ในใจด้วยว่าดูไปเรื่อยๆมันอาจจะหายปวดก็ได้คือมีความคิดอย่างนี้แอบแฝงอยู่ก็ได้อย่างไรก็ตามเอาความว่าไม่มีความรู้สึกตัวกว่าเดิมมีแต่สังวรอยู่ที่ความปวดเท่านั้นอย่างนี้เรียกว่ามีแต่สติสติเป็นปัจจัยแก่สมาธิเป็นพิเศษ

  สติเกิดขึ้นแล้วอะไรๆก็ชัดเจนอารมณ์นั้นแหละจะชัดเจนเหมือนการทำกสิณนั่นเองนี้ก็เหมือนกันมีแต่สติเพ่งเอาๆในอารมณ์ปวดนั้นก็เหมือนกับสมาธิอารมณ์ที่เพ่งนั้นแหละที่จะเป็นกสิณกลับเป็นทุกขเวทนาคือเป็นไปในอาการเดียวทำให้ชัดขึ้นทุกขเวทนาชัดขึ้นคืออย่างไรคือปวดมากขึ้นในที่สุดก็ทนไม่ไหวเพราะไปทำให้มันชัดขึ้นมาเองจนทนไม่ไหวเป็นการทำอุบายที่ไม่ถูกต้องคือไปจับเอาอารมณ์นั้นแน่นจนกระทั่งชัดเจนถ้าเช่นนั้นจะทำอย่างไรก็ต้องสังเกตตัวผู้ดูว่าดูอารมณ์อะไรอยู่ก็จะไม่จับอารมณ์นั้นแน่นเพราะมาทางผู้ดูแต่อารมณ์นั้นก็คอยรู้อยู่ถ้าพุ่งไปที่อารมณ์ปวดเลยก็จะจับแน่นเวลาดูทุกขเวทนาก็เช่นเดียวกันไม่ใช่ฟุ้งไปที่ทุกขเวทนาเสียหมดต้องมาที่ผู้ดูว่ากำลังดูอะไรดูนามปวดอาจจะดูได้ก็ได้เวลานี้คือจะไม่ปวดมากขึ้นๆถ้ารู้ถูกต้องหรือรู้อุบายตรงนี้แล้วก็จะช่วยให้การปฏิบัติสะดวกขึ้นนี่แหละคือเรื่องความเข้าใจทั้งนั้นขาดไม่ได้ถ้าขาดปัญญาก็จะไม่เกิดจะไม่บริสุทธิ์ถ้าไม่บริสุทธิ์จะไปละตัณหาได้อย่างไรตัณหาก็ยังมีอยู่อย่างนั้นก็ยังพ้นทุกข์ไปไม่ได้เรื่องของความเข้าใจนี้เป็นเรื่องสำคัญมากปัญหาว่าจะดูเดินยืนนั่งนอนทำไมเดินยืนนั่งนอนนี้ทุกคนต้องมีเหมือนกันหมดแม้แต่สัตว์เดรัจฉานก็ต้องมีเข้ากรรมฐานหรือไม่เข้ากรรมฐานก็มีทำไมจึงต้องให้ดูเดินยืนนั่งนอนไม่เห็นจะมีกิเลสอะไรนั่งมีโกรธหรือเปล่า  ก็เปล่ามีโลภไหมไม่มีร่างกายนี้ไม่โลภรักโกรธหลงแต่มีอยู่กับใจอยู่กับนามไม่มีแล้วจะไปดูทำไมการปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อจะละกิเลสกิเลสอันนั้นที่อาศัยการเดินการยืนการนั่งการนอนเวลานั่งตามธรรมดาเรานั่งนี้ก็ต้องมีความรู้สึกว่าเราเดินเรายืนเรานั่งเรานอนอย่างนี้ตัวนั่งเดินนั้นไม่มีแต่ว่าใจอาศัยรูปนั่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเรานั่งเราก็เข้าใจผิดอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เกิดมาจนอายุเท่าไหร่ก็ตามก็รู้ว่าเรานั่งเรานอนเรายืนเราเดินอยู่อย่างนี้เรื่อยไป

  ที่นี้หลักของวิปัสสนาให้เข้าไปรู้ความจริงว่าเดินนี้เป็นรูปและนามที่รู้ว่าเดินไม่มีคนไม่มีสัตว์ไม่มีผู้หญิงไม่มีผู้ชายมีแต่สภาวะของรูปเท่านั้นเราไม่เคยเข้าใจอย่างนี้เลยเขาจึงให้เข้าไปดูเข้าไปดูตรงที่เราเข้าใจผิดที่จริงเราเข้าใจผิดอยู่มากมายเหลือเกินแต่ให้เข้าไปดูอันนี้ก่อนเรียกว่าเจริญปัญญาปัญญานี้รู้อะไรรู้เหตุรู้ผลเรียกว่าปัญญาถ้ารู้ไม่ตรงกับเหตุผลแล้วไม่เรียกว่าปัญญาเรียกว่ามิจฉาทิฏฐิคือความเห็นผิดเห็นผิดจากใครเห็นผิดจากพระพุทธเจ้าหรือหรือว่าเห็นผิดจากอาจารย์ไม่ใช่ทั้งนั้นแต่เห็นผิดจากเหตุผลเราไปเห็นผิดจากที่เขาเป็นอยู่ถ้าเห็นถูกสัมมาทิฏฐิก็เป็นปัญญาเวลานั่งรู้สึกว่าเรานั่งอย่างนั้นไม่จริงที่จริงไม่มีเรามีแต่รูปกับนามเราที่ไหนมีความรู้สึกว่าเรานั่งนี่มันผิดมันไม่ตรงกับความจริงความจริงมันไม่มีผู้หญิงนั่งผู้ชายนั่งก็ไม่มีท่าที่นั่งจะเป็นผู้หญิงผู้ชายได้อย่างไรเห็นก็เหมือนกันนี่เราเห็นผู้หญิงเห็นเห็นไม่เป็นทั้งผู้หญิงผู้ชายแต่สภาวะของนามมันทำหน้าที่เมื่อได้ปัจจัยก็ทำหน้าที่เห็นทำหน้าที่ได้ยินแต่ไม่ใช่ผู้หญิงผู้ชายได้ยิน

  การเดินยืนนั่งนอนอยู่ที่ไหนการดูรูปนั่งต้องรู้ว่าดูรูปนั่งไม่ใช่นึกถึงว่าจะนั่งเพียงสักครู่พอเวลาไปนั่งแล้วเขาให้ดูรูปนั่งก็เลยนึกถึงรูปนั่งรูปนั่งรูปนั่งอย่างนี้ก็ไม่ได้คือว่าบางคนดูรูปนั่งพอเอาเข้าจริงๆดูที่ไหนรูปนั่งรูปนั่งมันอยู่ที่ไหนถ้าหากว่าไม่เข้ากรรมฐานท่านก็รู้ลุกขึ้นยืนก็ยืนได้นั่งลงก็นั่งได้แต่พอเข้ากรรมฐานบอกให้ไปดูนั่งนอนยืนเดินไม่รู้ว่าดูที่ไหนนั่งอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้แต่ที่จริงตัวก็รู้ถ้าไม่รู้ก็นั่งไม่ถูกนอนไม่ถูก

  เขาก็ไม่ให้ดูอะไรแปลกๆวิปัสสนานี้ไม่ได้ให้ดูอะไรที่ไม่มีอยู่ในตัวสิ่งที่มีอยู่ในตัวเป็นของจริงสิ่งที่ไม่มีอยู่ในตัวเป็นของไม่จริงเขาไม่ให้ดูให้ดูเฉพาะที่มีอยู่ในตัวเท่านั้นเพราะอันนี้เป็นของจริง

  รูปนั่งนั้นดูที่ไหนดูที่ท่าเช่นอย่างเวลานี้ถ้าถามทุกคนว่านั่งหรือนอนก็ต้องตอบว่านั่งทำไมท่านถึงรู้ว่านั่งท่านอาศัยที่ท่านี้ตั้งกายไว้ในท่านี้เขาเรียกว่านั่งยืนก็อยู่ในท่ายืนเวลายืนก็ให้ดูรูปยืนคือรู้อยู่ในท่าที่ยืน

  เวลาเดินก็ดูรูปเดินรูปเดินอยู่ที่ไหนไม่ได้อยู่ที่เท้าแต่อยู่ที่อาการที่ก้าวเวลานี้ท่านก็มีเท้าแต่ยังไม่มีเดินเวลาไม่มีรูปเดินดูรูปเดินไม่ได้ยืนก็ไม่ใช่เดินแต่เมื่อมีอาการของเท้าที่ก้าวไปคำว่าเดินจึงจะมีขึ้นความหมายว่าเดินถึงจะเกิดขึ้นที่นี้เราดูเราก็ต้องดูให้ถูกรูปนี้อยู่ที่ไหนเดินก็ต้องดูขณะที่ก้าวเท้าอย่าเอาสติไปตั้งไว้ที่เท้าหรือที่ขาหรืออะไรมันไม่ถูกทั้งนั้นเดินแท้ๆจะต้องอยู่ที่การก้าวถ้าไม่มีการก้าวคำว่าเดินก็ไม่มีอันนี้ก็เข้าใจกันแล้วคนที่เคยปฏิบัติวิปัสสนาก็เข้าใจแล้วว่าเดินอยู่ที่ไหน

  เวลานอนก็อยู่ที่ท่าอีกนั่นแหละนอนก็มีหลายท่าเหยียดขาก็ได้นอนตะแคงก็ได้นอนหงายก็ได้ทั้งหมดรวมอยู่ในอิริยาบถใหญ่เรียกว่านอนนั่งก็มีได้หลายท่าแต่ก็เรียกว่านั่ง

 

ารนึกกับความรู้สึก

  เวลาเราดูนั่งเราก็ดูเราก็รู้สึกอยู่ในท่าที่เรานั่งเวลานอนเดินยืนเราก็รู้สึกอยู่ในท่าที่นอนยืนเดิน  มีเพียง๔ท่าเท่านี้แล้วก็ต้องรู้สึกตัวด้วยว่าเวลานี้ดูอะไรเมื่อเวลานั่งแล้วจะไปนึกว่ารูปนั่งๆอันนี้ไม่ได้เพราะว่าใจนึกเอาไม่ได้ออกมารู้อยู่ในอาการที่นั่งที่นอนท่านบอกว่าตั้งกายอยู่ด้วยอาการอย่างใดก็ให้รู้อาการเป็นไปของกายที่ตั้งอยู่ในอาการนั้นๆว่าอย่างนี้ในสติปัฏฐานที่นี้เราก็คอยดูรู้สึกว่าดูรูปนั่งรูปนอนรูปยืนรูปเดินเพราะตามธรรมดาถ้าเราไม่ได้ศึกษาและไม่เคยเข้าปฏิบัติวิปัสสนาเลยจะไม่รู้ว่าใครเดินไม่รู้ว่าเดินอะไรเป็นผู้เดินก็ต้องเราซิเป็นผู้เดินใครนั่งก็ต้องเราซิเป็นผู้นั่งแต่ตามความเป็นจริงแล้วไม่มีเรามีอยู่แต่รูปกับนามเท่านั้นอาการนั่งจึงปรากฏขึ้นมีแต่รูปเช่นคนตายแล้วนามดับแล้วมีอิริยาบถได้ไหมไม่มีนั่งก็นั่งไม่ได้เพราะว่าวิญญาณไม่มีแล้วก็นั่งไม่ได้ที่นี้มีแต่นามรูปไม่มีนั่งจะมีไหมไม่มี

  เพราะฉะนั้นอาการนั่งจะเกิดขึ้นได้ต้องมีรูปนามพร้อมแล้วที่นี้เราจะดูก็ต้องดูด้วยความรู้สึกคือรู้สึกอยู่ในท่าที่นั่งแล้วก็รู้สึกว่าดูรูปนั่งเช่นอย่างเวลานี้คุณรู้ไหมว่าเวลานี้คุณกำลังพูดอยู่กับใครรู้สึกไหมรู้เวลานี้คุณฟังใครพูดอยู่รู้ว่าฟังอาจารย์นี้ต้องรู้อย่างนี้รู้ว่าฟังฟังอะไรพูดเรื่องอะไรสอนอะไรเราจึงจะเข้าใจถ้าเราได้ยินเหมือนกันได้ยินแต่ไม่ได้ฟังฟังแล้วไม่เข้าใจทั้งๆที่เรานั่งฟังกันอยู่อย่างนี้แหละแต่ฟังแล้วไม่เข้าใจรูปนามสำคัญที่สุดความรู้สึกนี้ก็ต้องเอารูปนามที่เรียนมาแล้วนี่แหละอาจารย์สอนรูปสอนนามให้เข้าใจกันแล้วทุกคนเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามอาจารย์ก็ต้องสอบที่สอนไปแล้วว่ายังจำได้ดีอยู่หรือเปล่าเวลานั้นอะไรเป็นรูปอะไรเป็นนามแล้วเวลานั้นจะกำหนดอะไรจะรู้อะไรเริ่มต้นใหม่ๆก็อาจจะลืมบางทีก็ได้แต่๒-๓อย่างที่อาจารย์สอนรูปนามนี่นะสอนทำไมสำคัญที่สุดการปฏิบัติวิปัสสนานี่ต้องรู้จักรูปนามเพราะรูปนามเป็นตัวกรรมฐานเป็นตัวให้ความจริงวิปัสสนาเป็นชื่อของปัญญาที่ต้องรู้รูปนามไม่เที่ยงเพราะฉะนั้นรูปนามจึงสำคัญในการที่จะให้เห็นไม่เที่ยงถ้าไม่ดูที่รูปที่นามแล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่ารูปนามไม่เที่ยงสำคัญที่สุดเลยส่วนที่เขานั่งวิปัสสนากันแล้วก็เห็นพระอินทร์บ้างเห็นเทวดาบ้างเห็นอะไรต่ออะไรมากมายเขาก็บอกว่าวิปัสสนาธรรมเกิดขึ้นแล้วถึงแล้วอย่างนี้แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่วิปัสสนาไม่ใช่เห็นพระอินทร์พระพรหมอะไรต้องเห็นนามรูปที่ตัวเรานี่แหละไม่เที่ยงแล้วก็ไม่เป็นไปเพื่อความสุขแต่เป็นทุกข์เวลานี้ท่านก็ยังไม่เห็นว่าเป็นทุกข์อะไรต้องไปดูแล้วถึงจะรู้เพราะนามรูปนี่มันมีลักษณะไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นไปต่างๆแล้วแต่ว่าลักษณะไหนมันจะปรากฏชัดเรากำหนดอันไหนมากเราก็จะเห็นอันนั้นแหละมาก

  เมื่ออาจารย์สอนรูปนามเพราะรูปนามมีความสำคัญที่จะต้องนำเอาไปใช้งานเราจะทำกับข้าวเช่นจะแกงไก่ก็ต้องมีไก่ถ้าไม่มีไก่ก็ไม่เป็นแกงไก่จะตำข้าวก็ต้องมีข้าวถ้าไม่มีข้าวแล้วเราจะตำอะไรเหมือนรูปนามนี้เราต้องมีไปด้วยไม่ใช่อาจารย์สอนเพียงแต่จะให้รู้เฉยๆสอนไว้เพื่อจะให้นำเอาไปใช้เอาไปดูท่านก็จะต้องดูรปดูนามแต่ว่าขั้นต้นนี้ให้ดูรูปไปก่อน๔อย่างเท่านั้นง่ายๆถ้ามากเกินไปจะจำไม่ได้เอาไปใช้ด้วยไปทำอย่างไรใครเป็นคนทำงานใจคือนามที่เป็นตัวทำงานจะกำหนดรูปนั่งรูปนอนแล้วเอารูปนามที่สอนไว้ให้ไปทำงานไม่ใช่ว่าเมื่ออาจารย์สอนแล้วจำได้แล้วก็อยู่ที่นี่ถึงเวลาไปทำงานไม่เอาไปด้วยอันนี้สำคัญมาก

การสังเกตในเวลาทำงาน

  ในเวลาที่กำหนดท่านต้องมีความสังเกตว่าถูกต้องตามที่อาจารย์สอนไหมว่าเวลานั่งให้ทำอย่างไรเวลานั่งก็ให้ดูรูปนั่งหรือให้พิจารณารูปนั่งดูรูปนั่งโดยดูในท่าของกายที่ตั้งอยู่ในท่านั้นเรียกว่านั่งยืนก็อีกท่าหนึ่งเดินก็อีกท่าหนึ่งนอนก็อีกท่าหนึ่งเมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้วก็ดูอาการที่นั่งนอนยืนเดินดูแล้วก็เอารูปนามที่อาจารย์สอนแล้วนี้ไปใช้ด้วยเวลาดูนั้นต้องรู้สึกด้วยว่าดูรูปนั่งคือต้องมีรูปติดเข้าไปด้วยถ้านั่งเฉยๆไม่ได้หรือดูว่าเวลานี้นั่งอยู่เราก็รู้ว่านั่งเท่านั้นไม่ได้ต้องมีรูปด้วยต้องมีรูปติดเข้าไปด้วยรูปเฉยๆก็ไม่ได้รู้ว่านั่งนี่เป็นรูปเราก็ดูรูปอย่างนี้แต่ไม่มีนั่งก็ไม่ได้เพราะว่ารูปนั่งกับรูปนอนนี้เป็นคนละรูปคนละอันไม่ใช่รูปเดียวกันเช่นตัวหนังสือที่เราเห็นเราก็บอกว่าหนังสือรู้แล้วว่าเป็นหนังสือแต่ว่าตัวอะไรเล่ากหรือขเล่ามันไม่เหมือนกันถ้าเราไม่รู้ว่าก.ไก่มีลักษณะอย่างไรข.ไข่มีลักษณะอย่างไรเราอ่านหนังสือไม่ออกแน่เพราะมันคนละตัวกันเพราะฉะนั้นมีความสำคัญมากทีเดียวซึ่งก็เหมือนกับอาจารย์ให้หนังสือไปดูให้หนังสือไปอ่านไม่ใช่ให้ไปแล้วก็เอาไปไว้ที่อาจารย์อาจารย์สอนเสร็จแล้วนามรูปก็อยู่ที่คนสอนนั่นแหละไม่ได้ต้องเอาไปใช้ด้วย

  เพราะฉะนั้นต้องคอยสังเกตการสังเกตเป็นตัวศึกษาเมื่อกำหนดรูปนั่งลงไปต้องสังเกตว่าถูกตรงกับที่อาจารย์บอกไหมว่าให้ทำความรู้สึกตัวว่าดูรูปนั่งดูรูปเฉยๆไม่ได้ดูนั่งเฉยๆก็ไม่ได้เพราะว่ารูปนี้มีหลายอย่างนั่งก็เป็นรูปนอนก็เป็นรูปแต่เป็นคนละรูปกันหากดูเฉยๆก็จะเป็นเรานั่งอันนี้ไม่ได้สำคัญมากทีเดียวสำหรับตอนใหม่ๆนี้ก็ไม่มีอะไรสำคัญสำคัญแต่เพียงว่าทำความรู้สึกตัวว่าดูรูปนั่งเท่านั้นเอง

 

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท