วิธีป้องกันประสาทรับกลิ่นรสเสื่อม+อาหารไม่อร่อย


 

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Why taste is all in the senses'
= "ทำไมรส(ชาติ)เป็นเรื่องของการรวมสัมผัสทุกอย่างเข้าด้วยกัน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ผู้เชี่ยวชาญแบ่งคนตามความสามารถในการรับรู้รสอย่างละเอียด (อร่อยหรือไม่ รสชาติหนักไปทางไหน กลิ่นเป็นอย่างไร ฯลฯ) แบ่งคนอังกฤษ (UK) เป็น 3 กลุ่มได้แก่

.

(1). non-tasters > พวกไม่ใช่นักชิมพบ > 25%

.

(2). medium tasters > นักชิมระดับกลาง > 50%

.

(3). supertasters > ซูเปอร์นักชิม ยอดฝีมือ > 25%

.

ภาพ: ตุ่มรับรสรูปคล้ายดอกบัวตูม > อาหารที่ละลายน้ำแล้วจะตกไปในหลุมตุ่มรับรส (taste pore), เมื่อสัมผัสเซลล์รับรส (taste receptor cells) แล้วจึงจะเกิดการรับรสขึ้น > [ wiki ]

.

.

นักวิทยาศาสตร์พบว่า ประชากรทั่วไปมีความสามารถในการรับรู้รสไม่เท่ากัน คือ

.

(1). ผู้หญิงส่วนใหญ่ > ชิมเก่งกว่าผู้ชาย

.

(2). คนเอเชีย-อาฟริกา-อเมริกาใต้ > มีแนวโน้มจะเป็นนักชิมที่ดีกว่าประชากรส่วนใหญ่ของโลก

.

พันธุกรรม (DNA) มีผลต่อการรับรู้รสของคนเรา ทำให้คน 2 คนรับรู้รสอาหารอย่างเดียวกันไม่เหมือนกัน

.

คนที่เกิดมาเป็นซูเปอร์นักชิมมีจำนวนตุ่มรับรส (taste buds) บนลิ้นประมาณ 2 เท่าของประชากรทั่วไป คนกลุ่มนี้มักจะกินอาหารรสจัดไม่ค่อยได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีรสขม

.

.

นักวิทยาศาสตร์พบว่า นอกจากรสหลักๆ (หวาน เค็ม ขม เปรี้ยว) แล้ว, คนบางคนยังมีตุ่มรับรส "ร้อนเย็น (thermal tasters)"

.

คนกลุ่มนี้จะรับรู้ของร้อนเย็นเป็นรสอื่นได้ เช่น รับรู้รสเปรี้ยวเวลาชิมของเย็นๆ และหวานเวลาชิมของร้อน

.

ศ.บาร์รี สมิต จากมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า รสเป็นผลรวมของประสาทสัมผัสหลายๆ อย่าง หลอมรวมเข้าด้วยกัน โดยเฉพาะ กลิ่น-รส-สัมผัส และประสบการณ์ดีๆ หรือร้ายๆ ในอดีต

.

คนแต่ละคนมีจำนวนตุ่มรับรสแต่ละชนิดมากน้อยไม่เท่ากัน คือ มีตุ่มรับรสอะไรมาก จะไวต่อรสนั้นๆ มากตามไปด้วย

.

.

ศ.ชาร์ลส์ สเปนซ์ จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า ปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการรับรส คือ กลิ่น สี เสียง เช่น

  • สีแดงในอาหารมีส่วนเพิ่มการรับรู้รสหวาน
  • ความกรอบเพิ่มความรับรู้ว่า อาหารสด-ใหม่
การที่เด็กๆ มีความไวต่อรสสูงพอๆ กับพวกนักชิมซูเปอร์ แต่มีความไวต่อรสขมสูง ทำให้เด็กกินเก่ง แต่ไม่ค่อยชอบกินผัก (ถ้าไวต่อรสขม จะรู้สึกคล้ายผักขม แทนที่จะจืดหรือหวาน)

.

เร็วๆ นี้มีการศึกษาที่พบว่า คำโบราณที่ว่า "ลูกปูเดินตามแม่ปู" ยังคงใช้ได้ดีในเรื่องผัก

.

.

ถ้าคุณแม่กินผักหลายๆ ชนิดเป็นประจำ ตั้งแต่ตอนก่อนคลอด และช่วงให้นมแม่... คุณลูกจะคุ้นเคยกับกลิ่นผัก และกินผักได้มากกว่าคุณแม่ที่ไม่กินผัก

.

ท่านกล่าวว่า เรื่องที่น่าวิจัยมากๆ ตอนนี้ คือ ทำอย่างไรจะทำให้คนรู้สึกว่า "เค็มพอ" แล้ว ทั้งๆ ที่ใส่เกลือน้อยลง, และ "หวานพอ" แล้ว ทั้งๆ ที่ใส่น้ำตาลน้อยลง เพราะจะช่วยป้องกันโรคจากการกิน "หวาน-มัน-เค็ม" ได้มากมาย

.

คนส่วนใหญ่จะมีการรับรู้กลิ่นลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

.

การรับรู้กลิ่นลดลงเมื่อเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่ ภูมิแพ้คัดจมูก เบาหวาน ขาดธาตุสังกะสี (zinc / ซิ้งค์) และอุบัติส่วนหัว-ใบหน้า โดยเฉพาะจากการ "เมาแล้วขับ-ง่วงแล้วขับ-ไม่ใส่หมวกกันน็อค-ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย" [ mayo clinic ]

.

.

ก่อนหน้านี้มีการศึกษาพบว่า ดินในไทยมีธาตุสังกะสีหรือซิ้งค์ต่ำ ทำให้พืชพันธ์ต่างๆ พลอยมีธาตุนี้ต่ำตามไปด้วย

.

วิธีเพิ่มธาตุสังกะสีในดิน คือ ใส่ปุ๋ย (แพงมาก) หรือใช้แชมพูกันรังแคที่มีธาตุสังกะสี (zinc / Zn) สระผม (จะป้องกันรังแคได้จริงๆ ถ้าหมักผมทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนล้างน้ำ) แล้วรองน้ำสระผมไปรดผักสวนครัว

.

น้ำที่ใช้ล้างจาน อาบน้ำ สระผมมีสารช่วยลดแรงตึงผิว (surfactants) ทำให้ดินไม่แน่น แถมยังมีแร่ธาตุที่เป็นปุ๋ยอีกหลายชนิด เหมาะกับการนำไปรด เพื่อบำรุงต้นไม้

.

มีธาตุสังกะสีสูง คือ เนื้อกวาง-วัว-แกะ หอย กุ้ง เมล็ดงา เมล็ดฟักทอง ข้าวโอ๊ต โยเกิร์ต ไก่ [ whfoods ]

.

.

คนส่วนใหญ่จะมีการรับรู้รสลดลง โดยเฉพาะหลังอายุ 60 ปี โดยรสหวาน-เค็มจะเสื่อมก่อนรสขม-เปรี้ยว [ NIH ]

.

หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ บุหรี่ ยาสูบ ภาวะขาดวิตามิน B12, ขาดธาตุสังกะสี (zinc), โรคเหงือกอักเสบ (พบบ่อยถ้าไม่แปรงฟันให้ถูกวิธี ไม่ใช้ไหมขัดฟัน ไม่ตรวจหาคราบหินปูนกับหมอฟัน)

.

วิตามิน B12 มีเฉพาะในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ยกเว้นสาหร่ายสไปรูลินามีอยู่บ้าง ทางที่ดี คือ ถ้ากินเนื้อน้อยมากๆ น่าจะกินวิตามิน B รวมนานๆ ครั้ง (วิตามินนี้สะสมได้นานหลายเดือนจนถึง 1-3 ปี)

.

การดูดซึมวิตามิน B12 จำเป็นต้องใช้สารช่วยการดูดซึมจากกระเพาะอาหาร (intrinsic factor) ซึ่งอาจหลั่งน้อยลงตามอายุ หรือหลังติดเชื้อ (H. pylori)... การฉีดวิตามิน B รวมนานๆ ครั้งน่าจะช่วยได้เช่นกัน

.

.

ภาวะขาดน้ำทำให้การรับรู้กลิ่น-รสต่ำลงได้ เนื่องจากไปทำให้การหลั่งน้ำมูก-น้ำลายลดลง, น้ำมูก-น้ำลายข้นเหนียวขึ้น ทำละลายกลิ่น-รสได้น้อยลง

.

กล่าวกันว่า ถ้าออกแรง-ออกกำลังให้เหงื่อออก แล้วกินน้ำ มักจะทำให้การรับรู้กลิ่น-รสดีขึ้น อาหารอร่อยขึ้น ซึ่งถ้านั่งลง กินช้าๆ เคี้ยวช้าๆ กลืนช้าๆ จะทำให้อร่อยขึ้นได้โดยไม่อ้วนง่าย (กินเร็วทำให้กินมากขึ้น อ้วนง่ายขึ้น)

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 10 ธันวาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้


หมายเลขบันทึก: 512068เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 08:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 16:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ได้ความรู้ใหม่ๆ เย่อะดี

ไม่รู้มาก่อนครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท