การสหกรณ์ กับ ธรรมาธิปไตย


การสหกรณ์ไทย ประชาธิปไตย และธรรมาธิปไตย

13 ธันวาคม 2555 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเรื่อง การดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ตามหลักการสหกรณ์

การไปเป็นวิทยากรบรรยายนั้นได้ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้าฟัง กับผู้บรรยายด้วย ในขณะที่ข้าพเจ้า ได้พูดตอน Dinner talk ในเรื่อง การสหกรณ์ไทยกับประชาคมอาเซียน ก็ได้ พูดถึงที่มาที่ไปของการสหกรณ์ ว่า คนไทยนั้นคุ้นเคย และรู้จักปฏิบัติกันมานานตั้งแต่บรรพชนแล้ว และสามารถไปดูงานสหกรณ์ไทยได้ที่วัดไทย เพราะพระสงฆ์อยู่รวมกันเป็นคณะสงฆ์ด้วยวิธีการสหกรณ์มาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว พร้อมได้ยกตัวอย่าง ของการปฏิบัติของสงฆ์ที่เป็นไปตามนิยาม ของสหกรณ์สากล ที่จะใช้กันในหมู่ประเทศอาเซียน ว่านิยามสหกรณ์สากล คือ
คำนิยาม

สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย

Definition

A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.

และได้ยกตัวอย่าง ว่า การดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยของคณะสงฆ์ซึ่งสอดคล้องกับนิยามสหกรณ์ เช่น

การทำญัตติจตุตถกรรม ทำด้วยสงฆ์ปัญจวรรค คือ สงฆ์ ๕ รูปขึ้นไป ได้แก่ การกรานกฐิน เป็นต้น และญัตติจตุตถกรรม ทำด้วยสงฆ์ ๑๐ รูปขึ้นไป (ยกเว้นในที่กันดารที่หาพระสงฆ์ได้ยาก) ได้แก่ การอุปสมบท เป็นต้น
การประกอบกรรมเช่นนี้เป็นการใช้หลักเสียงข้างมาก (Majority Rule) เป็นวิธีการประชาธิปไตยเป็นการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของหมู่สงฆ์ ในการตัดสินใจใด ๆ จะถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ และเพื่อให้มั่นใจว่าการตัดสินใจนั้นสะท้อนถึงความต้องการของคนส่วนใหญ่อย่างแท้จริงก็จะให้ความเคารพและคุ้มครองเสียงข้างน้อยด้วย (Minoirty Right) ทั้งนี้

เพื่อประกันว่าฝ่ายเสียงข้างมากจะไม่ใช้มติในลักษณะพวกมากลากไป ในพระพุทธศาสนา ก็ใช้หลักเสียงข้างมาก เป็นเครื่องตัดสิน เช่น การรับกฐิน จะต้องมีการถามท่ามกลางสงฆ์ว่า พระภิกษุรูปใดสมควรได้รับผ้ากฐิน โดยมีการเสนอพระภิกษุรูปที่สมควรได้รับผ้ากฐิน หากพระภิกษุสงฆ์เห็นด้วยก็เปล่งวาจาพร้อมกันว่า “สาธุ” หรือหากภิกษุรูปใดทำผิดพระวินัย ก็มีการตัดสินที่เรียกว่า “เยภุยยสิกา” คือ การระงับด้วยเสียงข้างมากลงมติ ทั้งอธิกรณ์และการระงับสงฆ์ส่วนใหญ่ และในการประชุมทำสังฆกรรมต่างๆ นั้น ต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ หากมีข้อข้องใจมีสิทธิยับยั้ง (Veto) ได้ แม้เพียงพระภิกษุรูปเดียวทักท้วง สงฆ์ทั้งหมดก็ต้องฟัง ดังกรรมวาจาที่ว่า “ยสฺสายสฺมโตขมติ...โสตุณฺหสฺสยสฺส น ขมติ โส ภาเสยฺย” แปลว่า “ถ้ากรรมนี้ ชอบใจต่อท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเงียบ ถ้าไม่ชอบใจต่อท่านผู้ใด ผู้นั้นพึงพูดขึ้น” (ส่วนขยายความของตัวอย่างนำมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/442685?)
แต่ในวันนี้ต้องขอขอบพระคุณผู้เข้าฟัง dinner talk ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดของ สกต.ธกส. กาญจนบุรี ในวันนั้นที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้บรรยาย ว่า การกรานกฐิน นั้น เป็นยิ่งกว่าวิธีการประชาธิปไตย แต่วิธีที่พระสงฆ์ใช้นั้น เรียกว่า ธรรมาธิปไตย ที่เหนือกว่า ประชาธิปไตยขึ้นไปอีก (พระพุทธศาสนาเน้นการปกครองแบบธรรมาธิปไตยในหลักการปกครอง ๓ ประเภท คือ อัตตาธิปไตย ธรรมาธิปไตย และโลกาธิปไตย เพื่อใช้เป็นหลักของความดี ความถูกต้อง ความเสมอภาค ใช้เป็นหลักในการปกครอง เพื่อให้สังคมส่วนรวมมีความเป็นปกติสุข ไม่มีการแบ่งพรรค แบ่งพวก หรือชนชั้นวรรณะ สี ผิว ชาติ ตระกูล มีความสมานฉันท์ และคุ้มครองสิทธิของบุคคลทั่วไปให้ได้รับความเป็นธรรม )

เมื่อนำธรรมาธิปไตยมาใช้กับการสหกรณ์ไทย เราก็จะเขียนนิยามสหกรณ์ไทย เพิ่มเติมได้ว่า คำนิยาม

สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย และธรรมาธิปไตย

Definition

A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically & meritocracy controlled enterprise.

เมื่อประเทศไทยใช้นิยามสหกรณ์ที่ประกอบเพิ่มเข้าไปด้วย ธรรมาธิปไตย (meritocracy) สหกรณ์ไทยก็จะเป็นเลิศเพื่อโลก best for the world เป็นเลิศเพื่อ แบ่งปัน สร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูล ประชาชนคนในอาเซียน และประชาชนคนบนโลกนี้ได้เป็นอย่างดี ครับ

พีระพงศ์ วาระเสน 15 ธันวาคม 2555

หมายเลขบันทึก: 512064เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 07:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2017 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

เรียนอาจารย์ พีระพงศ์ ...ดีใจมากๆที่เห็นจารย์ มาเขียนบันทึกในโกทูโนว์

"สหกรณ์ก้าวไกลด้วยน้ำพระทัยในหลวง" ชาวสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร ซาบซึ่.

นวก สหกรณ์ มาแบ่งปันความรู้ ผ่านบันทึก   เป็นพื้นที่ทำให้พวกผมเรียนรู้อีกช่องทางหนึ่

ยินดีต้อนรับสู๋บ้านGotoKnow ครับท่าน



พึ่งหัดลงบันทึกครับ ยังใช้ไม่ค่อยเป็นครับ หลังจากนี้จะนำสิ่งที่เคยเขียน ไว้ ค่อย ๆ นำมาลงครับ ได้รับคำแนะนำจากท่าน วอญ่า ล่ะครับ  ขอบพระคุณท่าน วอญ่า มา ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท