มารู้จักมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก HAR VARD UNIVERCITY


วันนี้เป็นวันหยุดตั้งใจว่าจะจัดตู้หนังสือให้เรียบร้อย  เนื่องจากปรับปรุงบ้านย้ายตู้จึงยกหนังสือออก พอตอนเก็บพ่อของลูกเป็นคนจัดตู้ หนังสือจึงไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม   ประกอบกับหาแฟ้มที่ลูกคนโตให้ไว้เมื่อตอนกลับมาเมืองไทย  ว่าเป็นหลักฐานจากมหาวิทยาลัย    แม่ภูมิใจนักหนาที่เห็นข้อความว่า Harvard University  จึงนำไปถ่ายเอกสาร แต่ต้นฉบับที่เก็บไว้ในตู้อยู่ตรงไหนเฝ้าหามาหลายวัน  ...ในที่สุดก็พบในสภาพที่กระดาษปกที่มีรูปสัญญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย สีซีดเก่าไปหมด

            ตอนที่ลูกคนรองไปเรียนอเมริกา โทรศัพท์คุยกัน บอกว่า "ไปเที่ยวที่รัฐแมตซาชูเซ็ท และได้ไปมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด ของพี่แอนด้วย...." ลูกทั้งสองคนทันสมัยรู้จักมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด  พ่อกับแม่ไม่เคยรู้จัก   รู้แต่ว่าคนที่จบจากที่นี่เป็นคนใหญ่โตกันทั้งนั้น  อย่างเช่น   ประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า  ก็จบจากมหาวิทยาลัยฮาเวิร์ด 

             น้องมาเยี่ยมบ้าน 1 เดือนและกลับไปได้ 2 วันอาของลูกมาจากกรุงเทพมาเยี่ยมรู้ว่าหลานกลับไปแล้ว จึงขอดูรูปที่หลานไปเรียนเมืองนอก  แม่บอกว่าอยู่ในคอมยังไม่ได้ปริ๊น   มานึกได้ว่ามีลูกเรียนจบเมืองนอกทั้งสองคน  น่าจะเอารูปมาโชว์ไว้ เผื่อญาติๆมาเยี่ยมจะได้เห็น และภูมิใจว่าลูกหลานเรียนจบโทจากอเมริกา  ...แค่คิดแต่ยังไม่ได้ทำ

              บ่ายๆจึงมาทำความรู้จักกับมหาวิทยาลัยชื่อดังของโลก
HARVARD  UNIVERCITY  ที่ลูกเคยไปใช้ชีวิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นมาแล้ว   เชิญท่านมารู้จักพร้อมกัน เท่าที่พอทำได้นะคะ    

                                                           

     มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (อังกฤษ: Harvard University อ่านว่า ฮาร์เวิร์ดมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549

ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี พ.ศ. 2552-2553 มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดยังคงได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิวส์[6] และได้รับการจัดอันดับโดยไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์[7] ให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลก ติดต่อกันมายาวนานหลายปี

                          


               

ประวัติมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

กลุ่มผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดคือ คณะนักบวชที่เรียกตนเองว่า "เพียวริตัน" ซึ่งอพยพมาจากประเทศอังกฤษโดยได้มีตั้งวิทยาลัยขึ้นมา มีจุดประสงค์ที่จะสร้างนักบวชเพื่อให้สามารถเผยแพร่ศาสนาตามแนวทางของลัทธิของตนได้ โดยเริ่มต้นในชื่อว่า "เดอะ นิว คอลเลจ" (The New College) ในปี พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ วิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard College) เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ. 2182 (ค.ศ. 1639) ซึ่งตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ จอห์น ฮาร์วาร์ด นักบวชเพียวริแตนท่านหนึ่ง ซึ่งสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยเอมมานูเอล (Emmanuel College) ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ผู้ได้ทำพินัยกรรมบริจาคหนังสือจำนวนประมาณ 400 เล่มและเงินจำนวนหนึ่งที่ไม่มากนักแก่ทางวิทยาลัย และในปี พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) วิทยาลัยได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัย ในชั้นแรกนั้นวิทยาลัยมีครูเพียงคนเดียว และมีนักเรียนชุดแรก 12 คน โดยเป็นลักษณะโรงเรียนกินนอน
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเริ่มเข้าสู่ยุคของความเป็นมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ภายใต้การบริหารของ อธิการบดี ชาร์ล วิลเลียม อีเลียต (Charles William Eliot) ในระหว่างปี ค.ศ. 1869-1909 โดยอธิการบดีอีเลียต ได้เริ่มนำระบบวิชาเลือก การใช้ระบบหน่วยกิต การสอบคัดเลือก เข้ามาใช้กับมหาวิทยาลัย

                                                


เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

                                              

อาคารในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมีชื่อเสียงมากในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพของอาจารย์ที่สอนและคุณภาพของนักศึกษา โดยศิษย์เก่าและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้รับรางวัลโนเบลรวมกัน 75 รางวัล และรางวัลพูลิตเซอร์ 15 รางวัลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 มีคณาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายท่าน และได้ผลิตผู้บริหารองค์การทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจจากทั้งในและนอกประเทศได้เข้ามาเรียนกันมาก

ในปัจจุบัน ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้ชื่อว่าเป็นห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก (15,555,533 เล่ม) และฮาร์วาร์ดได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีเงินกองทุน (Endowment) สูงที่สุดในโลก คือ 34.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2550) 
                                                                                      




          

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของฮาร์วาร์ดมีหลากหลายคน รวมถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา 8 คน ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีมหาเศรษฐี บิล เกตส์ เจ้าของบริษัทคอมพิวเตอร์ไมโครซอฟท์ (ดรอปเรียนในช่วงปริญญาตรี ขณะอายุ 19 ปี เพื่อไปสานต่อความฝันทางธุรกิจ จนกระทั่งประสบความสำเร็จ และต่อมาทางมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ประสาทปริญญาดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ให้ในปี ค.ศ. 2007) และผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลอีก 15 คน และในรายการ The Amazing Race Season 14 แทมมี่ และ วิคเตอร์ ก็จบหลักสูตรกฎหมายที่นี่ด้วยเช่นกัน                                                                                                             

                                                                                       
หมายเลขบันทึก: 511364เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2012 21:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ คุณพี่ใหญ่

  • ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาอ่านบันทึกและมอบดอกไม้ให้กำลังใจ
  • ประสาคนที่อยากรู้ อยากเห็นค่ะ  ลูกไม่มีเวลาอยู่บ้านและเล่าอะไรให้ฟัง
  •  ก็มาหาความรู้ด้วยตัวเองเผื่อมีใครถามจะได้คุยกับเขารู้เรื่องค่ะ
  •  อาเขาก็ยอบรับว่าหลานไปเรียนโดยไม่ได้แตะต้องกับมรดกทางพ่อค่ะ

 

 

 

สวัสดีค่ะ คุณสุเมธ พิชัย

  •      ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจค่ะ
  •  
  •      About Harvard

                

สวัสดีค่ะ คุณโอ๋- อโณ

  •  ขอบคุณด๊อกเตอร์เมืองนอกที่มาให้กำลังใจบันทึกนี้ค่ะ
  •              
  • สวัสดีค่ะท่าน Ico48 KRUDALA
  • ขอแสดงความยินดีด้วยที่ มีลูกดีๆ ได้เรียนจบจากเมืองนอก

สวัสดีค่ะ ครูทิพย์

     ขอบคุณค่ะ ที่มาให้กำลังใจตั้งแต่เช้า

ลูกเรียนจบเมืองนอก เขาก็ไปอยู่เมืองนอกค่ะ

พ่อแม่ก็เป็คนแก่เฝ้าบ้าน มีความสุขตามประสาค่ะ

 

สวัสดีค่ะ คุณแจ๋ว

                ขอบคุณค่ะ ที่แวะมาให้กำลังใจ

                                

สวัสดีค่ะ คุณสุเมศ พิชัย , คุณเมืองน่ารัก

                    ขอบคุณที่แวะมาให้กำลังใจบันทึกนี้ค่ 

      เป็นการจุดประกายสำหรับคนที่รักความก้าวหน้าค่ะ

                                                           

         

สวัสดีค่ะ อ.นุ

                         ขอบคุณที่แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

           

            A musical gift

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท