ทุกข์สุขเพราะเทียบ..แล้วทำให้เครียด



วันนี้ ๖ ธค. ๕๕ ป่วยแต่เช้ามืด จนบัดนี้เกือบสองทุ่มก็ยังไม่หาย  สงสัยว่าจะเป็นผลพวงจากการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เหลืองที่จะต้องทำเพื่อเดินทางไปคองโก อัฟริกา (เพื่อให้คำปรึกษาต่อรัฐบาลเขาในการอุตสาหกรรม)  

เลยเป็นข้อแก้ตัวว่า วันนี้คิดอะไรแบบบุกเบิกถางทางไม่ค่อยออก  จึงไปหาอ่านบทความของท่านอื่นๆบ้าง  ไปเจอบทความ “ทุกข์เพราะเทียบ”  ของหมอภูฯ   (ที่อ้างคำสอนพระคุณเจ้า ไพศาล วิสาโล อีกต่อ)  อ่านแล้วสนุกดี  จึงได้เม้นท์ต่อท้ายไว้หน่อย 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/510613

ผมมีความเห็นเพิ่มว่าการ “ทุกข์เพราะเทียบ”  นั้นน่าจะเกิดขึ้นได้จริง โดยเป็นผลพวงของการเทียบโดยไม่มีปัญญากำกับ ทำให้คิด อยากมี อยากเป็น ในเชิงโลกีย์ให้มากขึ้นเหมือนคนอื่นเขา  (เช่น มือถือ  รถ บ้าน ตำแหน่งหน้าที่ อำนาจ)

แต่หากเราเทียบอย่างมีปัญญากำกับ เราอาจ “สุขเพราะเทียบ” ก็เป็นได้  เช่น การที่เราเทียบกับคนที่ด้อยกว่าเรา ว่าเขาทุกข์กว่าเราหนักหนาเขาก็ยังอยู่ได้  แล้วเรามีอะไรมากกว่าเขาเสียอีกจะทุกข์อะไรไปหนักหนา 

อีกอย่างที่สำคัญคือ เราเทียบกันคนที่มีศีล สมาธิ ปัญญา มากกว่าเรา แล้วเราสำนึก จนทำให้เราอยากมีศสป. แบบเขาบ้าง  อย่างนี้ก็จะเป็นการสุขเพราะเทียบได้เหมือนกัน(หรืออย่างน้อยกำลังสร้างบันไดให้ตนเองเพื่อปีนไปหาสุข)

(เมื่อคืนป่วย เพลีย เลยหลับไป บัดนี้เช้า ๗ ธค. ตื่นมาบันทึกต่อ) 

ก่อนสรุป จบ  ต้องถามหนักๆ ว่า  สุข ทุกข์ คืออะไรกันแน่  เด็กแว้นเต้นรำท่าทางขาดวิ่นดิ้นเร่า  เขาก็ว่าเขาสุข ในขณะที่คนแก่จีนว่าทุกข์  ส่วนคนจีนแก่ได้รำไท้เก้ก เขาก็ว่าเขาสุข แต่เด็กแว้นว่าทุกข์ 

ดังนั้นคำว่าสุขทุกข์นั้นมันก็บ่แน่ดอก  เพราะมันขึ้นกับรสนิยมและนิยามที่บุคคลยึดถืออยู่ด้วย

สำหรับผมมีนิยามว่า...อะไรที่เราทำแล้วผ่อนคลายก็คือสุข ส่วนอะไรที่เครียดก็ทุกข์  (ไม่อยากลงละเอียดว่าสุขกับสนุกมีอะไรที่เหมือนหรือต่างกันอย่างไร)   

อันว่าความเครียดนี้เกิดจากแรงที่เข้ามากระทำ ซึ่งมันมีแรงหลายรูปแบบมาก เช่น แรงอัด แรงดึง แรงบีบ แรงเค้น แรงเสียดทาน แรงเหวี่ยง แรงยก แรงฉุด แรงที่น่ากลัวคือแรงดึง และแรงเหวี่ยง เพราะมันอาจดึงเราให้พองออก ทำให้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวได้ง่ายๆ เห็นทุกข์เป็นสุขว่างั้นเถอะ

ศาสนาพุทธสอนด้วยคำเชิงลบ เพราะไม่ได้สอนให้แสวงหาความสุขนิรันดร์เหมือนศาสนาอื่น  แต่กลับสอนให้ขจัดทุกข์ให้สิ้น ซึ่งถ้านิยามความทุกข์ตามนิยามผม  ดังนั้นวิธีการหมดทุกข์ ก็คือ ปลดแรงกระทำทุกรูปแบบออกไปให้สิ้น

การหมดทุกข์กับการมีสุขนั้น ผมว่ามันคนละเรื่อง  แม้จะมีบาลีกำกับว่า  นิพพานัง ปรมัง สุขขัง  (นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง)  ก็ตามที

...คนถางทาง (๗ ธค. ๒๕๕๕) 

หมายเลขบันทึก: 511212เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2012 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

นำช่อดอกมะม่วงมาคารวะค่ะท่าน

ถูกใจจริง ชอบใจจัง

สาธุๆๆ

ดอกกระเจี๊ยบเหลืองนวลด้วยค่ะ

 

สีเหลืองช่วยปรับคลื่นสมองให้โล่งโปร่ง

เพิ่มสีเขียวของใบ ผ่อนคลายระบบประสาท

สีขาวสะอาด ปรับพลังปอดก่อนขึ้นเครื่องค่ะ :)

         ด้วยความเคารพ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

--^

ไม่สบาย อาการดีขึ้นแล้วยังคะ

สุขกับทุกข์

เทียบกับไม่เทียบ

กลาง ๆ กับ สุดโต่ง

 

นี่แหละหนอ โลก มนุษย์

...

It took me a few minutes to work this out :
"...ศาสนาพุทธสอนด้วยคำเชิงลบ เพราะไม่ได้สอนให้แสวงหาความสุขนิรันดร์เหมือนศาสนาอื่น แต่กลับสอนให้ขจัดทุกข์ให้สิ้น ซึ่งถ้านิยามความทุกข์ตามนิยามผม ดังนั้นวิธีการหมดทุกข์ ก็คือ ปลดแรงกระทำทุกรูปแบบออกไปให้สิ้น..."

(I think) I agree with the saying Buddhism is about getting rid of pain -- not about getting hold of pleasure.

But clearing all (physical) "forces" (acting/reacting) on things is impossible unless there is "nothing" (so nuclear/atomic forces among particles, even gravity on matter are not there). Because Man (or people) are (physical) things, your hypothesis says (more or less) the goal of Buddhists is impossible. The law of Physics (made famous by Newton) here denies "complete unattachment to other things".

The question remains Is "citta" a (physical) thing?.

Prof. Vicharn Panich's ศาสตร์แห่งสวรรค์ refers to another (non-physical?) entity "viññāṇa" (วิญญาณ in Thai sense; 'consciousness' in Pāli/Buddhist sense).

I don't have any answer or suggestion -- I don't know!

อย่างน้อยก็สุขที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์ค่ะ

แหม..khunrapee หยอดซะหวาน แบบนี้เขียนแล้วสุข อิอิ

ท่าน sr ครับ ตามหลักการพื้นฐานศาสนาพุทธเท่าที่ผมเข้าใจ จิต(เดิมแท้) นั้นไม่ใช่ทั้งรูปหรือนาม กล่าวคือไม่ใช่ physical entity หรือ mental entity แต่ท่านว่า เป็น อสังขตธาตุ (ธาตุที่ไม่มีการปรุงแต่ง) ท่านพุทธทาสภิกขุเสนอคำ นิพพานธาตุ ผมเห็นว่าสภาวะการหลุดพ้นนั้นน่าจะเป็นสภาวะที่มีเอ็นโทรปีต่ำสุด หรือมีความเป็นระเบียบสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงน่าจะจำเป็นต้องอยู่นอกเหนือกฎฟิสิกส์ หรือ space time duality (ว่าเข้านั่น)

อาจารย์คร้าบดูยัง mail หาหลายรอบแล้ว http://www.dr-grassroot.org

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท