แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง


                            แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้ที่แท้จริง

            มนุษย์จะมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และหลายครั้งของการเรียนรู้เหล่านั้นเกิดจากความไม่ได้ตั้งใจ และเกิดขึ้นภายนอกสถาบันการศึกษา นั่นก็ขึ้นอยู่กับว่า มนุษย์คนนั้นเห็นว่า การเรียนรู้สิ่งใดมีประโยชน์และมีคุณค่า และการมีคุณค่าของการเรียนรู้จะขึ้นอยู่กับบุคคลแต่ละคน กลุ่มคน เวลา และ สถานการณ์ในการนำความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้นี้ไปใช้ ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการของการศึกษาการจัดการการเรียนรู้ในระบบการศึกษาในทุกวันนี้ ขึ้นอยู่กับว่า มีอะไรที่เป็นความรู้อยู่บ้าง สิ่งนั้นก็จะถูกถ่ายทอดไปยังผู้เรียน ในหลักสูตรที่เน้นตัวเนื้อหาวิชาเป็นศูนย์กลางจะมุ่งเน้นความรู้เฉพาะทางที่อยู่ในเนื้อหาทางวิชาการของวิชานั้นๆ  แต่กระบวนการทางการศึกษาที่ดีต้องเน้นให้ผู้เรียนได้นำสาระทางวิชาการที่ได้เรียนรู้นั้นไปเพื่อได้รับการพัฒนาและนำไปแสวงหาหรือเพื่อการค้นพบความรู้ใหม่ (Wraga, 2009)การปรับเปลี่ยนมุมมองในสิ่งที่เรียกว่า ความรู้ (Knowledge)และ มาตรฐานและข้อบังคับ (Standards and Regulations)รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความรู้อย่างกว้างขวาง การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชาชนเป็นอีกสาเหตุที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมโลก และเศรษฐกิจโลกขึ้น

           จึงจำเป็นที่โรงเรียนต้องพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในอดีต หลักสูตรทางการศึกษาและการเรียนรู้ เป็นเพียงกระบวนการถ่ายทอดทัศนคติ ความรู้ และทักษะ จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่าและมีการศึกษาสูงกว่า ไปสู่คนที่มีประสบการณ์และการศึกษาที่ต่ำกว่า เท่านั้น

          หลักปรัชญาที่ควรคำนึงในการกำหนดหลักสูตร

 ปรัชญาของโลก (World Philosophy) ที่เป็นพื้นฐานในการกำหนดทิศทางของการจัดการศึกษา (Webb, Metha & Jordan, 2003) ได้แก่ 
 1. Ontology (Metaphysics): การเรียนรู้ของจริงต่างๆ ที่อยู่ในโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า 
 2. Epistemology: การเรียนรู้ศาสตร์ต่างๆ 
 3. Axiology: การเรียนรู้ในเรื่องของความดี ความสวยงาม ค่านิยม โดยมาผสมผสานกับ Educational Domains เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่พึงประสงค์ อันได้แก่ 
 1. Cognitive Domain: มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทางด้านความรู้ และสติปัญญา 
 2. Affective Domain: มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดี เกิดความรักในสิ่งที่ได้เรียนรู้และการเรียนรู้ 
 3. Psychomotor Domain: มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะ ความเชี่ยวชาญในสิ่งที่ได้เรียนรู้  

             หากเราลองเปรียบเทียบกับองค์ 4ของการศึกษาไทย กล่าวคือ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถ ศึกษา และพลศึกษา เราก็เห็นได้ว่ามีพื้นฐานที่ไม่ต่างกัน ซึ่งก็เป็นที่มาของหลักสูตรปัจจุบันที่เน้นให้ ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป็นคนดี และเป็นผู้ที่อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ดังนั้นข้อสำคัญในการกำหนดหลักสูตร คือ ต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในโรงเรียนและเตรียมตัวผู้เรียนที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกโรงเรียนได้อย่างมีความสุข เป็นที่ยอมรับของคนในสังคม Dewey (1916)เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ที่เกิดจากประสบการณ์นอกโรงเรียน

     แหล่งข้อมูล

โดย :ดร. สิทธิพร เอี่ยมเสนรองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตDewey, J. (1916). Democracy and education: An introduction to the philosophy of education. New York: Free Press. 
Collins, A. & Halverson, R. (2009). Rethinking education in the age of technology: The digital revolution and school in America. New York: Teachers College Press. 

หมายเลขบันทึก: 511210เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2012 05:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 14:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท