ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน : 71. AAR


ผมลงแรงไปกับการตีความเขียนบันทึกจากหนังสือเล่มนี้มาก ด้วยความเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ต่อครู/อาจารย์ ในภาคปฏิบัติ ให้เห็นว่าเรื่องปัญหาต่างๆ ที่ตัว นศ. ที่เราบ่นกันนั้น ครูช่วยได้ทั้งสิ้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ครูจัดให้แก่ศิษย์ได้ทั้งสิ้น รวมทั้งปัญหา นศ. ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีแรงบันดาลใจใดๆ ต่อความสำเร็จในการเรียน ไม่มีความเพียรพยายาม เหล่านี้คือความท้าทาย ที่ครูจะได้คิดค้นทดลองหาเทคนิคให้ศิษย์ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้

ครูเพื่อศิษย์ส่งเสริมให้ศิษย์สนุกกับการเรียน  : 71. AAR

บันทึกชุดนี้ ได้จากการถอดความ ตีความ และสะท้อนความคิด  จากการอ่านหนังสือ Student Engagement Techniques : A Handbook for College Faculty เขียนโดย ศาสตราจารย์ Elizabeth F. Barkley  ในตอนที่ ๗๑นี้ เป็นการสะท้อนความคิดในภาพรวม  หรือการทำ AAR หลังอ่านและทำบันทึกสรุปความและตีความหนังสือเล่มนี้ทีละบท

ผมตีความว่าหนังสือเล่มนี้เป็นผลงานวิชาการประเภท Scholarship of Learning และ Scholarship of Instruction  เป็นหนังสือที่เชื่อมโยงทฤษฎีด้านการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ  เป็นคู่มือให้ครูมีเทคนิคดึงดูดความสนใจของศิษย์อยู่กับการเรียน  และเป็นคู่มือให้ครูมีวิธีการสร้างทักษะการเรียนรู้ให้แก่ศิษย์ 

ครู/อาจารย์ ที่มีลูกศิษย์ที่ไม่ตั้งใจเรียน หรือเรียนอ่อน ควรอ่านหนังสือเล่มนี้   และหยิบเอาเทคนิคที่เหมาะสมไปใช้ 

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วผมได้โจทย์วิจัยประเภท translational / implementation research ด้านการจัดการเรียนรู้มากมาย  ทำให้เห็นโอกาสทำงานวิชาการประเภท Scholarship of Instruction ในบริบทไทย   ทั้งผู้ที่สอนในสาขาศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ และในสาขาอื่นๆ   

และเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว  ผู้ที่เป็นครู/อาจารย์สอน จะสามารถคิดประดิษฐ์วิธีการดึงดูดความสนใจในรูปแบบใหม่ๆ ให้แก่ นศ.  รวมทั้งวิธีฝึกฝนทักษะการเรียนรู้รูปแบบใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในหนังสือเล่มนี้  หรือที่ต้องการในบริบทของนักศึกษาไทย  ผมเชื่อว่าการสร้างสรรค์แนวนี้มีได้ไม่มีขอบเขตจำกัด  เป็นพื้นที่ของการสร้างสรรค์ที่อุดมสมบูรณ์จริงๆ 

โจทย์ที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เทคนิคการสร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนรู้ ที่เหมาะสมต่อ นศ. ไทย  เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องการอย่างยิ่ง

อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ผมบอกตัวเองว่า อาจถือว่าเป็นหนังสือภาคปฏิบัติ สำหรับ 21st Century Teacher ก็ได้  คือหากจะให้ศิษย์ได้ 21st Century Skills ครูต้องจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้เทคนิคเหล่านี้ตามความเหมาะสม 

ผมประทับใจว่า หากครูใช้เทคนิคต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ ก็เท่ากับว่าครูไม่มีอะไรที่ปิดบังจากศิษย์เลย  ไม่มีการเก็บเรื่องบางเรื่องไว้เป็นความลับสำหรับให้ครูเป็นเบี้ยบน และศิษย์เป็นเบี้ยล่าง  ตรงกับหลักการของการวัดและประเมินผลใน 21st Century Learning  ที่ระบุว่า การสอบต้องไม่เป็นความลับ

ผมลงแรงไปกับการตีความเขียนบันทึกจากหนังสือเล่มนี้มาก  ด้วยความเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์ต่อครู/อาจารย์ ในภาคปฏิบัติ  ให้เห็นว่าเรื่องปัญหาต่างๆ ที่ตัว นศ. ที่เราบ่นกันนั้น ครูช่วยได้ทั้งสิ้น  ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ครูจัดให้แก่ศิษย์ได้ทั้งสิ้น  รวมทั้งปัญหา นศ. ไม่ตั้งใจเรียน  ไม่มีแรงบันดาลใจใดๆ ต่อความสำเร็จในการเรียน  ไม่มีความเพียรพยายาม  เหล่านี้คือความท้าทาย ที่ครูจะได้คิดค้นทดลองหาเทคนิคให้ศิษย์ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้  

วิจารณ์ พานิช

๔ ธ.ค. ๕๕

 


หมายเลขบันทึก: 510990เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2012 04:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะนำสู่การปฏิบัติในชั่วโมงพบคณบดี เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท