มิติใหม่ในการบริหารธุรกิจและบริหารการศึกษา


ประเทศเราต้องจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนชาวไทยอยู่อย่างผู้ชนะ

 มิติใหม่ในการบริหารธุรกิจและบริหารการศึกษา

                                                                          ประชุม โพธิกุล

วิธีการใหม่ในการบริหารกลยุทธ์ได้พัฒนาตั้งแต่ต้นปีค.ศ.1990โดยดร.โรเบิร์ตแคปแลน Harvard Scorecard Collaborative เราเรียกระบบนี้ว่า Balance Scorecard collaborative (BSC) เรายอมรับว่ามีจุดอ่อนบางอย่างและความไม่ชัดเจนของวิธีการบริหารแบบดั้งเดิม วิธีการ Balanced scorecard  ได้กำหนดกฎเกณฑ์ไว้ชัดเจนว่าบริษัทควรวัดเพื่อรักษาดุลยภาพทางการเงิน

       BSC เป็นระบบการบริหาร (มิใช่ระบบวัดผลเพียงอย่างเดียว) องค์การกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์และแปลงไปสู่การปฏิบัติต้องจัดเตรียมข้อมูลย้อนกลับทั้งกระบวนการภายในและผลลัพธ์ภายนอกเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องและเน้นผลลัพธ์ เมื่อนำไปสู่่การปฏิบัติอย่างเต็มทีี่ BSCจะเปลี่ยนการวางแผนกลยุทธ์จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ นำไปสู่การดำเนินกิจการ

       Kaplan และ Nortonได้อธิบายนวัตกรรมดังต่อไปนี้ BSC ยังคงรักษาการวัดทางการเงินแบบดั้งเดิมไว้ การวัดผลทางการเงินจะบอกเรื่องราวและเหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวของยุคอุตสาหกรรมของบริษัทและการลงทุนที่เป็นความสามารถระยะยาวความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จครั้งสำคัญ การวัดผลทางการเงินพอเพียงในการชี้นำและประเมิน มุ่งเข้าสู่ยุคข่าวสารข้อมูล บริษัทจะต้องสร้างคุณค่าอนาคตของการลงทุนของลูกค้า ผู้จัดจำหน่าย ลูกจ้าง กระบวนการ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

       BSCได้เสนอแนะว่าบริษัท องค์การจะต้องพิจารณาจาก4 มุมมองและพัฒนา      แมตริกส์ต่างๆ การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แต่ละมุมมองคือ 

       _เรียนรู้และการเจริญเติบโต

       _กระบวนการทางธุรกิจ

       _ลูกค้า

      _ การเงิน

     BSC และการบริหารที่ใช้พื้นฐานของการวัด

   ระเบียบวิธีของBSC สร้างจากแนวคิดของความคิดทางการบริหารต่างๆเช่นการบริหารเชิงคุณภาพแบบถ้วนทั่ว(TQM) รวมไปถึงแนวคิดที่ว่าลูกค้าเป็นคนกำหนดคุณภาพ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องการเพิ่มสิทธิอำนาจให้กับบุคลากร การบริหารที่ใช้พื้นฐานการวัดผลและการดูข้อมูลย้อนกลับ

     ข้อมูลย้อนกลับ 2 ชั้น

กิจกรรมการอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิม “การควบคุมคุณภาพ” เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ลูกค้าได้รับสินค้าที่คุณภาพตำ่ มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทดสอบที่จุดมุ่งหมายของสายการผลิต ปัญหา วิธีการนี้ เดมิ่ง ได้ชี้ให้เห็น ก็คือสาเหตุที่แท้จริงของความบกพร่องไม่เคยมีการวินิจฉัย ความไม่มีประสิทธิภาพจึงทำให้ปฏิเสธความบกพร่อง สิ่งที่เดมิ่งเห็นก็คือ การแปรเปลี่ยนจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและทำให้คงที่ให้ได้ ถ้าสามารถทำได้มันจะเป็นการลดความสูญเสีย มีการปรับปรุงการวินิจฉัยคุณภาพของผลผลิตในการดำเนินการกำหนดกระบวนการเดมิ่งจะเห็นว่า กระบวนการทางธุรกิจทั้งหมดควรเป็นระบบและมีวงจรการให้ข้อมูลย้อนกลับ ข้อมูลย้อนกลับควรให้ผู้บริหารได้ตรวจสอบเพื่อวินิจฉัยสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง กระบวนการอะไรที่เป็นสิ่งสำคัญของปัญหา ผู้บริหารต้องให้ความสนใจพึงมุ่งเน้นที่ส่วนย่อยของกระบวนการต่างๆBSC รวมเข้าเป็นข้อมูลย้อนกลับรวมทั้งผลลัพธ์กระบวนการภายใน เหมือนในการบริหารแบบคุณภาพแบบถ้วนทั่วแต่เพิ่มวงจรข้อมูลย้อนกลับกับผลลัพธ์ของกลยุทธ์ทางธุรกิจทำให้เกิดข้อมูลย้อนกลับ2ชั้น ในกระบวนการBSC

       เมตริกซ์ต่างๆของผลลัพธ์ 

ท่านไม่สามารถปรับปรุงได้ถ้าไม่สามารถวัดได้  เมตริกซ์ต้องพัฒนาบนพื้นฐานตามอันดับความสำคัญของแผนกลยุทธ์ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของธุรกิจและเกณฑ์เมตริกซ์ของผู้จัดการที่ปรารถนาอย่างมากจะเฝ้าดูกระบวนการต่างๆเหล่านี้และลดลงเป็นรูปแบบที่เกี่ยวกับตัวเลข เพื่อการสะสมข้อมูล เพื่อการแสดงผลการวิเคราะห์ผู้ตัดสินใจต้องตรวจสอบผลลัพธ์กระบวนการวัดต่างๆกลยุทธ์รวมถึง

ร่องรอยผลลัพธ์เพื่อเป็นการชี้นำบริษัทและมีข้อมูลย้อนกลับ

       ดังนั้นคุณค่าของเมตริกซ์เป็นความสามารถเพื่อจัดเตรียมเป็นพื้นฐานความจริงเพื่อกำหนด

     _ข้อมูลย้อนกลับเพื่อแสดงให้เห็นสถานภาพปัจจุบันขององค์การจากหลายมุมมองสำหรับผู้ตัดสินใจ

     _วินิจฉัยข้อมูลย้อนกลับในกระบวนการต่างๆเพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

     _แนวโน้มในการปฏิบัติในโอกาสต่อไปเป็นผลมาจากร่องรอยของเมตริกซ์

     _ข้อมูลย้อนกลับจากการวัดรอบด้าน เมตริกซ์ต่างๆควรจะเป็นร่องรอย

     _สิ่งนำเข้าเชิงปริมาณเป็นวิธีการพยากรณ์และเป็นรูปแบบสนับสนุนระบบการตัดสินใจ

      เป้าหมายของการวัดผลจะทำให้ผู้บริหารได้เห็นบริษัทของตนเองชัดเจนขึ้น จากมุมมองหลากหลายดังนั้นจะทำให้การตัดสินใจในอนาคตดีขึ้น ตามเกณฑ์ของ

(Baldrige 1997)ได้กล่าวถึงในแนวคิดการบริหารตามพื้นฐานของข้อเท็จจริง

       ในธุรกิจสมัยใหม่ เชื่อว่าระบบการวัดผลและการวิเคราะห์การปฏิบัติงาน การวัดผลต้องได้มาจากกลยุทธ์ของบริษัทและมีการจัดเตรียมข้อมูลที่สำคัญ รวมถึงผลผลิตและผลลัพธ์ต่างๆข้อมูลและสารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นในการวัดผลการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการปรับปรุงในหลายรูปแบบรวมถึงสิ่งต่อไปนี้ คือลูกค้า ผลผลิต การบริการ การดำเนินการ การตลาด การเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ผู้จัดจำหน่าย บุคลาการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้นทุนและการเงิน การวิเคราะห์จำต้องใช้ข้อมูลเพื่อวินิจฉัยแนวโน้ม แผนการโครงการต่างๆ เหตุผลและผลการวิเคราะห์จะสนับสนุนจุดประสงค์บริษัท ประโยชน์ในการวางแผน กระบวนการการปฏิบัติงานของบริษัท การปรับปรุงการดำเนินการ การเปรียบเทียบการปฏิบัติงานกับบริษัทที่เป็นคู่แข่ง เป็นการศึกษาเปรียบระดับกับบริษัทชั้นเลิศเป็นการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด(Best Practice)

       การปรับปรุงการปฏิบัติงานเป็นสิ่งสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับการสร้างและการใช้วัดการปฏิบัติการหรือตัวบ่งชี้ (indicator) การวัดการปฏิบัติการหรือตัวบ่งชี้เป็นคุณลักษณะของผลผลิตต่างๆการให้บริการ กระบวนการต่างๆรวมถึงการดำเนินการซึ่งบริษัทใช้เป็นร่องรอยในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน การวัด หรือตัวบ่งชี้ควรจะคัดเลือกอย่างดีที่สุด เป็นตัวแทนที่ดีที่สุดของปัจจัยต่างๆที่จะนำไปสู่การเพิ่มลูกค้าการดำเนินการที่ดีขึ้น รวมถึงด้านการเงินที่ดีขึ้น กลุ่มตัวบ่งชี้ๆคือลูกค้าข้อกำหนดของการปฏิบัติการเป็นสิ่งต้องการของบริษัทพื้นฐานที่ชัดเจนจะมุ่งสู่กิจกรรมต่างๆทั้งหมด การวิเคราะห์ข้อมูลจากร่องรอยของกระบวนการ การวัด หรือตัวบ่งชี้ต่างๆโดยตัวมันเองอาจเป็นการประเมินผลและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น

เพื่อสนับสนุนเป้าหมายต่างๆ

       ในมิติทางการศึกษา โรงเรียนที่ส่งเสริมสนับสนุนความสำเร็จของนักเรียนโดยภาพรวมโรงเรียนมีความต่างกับบริษัทหรือองค์การอื่นในด้าน โครงสร้าง ภารกิจ บุคคล สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีต่างๆ การนำBSC มาใช้ในการบริหารและวัดผลการปฏิบัติงานของบุคคลมุมมองน่าจะต่างกับบริษัทโดยทั่วไปโดยเฉพาะทางด้านบุคลากร ครูอาจารย์เป็นวิชาชีพเฉพาะที่ต้องอาศัยเจตคติที่ดี

ทักษะและความรู้ในการดำเนินการ มุมมองในการใช้ BSC ควรมีความต่างกัน จากนักการศึกษาได้ประมวลสรุป BSC ทางการศึกษาควรมีมุมมอง5ด้านคือ

       1.นักเรียน

       2.ครู

       3.การเงิน

       4.การพัฒนา

       5.การบริหารโรงเรียน


                มุมมอง                                  การวัด/ตัวบ่งชี้

  1. ด้านการเงิน                                   ✧ผลลัพธ์เปรียบเทียบกับงบประมาณ
  2. นักเรียน                                         ✧คุณภาพ(ความรู้ ความรู้สึกมั่นคง การ

                                                               การพัฒนา)

                                                           ✧ความพึงพอใจของนักเรียน

                                                           ✧ปัญหาต่างๆ

3.ครูและบุคลากร                                  ✧การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง

                                                           ✧สมรรถนะและความมุ่งมั่น

                                                           ✧ความร่วมมือ

                                                          ✧ความพึงพอใจในงาน

4.การพัฒนา                                         ✧การพัฒนาสมรรถนะ

                                                           ✧การพัฒนาความสามารถ


5.การบริหารโรงเรียน                             ✧การลงทุนทางด้านนวัตกรรม

                                                            ✧วิธีการสอนแบบใหม่

                                                            ✧โปรแกรมการศึกษาแบบใหม่

                                                            ✧ความมีประสิทธิภาพของกรรมการ

                                                            ✧ประสิทธิภาพการบริหาร

                                                            ✧การพัฒนาบุคลากร

                                                            ✧การประเมินผล


โดยสรุป การบริหารการศึกษาและการวัดผลการปฏิบัติงานตามแนวทางของBalanced scorecard  เป็นรูปแบบที่เริ่มต้นที่วิสัยทัศน์ ภารกิจ ค่านิยมในองค์การมีการกำหนดเป้าหมายต่างๆมีโครงการ เป้าหมายเริ่มด้วยมุมมองต่างๆเหล่านั้นทำให้ทุกคนในองค์การหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นภาพอนาคตที่ชัดเจนขึ้นทำให้เกิดแรงจูงใจ ดึงดูดใจช่วยให้เกิดการประสานงานที่ดี การทำงานมีความหมายมากขึ้น แต่หลุมพรางบางอย่างของ BSC ที่ต้องตระหนักก็คือเรื่องของวัฒนธรรมการทำงานของคนไทยกับชาวตะวันตกค่อนข้างแตกต่างกัน ข้อมูลสารสนเทศ กระบวนการทำงาน การบันทึกร่องรอยของการทำงานก็เป็นเรื่องสำคัญอีกประเด็นหนึ่งเราต้องสร้างวัฒนธรรมองค์การรูปแบบใหม่ อย่าให้ BSCเป็นแฟชั่นการบริหาร ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเป็นร่องรอยสำคัญที่จะทำให้งานดีขึ้น เราต้องมุ่งมั่นมากขึ้น พยายามมากขึ้น ถ้าทำงานเดิมวิธีการเดิม ผลจะเท่าเดิมหรือแย่กว่าเดิม ถ้าท่านทำงานเดิมด้วยวิธีการใหม่ผลจะดีกว่าเดิมหรือเท่าเดิม (ไอน์สไตน์) ประเทศเราต้องจัดการศึกษาเพื่อให้ประชาชนชาวไทยอยู่อย่างผู้ชนะ

                                                                          ❉ ❉ ❉ ❉ ❉ ❉ ❉ ❉ ❉

                                                           

                                                            

                                          

หมายเลขบันทึก: 510929เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท