อุไรรัตน์
ผู้อำนวยการ อุไรรัตน์ ชนะบำรุง

การศึกษาตามอัธยาศัย


        คำจัดกัดความของ “การศึกษาตามอัธยาศัย” ตามพรบ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 “การศึกษาตามอัธยาศัย” หมายความว่า กิจกรรมการเรียนรู้ในวิถีชีวิตประจำวันของบุคคล ซึ่งบุคคลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ตามความสนใจ ความต้องการ โอกาสความพร้อม และศักยภาพในการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล

        การศึกษาตามอัธยาศัย ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ การเรียนรู้ตลอดชีวิต  (Lifelong learning) ที่เติมเต็มความต้องการของมนุษย์ที่แสวงหา ต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ นอกเหนือการเรียนในระบบโรงเรียน โอกาสของการเรียนรู้ตามอัธยาศัยเกิดขึ้นได้ ในทุกเวลา ไม่จำกัดสถานที่ และเรียนรู้ได้จากสื่อต่างๆ (อาทิ รายการวิทยุ-โทรทัศน์กระจายเสียง ภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ CD-DVD แหล่งเรียนรู้ออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต)

        หลักการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
        • จัดให้สนองกลุ่มเป้าหมาย ทุกเพศและวัย ตามความสนใจ และความต้องการ
        • จัดให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
        • จัดโดยวิธีหลากหลายโดยใช้สื่อต่างๆ
        • จัดให้ยืดหยุ่น โดยไม่ยึดรูปแบบใดๆ
        • จัดให้ทันต่อเหตุการณ์
        • จัดได้ทุกกาลเทศะ
        • จัดบรรยากาศ สถานการณ์ และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

        รูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
        การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยไม่มีรูปแบบการศึกษา หรือการเรียนรู้ที่ตายตัว ไม่มีหลักสูตรเป็นตัวกำหนดกรอบกิจกรรม หรือขอบข่ายสาระการเรียนรู้ การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความต้องการ และแรงจูงใจใฝ่รู้ของแต่ละบุคคล สำหรับงานของ กศน. ในแหล่งการเรียนรู้ประเภทต่างๆ เช่น ห้องสมุดประชาชน  กศน.ตำบล ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน  เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 510923เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท