ปีแรกของการจัดตลาดนัดความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร(2)


เสวนา"ประสบการณ์การจัดการความรู้"

เล่าเรื่องการจัดตลาดนัดความรู้กรมส่งเสริมการเกษตร(ต่อ)

การเสวนา"ประสบการณ์การจัดการความรู้" ผู้ร่วมเสวนามี 3 ท่าน ผู้ดำเนินรายการคือ ผอ.มนตรี วงศ์รักษ์พานิช

                                   Dscn0080

      จากซ้าย   ผอ.มนตรี   อ.จำนง   คุณสุรเดช  คุณจันทนา

     เริ่มจากคุณสุรเดช เดชคุ้มวงษ์ เลขามูลนิธิร่วมพัฒนาพิจิตร เล่าเรื่องการจัดการความรู้ที่ได้ดำเนินการ ดังนี้

                                   Dscn0057

         จากซ้าย  รศ.นิโลบล นิ่มกิ่งรัตน์  คุณสุรเดช   ดร.ประพนธ์

  • เดิมมีการใช้สารเคมีมาก น้ำเน่า พึ่งตนเองไม่ได้ เรียกว่า   "อยู่ร้อน นอนทุกข์" มีหนี้สิน ความรู้ชุดเดิมแก้ไม่ได้
  • ตั้งเป้าหมายว่า ทุกคนต้องปลอดภัย มีสุขภาพดี สังคมมีความรัก มีเมตตา เกื้อกูลกัน ใช้หลักอริยสัจสี่ วางแผนชีวิต เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
  • ทำ KV ร่วมกัน 5 วัน 4 คืน 14 รุ่น ๆ ละ 25 คน โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านเล่าเรื่อง เกิดโมเดล "แก้จนคนพิจิตร"
  • เกิดชุมชนนักปฏิบัติ(Cop) ข้าว ผัก พืชต่าง ๆ โรงเรียนเกษตรกรโดย Cop ข้าวมีเวทีสัญจร อบจ.ให้งบประมาณจัดตลาดนัดความรู้ 21 ก.ย.49 นี้ จะมีผู้เข้าร่วม 750 คน
  • เกิดภาคีภาคราชการ ร่วมมือกับท้องถิ่น สนับสนุนการดำเนินงานโดยมีคุณอำนวยจากหน่วยงานราชการเช่น สาธารณสุข พัฒนาชุมชน  เกษตร ฯลฯ โดยมีผู้ว่า CEO และสคส. ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี
  • เกิดตลาดผักปลอดภัยใน 2 อำเภอ
  • เกิดวิสาหกิจชุมชนเรื่อง ผัก ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์

สุดท้ายการจัดการความรู้ต้องมีธงนำ รู้จริง ทำจริง ทำได้ ประชาชนศรัทธา และการจะเป็น LO ได้ต้องเรียนรู้ไปพร้อมกับประชาชน        

     อาจารย์จำนง หนูนิล ครูชำนาญการพิเศษจาก กศน.นครศรีธรรมราช เล่าเรื่องการจัดการความรู้ของ กศน.

                           Dscn0081

                            ผอ.มนตรี     อ.จำนง

  • เดิม กศน. ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเรียนรู้ทุกเรื่องที่อยากเรียน ทุกที่ทุกเวลา ในอดีตที่เคยส่งเสริมเช่นนี้ งบประมาณใช้หมด แต่ร่องรอยไม่ปรากฎ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะทำงานให้เป็นประโยชน์ถึงตัวชาวบ้าน ต้องทำงานอย่างมีคุณภาพ
  • เริ่มที่ อ.เมืองปี 2546 ให้ชาวบ้านกำหนดเองว่าอยากจะเรียนรู้เรื่องอะไร แล้วนำไปปฏิบัติให้เกิดผล ช่วงปี 2546-2548 มี 46 กลุ่มๆ ละ 20 คน เรียนรู้อาชีพ เป็นนวัตกรรมที่ชาวบ้านเลือกเรียนเอง และมีความสุข ที่อยากเรียน
  • เกิดเครือข่าย 4 เครือข่ายโดยครูอาสาเช่นเครือข่ายเกษตรอินทรีย์

     คุณจันทนา หงษา ผู้จัดการมูลนิธิข้าวขวัญ ได้เล่าเรื่องการจัดการความรู้ของมูลนิธิ

                                Dscn0079

                                       คุณจันทนา

  • เริ่มก่อตั้งปี 2532 เดิม เกษตรกรมีปัญหา ไม่มีศํกดิ์ศรีเลย จึงมีความคิดที่จะกอบกู้ศักดิ์ศรีคืนมา โดยได้รับความกรุณาจาก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช สนับสนุนการดำเนินงาน
  • เริ่มทำ KM มา 2 ปี เหนื่อยกว่าการทำงานมา 20 ปี แต่ผลคุ้มค่ามาก ทำให้เกษตรกรแสดงความคิด ความสามารถให้ปรากฏและชาวนาสามารถปฎิบัติได้ ในเรื่องการคัดเมล็ดพันธุ์ ผสมพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง
  • ชาวนาได้ชีวิตกลับคืนมา สภาพแวดล้อมดีขึ้น มีปลา กุ้ง งู ในนา จากที่หายจากนาไปนาน
  • เกิดผลลัพธ์หลายอย่างเช่น ข้าว 2 สีเป็นนวัตกรรมใหม่(ขาวและแดง) ต้นทุนการผลิตลดลง สุขภาพดีขึ้น มีเวลาทำกิจกรรมในชุมชน มึความรักและความภาคภูมิใจความเป็นชาวนา มีศักดิ์ศรี มีทายาทรุ่นเยาวชนมาสืบทอด สร้างเครือข่ายขึ้น
  • สุดท้ายคุณจันทนาได้กล่าวว่ามีความเชื่อในเรื่องความเท่าเทียมของมนุษย์ เรื่องคุณธรรม หมั่นทบทวนตนเอง ปฏิบัติจริง มีเครือข่ายเป็นเพื่อนร่วมทาง

 

หมายเลขบันทึก: 51084เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2006 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
    ขอบพระคุณมากครับที่บันทึกมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณครับท่าน ผอ.
  • ผมเพิ่งได้นั่งหน้าคอม ฯ วันนี้เองครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท