ผลลัพธ์ของนวัตกรรม (Results of innovation)


ดูแลกลุ่มงานเวศสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ .... นั้นหมายถึงการดูแลสุขภาพ ประชาชน คั้งแต่อยู่... "ในครรภ์มารดา จนถึง ผู้สูงอายุ"


 .....หมอเปิ้น...ดูแลกลุ่มงานเวศสตร์ครอบครัวและบริการปฐมภูมิ .... นั้นหมายถึงการดูแลสุขภาพ ประชาชน ตั้งแต่อยู่... "ในครรภ์มารดา  จนถึง ผู้สูงอายุ" ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ คือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี  ... การศึกษาครั้งนี้ศึกษาด้านงานอนามัยแม่-เด็ก .... เป็นระบบพัฒนาคุณภาพชีวิตแม่วัยใส นะคะ



วัตถุประสงค์


เพื่อพัฒนาระบบดูแลคุณภาพชีวิตแม่วัยใส และสามีวัยรุ่นรวมทั้งครอบครัวและญาติ


วิธีการดำเนินการ


    1) จัดตั้งคลินิกพิเศษสำหรับแม่วัยใสขึ้นคือใน “คลินิกรักษ์ดรุณ”
    2) จัด “กิจกรรมพิเศษ” ในโครงการ ได้แก่ กิจกรรมสร้างเสริมคุณภาพชีวิต“แม่วัยใสใส่ใจกิจกรรม  6อ.”
    3) สามีของแม่วัยใสหรือครอบครัว เข้าร่วมโครงการ 6อ. เพื่อให้ความเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดกับแม่วัยมา ในเรื่องภาวะซีด,โรค,การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก,ยาเสริมไอโอดีน,ความวิตกกังวล (Anxity), ความเครียด(Stress), การรับประทานอาหาร
    4) กิจกรรม “การเยี่ยมบ้านแม่วัยใส” เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงทางสังคมและความเป็นอยู่ของแม่วัยใส จะทำให้ทราบพฤติกรรมสุขภาพในด้านต่างๆ รวมถึงการกินยา, กินอาหารที่เหมาะสมและพฤติกรรมที่ปฏิบัติตน
    5) กิจกรรม “คัดกรองภาวะซึมเศร้า” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ “เสริมมาจากการคัดกรองความเครียด” ซึ่งกิจกรรมปกติก็ทำอยู่แล้ว เป็นกิจกรรมการดูแลเชิงลึกที่เพิ่มเข้าไปในกิจกรรมในงานฝากครรภ์ของแม่วัยใส
    6) การประเมินความเข้มข้นเลือด(Hematocrit)อย่างเป็นพิเศษ เนื่องจากการตั้งครรภ์ของมารดาวัยใสเป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ ดังนั้น การรับประทานอาหาร, การกินยาเสริมธาตุเหล็ก,  การ  ใส่ใจสุขภาพอนามัยของแม่วัยใสจะไม่เหมือนแม่วัยผู้ใหญ่  ดังนั้นจึงพบภาวะเสี่ยง คือ ภาวะซีดก่อนคลอด  ความเข้มข้นเลือดต่ำกว่า 33 % ดังนั้น ทีมงานจึงนำผลความเข้มข้นเลือดของแม่วัยใสมาแสดงรูปแบบของกราฟให้เกิดการรับรู้เชิงประจักษ์ถึงแนวโน้มของความเสี่ยง(Risk)จากภาวะโลหิตจางของตนเอง, เป็นการสร้างความตระหนักถึงภาวะเสี่ยงที่มีโอกาสเสียเลือด(ตกเลือดได้ขณะคลอด)และมีการส่งเสริมให้กำลังใจ (Empowerment) และนัดเจาะเลือดซ้ำๆ อีกหลายครั้งจนกว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในเรื่องภาวะซีดของแต่ละคนไปในทางที่ดีขึ้น
    7) “สาธิตอาหาร” ที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการกินอาหารของคุณแม่วัยใสที่ถูกต้องเหมาะสม เช่น อาหารที่เพิ่มสารเพิ่มเลือด เช่น ก๋วยจั๊บ,ต้มเลือดหมู,อาหารเสริมไอโอดีน ได้แก่ อาหารทะเล,หมึก,กุ้ง  อาหารที่เสริม วิตามิน ได้แก่ ผลไม้สด เช่น ฝรั่ง. ส้ม, มะละกอ, ผักสดตามที่มีตามฤดูกาล
    8) ทำกิจกรรมกลุ่ม “มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้” วิธีการเลือกซื้ออาหาร,การเดินทางที่ปลอดภัย,การเดินทางที่ปลอดภัย,การพักผ่อน,ทำกิจกรรมกลุ่มไม่เกิน 10 คน โดยนำสามีของแม่วัยใส ญาติของแม่วัยใสมาพูดคุยและมีเวทีให้เขาซักถามปัญหาของแต่ละคนรวมถึงความเสี่ยงมีแม่วัยใสกำลังเผชิญอยู่ระหว่างตั้งครรภ์
    9) เชิญทันตแพทย์มาร่วมกิจกรรมในการสอนในกิจกรรม “แม่วัยใสใส่ใจ 6อ.”และเชิญเภสัชกรมาร่วมอธิบาย เรื่อง การกินยาเสริมธาตุเหล็ก กับการดื่มนมต้องทำอย่างไร?  และการกิจยาเสริมไอโอดีนต้องทำอย่างไร?



ผลการดำเนินงาน


1)  ได้จัดตั้งคลินิก “รักษ์ดรุณ” เพื่อดูแลคุณแม่วัยใสโดยตรงเป็นพิเศษ
2)  ได้ค้นพบแม่วัยใสที่มีความเครียดสูง โดยเฉพาะไตรมาสที่ 3 ส่งผลต่อภาวะซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์
และได้ช่วยเหลือโดยการส่งไปปรึกษาทางคลินิกจิตเวช
  3) คุณแม่วัยใสสามารถป้องกันภาวะซีดก่อนคลอดได้ดีขึ้นจากการได้รับรู้และเรียนรู้และการติดตามผลโดยการเจาะเลือดอย่างต่อเนื่องและมีความตั้งใจในการดูแลครรภ์มากขึ้น โดยวัดจากการไม่ขาดนัด ค่า Hct เพิ่มขึ้นกว่าเดิมที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกและก่อนคลอดภาวะซีดดีขึ้นและภาวะซีดเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
  4) เกิดความร่วมมือ ระหว่างสามีของแม่วัยใส ญาติ และครอบครัวมากขึ้น มีความเข้าใจแม่วัยใสและเห็นใจ สนใจมากขึ้น วัดจากภาวะเครียดลดลง ภาวะซึมเศร้าลดลง
  5) อัตราการคลอดก่อนกำหนดของแม่วัยรุ่นลดลงจาก 97.1%เป็น 86.2 %
  6) อัตราการคลอดทารก น.น.น้อยกว่า 2,500 กรัม ของแม่วัยใสมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 98.2 % (มี 1 ราย)
  7) ความรู้ความเข้าใจของแม่วัยใส สามีวัยรุ่นและญาติดีขึ้น จากการซักถามและการติดตามเยี่ยมบ้าน
  8) แม่วัยใสมีความสุขมากขึ้นจากการแสดงออก การตรวจคัดกรองความเครียดการยิ้มแย้มแจ่มใสมีมากขึ้น
  9) ระบบการทำงานในคลินิกฝากครรภ์ในแม่วัยใสของรพ.บ้านลาดได้พัฒนาระบบดีขึ้น 


                      


อภิปรายผลการพัฒนา นวัตกรรม


1) ได้พัฒนาระบบดูแลแม่วัยใส เพื่อลดความเสี่ยงทั้งทางร่างกายจิตใจ อารมณ์ และสังคมของแม่วัยใส
  2) เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานในรูปแบบใหม่ที่มุ่งกลุ่มเป้าหมาย “กลุ่มเสี่ยง” เป็นหลักการทำงานที่ “ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง”  อย่างแท้จริง
  3) เป็นการพัฒนาต่อยอดขององค์ความรู้ การจัดการความรู้(Knowledge management : KM) และเป็นการทำงานในลักษณะ “R2R” (Routine to Research) โดยมุ่งทำงานประจำเป็นงานวิจัยและพัฒนาระบบงานเดิมที่มีอยู่
  4) เป็นการลดความเสี่ยงหรือปัจจัยเสี่ยงของคุณแม่วัยใส
  5) แม่วัยใสได้รับการดูแลแบบ “องค์รวม” (Holistic) ทั้งร่างกาย,จิตใจ อารมณ์และสังคมที่แท้จริง
  6) เป็นการทำงานแบบบูรณาการทั้ง “เชิงรับและเชิงรุก”โดยมุ่งที่ผู้รับบริการ “เป็นศูนย์กลาง”
จากการดูแลเชิงระบบของแม่วัยใส หรือ แม่วัยนรุ่น ดังกล่าว ..... ได้นำผลการ ทำงานเชิงคุณภาพ....มาฝากเำื่พื่อนๆๆ พี่ๆๆ น้องๆๆนะคะ  เพื่อจะเป็นประโยชน์บ้างนะคะ


                    


                  


                                               ขอบคุณมากค่ะ




หมายเลขบันทึก: 510828เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2012 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 16:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ครบวงจรแห่งสุขอนามัยของคุณแม่วัยใส..ป้องกันไว้ก่อน..ลดปัญหาทั้งมวลนะคะ.

ขอบคุณ พี่ใหญ่มากค่ะ พี่ให้กำลังใจ เปิ้น ตลอดมา เลยนะคะ

ใกล้ปีใหม่ ขอให้พี่ใหญ่สุขภาพดีดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท